Section : Quality Solving

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คำถามของ ISO 9001& IATF 16949 Check List มุ่งอะไร (Blog ที่ 13: What does Question from ISO9001 & ISO/TS 16949 Check List Aim?) Blog 13

Blog ที่ 13 คำถามของ QMS & AQMS Check List มุ่งอะไร
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา" 
081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ช่วงนี้โรงงานเริ่มอบรมภายใน เพื่อป้องกันโควิท 19 
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF 
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
กรณีผู้เข้าอบรมจำนวน 30-40 ท่านขึ้นไป ควรจัดระยะห่าง มีเจลล้างมือ ใส่แมสตลอด 
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
Mobile: 0813029339, 0886560247   Line ID: iatf16949

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
     สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
  การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
    New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 081 6493828, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
"as your require"
          การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล 

        ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

          จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง

          ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy 

              กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com  
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ  http://sites.google.com/site/isosiamtraining/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com

บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                   ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้
หลักสูตรพิเศษ เช่น
* การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
* การสอนงาน (The Coaching)
* หัวหน้างานสมองเพชร (Genius Supervisory)

คำถามของ ISO 9001 & IATF16949:2016
ISO/TS16949 สิ้นสุดเดือนกันยายนนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ไม่มีการตรวจ
ISO/TS16949:2009 มีมาตรฐานใหม่แทนที่ คือ IATF16949:2016

Check List มุ่งอะไร 
(Blog ที่ 13: What does Question from ISO9001& ISO/TS16949 Check List Aim?

ส่วนคำถาม/ข้อสงสัยให้ติดตามที่ Blog 21: คำถาม ISO เกี่ยวกับระบบบริหารจากโรงงานต่างๆ

ผู้เขียน จะเริ่มทะยอยเขียนบทความต่อเนื่อง ในทุกๆ Blog ผู้เขียนดูจากที่ Click เข้ามาดูบทความจำนวนมาก จะสนใจเรื่อง Check List ของบทความที่ 4 ข้อบกพร่องของบทความที่ 5  และ ISO คืออะไร ของบทที่ 1, 3 รวมทั้งเรื่องชีวิตจริงของการเป็น QMR/EMR/OHSMR จากบทที่ 7

ผู้เขียน จะเขียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำถาม Check List เพราะบทที่ 4 เขียนคำถาม เพื่อให้น้องใหม่ หรือ New Internal Auditor ใช้ฝึกถามเวลาไปตรวจติดตามคุณภาพภายใน ทั้งตรวจ ISO9001 และ/หรือ IATF16949:2016 มิฉะนั้น เวลาไปตรวจสอบครั้งแรก ไม่รู้ว่าจะตั้งคำถามอะไร ถามแล้วมุ่ง(Aim) อะไร ยิ่งน้องใหม่ คงไม่ถนัดตรวจติดตามไล่เป็นกระบวนการหาส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกัน (Interaction) ผู้ตรวจประเมินจากภายนอก (External Auditor) นิยมตรวจแบบกระบวนการ หรือ Process Approach 

ผู้ตรวจประเมินจะตรวจข้อกำหนดข้อใดบ้างที่เน้นไปยังทุกฝ่ายถูกถามแน่ๆ ของทั้ง IATF16949:2016 และ ISO9001:2015
เริ่มจาก 6.1 ต่อ 6.2 ไปถึง 9.1 ตามติด 10.2 ทุกเรื่องไปจบที่ 10.3 ถามที่ QMR มี Improvement อย่างไรบ้าง ทุกฝ่ายต้องมีหลักฐานการทำงาน ย้ำผลลัพธ์งานต้องมี ต้องดี (Intend Result) จะไม่โดนถึง Major มีข้อบกพร่องหลักคือ สอบตก โดนตรวจใหม่ใน 60 วันตามกติกาการตรวจประเมินของ CB

ให้ยึดคาถาอาจารย์ศรราม ดังนี้ 
1 มี NC ออกเป็น CAR แนวโน้มสูงออก PAR ด้วย มองและคิดความเสี่ยงเข้าไป (Risk Based Thinking)
2 มีผลกระทบสูงคือ เสี่ยงมาก และที่เบี่ยงเบนจากเป้าหมาย ลูกค้าไม่พอใจสุดๆ และไม่บรรลุข้อกำหนด หรือ Not Meet Quality Product รีบออกแผนงาน (Action Plans) ทำเป็นโครงงาน (Project) ก็ได้
3 มีแผนงาน ตามด้วยการเฝ้าระวังต่อเนื่อง (Monitoring) จากนั้นทบทวน (Review) สรุปว่า สำเร็จหรือค้าง (Pending) ที่ค้างให้เดินแบบวงจรเดมมิ่ง P-D-C-A อย่าลืมสื่อสารถึงผู้เกี่ยวข้อง
4 สรุปเข้างานบริหารคุณภาพ (Management Review) 
รับรองสอบผ่านแน่นอน

บทนี้จะเขียนต่อ เรื่องสิ่งที่ตั้งคำถามไป ต้องเข้าใจว่า ต้องการตรวจสอบหรือประเมินอะไร เพราะการเป็นผู้ตรวจสอบ เรากำลังมองว่า โรงงานหรือองค์กรที่ถูกตรวจประเมินนั้นสอดคล้องกับข้อกำหนด ISO 9001 Version 2015  หากพบสิ่งที่ไม่สอดคล้องก็ต้องสืบค้นหาต่อไปว่าปัญหานั้น ยังเกิดต่อเนื่องหรือไม่ เกิดจำนวนกี่ครั้ง ไม่มีปฎิบัติการแก้ไขใดๆใช่หรือไม่ ซึ่งกลายเป็นข้อบกพร่องนั่นเอง 

โดยสิ่งบกพร่องจะเกิดจากไม่ทำตามระบบ ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ ไม่ได้ตามเป้าหมาย (Targets) โดยยังปล่อยปะละเลยหรือ ขาด Action รวมทั้งการทำงานไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ไม่ปฎิบัติตามนโยบายคุณภาพ(Quality Policy)/ระเบียบปฎิบัติ(Procedure)/ขั้นตอนการทำงานหรือคู่มือการทำงาน (Work Instruction) หรือสิ่งที่โรงงานกำหนดเข้าไปในระบบคุณภาพแต่ไม่ปฎิบัตินั่นเอง

การที่ผู้ตรวจสอบทั้งจากภายนอก(CB) หรือจากภายใน (Internal Auditor)จะบอกว่าเกิดสิ่งบกพร่อง จะต้องมีหลักฐานที่เรียกว่า Evidence จาก Quality Procedure ฉบับใด หรือ จาก WI หรือจากข้อกำหนด ISO (Requirement) หรือจากข้อกำหนดลูกค้า (Customer Specification) หรือจากข้อกำหนดขององค์กร หรือจากแบบ (Drawing) อื่นๆที่แสดงว่าเกิดความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Non-Conformity)

Check List บทที่ 4 เราจะถามค่อนข้างมาก หากจะเน้นถามว่า องค์กรมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน ISO9001:2015, IATF16949:2016 อย่างไร ก็ต้องมุ่งและมองไปแต่ละสิ่งที่ถาม กับหลักฐานที่พบและที่ได้จากคำตอบของผู้รับการตรวจสอบ (Auditee) ยกตัวอย่าง ดังนี้

1 ถามเรื่อง Management Commitment (ข้อกำหนด 5.1) เพื่อประเมินจากหลักฐานว่า Top Management มีความมุ่งมั่นหรือไม่ มีอะไรที่ทำออกมาเป็นหลักฐานที่เป็นรูปธรรม (Objective Evidence)
สิ่งที่บ่งบอกว่าท่านมีความมุ่งมั่น เช่น ให้ความสนใจกับระบบบริหารคุณภาพ เข้าประชุมและติดตามการทบทวนงานบริหารคุณภาพทุกครั้ง นโยบายออกโดยท่านและมีการติดตามผลเป็นระยะๆ รู้ปัญหาและอุปสรรคขององค์กร ให้การสนับสนุนด้านทรัพยากรอย่างเพียงพอและเหมาะสม ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย

สิ่งที่บ่งบอกว่าไม่มีความมุ่งมั่น เช่น หาคู่มือคุณภาพไม่พบ ไม่เคยอ่านเลย (แสดงว่าผู้อื่นทำให้ เขียนแทนท่าน แต่ส่วนใหญ่ในชิวิตจริง ท่านก็มักมีที่ปรึกษาดำเนินการให้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ที่ผิดคือ ท่านไม่สนใจที่จะเปิดดูและเก็บ QM ไว้ที่โต้ะทำงานของท่าน) ขาดการติดตามงานด้านคุณภาพทุกเรื่อง ไม่เข้าประชุมทบทวนงานบริหารคุณภาพเลย (Management Review) บางครั้งพนักงานก็พูดว่าท่านไปตี Golf
การเป็นผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor) ใครละจะกล้าไปตรวจท่าน MD (Top Management)
สมัยผู้เขียน เป็น QMR ได้มีโอกาสนี้ เพราะน้องๆทุกคนปฎิเสธหมด ไม่มีใครยอมสมัครใจไป Audit ท่าน MD 
ฉนั้นช่วงนี้ เข้าไปพบท่าน ก็เรียนให้ท่านทราบว่าตามที่ระบบเรากำหนดให้มีทำ Internal Audit  การเข้ามาพบท่านวันนี้ขอตระเตรียมต้องมีอะไรบ้าง ก็นับเป็นการช่วยท่าน MD ทราบว่าต้องมีอะไร ท่านต้องตอบอย่างไร เพราะหลายโรงงานที่ผู้เขียนเคยเป็น QMR หรือที่พบเห็นมานั้น  MD ผ่านประสบการณ์มามาก
มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เพียงจุดเริ่มต้น ISO ยังห่างจากตัวท่าน หลังจากท่านทราบว่าต้องแสดงความมุ่งมั่นอย่างไร ทั้งหมดสอบผ่าน หรือการไปตี Golf บางครั้งได้เงินกลับมามากมายให้องค์กร เพราะ MD พาลูกค้าไป หรือไปหาลูกค้ารายใหม่ๆ แต่การที่พนักงานเข้าใจผิด ถือว่าการ Communication มีจุดอ่อน หรือคิดกลับกัน บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่งไม่เหมือนกัน เราเป็นลูกน้องไปละลาบละล้วงจะเหมาะสมหรือไม่

ครั้งหนึ่ง เคยมีพนักงานเดินมาและว่าผู้จัดการทำไมได้สิทธิรับประทานอาหารกลางวันโดยไม่ต้องลงไปนั่งรวมกับพนักงาน เรื่องอย่างนี้ก็ละเอียดอ่อน คงตอบใน ISO ลำบาก คงต้องตอบแบบงานบริหารทรัพยากรบุคคล มองแบบกลางๆ เช่น ถ้าจะไม่ให้เกิดปัญหานี้ ทุกคนเท่าเทียมกัน ก็กำหนดไปว่า ทุกคนต้องรับประทานที่โรงอาหาร เก้าอี้ตัวใดก็สามารถนั่งได้
หรือในทางกลับกันองค์กรนั้นต้องการผู้จัดการทุกฝ่ายมานั่งรับประทานอาหารร่วมกัน เพื่อจะได้มีโอกาสถามไถ่ปัญหาต่างๆ หรือปรึกษาหารือกัน นอกจากเวลาอาหารเที่ยงแล้ว แทบจะตามตัวกันยากหน่อย
ผู้เขียนพูดกับพนักงานคนนั้นไปว่า ถ้าต้องการได้สิทธินั้นต้องตั้งใจทำงาน มีความรับผิดชอบ แล้วไต่มาให้ถึงระดับผู้จัดการคุณก็จะได้สิทธินั้น เมื่อคุณถึงวันนั้นผมฝากคำพูดให้คุณช่วยจำไว้ชั่วชีวิต หากมีพนักงานเข้ามาถามและแสดงกริยาที่ไม่ดี คุณจะคิดอย่างไร แต่วันนี้คุณยังไม่มีสิทธินี้ ขอให้ลงไปทำงานพร้อมกับปรับปรุงมารยาทและวินัยเพื่อตัวคุณเอง

ผู้เขียนนึกถึงอีกเรื่องหนึ่ง สมัยทำ Internal Audit ซึ่งโรงงานเรามีสามมาตรฐานทั้ง ISO9001, ISO14001, OHSAS18001 ตอนไปตรวจเรื่องการบริหารคุณภาพ พนักงานกำลังเชื่อมและเจียรชิ้นงานโลหะ มีป้ายระบุ ณ จุดงานชัดเจนให้สวมแว่นตานิรภัย ใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลหลายอย่างเพื่อความปลอดภัยในการทำงานและเพื่อตัวพนักงานด้วย กำลังจะทดลองรวมสามระบบ แต่ช่วงแรกให้ตรวจ ISO9001 ก่อน อีกวันค่อยมาตรวจ ISO14001 พร้อม OHSAS18001 

Internal Auditor บอกว่าไม่ใส่แว่นตานิรภัยตามกฎการทำงานถือว่า ผิด แต่พนักงานผู้นั้นบอกว่า ISO9001 ไม่มีสิทธิ์ออกข้อบกพร่อง (CAR) เพราะยังไม่ตรวจเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัย(Occupational Health and Safety) กรณีนี้ถ้าเป็นผู้ตรวจสอบจากภายนอก( CB) คงโดนออก CAR ของ ISO9001:2015
ข้อกำหนดที่ 7.3.1 เพราะขาดเรื่อง Awareness
ข้อความในวงเล็บช่วยให้กระจ่าง (.....ensure that its personnel are aware of the relevance and importance of their activities and how they contribute to the achievement of the quality, and)
การตรวจประเมินว่า Top management มีความมุ่งมั่นหรือไม่ ยังมีอีกหลายคำถาม

คำถามเกี่ยวกับการตรวจประเมินว่ามี Continual Improvement หรือไม่ ยังมีเกี่ยวข้องกับข้อกำหนด อื่นๆ เช่น
5.2 Quality Policy
6.2 Quality Objective
9.3 Management Review
9.2 Internal Audit
9.1.3 Analysis and Evaluatio
10.3 Continual Improvement
10.2 NC and Corrective Action
6.1.2.1 Risk Analysis
6.1.2.2 Preventive Action
6.1.2.3 Contingency Plams
หากว่าองค์กรมีทำตามหัวข้อข้างบนทั้งหมด โดยทุกหัวข้อถือว่าเป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
และใน ISO ใช้คำภาษาอังกฤษใช้ว่า  Continual Improvement จะอธิบายต่อครวหน้า

ผู้เขียนเคยเข้าทำงานหน่วยงานหนึ่งเกี่ยวกับ ISO ตอนนั้นโรงงานยังทำ ISO9002 เป็นส่วนใหญ่และใช้ข้อกำหนด ISO9001, 9002, 9003 ของ Version 1987 
ต่อมาเปลี่ยนเป็น ISO9001,9002,9003 Version 1994 และผู้เขียนได้ไปอบรมใหม่ของหลักสูตร
Lead Assessor/Assessor ยุคนั้นสอนเป็นภาษาอังกฤษเรียนหนักมาก และเลิกดึกหรือเที่ยงคืน
ต่อมาผู้เขียนกลับเข้าทำงานในโรงงานอีกสิบกว่าปี ก็ยังอยู่ในวงการ ISO เพราะเป็นฝ่ายที่รับผิดชอบงาน ISO และเป็นตัวแทนฝ่ายบริหารมาตลอด (Management Representative) ติดตามดูการอบรมภายในเรื่อง Internal Auditorจากอบรมสามวัน ต่อมาก็ลดกันเหลือสองวัน ยิ่งปัจจุบันลดลงเหลือเพียงหนึ่งวันก็มี ทำให้น้องๆหรือพนักงานทำการตรวจประเมินไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะข้อกำหนดยังตีความไม่ค่อยกระจ่าง ยังสับสนกับคำถาม จะมุ่งอะไร หวังอะไร ก็ยังดูงงๆ มีกระบวนการใดเกี่ยวพันบ้าง ก็ยังมองไม่ออก ผู้เขียนขอแนะนำว่าให้มองงานเป็น Process Approach และทำงานแบบวงล้อเดมมิ่ง (PDCA)  และใช้คำถาม 5W1H จะช่วย Auditor มือใหม่ได้มาก


ช่วงนี้ประเทศไทยเรา เกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ ทำให้งานมหกรรมพืชสวนโลก ที่จังหวัดเชียงใหม่ ต้องเลื่อนออกไป เริ่มงานวันที่ 14 ธันวาคม 2011 ตอนนี้น้ำท่วมกรุงเทพ บ้านของผู้เขียนแถวถนนรามคำแหง ก็อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ช่วงนี้ต้องเก็บของขึ้นที่สูง เดือนหน้าก็จะหาเวลามาเขียนบทความต่อนะครับ

การตรวจหัวข้อเรื่อง สถาพแวดล้อมสำหรับการดำเนินการ ของเก่าเรียกสภาพแวดล้อมในการทำงาน Work Environment : (ข้อกำหนดใหม่ 7.1.4 ของ ISO9001:2015 & IATF16949:2016)
วันที่ 3 ธันวาคม หลายปีแล้ว ผู้เขียนได้ไปจังหวัดนครราชสีมา ไปพบงานลดราคาสินค้าของบริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ งานจัดวันที่ 2-12 ธันวาคม 2011 ทำให้ผู้เขียนจะยกข้อกำหนดเรื่อง Work Environment ตามข้อกำหนดของ ISO 9001:2015 มาเขียนซึ่งไม่เกี่ยวกับโรงงานนี้ แต่จะเขียนแบบกรณีศึกษาของข้อกำหนดเท่านั้น จะว่าไป CEO ของโรงงานนี้ก็เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและทำประโยชน์ต่อสังคม จนได้รับปริญญาดุฎดีบัณฑิตเมื่อเ็ร็วๆนี้ คือ คุณ สนั่น อังอุบลกุล ผู้เขียนไม่ได้รู้จักท่าน เพียงแต่เคยอยู่ทำงานโรงงานหนึ่งในอดีต ที่เคยผลิตผงเมลามินส่งขายให้เท่านั้น เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทำมาจากผงเมลามีน นำไปอัดขึ้นรูปเป็นจาน ชาม แก้วน้ำ ถ้วย ช้อน ถาดอาหารและสารพัดมากมาย ในงานฟังว่าส่งออกไปขายกว่าหนึ่งร้อยหกสิบประเทศ สมัยผู้เขียนเป็น Auditor หรือ กลับไปเป็น QA Manager ในโรงงานญี่ปุ่น ซึ่งโรงงานศรีไทยฯก็เป็น Supplier ของผู้เขียนซึ่งมีหน้าที่ต้องไปตรวจสอบ ณ โรงงาน จัดว่าบริหารได้ดี 
โรงงานศรีไทยยังมีที่นิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี และสาขาสุขสวัสดิ์ 36 บางประกอก กรุงเทพฯ 

   ที่โรงงานสาขานครราชสีมา หรือโคราช ถ้าเดินทางจากตัวเมืองโคราชไป ซึ่งระยะทางใกล้ โดยออกทางหัวทะเลไปแค่ เจ็ดกิโลเมตรจากตัวเมือง ก่อนถึงด่านเกวียน พบทางแยกซ้าย ให้เลี้ยวเข้าไปที่นิคมอุตสาหกรรมสุรนารีประมาณสองกิโลเมตร หากมาทางปักธงชัยสามารถเดินทางมาได้เช่นกัน เข้าเส้นทางไปอำเภอโชคชัย (จะใกล้กว่าเฉพาะผู้มาจากทางวังน้ำเขียวและกบินทร์บุรี) เลยสวนสัตว์ไปหลายกิโลเมตร จะพบแยกตัวทีให้เลี้ยวซ้ายมาอีกสิบสามกิโลเมตร ผ่านด่านเกวียน และนิคมอยู่ทางด้านขวามือนอกจากซื้อสินค้าแล้ว ผู้เขียนก็ดูตามบอร์ด พบว่ามีการจัดการด้านอนุรักษ์พลังงาน มีนโยบายด้านพลังงาน เช่นลดการใช้ไฟฟ้า อื่นๆ มีแต่งตั้งคณะทำงาน ก็ขอเล่าให้ฟังว่าเป็นการทำที่นอกจากได้ประโยชน์ต่อโรงงาน ยังมีประโยชน์และเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวมเช่นกัน คือลดโลกร้อนด้วย ปีหน้า 2012 ผู้เขียนคิดว่า ระบบการจัดการด้านพลังงาน (Energy Management System หรือ ISO50001) จะเริ่มแพร่หลายและมีการจัดทำในโรงงานต่างๆมากขึ้น
    
    กลับเข้ามาเรื่อง ISO9001 คำว่า สภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ในระบบคุณภาพ คือ ถ้ามีสิ่งสกปรก ควัน เขม่าจาก Boiler ปลิวเข้ามาใส่ ปะปนในขณะเพรส (Press) ขณะอัดขึ้นรูปสินค้าไม่ว่าจะเป็นของโรงงานใด(สมมุติ) ผลลัพท์จะพบคราบดำ สิ่งสกปรกติดในเนื้อสินค้า ถือว่ามีผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ เวลาทำ Internal Audit สามารถออก CAR ได้ การแก้ไขของฝ่ายที่รับผิดชอบต้องไปกำจัดที่ต้นเหตุและป้องกัน

  ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 9001 หมายรวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่เกิดจาก แสง สี แสง ฝุ่น ควัน ความร้อน แต่ดูเหมือนว่าผู้ตรวจสอบระบบคุณภาพ จะตรวจหัวข้อนี้พอสมควรไม่ได้เน้นเจาะลึก เอาแบบเข้มงวด  ในทางกลับกันหากว่าเป็นโรงงานผลิตอาหาร มี ISO22000 (Food Safety Management System) หรือโรงงานที่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO14001) หรือโรงงานที่มีการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทั้ง OHSAS18001 และ TIS18001 ผู้ตรวจสอบ (Auditor) ในแต่ละมาตรฐานก็มีตรวจหัวข้อลักษณะนี้ มุ่งเน้นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบไม่เพียงแต่ผลิตภัณฑ์ ยังหมายรวมไปถึงสุขภาพต่อตัวพนักงานที่ปฎิบัติงานในสภาพแวดล้อมนั้นว่าส่งผลกระทบหรือไม่ ก่อให้เกิดอัตรายด้วยหรือไม่ หัวข้อเหล่านี้ตรวจประเมินทีไร ก็มักจะพบสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดได้เสมอ

  ผู้เขียนขอเล่าให้ฟังเรื่องผลิตภัณฑ์เมลามีน ปัจจุบันทำสวยมาก สามารถใส่ในเตาไมโครเวฟได้ แต่ก่อนใส่ไม่ได้จะแตก รายละเอียดแต่ละสินค้าคงต้องสอบถามผู้ขายกัน ผู้เขียนรีบซื้อ มีเวลาน้อย ก็ซื้อมาหลายพันบาทจะนำไปฝากญาติๆด้วย ที่บ้านผู้เขียนก็มีใช้อยู่แล้วค่อนข้างมาก ผลิตเหล่านี้หากการผลิตใส่เยื่อกระดาษมากไป ก็จะเปาะ มีโอกาสแตกได้มากขึ้น ผู้เขียนมีความทรงจำว่า ผลิตภัณฑ์ซุปเปอร์แวร์ดีมาก แพงมาก และหายาก เป็นความทรงจำสมัยเด็ก ย้อนไปเมื่อ 44 ปีที่แล้ว คือ พ.ศ. 2510 บ้านผู้เขียนอยู่ที่อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ สมัยนั้นไฟฟ้าของอำเภอเล็กๆ  มีใช้แค่หกโมงเย็นถึงสี่ทุ่ม สภาพไกลปืนเที่ยงมากๆ ที่บ้านผู้เขียนได้ชามซุปเปอร์แวร์มาจากกรุงเทพฯสองใบ ชามทั้งสองใบนี้มาจากทหารอเมริกันให้ผ่านทางญาติมา นำมาโยนเท่าไรก็ไม่แตก ปรากฎว่าชาวบ้านใกล้เรือนเคียงแปลกใจกันมาก มามุงดูและขอดูกันทุกวัน กลายเป็นเรื่องอัศจรรย์และเป็นภาพที่ติดตาตรึงใจผู้เขียน ต่อมาให้หลังอีกกว่าสิบปี 

ผู้เขียนได้มีโอกาศมาอยู่ที่กรุงเทพฯและเรียนต่อที่จุฬาฯ มีภาพยนต์มาฉายเรื่อง เทวดาท่าจะบ๊องซ์ภาค1 จากเนื้อเรื่อง มีเครื่องบินได้บินบนน่านฟ้า นักบินดื่มโคคาโคล่าเสร็จ ก็โยนขวดน้ำอัดลมลงมาบนพื้นดิน ชาวเผ่าเก็บขวดมาดู กลายเป็นสิ่งอัศจรรย์จากท้องฟ้า เพราะไม่เคยพบเห็นมาก่อน สภาพก็ไม่ต่างจากโยนชามเมลามีน บางเรื่องคนเราไม่รู้ ก็คือไม่รู้จริงๆ จะไปขบขันเขาเหล่านั้นก็ดูไม่ดี อย่างน้อยทั้งขวดน้ำอัดลมและชามเมลามีน ณ เวลานั้นก็คือสิ่งอัศจรรย์ใจ ต่อชาวเผ่าและชาวบ้านท่าตะโกกลุ่มหนึ่ง

   มื่อไม่นานผู้เขียนพบข่าวการวิจัยว่า เมลามีนเมื่อโดนความร้อนที่มาก หรือประมาณหนึ่งร้อยองศาเซียนเซสจะมีสารละลายออกมา ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เราควรใช้ใส่อาหารที่อุ่นๆหรือต่ำกว่าแปดสิบองศาเซียนเซส น่าจะปลอดภัย อย่างไรผู้เขียนก็ยังชอบใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เพียงแต่หลีกเลี่ยงที่จะใส่น้ำร้อนจัดมากๆ นอกจากน้ำหนักเบา สวยงาม ทำความสะอาดง่าย ราคาไม่แพง และยังเป็นสิ่งอัศจรรย์ตอนเด็กที่ผู้เขียนยังทรงจำมาตลอดจวบจนทุกวันนี้

   แต่ข่าวว่าบางนักวิจัย ยังไม่แน่ใจ โดยคิดว่ายังใช้เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารที่มีอุณหภูมิหนึ่งร้อยองศาเซ็นเซียสได้ และไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกาย คงต้องติดตามดูจากผลการวิจัยและหลักฐานจะว่าอย่างไรในอนาคต (ลองค้นหาผลลัพท์การวิจัยต่างๆของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา จะมีมากมายแทบทุกเรื่อง ทุกสาขาวิชาชีพ) สำหรับผู้เขียน ขอ Safety และ Safety ไว้ก่อน ซึ่งผิดกับบางอย่างโดนความร้อนแล้ว ความเป็นพิษลดลง เช่น มันสำปะหลัง รับประทานดิบๆ จะเป็นพิษ หากนำไปทำสุกจะปลอดภัย หรืออาหารประเภทปลามักมีการแช่ฟอร์มารีน หรือที่เรารู้จักกันดี ที่เรียกว่าน้ำยาดองศพ หากโดนความร้อนเกินกว่าหกสิบองศาเซ็นเซียส สารประเภทนี้ก็จะสลายตัวเช่นเดียวกับช่วงน้ำท่วม จะพบว่าน้ำประปามีปริิมาณคลอรีนมากกว่าปกติเพื่อการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ หากปล่อยทิ้งไว้สักสองวันหรือโดนความร้อนเกินกว่าหกสิบองศาเซ็นเซียส กลิ่นและสารคลอรีนก็จะสลายไป หากอุณหภูมิสักปริมาณแปดสิบองศาเซียนเซส สามารถลดเชื้อโรคส่วนใหญ่ลง ยกเว้นเชื้อโรคบางประเภทที่ทนอุณหภูมิร้อน โดยเชื้อโรคประเภทนี้ มักมี Endospore  เรื่องราวเหล่านี้ผู้เขียนจะนำไปเขียนในบทความทางด้าน FSMS หรือ ISO22000 (ดูจาก   http://qualitysolving.blogspot.com/ )

    ส่วนการกินเนื้อปลาปักเป้าแล้วเสียชีวิต เกิดจากคนละเหตุผล เนื่องจากถุงน้ำดีของปลาแตก มีสารซะยาไนด์ในปริมาณที่เข้มข้นซึมเข้าเนื้อปลา ที่ญี่ปุ่นนิยมกินปลาดิบ กุ๊กที่จะชำแหละและปรุงอาหารประเภทปลาปักเป้าต้องมี Certificate รองรับ ฉะนั้นการไปกินลูกชิ้นปลาจะสุกหรือดิบ โดยที่ไม่รู้แหล่งที่มา มีโอกาสกินเนื้อปลาต้องห้ามที่มีปริมาณสารพิษหรือบางครั้งแจ๊กพอทไปปะปนสารหนู หรือ อะซะนิค (หากดูภาพยนต์จีนสมัยเก่าๆมักพบว่า นิยมนำมาใช้เป็นยาพิษเพื่อสังหารผู้อื่นแบบตายเงียบ)   ปัญหาเนื้อปลาทั่วไปที่มีการปลอมปนเนื้อปลาปักเป้าในไทย ก็มีพบที่จังหวัดสมุทรสาคร หรือที่อื่นๆ โดยมีข่าวการจับกุมได้หลายครั้งสำหรับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือรู้แต่ขาดจิตสำนึกเพราะต้องการกำไรมากๆ

     การตรวจหัวข้อเรื่อง Continual Improvement  :
     ผู้ตรวจสอบทำการตรวจประเมินหัวข้อ  Continual Improvement  จะมุ่งเน้นอะไร และอย่างไร จะถามคำถามใดบ้าง
     ผู้เขียนขอให้ผู้อ่าน ลองเปิดดูข้อกำหนดของ ISO9001:2008 (ถ้ามี)ในข้อกำหนด 10.3 Continual Improvement ในพารากราฟแรก ทั้งสามบรรทัดระบุว่าองค์กรที่มี  Quality Policy,  Quality Objective, Audit Results, Analysis of  Data,  Corrective Action, Preventive Action และ Management Review นับเป็นการปรับปรุง(Improvement)ขององค์กร 

     โดยองค์กรที่เริ่มจัดทำระบบการจัดการคุณภาพ หากเป็นโรงงานขนาดใหญ่ มักไม่มีปัญหา เพราะผู้บริหารองค์กรมีกลยุทธ์ในเชิงบริหาร กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) นำปัญหาขององค์กรมาทบทวน จากนั้นออกนโยบายคุณภาพ (Quality Policy) กำหนดวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ (Quality Objective) ได้อย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายคุณภาพ มีกำหนดตัวชี้วัด(KPI หรือ Key Performance Indicator)และค่าเป้าหมาย(Target) ซึ่ง QMS หรือ  ISO9001 Version 2008 ตามข้อกำหนดที่ 5.4.1  หัวข้อเรื่อง Quality Objective เน้นให้องค์กรต้องมีสิ่งเหล่านี้ 

     หากย้อนไปเป็นISO ของเวอร์ชั่นปี 1994 ณ เวลานั้นยังเป็นการประกันคุณภาพ หรือ Quality Assurance ผู้เขียนได้ไปทำงานที่โรงงานขนาดเล็กประมาณกลางปี 2542 หรือ ค.ศ. 1999 จะบอกว่าไม่มีระบบด้านคุณภาพก็ว่าได้ เพราะสิ่งที่ต้องทำตามหัวข้อ 8.5.1 แทบจะไม่มีเลย ยิ่งหัวข้อ 5.4.1 ก็ไม่มี ทุกฝ่ายไม่มีวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ จึงไม่มีกำหนด KPI ในการทำงาน แต่จะพูดอย่างนี้ก็ไม่ถูกเสมอไป อย่างน้อยก็มีกำหนดให้ฝ่ายขายต้องทำยอดขายให้ได้เดือนละเท่าไร แต่ไม่มีแผนงาน หรือ Action Plans เพื่อต้องทำอย่างไรให้บรรลุผล

     หลังจากผู้เขียนมีเหตุต้องลาออกจากที่เก่า แต่ก็ยังช่วยทำงานโรงงานที่ยื่นลาออกแล้วต่ออีกสองเดือน หรือ 60 วัน(ตามระเบียบคือ 30 วัน) ช่วงใกล้ๆจะสิ้นสุดวาระงานคือสัปดาห์สุดท้ายของหน้าที่ ก็เริ่มหางานใหม่ (เดิมคิดจะย้ายกลับบ้านต่างจังหวัดทางภาคเหนือ แต่มีเหตุต้องอยู่แถวๆกรุงเทพฯต่อ) หลังจากสมัครงานทางจดหมายไปเพียงสามวัน ก็ได้รับการติดต่อให้ไปสัมภาษณ์ พอเข้าไปนั่งห้องรอการสัมภาษณ์ ทางเลขาณุการของโรงงานนี้ก็ไม่ยอมให้รายละเอียดใดๆ บอกว่า MD สั่งไว้ ทันทีที่ผู้เขียนพบกับ MD ของโรงงานนี้ก็ต้องตกใจมาก เพราะนึกไม่ถึงว่าจะเป็น มร. หวาง ซึ่งเคยรู้จักกับท่านจากโรงงานเก่าที่เพิ่งลาออกมา 

ตอนแรกผู้เขียนคิดว่าจะไม่ทำที่นี่ แต่คุณหวางขอให้ช่วยทำระบบให้ สุดท้ายผู้เขียนก็ตกลงใจทำ แต่การมาอยู่โรงงานที่นี่ก็เหมือนฝัน อยู่ทำงานที่ใหม่ได้สักหนึ่งเดือน และโรงงานเก่าจัดกิจกรรม ชวนไปร่วมงานนอกสถานที่ก็ไปร่วมด้วย บังเอิญพบกับน้องผู้จัดการแผนก QC กระซิบว่าคุณหวาง ไม่ค่อยถูกกับ MD ที่เก่าอย่างมาก ทำให้ผู้เขียนไม่สบายใจ เพราะเกรงว่าโรงงานเก่าจะเข้าใจผิด ต่อไปอาจคิดว่าโดนซื้อตัวมา แม้ว่าผู้เขียนจะลาออกไปแล้ว ประสงค์ให้มีความทรงจำที่ดีๆต่อกันกับทุกแห่งที่เคยร่วมงาน กับคู่แข่งเก่าก็จะไม่ไปทำงานให้ ถึงจะว่างงานสักพัก ค่อยสมัครใหม่ยังดีกว่า

    พอก้าวเข้าสู่เดือนที่สอง จากเหตุผลข้างบน ทำให้ผู้เขียนตัดสินใจขอลาออกจากคุณหวาง  
แต่ที่นี่ขาดคนเป็น QMR และเพิ่งเริ่มทำระบบคุณภาพ สุดท้ายผู้เขียนยังอยู่ช่วยงานต่อไปจนกว่าจะทำระบบสำเร็จ จึงเป็นทั้ง Advisor และ QMR ให้ชั่วคราว (ก็ร่วมหนึ่งปี) ช่วงนั้นผู้เขียนก้าวสู่งานเป็นที่ปรึกษา ISO อย่างเต็มตัว  จากจุดนี้เสมือนเป็นวงเวียนชีวิตที่ผู้เขียนวนเวียนเข้าและออกจากโรงงานถึงสามครั้งสลับกับการทำงานที่ปรึกษา ISO แต่ใจผู้เขียนชอบชีวิตโรงงานมาก ก็ยังคงคลุกคลีกับชีวิตโรงงานตลอดมาไม่ว่าจะทำงานหน้าที่ใด หรือช่วงหนึ่งของชีวิตเคยรับราชการ ก็ทำงานอยู่กระทรวงอุตสาหกรรม ก็หนีไม่พ้นต้องเข้าไปตรวจสอบโรงงานเช่นกัน

    การมาทำงานโรงงานขนาดเล็กที่นี่ สามารถปรับปรุงอะไรได้รวดเร็ว พนักงานมักให้ความร่วมมือ เพราะอยากมีกิจกรรมทำ มิฉะนั้น วันๆจะทำงานแบบเงียบเหงา เช้ามาทำงาน ตกเย็นก็กลับบ้าน และดูละคร ไม่มีการคิด หรือ Thinking ฉะนั้นการทำระบบคุณภาพต้องชี้แจงให้พนักงานเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่องค์กรและพนักงานจะได้รับ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม มีการสื่อสารที่ชัดเจนและทั่วถึง เพื่อการปรับปรุงและการจัดการคุณภาพที่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็เพื่อความอยู่รอด หากไม่ได้รับรอง ISO แล้ว โอกาสที่ลูกค้าจะปฎิเสธการซื้อขายสินค้ามีมากขึ้น ยอดขายเริ่มลดลง ที่นี่ใช้เวลาทำระบบประมาณสี่เดือน และยื่นขอรับการตรวจประเมิน และได้รับการรับรองระบบคุณภาพจาก SGS

    การตรวจประเมินจะเริ่มจากขอดูการกำหนดวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ ว่าเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายคุณภาพหรือไม่ การตั้งค่าเป้าหมายทำได้หรือไม่ การทำไม่ได้ตามเป้าหมาย แต่มี Action และพยามจัดทำต่อไป หรือมีการทำ Action Plans  ผู้ตรวจสอบมักผ่อนปรนให้ช่วงแรกๆ เพราะโรงงานขนาดเล็กๆ ยังขาดความพร้อมในหลายๆด้าน ให้โอกาสปรับปรุงทีละขั้น การตรวจประเมิน เน้นดูว่า KPI (ข้อกำหนด 6.2) ทำได้ จากนั้นจะดำเนินการตรวจต่อไปในข้อกำหนด 10.3 ว่าองค์กรจะปรับปรุงเรื่องใดต่อไป หลายๆโรงงานมักมีกิจกรรมข้อเสนอแนะ หรือ ญี่ปุ่นเรียก ไคเซ็น (พนักงานไทยมักบอกว่า กูเซ็นต์ (เอง)) บางโรงงานก็มีกิจกรรมกลุ่มย่อย หรือ QCC ส่วนใหญ่มักมี 5 ส แต่โรงงานผลิตอาหารในญี่ปุ่นใช้ถึง 7 ส สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวถึงก็เป็นตัวช่วยให้โรงงานสามารถปรับปรุงได้อย่างต่ิอเนื่องและมั่นคง ผู้เขียนแนะนำให้องค์กรนำ ISO 9004 เข้ามาเสริมและปฎิบัติเพื่อการปรับปรุงที่ยั่งยืนยิ่งๆขึ้น (Guidance to management for achieving sustained success for any organization)

     หากผลลัพท์หรือ Results ไม่ได้ จะขยายผลตรวจสอบถึงข้อกำหนด 10.2 Corrective Action มีหรือไม่ หากปล่อยปะละเลย หรือปฎิบัติการล่าช้ามากๆ ก็ถือว่าไม่มีการปฎิบัติการแก้ไข หรือ ขาดการ Corrective Action ให้ CAR ว่าไม่มีปฎิบัติการแก้ไข คือไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด 10.2 หากไม่มีระบุและทำเกี่ยวกับ KPI หรือไม่กำหนดวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ  หรือกำหนดไม่เหมาะสม คือความไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด 6.2
    ขอเล่าชีวิตโรงงานอีกสักนิด ไม่ว่าจะเป็นที่เก่าหรือที่ใหม่ การทำงานเกี่ยวกับ ISO ต้องประสานงานกับทุกคน การเริ่มต้นเข้ามาทำงานที่นี่เดือนแรก กลางปี 2542 ตำแหน่งรองผู้จัดการโรงงาน พบว่างานบุคคลที่นี่ก็ไม่ชัดเจน ต้องช่วยงานฝ่ายบุคคลไปก่อนชั่วคราว เพราะผู้จัดการโรงงานเป็นชาวต่างชาติไม่เข้าใจกฎหมายแรงงานไทย มักจะทำอะไรก็ได้ตามใจฉัน  เช่น ลดวันหยุดพักร้อนจากที่ให้ปีละหกวัน จะตัดเหลือศูนย์ ซึ่งพนักงานก็ไม่ยอม ต่อมามีเหตุการณ์พนักงานลักทรัพย์สินของผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการโรงงานหาหลักฐานมายืนยันไม่ได้ มาขอให้ผู้เขียนดำเนินการต่อ โดยจะให้เลิกจ้างพนักงานคนนั้น ทำให้ผู้เขียนนึกถึงโรงงานเก่าที่เพิ่งจะลาออกมา ที่โน่นเลิกจ้างไปสามคน จะหาใครมาเป็นพยานคงยาก เพราะทุกคนกลัวจะเป็นอันตราย คราวนั้นผู้เขียนก็เห็นดีและเสนอร่วมกับฝ่ายบุคคลให้เลิกจ้างทั้งสามคน เพราะรู้ทั้งรู้ว่าเป็นลูกหลานผู้ใหญ่บ้าน และผู้กว้างขวาง แต่หน้าที่ก็ต้องจัดการและคิดว่าการเลิกจ้างก็ช่วยครอบครัวของพนักงานด้วย
     มาที่นี่จะเข้าตำราเดิมอีกหรือ ที่เก่าเราก็ได้ข่าวว่าท่าน MD หรือที่เรียกว่า President ปรยในที่ประชุมที่สำนักงานสีลมว่า คนไม่ดี แต่โรงงานใช้เลิกจ้าง ที่สีลม ท่านให้ออก ทำให้เรารู้สึกว่าทำผิดหลักการจัดการ  ที่สำคัญดีไม่ดี ผู้จัดการโรงงานที่เรานับถือจะเดือดร้อนเพราะคล้อยตามที่เรากับ HR เสนอขึ้นไป ก็จริงอย่างที่ท่านPresident พูดไว้  ในเวลาต่อมามีอีกหลายคน มาขอให้ผู้เขียนช่วยเลิกจ้าง หลังจากผู้เขียนตัดสินใจอำลาออกมาแล้ว
   มาที่ใหม่ผู้เขียนเปลี่ยนใจไม่ใช้วิธีการเลิกจ้าง โดยเรียกพนักงานเข้ามาคุยสองต่อสอง พนักงานก็ปฎิเสธ หากไม่มีพยานและหลักฐานก็เอาผิดไม่ได้  แม้ว่ายามหนึ่งคนจะเห็นและยืนยัน  แต่กลับไม่จับตัว ณ เวลานั้น(ยามวิกาล) บวกกับพนักงานคนนั้นไม่ถูกกับยาม ทำให้เรื่องยุ่งยากขึ้นมาก ผู้เขียนได้ตรวจสอบและทราบความจริง ยื่นคำขาดว่าให้พนักงานที่กระทำผิดลาออกไป หรือจะให้ผมแจ้งตำรวจก็ให้เตรียมหาคนไปประกันตัว เพราะคดีลักทรัพท์เป็นอาญาแผ่นดิน เรื่องถึงสถานีตำรวจแล้ว จะยอมความไม่ได้ แม้โรงงาน(หรือเจ้าทุกข์) เกิดเปลี่ยนใจไม่เอาเรื่อง แต่ตำรวจต้องดำเนินคดีถึงที่สุด ผู้เขียนบอกพนักงานว่า มีหลักฐานเป็นภาพจากกล้องวงจรปิดแบบไร้สาย มีบันทึกภาพของคุณได้กระทำผิด ในที่สุดพนักงานคนนั้นยอมรับสารภาพ และขอลาออกทันที  ช่วงที่สอบสวนพนักงานคนนั้น ก็จะขอดูภาพ แต่ผู้เขียนบอกว่า ถ้าจะดูไปดูที่สถานีตำรวจพร้อมกัน ซึ่งในความจริงแล้ว โรงงานไม่มีติดกล้องวงจรปิดใดๆ หากว่าพนักงานคนนั้นใจถึง ไม่กลัวตำรวจ ผู้จัดการโรงงานก็พร้อมจ่ายค่าเลิกจ้าง แต่จะให้หกเดือน โดยอายุงานพนักงานคนนั้นทำงานมา 9 ปี 11 เดือน กับ 10 วัน ตามกฎหมายให้ปัดเศษของเดือน กรณีนี้ต้องถือว่าทำครบ 10 ปี ซึ่งเกี่ยงกันอยู่ที่คนหนึ่ง(ผู้จัดการโรงงาน)จะให้หกเดือน อีกคน(พนักงานที่กระทำผิด)ขอค่าเลิกจ้างสิบเดือน สุดท้ายผู้เขียนให้เป็นศูนย์  ให้พนักงานคนนั้นลาออกไปและจบกัน
    เช่นเดียวกับที่ แจ็ค เวลช์ (Jack Welch) อดีตผู้บริหารของจีอี (General Electric) มีความคิดว่า พนักงานคนนั้นแม้จะเก่งมาก ทำงานได้ตามเป้าหมาย หากไม่ปฎิบัติตามระเบียบขององค์กร เป็นผมคือ แจ็ค เวลช์ ตัดสินใจให้เลิกจ้าง(คนกลุ่มที่สาม) หมายความว่า การเอาคนไม่ดีออกไป ผลลัพท์จะทำให้คนที่เหลือในองค์กรมากกว่า 95% มีความสุขในการทำงาน (โดยเจ็ค เวลช์แบ่งคนออกเป็นสี่กลุ่ม เนื้อหาเกี่ยวกับคน หรืองาน HR ผู้เขียนจะพยามนำไปเขียนลงในบล๊อคของ SA8000 ดูจาก Link   http://safetysolving.blogspot.com/ 
     ก้าวเข้าสู่เดือนที่สอง เป็นการก้าวออกจากตำแหน่งรองผู้จัดการโรงงาน และจุดเริ่มต้นสู่งานที่ปรึกษาแบบเต็มตัว  และที่นี่ก็ยังเป็น Advisor และ QMR ชั่วคราว โดยเข้ามาทำงานสัปดาห์ละหนึ่งวัน คิดค่าที่ปรึกษาประมาณหนึ่งหมื่นบาทต่อเดือน จึงต้องใช้เวลาที่เหลือไปทำที่อื่นอีกหลายๆโรงงาน แต่ผู้เขียนทำแล้วไม่กล้าคิดแพง หรือลงไปเป็น QMR ให้พร้อมกันในหลายโรงงานขนาดเล็กหรือบางครั้งทำๆไปลด แลก แจก แถม กลับออกมาก็มืดค่ำ ทำเสียระบบ Consultant สุดท้ายทำมากแต่ไม่ค่อยได้เงิน จึงกลับสู่โรงงาน อีกครั้ง การใช้ชีวิตโรงงานกับน้องๆก็มีความสุขมาก แต่บางครั้งน้องบางคนทำผิดพลาด ผู้บริหารจะให้ออก ผู้เขียนทนปล่อยน้องถูกกดดันไม่ได้ ก็รับผิดแทนไปและก็ลาออก วนเวียนอยู่สามถึงสี่ครั้ง ระหว่างงานที่ปรึกษาและงานผู้จัดการ 
    ช่วงหลังๆ ไม่ค่อยมีใครอยากอยู่ฝ่าย QA นัก เพราะผู้บริหารมักบอกว่า คุณภาพต้องมาก่อน (Quality First) แต่ลับๆกลับตรงข้าม จะเอาแต่ยอดผลิตให้มากๆ ฝ่ายผลิตจึงทำของเสียมากขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่ก็ไม่ใช่แบบนี้เสมอไปทุกโรงงาน หากเป็นโรงงานที่ฝ่าย QA ขึ้นตรงกับ MD (คือไม่ขึ้นตรงกับผู้จัดการโรงงาน) แบบนี้ทำงานด้านคุณภาพ สามารถถ่วงดุลกับฝ่ายผลิตหรือฝ่ายโรงงานได้
    ไหนๆ ก็คุยให้ฟังเรื่องชีวิตโรงงานแล้ว ขอต่ออีกหน่อย ที่นี่ดูน่าจะสงบดี แต่วันดีคืนดี ผู้จัดการโรงงานก่อกบฎ เรียกว่างัดข้อกับ MD เรียกว่าในโรงงานข้า(ผู้จัดการโรงงาน)ใหญ่ที่สุด  แม้แต่ MD มาใหม่ต้องฟังผม(MD มาอยู่ที่นี่ก่อนผู้เขียนไม่กี่เดือน และมาพบกันโดยบังเอิญ) ผู้เขียนทำด้าน ISO ก็ไม่ควรไปยุ่ง ทำอย่างกับคนดูมวย หรือดูฟุตบอล เห็นนักมวยและนักฟุตบอลเล่นไม่เร้าใจ โดดลงไปเล่นเอง อย่างไรก็ตามการเสียมารยาทกับหัวหน้า ผู้เขียนเห็นว่าไม่อันควร หัวหน้ามีสิทธิเลือกลูกน้อง แต่ลูกน้องไม่มีสิทธิเลือกหัวหน้า และก็ต้องทำตัวเป็นหัวหน้าที่ดีต่อลูกน้องด้วย การเสียสัมมาคาระวะ ย่อมไม่ถูกหลักการบริหาร ลูกน้องควรนับถือและให้เกียรติหัวหน้าตนเอง ผู้เขียนบอกว่า ถ้าผมเป็นเบอร์หนึ่ง แล้วเบอร์สอง เบอร์สามเสียมารยาท ต้องคุยกันส่วนตัว หากคุยไม่รู้เรื่อง บังคับบัญชากันไม่ได้และไม่ฟังกัน  สุดท้ายไม่สนว่าจะเกิดอะไรขึ้น คุณต้องไปก่อน หากบริษัทมองว่าเราทำผิดหรือตัดสินใจผิด หรือไม่เลือกเรา เราค่อยไป (คือไม่ต้องบอก เราพร้อมที่จะพิจารณาตนเอง)  ต่อมาทราบจากท่าน MD ว่า ผู้จัดการโรงงานได้กลับไปอยู่เกาะฟอร์โมซา หรือ ไต้หวัน (ออกจากโรงงาน) 

   ก่อนที่จะเขียน มุมมองของผู้ตรวจสอบต่อนั้น ขอให้ผู้อ่านต้องระวัง การบันทึกเบอร์มือถือไว้ใน Sim Card ต้อง Back Up ข้อมูล ผู้เขียนก็ไม่ได้ทำและไม่ได้จดลงสมุดด้วย พอการ์ดเสีย และศูนย์บริการแจ้งว่ากู้ข้อมูลไม่ได้เลย ข้อมูลเพื่อนๆและผู้ที่นับถือประมาณสามร้อยรายชื่อสูญหายหมด อะไรก็ตามที่เป็นข้อมูลสำคัญ ต้อง Back Up ไว้สัก 3 แห่ง

   ฉะนั้นสิ่งที่ผู้ตรวจสอบมุ่งหวังจากข้อกำหนด 6.2 คือ ให้องค์กรกำหนดวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพที่ชัดเจน มีตั้งค่าเป้าหมายที่สอดคล้องกับนโยบาย และสามารถวัดชี้และติดตามประสิทธิภาพของแต่ละหัวข้อนั่นเอง สำหรับโรงงานที่บริหารคุณภาพทั้งองค์กร หรือมี TQM (Total Quality Management)  จะเห็นภาพสิ่งเหล่านี้ชัดเจน โดยผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) จากนั้นกระจายนโยบาย (Policy Deployment) ไปยังทุกฝ่ายทั้งองค์กรหรือโรงงาน

   โรงงานที่จัดทำแผนคุณภาพ (Quality Plans) หรือแผนควบคุม (Control Plans) และมีเบี่ยงเบนจากค่าเป้าหมาย หรือจุดประสงค์องค์กร ให้พิจารณษความเสี่ยงด้วย

การจัดทำผลสรุปจากปัจจัยภายในและภายนอก รวมถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Interested Parties) ต้องนำเสนอผู้บริหารเพื่อกำหนด ปรับเปลี่ยนทิศทางกลยุทธ์ (Strategic Direction)

เมื่อทิศทางกลยุทธ์เปลี่ยนไป นโยบายคุณภาพ วิสัยทัศน์(Vision) และค่านิยม(Value) และวัตถุประสงค์หรือมองไปที่ KPIขององค์กรต้องปรับเปลี่ยนตาม และมีความสอดคล้อง สมเหตุสมผลกัน

ผู้บริหารมีทบทวน ปรับเปลี่ยนทิศทางกลยุทธ์ หรือกำหนดนโยบายคุณภาพ (Quality Policy) ลำดับถัดไปสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อให้การปฏิบัติหัวข้อนี้ตรวจประเมินผ่านอย่างมีประสิทธิผล คือ
1 กำหนดภาระกิจหรือพันธกิจ (Mission) ที่ตรงกับและชัดเจนจากนโยบายคุณภาพ(Quality Policy)
2 จากพันธกิจ(Mission) ให้กำหนดออกมาเป็นวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ(Quality Objective) ซึ่งจะทำให้สอดคล้องกับนโยบายคุณภาพ
3 กำหนดค่าเป้าหมาย (Targets) ที่ต้องวัดค่าได้จริง เช่นเป็นตัวเลข
4 ออกกลยุทธ์เพื่อให้ทุกวัตถุประสงค์บรรลุตามเป้าหมาย
5 ทำตามแผน(Plans) โดยออกแผนงาน (Action Plans) ใช้ติดตามประสิทธิภาพงานจากตัวชี้วัดหรือ KPI (Key Performance Indicator)

เร็วๆนี้มีภาพยนต์เรื่องดังที่แสดงโดย ทอม ครูซ เรื่อง Mission Impossible ตอนปฏิบัติการไร้เงา เมื่อหน่วยงานของพระเอกถูกป้ายความผิด พระเอกเราจึงออก
นโยบายว่า ขอลบล้างความผิดให้กับทุกคนในหน่วยงาน
ภาระกิจ คือ  การหาหลักฐานที่จะมายืนยันว่าบริสุทธิ์
วัตถุประสงค์ คือ การลบล้างความผิดให้กับทุกคนในหน่วยงาน
                           หรือการแก้ต่างว่าทุกคนไม่ผิด
ค่าเป้าหมาย คือ ภายใน 30 วัน
การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้ลงมือปฏิบัติการให้ได้มาซึ่งหลักฐานสำคัญ จะมีวิธีการอย่างไร มาตรการอะไร ท่านที่สนใจภาพยนต์แอกชั่น หลังจากไปดูภาพยนต์ที่ ทอม ครูซ แสดงแล้ว ช่วยผู้เขียนออกแผนงานด้วยนะครับ สำหรับพระเอกคนนี้ ผู้เขียนชอบมาก แต่นานแล้วสักสามปีเห็นจะได้ วงการภาพยนต์ต่างประเทศมีจัดสิบอันดับดารายอดนิยมที่ฉลาดน้อย หรือ IQ ต่ำ ไม่น่าเชื่อว่า ทอมครูซ ติดลำดับต้นๆ งงมากเลยวัดกันตรงไหน(วะ) ดูภาพยนต์สุดมันส์และเก่งสุดๆ แถมหล่อด้วย ใช้ KPI ตัวใดบ้าง
คิดว่าพระเอกไม่สนใจหรอก เพราะปีนั้นก็ฟันเงินจากการแสดง ติดอันดับต้นๆของอเมริกาด้วย มีเงินเป็นพันล้านบาท ไหนๆก็ขอพูดถึงพระเอกอีกคนที่แสดงภาพยนต์เรื่อง Speed ที่เรียกว่าแอกชั่นสุดๆ ผู้เขียนก็งงเช่นกันหลังพบข่าว(นานมากแล้ว) แต่งงาน แต่เจ้าสาวของพระเอกเราซิอึ้งไปทั้งบาง เขาว่าเป็น Man(Male)
สิ่งที่ผู้เขียนสื่อออกมา บางครั้งมีการเล่าชีวิตจริงจากการทำงาน เพื่อเป็นอุธาหรณ์ ขอทุกท่านไม่เบื่อและโกรธกัน โปรดติดตามต่อไป ยังมีอีกมาก ชีวิตผู้เขียน เจอแต่เรื่องหนักๆ ชีวิตโรงงานไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบ มีอยู่สองครั้งที่กล่าวในห้องประชุม ขอแสดงความรับผิดชอบและขอลาออก มิฉะนั้นน้องวิศวกรใหม่ ต้องไม่ผ่านทดลองงาน อาจจะกลายเป็นฝันร้ายไปทั้งชีวิต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ต้องตัดสินใจกระทันหัน ก่อนเกิดเหตุหนึ่งวัน มีลูกค้ามาตรวจ Code of Conduct หากพบสิ่งบกพร่องจะออกเสมือน CAR ให้แก้ไข โดยมีการกำหนดสี (Color) ดังนี้
สีเขียว(Green) หมายถึง ระบบดี ยังซื้อขายกันปกติ
สีเหลือง(Yellow) หมายถึง พบสิ่งบกพร่อง ต้องดำเนินการแก้ไข ยังไม่ลดคำสั่งซื้อ แต่เริ่มส่งสัญญาณ
                            เตือนภัยอาจส่งผลต่อยอดการสั่งซื้อในอนาคต
สีส้ม(Orange) หมายถึง การผลิตของโรงงาน ทั้งกระบวนการผลิต การประกอบ(Assembly) สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย หรือ งานแรงงาน อื่นๆ จะถูกลดคำสั่งซื้อลง เช่น ห้าสิบเปอร์เซ็นต์
สีแดง(Red)  หมายถึง ความพกพร่องที่ร้ายแรงหรือไม่ได้รับการปฏิบัติการแก้ไข ต้องยุติการซื้อขายชั่ว
                    คราวหรือถาวร
     ตัวอย่างจริงเมื่อปี ค.ศ. 2007 โรงงานไทยศิลป์ (การ์เม๊นท์) แถวถนนกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรประการ โดนข้อบกพร่องแถบสีแดง ลูกค้าต่างประเทศยุติการซื้อขาย พนักงานตกงานและออกมาปิดถนน  รถติดมโหฬาร ซึ่งก็อยู่ใกล้ๆกับโรงงานที่ผู้เขียน ซึ่งทำงานอยู่บริเวณนั้น

     พูดถึงลูกค้าตลาดอเมริกา กลัวมากเรื่องการก่อวินาศกรรม ช่วงพักเที่ยง ลูกค้าต้องการให้ผู้เขียนกำหนดพนักงานไปเฝ้าตู้คอนเทรนเนอร์ที่จะส่งออก กำลังขึ้นสินค้า โดยต้องห้ามเข้าออกช่วงพักเที่ยง ประตูทุกบานต้องปิดใส่กุญแจ หายามมาเฝ้า และขอให้จุดนั้น ต้องมีกล้องวงจรปิด ด้วยเหตุผลอาจจะมีอะไรซุกซ่อนไป เช่น ระเบิด เป็นต้น ตลอดทั้งวันลูกค้า ที่เป็นผู้ตรวจสอบ ตรวจเข้มงวดมาก กว่าจะเลิกประมาณสองทุ่มกว่า หลังจากผู้เขียนเดินไปส่งคณะผู้ตรวจสอบแล้ว กลับมาทำงานต่อที่โต๊ะทำงาน เพราะทั้งวันวุ่นแต่ติดตามการตรวจสอบ(Audit) ประมาณสี่ทุ่มมาดูและทบทวนรายงานที่ต้องใช้ประชุมในวันพรุ่งนี้ช่วงเช้า พบว่าตัวเลขดูผิดปกติ แต่น้องวิศวกรใหม่ ที่ทำรายงานและนำมาวางไว้บนโต๊ะ ได้กลับบ้านแล้ว ช่วงเช้าผู้เขียนรีบเข้าโรงงานเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง แต่พบนายมาดักรอ บอกผู้เขียนว่าลูกค้าที่มาตรวจเมื่อวาน ได้ออกรายงานว่ามีการทำงานล่วงเวลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด พนักงานคนไหนและใครพูด ให้ผู้เขียนไปไล่ออกให้หมด รายละเอียดเรื่องปัญหาคนและแรงงานสัมพันธ์ อ่านต่อใน SA8000 บล๊อกที่ 20
ของ     http://safetysolving.blogspot.com/
สุดท้ายไม่ได้คุยกับน้องวิศวกรใหม่ ระดับจัดการเข้าห้องประชุมแล้ว และที่ปรึกษาจากสำนักงานใหญ่ต่างประเทศ กำลังเข้าห้องประชุม ผู้เขียนและหัวหน้าของผู้เขียนก็รีบเข้าห้องประชุม จากนั้นฝ่ายผลิตรายงานของเสียตัวเลขจำนวนน้อยดูน่าพอใจผู้บริหาร แต่พอฝ่ายคุณภาพรายงานโดยวิศวกรใหม่ ตัวเลขสูงโด่ง ผู้อำนวยการถามว่าตัวเลขฝ่ายใดถูกต้อง ทุกคนยืนยันของตนถุกต้อง ท่านเริ่มอารมณ์เสีย หงุดหงิดเพราะว่ามีที่ปรึกษาอยู่ด้วย ที่ปรึกษาท่านนี้ทรงอิทธิพลสูง เล่าลือว่าสามารถส่งใครก็ได้ ตำแหน่งใดก็ได้ ให้กลับบ้านได้ทันที หรือปลดออกก็ยังได้
   
    ก่อนหน้าที่ผู้เขียนจะมอบหมายน้องวิศวกรใหม่เข้ามาดูงาน In-Process และย้ายหัวหน้าวิศวกรเก่าออก โดยปรับย้ายให้ไปทำหน้าที่ Out-Going แทน เพราะพอทราบระแคะระคายว่าน่าจะมีการซูเอี๋ยกัน รายงานทุกครั้ง ตัวเลขตรงกันเสมอ แต่ก็ไม่ผิดอะไร ที่จะร่วมกันทำรายงาน เพราะเป็นการทำงานแบบทีม (Team Work) ซึ่งผู้เขียก็ชอบมาก ผู้อำนวยการเริ่มหงุดหงิด ซักไซ้อย่างเข้มข้น กับน้องวิศวกรใหม่ ซึ่งก็ตอบโต้ท่านอย่างหนัก ยืนยันตัวเลข ไปด้วยความหวังดีและมั่นใจ ต่อมาผู้อำนวยการโรงงานเกิดอารมณ์อย่างมาก หันไปถามผู้จัดการฝ่ายบุคคลว่า คนนี้เป็นใคร (เพราะเพิ่งเห็นหน้าครั้งแรก) ทำงานมานานเท่าไรแล้ว ถึงจุดนี้ ผู้เขียนรู้ว่าเป็นสัญญาณไม่ดี ส่งซิกให้น้องวิศวกรใหม่(ที่อยู่ในช่วงทดลองงาน)ที่นั่งไกลกันพอควร ว่าห้ามโต้เถียงกับท่านแต่ไม่ทันการณ์

ผู้เขียนตัดสินใจเบรคเกมส์เซิฟ (ถ้าเล่นเทนนิส) ลุกขึ้นยืน กล่าวว่า ที่น้องวิศวกรกำลังรายงานนั้น ผมยังไม่ได้ดูรายงานให้ ต้องเป็นความรับผิดของผม เท่านั้นเอง มุมเปลี่ยนมาทางผู้เขียน แค่นั้นไม่พอ ที่ปรึกษาชักเริ่มไม่สบอารมณ์ถามว่าจะรับผิดชอบอย่างไร ผู้เขียนตอบไปว่า หลังเสร็จการประชุมนี้ จากนั้นจะไปเขียนใบลาออกที่ฝ่ายบุคคลให้ หัวข้อนี้จบทันที หลังออกจากห้องประชุม หัวหน้าของผู้เขียนมาบอกว่า ไม่ต้องลาออก ท่านตรวจสอบแล้วข้อมูลฝ่ายคุณภาพถูกต้องกว่า ของเสียต้องสูงกว่าฝ่ายผลิตประมาณหนึ่งหมื่นกว่าพีพีเอ็ม (ppm) และที่ปรึกษาท่านเข้าใจทุกอย่างแล้ว ข้อมูลฝ่ายผลิตต่ำกว่าความเป็นจริง เอาเป็นว่า ย้ายไปเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อชั่วคราว (ที่นี่ผู้จัดการฝ่ายทั้งสี่ จบด้านวิศวกรรมทุกคน ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายวิศวกรรม และฝ่ายจัดซื้อ) ต่อมาผู้เขียนเรียนท่านว่า คำพูดเป็นนาย เมื่อเรากล่าวลาออกแล้ว ขอไปดีกว่า ตลอดเวลาที่อยู่ร่วมกันแม้ช่วงสั้นๆ กลับมีความทรงจำและความนับถือที่ดีต่อกัน ขอกล่าวอำลา ทุกครั้งที่ลาออกจากโรงงานก็จะสลับไปทำที่ปรึกษา ISO สักพักก็กลับมาทำโรงงานอีก วนเวียนอยู่สามถึงสี่ครั้ง นี่แหละชีวิตโรงงาน เพื่อนๆถามว่าคิดอย่างไร ที่เดินสายนี้ ทั้งที่ครั้งหนึ่งน่าจะไปเป็นเภสัชกร อยู่โรงพยาบาลหรือร้านขายยา ผู้เขียนก็ยังตอบว่าชอบชีวิตโรงงานเหมือนอย่างกับอมฮอลล์

หัวข้อต่อไปที่จะกล่าวถึงจากข้อกำหนด 5.6 เรื่อง Management Review ซึ่งเป็นหัวข้อที่ตรวจประเมินหรือตรวจติดตามคุณภาพภายในมักออกข้อบกพร่อง ส่วนใหญ๋มีหัวข้อที่ประชุมทบทวนงานบริหารคุณภาพไม่ครบ ต้องจำไว้ว่า เข้า (Management Review Input) คือ 7 และออก(Management Review Output) คือ 3 หมายความว่า 
หัวข้อที่นำเข้าทบทวนมักทำไม่ครบ หรือครบถ้วนแต่ไม่แล้วเสร็จในสาระสำคัญ   
และหัวข้อที่ทบทวนส่วน Output นั้นต้องมีคำสั่งการหรือพิจารณาจากผู้บริหาร  ให้ดำเนิน                  การอย่างไร แก้ไขและปรับปรุงอะไรด้วย มักพบในโรงงานที่ผู้บริหารไม่ได้เข้าประชุม หรือไม่ค่อยมีส่วนร่วมและร่วมแต่ตัวอักษรคือเพียงในนาม ปล่อยให้ QMR ลอยคอทำกันเองก็มีบ้าง 

จุดประสงค์ที่ผู้ตรวจสอบถามหัวข้อ Management Review :ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ 5.6 โดยระบุเข้า 7 อย่าง หมายถึง Review Input ที่ผู้บริหารต้องดำเนินการทบทวนตามแผนของระยะเวลาที่กำหนด (at planned intervals) ของระบบบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่า พอเพียง เหมาะสม และมีประสิทธิผล เป็นการปรับปรุงของแต่ละองค์กร โดยการทบทวนนี้รวมเรื่องนโยบายคุณภาพและวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพด้วย 
ผู้ตรวจสอบมักขอดูบันทึกผลของการทบทวนงานบริหารคุณภาพ โดยบันทึกที่ว่า คือ รายงาน ซึ่งโรงงานส่วนใหญ่ เน้นจัดประชุมและทำปีละหนึ่งครั้ง เพื่อให้ครบข้อกำหนดของ ISO9001 จะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ตรวจสอบดูจากบันทึก เพื่อดูว่าองค์กรกระทำสอดคล้องกับข้อกำหนดแล้วหรือไม่ มีการปรับปรุงอย่างไร บันทึกคือหลักฐาน เพราะหลายๆเรื่องต้องใช้เวลาพิสูจน์นาน หากจะมาติดตามและตรวจสอบในเวลาเพียง 1-2 วัน ซึ่งยังไม่อาจมั่นใจในการรักษาระบบบริหารคุณภาพว่ามีประสิทธิผลเพียงใด (Effectiveness) มีน้องถามว่าโดนตรวจประเมินเรื่อง Management Review แล้วทำไมไปโดน CAR หรือได้รับข้อบกพร่องเรื่องอื่นๆ ที่จริงจุดมุ่งหมายที่ผู้ตรวจสอบดูจากหัวข้อ Input นี้ มี 6 หัวข้อย่อย คือ
1) สถานะของการดำเนินการทบทวนก่อนหน้า
2) การเปลี่ยนแปลงในประเด็นทั้งภายนอกและภายในที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารคุณภาพ
3) ข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศในเรื่องสมรรถนะและประสิทธิผลของระบบการบริหารคุณภาพ รวมถึงอีก 7 ข้อย่อย ข้างล่าง ต้องตั้งเป็น KPI
3.1) ความพึงพอใจของลูกค้าและข้อมูลย้อนกลับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3.2) ระดับของการบรรลุถึงวัตถุประสงค์คุณภาพ
3.3) สมรรถนะของกระบวนการ และความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ 
3.4) ความไม่สอดคล้องและปฏิบัติการแก้ไข
3.5) ผลของการเฝ้าระวังและการตรวจวัด
3.6) ผลของการตรวจประเมิน
3.7) สมรรถนะของผู้ส่งมอบจากภายนอก                     
4) ความเพียงพอด้านทรัพยากร           
5) ประสิทธิผลของกิจกรรมที่ได้กระทำในการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาส (ดู 6.1)
6) โอกาสสําหรับการปรับปรุง                                      

ซึ่งทั้ง 6 หัวข้อย่อยนี้ หากวันตรวจประเมินทำไม่แล้วเสร็จ ผู้ตรวจสอบจะให้ CAR ในหัวข้อนี้ก็ได้ แต่ข้อกำหนดในหมวดที่ 5 นั้นเป็นเรื่องสำคัญมากของ Management Responsibility หากไม่หนักหนาสาหัสจริงๆ ผู้ตรวจสอบมักไม่ให้ CAR หรือ Terminate ผู้บริหาร (Top Management)

   ฉะนั้นผู้ตรวจสอบกำลังดูรายงานเรื่องงานทบทวนบริหารคุณภาพ สอบถามเรื่องลูกค้าร้องเรียน ซึ่งก็อยู่ในข้อย่อยสองของ  Customer Feedback หลังจากดูรายงาน กลับไปพบว่า ขาดการสรุปเรื่องหนึ่ง คือ การวิเคราะห์ปัญหาเคลมและ Action จากสิ่งที่ลูกค้าร้องเรียนมานั้นล่าช้ามาก  และทีมงานไม่ได้ทำอะไรไม่ระบุว่าทำอะไรไปแล้ว หรือล่าช้าเพราะอะไร มีอุปสรรคใด พร้อมทั้งวิเคราะห์ภาพรวม
ว่าเป็นอย่างไร ให้รู้จุดอ่อน จุดแข็งของปัญหา สุดท้ายไม่มีหลักฐานเป็นรายงาน ซึ่งผู้ตรวจสอบให้ข้อบกพร่องไม่สอดคล้องกับขัอกำหนด 10.2 คือ ขาดปฎิบัติการแก้ไข (Corrective Action) ถือว่าสมควร

หากมีการประชุมประจำเดือนมาแจงให้ผู้บริหารทราบว่า แนวโน้มข้อร้องเรียนเป็นอย่างไร มากขึ้นหรือลดลง และจะปฎิบัติการแก้ไขอย่างไรต่อไป หรือมีแผนปฎิบัติงาน (Action Plans) หากมีและนำมาแสดงให้ผู้ตรวจสอบดูว่ามีประสิทธิผลหรือทำจริง จะไม่ถูกออกข้อบกพร่อง

แต่จากรายงานเรื่องงานทบทวนบริหารคุณภาพ การที่ Auditor โฟกัสไปที่เรื่อง ต้องวิเคราะห์รู้ความต้องการของลูกค้าคือ ต้องรู้ความต้องการ(Needs) จากเคลมหรือข้อร้องเรียนจากลูกค้า ซึ่งอยู่ในข้อกำหนดนี้ แต่ผู้ตรวจสอบยังถามหาเรื่องการ Customer Survey ว่ามีการวิเคราะห์ให้รู้ความคาดหวัง (Expectation)ของลูกค้าด้วยนั้น มุ่งต่อในประเด็นเรื่อง Customer Satisfaction ข้อกำหนดที่ 8.2.1 บางโรงงานสรุปผลการสำรวจจากการสุ่มสอบถามจากลูกค้า และสรุปผลเรื่องลูกค้าร้องเรียนและแปรผลกลับมาสรุปเป็นเรื่องลูกค้าพึงพอใจ
หมายความว่า ร้องเรียนน้อยลง แสดงว่าลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น  ซึ่งหัวข้อหรือข้อมูลเหล่านี้ต้องนำเข้า Management Review นั่นเอง แต่กรณีนี้เจอบกพร่องไปสองเด้ง โดยผู้ตรวจสอบพบว่าจากรายงานเรื่องงานทบทวนบริหารคุณภาพ ไม่มีการสรุปผลการสำรวจหาความคาดหวังจากลูกค้า ซึ่งรายงานความพึงพอใจของลูกค้าสรุปไม่ครบถ้วนสมบูรณ์บอกแค่เคลมกี่เรื่องเท่านั้น  ผู้ตรวจสอบให้ข้อบกพร่องไม่สอดคล้องกับเรื่อง Customer Satisfaction ขัอกำหนด 9.1.2 คือ  ถือว่าสมควรเช่นกัน

ระหว่างตรวจประเมินถามการวิเคราะห์ปัญหาคุณภาพแล้ว ผู้ตรวจสอบถามหาการวิเคราะห์เกี่ยวกับ Customer Satisfaction แสดงว่า กำลังมุ่ง หรือโฟกัส (Focus) ไปที่ข้อกำหนด 9.1.3 เรื่อง Analysis and Evaluation กำหนดไว้ว่าต้องวิเคราะห์ 7 เรื่อง ซึ่งเรื่องความพึงพอใจของลูกค้าก็เป็นหนึ่งในเจ็ดหัวข้อย่อยที่ต้องทำการวิเคราะห์ (อีกหกหัวข้อย่อย จะกล่าวในภายหน้า) หากผู้ตรวจสอบพบว่าไม่ทำเลย คือไม่มีการวิเคราะห์เรื่องความพึงพอใจของลูกค้า อาจให้เป็นข้อบพร่อง ข้อกำหนดที่ 9.1.3 ว่าขาดการวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องนี้ก็ได้เช่นกัน อยู่ที่ว่าผู้ตรวจสอบมุ่งจะให้บกพร่องเรื่องใดมากที่สุด 

ยกตัวอย่างอีกเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในโรงงานที่ทำทั้งสามระบบการจัดการคือ QMS/EMS/OHSAS มีน้องวิศวกรฝ่าย QA ไปตรวจฝ่ายผลิต เป็นการตรวจตามมาตรฐาน ISO9001 แต่ไปพบพนักงานไม่ใส่ PPE หรืออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) ไปจับชิ้นงานโดยไม่สวมถุงมือ จะออกCAR แต่คุณศรีธนนชัยของฝ่ายผลิต ไม่ยอมรับท่าเดียว บอกว่าวันนี้ตรวจ ISO9001 สัปดาห์หน้าถึงจะตรวจ OHSAS18001 หากมาตรวจพบสัปดาห์หน้าจึงจะมีสิทธิออก CARเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัย วันนี้เป็นเรื่องระบบคุณภาพ ไม่เกี่ยวกับความปลอดภัย ไม่ยอมรับ CAR แต่สัปดาห์หน้าจะสั่งลูกน้องสวมถุงมือ คุณ(หมายถึงน้องวิศวกรที่เป็น Internal Auditor) ไม่มีทางพบแน่นอน และออก CAR ไม่ได้เพราะไม่มีหลักฐาน ผู้เขียนแนะนำว่าให้ออก CAR ของ ISO9001 ไปก่อน หากตรวจเรื่องความปลอดภัย พบไม่ปฎิบัติอีกครั้ง ให้ออกตามข้อกำหนดที่ 4.4.6 Operational Control (OHSAS18001)
ถ้าเป็น ISO45001ในอนาคต ข้อกำหนดคือ 8.1

การตรวจประเมินหรือตรวจสอบอยู่ที่ว่า เราผู้ตรวจสอบ(Auditor) มุ่ง (Aim) ประเด็นใดบ้าง
เอาประเด็นแรก จับชิ้นงานไม่สวมถุงมือตามหลักการทำงานและไม่ปฎิบัติตามกฎการผลิต ให้CAR ข้อกำหนดที่ 8.5.1  Control of Production and Service Provision
เอาประเด็นที่สอง จับชิ้นงานไม่สวมถุงมือตามหลักการทำงานและไม่ปฎิบัติตามกฎการผลิต เปลี่ยนไปให้CAR ข้อกำหนดที่ 7.2 Competence, 7.3 Awareness ว่าขาดจิตสำนึกในการทำงาน
เอาประเด็นที่สาม การจับชิ้นงาน มือจะมีเหงื่อหรือสิ่งสกปรก ทำให้ชิ้นงานเสียได้ เกิดชิ้นงาน NG หรือเป็น NC Product เพราะบางชิ้นงานจับต้องแล้วจะเสียสภาพทันที เช่นหลอดไฟหน้าของรถยนต์ หรือชิ้น งานบางชนิดของรถยนต์ ชิ้นส่วนส่วนทางอิเล็คทรอนิค เช่น IC, PCB หรือ PWB เป็นต้น ให้มองหาข้อกำหนดไหน ที่เข้าข่าย ก็สามารถให้ CAR เช่นไม่ทำตามนโยบายคุณภาพ (ข้อกำหนดที่ 5.2) หรือจับลงข้อกำหนดที่ 8.5.4 ไม่มีการดูแลรักษาสภาพชิ้นงานให้ดีเท่าที่ควร เนื้อหา CAR แบบนี้เวลานำเสนอในห้องประชุมผู้บริหารจะสงสัยและซักถาม เชื่อว่าพวกศรีถนนชัยจะถูกผู้บริหารเชิญมาคุย เพราะท่านย่อมไม่ชอบความคิดประเภทหัวสี่เหลี่ยม ที่ภาษาจีนเรียกว่า ซี่ปังเถ๊า แต่น้องก็ระวังไว้บ้าง หากผู้ถูกตรวจสอบ (Auditee)โดนอัดมาหนัก เดี๋ยวจะมาลงที่น้อง เผลอๆจะเจอไม้คมแฝกเอา ทางที่ดี กระซิบบอก QMR เวลามีผู้ตรวจสอบจากภายนอกมาตรวจติดตาม หากจำเป็น QMR จะชี้จุดให้ผู้ตรวจสอบจากภายนอกออก CAR ให้ก็มี แปลกนะพวกนี้ โดน External Auditor ออก CAR มักจะยอมรับไม่ขัดขืน เพราะมักจะจนด้วยหลักฐาน คืนนั้นก่อนตรวจหนึ่งวันตามเก็บและปิดร่องรอยไม่ทันหรือตกหล่น ทางออกแบบนี้น่าจะดีที่สุด หากว่าซื้อใจพวกศรีธนนชัยได้ ขอให้บอก คืนเดียว สามารถเนรมิตได้ทุกอย่าง จะเอาเอกสารอะไร จะเพิ่ม จะ Make อะไร มีให้หมด คิดว่าผู้ตรวจสอบจาก CB : Certification Body) ก็รู้ดี ปล่อยบ้าง หวดบ้าง มันเป็นชีวิตจริงของหลายๆโรงงานนั่นเอง ส่วนเรื่องห้ามใช้มือจับชิ้นงาน บางครั้งชิ้นงานมีความร้อน หรือมีความคม อาจมองไม่เห็น จับเข้าไปย่อมเป็นอันตราย ขอให้ปฎิบัติและยึดกฎการทำงานเพื่องานคุณภาพและความปลอดภัย


ขอย้ำว่าการเป็นผู้ตรวจสอบก็ต้องดูจังหวะและอารมณ์ของผู้ถูกตรวจบ้าง จะได้ไม่มีเหตุการณ์จริงแบบเรื่องจริงผ่านจอ ที่เกิด ณ สนามบินสุวรรณภูมิ โดยคุณศิริชัย เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนผ่านเข้าพื้นที่ด้านใน เพื่อรอเดินทางไปต่างประเทศ ได้ทำการขอตรวจสอบคนๆหนึ่ง(ทราบภายหลังเป็นข้าราชการกรมศุลกากร ระดับซี 7) ผลลัพท์ที่ได้คือผู้ตรวจสอบโดนตบบ้องหูจนเยื่อแก้วหูแตก (ตามข่าว) ฉะนั้นก่อนการตรวจสอบอาจต้องชี้แจง อธิบายกฎและกติกา และกระทำแบบมีศิลปะเวลาจะไปตรวจสอบใคร ฝ่ายใด มิฉะนั้นเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นจริงนำมาออกอากาศที่ทีวีช่อง 7 บางแห่งก็เกิดศึกวันทรงชัย ซึ่งไม่ควรจะพบที่โรงงาน เพราะโปรโมเตอร์คุณทรงชัย(ปัจจุบันน่าจะเป็นลูกสาวของคุณทรงชัย) จัดประจำที่สนามมวยราชดำเนิน  

วันนี้ผู้เขียนไปงาน BOI Fair 2011 ซึ่งเลื่อนมาจัดระหว่างวันที่ 5-20 มกราคม 2012 เพราะปีที่แล้วกรุงเทพเกิดน้ำท่วมใหญ่ (Bangkok Water Flood) งานแสดงจัดที่ริมทะเลสาบ ของเมืองทองธานี
จะทยอยนำภาพมาลงให้ชม ในงานมีออกบู๊ทจากบริษัทต่างๆ เดินเข้าไปเห็น TOYOTA, FORD, NISSAN, ISUZU บริเวณกลางๆ ใกล้ทางเข้าพบ SCG, PTT มองไปทางซ้ายพบ Panasonic, HITACHI, TOSHIBA, Cannon  เข้าไปข้างในเรื่อยๆพบโซนของ Daikin ของรถมอเตอร์ไซด์ก็มี เช่น คาวาซากิ เดินต่อไปด้านในก็จะพบ CP, บู๊ทกระทิงแดงซึ่งนำรถแข่งฟอร์มูล่ามาโชว์ แต่ที่ไม่ค่อยคุ้นชื่อ พบบู๊ทของ Huawei หรืออ่านว่า หัวเหว่ย เป็นของจีนแผ่นดินใหญ่ ผลิตชิ้นส่วน IT/Telecom 


พูดถึงเครื่องดื่มกระทิงแดง ปีที่แล้วทราบว่ารวยติดอันดับ 2 (ถ้าจำไม่ผิด)ของประเทศไทย รองจากเจ้าสัวธานินทร์ จาก CP (อันดับหนึ่ง) ความคิดยังฝังใจกับโฆษณาเก่าชุดหนึ่งที่เน้น ดื่มแล้วซู่ซ่าาาา สินค้าขายไม่กี่สิบบาท แต่รวยมหาศาล คงเพราะส่งออกทั่วโลก ผู้เขียนก็ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเลยในชีวิตแม้แต่ขวดเดียว แต่ตามปั๊มน้ำมัน พบเห็นคนขับรถบรรทุกนิยมมาก เคยไปต่างประเทศ พบเห็นคนดื่มกระทิงแดง แต่งตัวดูไฮโซมากๆ ถึงว่าพวกนี้ทำให้เจ้าสัวเฉลียว อยู่วิทยาให้รวยขึ้นทุกปีๆ แต่บ้านเราน่าจะเปรียบเปรยเป็นพวกเสก โลโซ หมายถึง โลโซจริงๆ ก็ประเภทขับรถบรรทุก ถอดเสื้อ ใส่ร้องเท้าแตะ หรือไม่ใส่แตะ แบร์ฟุตก็มี พูดง่ายๆเมืองนอกไฮโซดื่ม เมืองไทยโลวโซซดกระทิงแดง

   แต่ยังไม่พูดถึงพวกเมาโซ(เซ) ก็ช่วยให้เจ้าสัวเจริญ จากเบียร์ช้าง คิดว่าน่าจะติดอันดับสามปีที่แล้ว อีกประเด็นขอให้ทุกคนภูมิใจได้ จะไฮโซ หรือ โลวโซ ก็นิยมรับประทานบะหมี่แห้งกึ่งสำเร็จรูป ที่มักเรียกติดปากว่ามาม่า ที่จริงยังมีหลายยี่ห้อทั้ง ยำยำ ไวไว ช่วยๆกันนะครับ เพื่อให้ธุรกิจบะหมี่ขึ้นมาติดอันดับสี่ สินค้าพวกนี้ หากคิดด้านมาร์จิน(Margin) ถือว่าต่ำกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำไมเจ้าสัวจากกลุ่มยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ติดอันดับต้นๆเหมือนธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม ล่าสุดผู้เขียนทราบจากข่าวว่านิตยสารฟอร์บส์ ของสหรัฐอเมริกา รายงานว่าปีนี้ กระทิงแดงรวยอันดับหนึ่ง เจ้าสัวเจริญเป็นอันดับสอง ตระกูลจิราธิวัฒน์เป็นอันดับสาม และ CP เป็นอันดับที่สี่ อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ติดอันดับที่สิบหก ส่วนพวกเราน่าจะติดอันดับที่หกสิบหมายถึงหกสิบล้าน ตัวเลขประมาณการว่าประชากรไทยน่าจะมีถึง 65 ล้านคน บางข่าวก็ว่ามี หกสิบสามล้านคน

BOI Fair 2011: Jan.5-20,2012, Thailand
ผู้เขียนเดินดูรอบบริเวณงาน BOI Fair ไปพบภาพของในหลวงที่นำมาจัดแสดงโชว์และจำหน่ายของ คุณธีระพันธุ์ ลอไพบูลย์ (อ.กวง) www.thuleethai.org โดยผู้เขียนใช้กล้องดิจิตอลธรรมดาถ่ายออกมา ไม่แน่ใจว่าภาพจะสวยแบบต้นฉบับหรือไม่ ของคุณธีระพันธุ์ มีทั้งขนาดเล็กและภาพขนาดใหญ่มาก สนใจก็ไปสอบถามที่ชมรมธุลีไท 087-6708006 ผู้เขียนก็ขอข้อมูลเจ้าหน้าที่มาเพียงคร่าวๆ ส่วนคำราชาศัพท์ของภาพนั้น ผู้เขียนไม่ได้ใช้ ขออนุญาตเวลาเขียนบทความจะพยายามใช้ภาษาง่ายๆ หรือเวลาผู้เขียนไปบรรยาย ก็มักใช้คำพูดเดียวกันกับผู้ที่มาฟังบรรยายหรือสัมมนาให้สื่อถึงกันอย่างชัดเจนนั่นเอง
ผู้เขียนจะทยอยนำภาพงาน BOI Fair2011 มาให้ชมนะครับ

ผู้เขียนจะหาเวลามาเขียนบทความต่อ แต่ว่าสัปดาห์ที่แล้วคุณเฉลียว  อยู่วิทยา เจ้าของกระทิงแดงก็ถึงแก่กรรมด้วยวัยชรา การจัดอันดับมหาเศรษฐีไทยมักมีชื่อสามท่านคือ คุณธานินทร์ คุณเจริญ และคุณเฉลียว ต่อไปคงเป็นชื่อคุณเฉลิม ทายาทของบริษัทกระทิงแดงมาแทนที่ วันนี้ก็เป็นวันสุดท้ายของเดือนมีนาคม 2012 ผ่านไปหนึ่งไตรมาสอย่างรวดเร็ว ฤดูฝนจะมาแล้ว น้ำจะท่วมไหม เหมือนกับโรงงานผลิตสินค้าแล้ว ทำการวิเคราะห์ว่าสินค้าส่งออกไปได้ ขายไปแล้วจะมีเคลมกลับมาหรือไม่ หากใช้ FMEA อย่างถูกต้องและแข็งแรง น่าจะตอบคำถามได้ แต่ก็ให้สงสัยทำไมอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ มีการนำ IATF16949 มาใช้ ส่งออกจำหน่ายแล้ว ทำไมต้องมาเรียกรถกลับ ปีที่แล้วสองค่ายใหญ่ก็เรียกกลับหรือ Recall หลายรุ่น หลายเรื่อง รวมแล้วหลายล้านคัน แสดงว่า FMEA ในขั้นตอนต่างๆมีจุดอ่อน รวมทั้งขั้นตอน Design หากทำจริง ไม่น่าพลาด หรือว่าทราบแต่ต้องขายให้ทันกำหนด ฉะนั้นการเร่งรีบออกสินค้าใหม่ การเร่งรีบผลิต รวมทั้งการเร่งรีบตรวจสอบ ทำให้การใช้ FMEA เหมือนใส่หมวกกันน๊อค ไว้กันตำรวจจับ แต่ไม่สนใจใช้เพื่อความปลอดภัย เช่น ต้องตรวจสอบสินค้ามี มอก. รัดสายที่คางให้แน่นพอดี
ต้องไม่ร่วงหล่นหรือหลุดออกในขณะเกิดอุบัติเหตุ และอย่ามองแต่ราคาถูก เป็นต้น

กลับมาเรื่องการตรวจสอบของ ISO9001&IATF16949 โดยผู้ตรวจสอบจะใช้ Check List มักแยกสองระดับ โดยมีมุมมองเฉพาะ เช่น (จะหาเวลามาเขียนบทความต่อ)

มักมีความสับสนกับคำว่า มอก  สมอ MASCI, NAC ผู้เขียนขออธิบาย ดังนี้
มอก เป็นตราเครื่องหมายอุตสาหกรรม หมายถึง มาตรฐานอุตสาหกรรมที่โรงงานต้องมายื่นเรื่องที่ สมอ หลังจากได้รับอนุญาตจึงจะแสดงเครื่องหมายและผลิตสินค้าได้ มีทั้งแบบบังคับ ไม่ยื่นเรื่อง มีโทษปรับและจำคุก เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ พัดลม เตารีด เหล็กเส้น เป็นต้น ส่วน มอก ไม่บังคับ ก็มีเพราะไม่ใช่สิ่งก่อให้เกิดอันตรายในตัวสินค้า ให้สมัครใจ หลังผ่านการตรวจสอบ สามารถใช้เครื่องหมาย มอก. ตามที่ขอของแต่ละผลิตภัณฑ์

สมอ เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ชื่อเต็มคือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีฐานะเทียบเท่ากรม แต่ผู้บริหารสูงสุดเรียกว่า เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ ลมอ. ระดับซี 10 เทียบเท่าอธิบดีกรมต่างๆ เช่น กรมโรงงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

MASCI เป็นหน่วยงานให้การรับรองระบบบริหารต่างๆ เรียกว่า CB (Certification Body) ระบบบริหารที่ว่า เช่น ISO9001, ISO14001, OHSAS18001,ISO22000, ISO/TS16949 อื่นๆ โดยทรัพย์สินของหน่วยงานนี้เป็นของกระทรวงอุตสาหกรรม แต่การบริหารตัดออกจากระบบราชการ ให้บริหารกันเองแบบระบบเอกชน ตั้งอยู่ที่ตึกยาคูลท์ แถวๆสนามเป้า ใกล้กับอนุสาวรียชัยสมรภูมิ

NAC เป็นหน่วยงานราชการสังกัดอยู่กับ สมอ. ให้การรับรอง CB (Certification Body) ที่มายื่น ก็จะทำให้ CB นั้นได้รับเครื่องหมาย NAC เวลาประมูลงานราชการทำให้โรงงานหรือบริษัทเอกชนที่ผ่านการรับรองจาก CB ที่ว่า(ได้รับรองจาก NAC ด้วย) สามารถเข้าประมูลงานและได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ การจัดซื้อตามระเบียบราชการของงานพัสดุ จะพิจารณาจากโรงงานหรือบริษัทที่ได้รับ ISO และมี NAC ในไทยเรามี CB ที่ได้รับรองจาก NAC จำนวน 9 CB คือ MASCI,  SGS, TUV Nord, BVQI, TUV Rhieland, AJA, Global Group/ URS, วว ยังมี CB ที่มาให้การรับรองและตั้งสำนักงานในเมืองไทย มีอีกประมาณ สามสิบกว่าราย ไม่ได้ยื่นกับ NAC จึงยังไม่มีการรับรองจาก NAC 

แต่ CB นั้นๆอาจไปยื่นที่ต่างประเทศ เช่น UKAS อื่นๆ ทำให้โรงงานอาจจะเสียประโยชน์บางอย่างไปจากงานราชการ แต่อย่างว่า ระบบนี้เป็นการสมัครใจทำ ไม่มีการบังคับ แต่ผู้เขียนมองว่าน่าจะมีกฎหมายออกมา ทุก CB ที่มาอยู่เมืองไทย ทุกครั้งที่ให้การรับรองใดๆ ต้องมีการแจ้งเข้ามาที่กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้มีศูนย์กลาง หากจะสอบถามข้อมูลใดๆ ลูกค้าหรือผู้ที่ต้องการสอบถามเกี่ยวกับโรงงานนั้นว่า ได้รับรองมาตรฐานนั้นๆ จริงหรือไม่ ก็ให้ตรวจสอบมาที่ศูนย์กลางนี้ได้ ช่วงทำ ISO เมื่อหลายปีก่อน ก็มักพบว่ามีการแสดงใบรับรอง ISO ที่ไม่ถูกต้อง ผู้เขียนไม่อยากเรียกว่าปลอม เอาว่าขอยืมมาใช้ประโยชน์ก่อน แต่กำลังทำระบบและยังไม่พร้อมขอรับรองเท่านั้นเอง



ผู้เขียน นำบรรยากาศการไปยื่นที่สรรพสามิต เพื่อใช้สิทธิ์รถยนต์คันแรก คืนภาษี 100,000 บาท
ที่หน้าตึกกุหลาบ ถนนบางนา-ตราด ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2555 ต้องไปจองคิวกันตั้วแต่ตี1
หรือ 1.00 น. สรุปยอดขายรถยนต์ 1,250,000 คัน เป็นรถเก๋ง 750,000 คัน รถปิคอัพ 250,000 คัน
ที่เหลือรวมๆกันในประเภทต่างๆ มีคนแห่มาจองคิวประมาณ 700 คน แต่มีบัตรคิววันละ 500 ใบ
ก็สนุกอีกรูปแบบ แต่คนรอสามถึงสี่ชั่วโมง ก็บ่นกันตรึม
















การที่จะไปตรวจประเมิน ผู้ตรวจประเมิน ไม่ว่าจะเป็นภายใน หรือภายนอก ต้องตั้งจุดมุ่งหวัง ว่าจะตรวจสิ่งใด ซึ่งต้องตรงกับวัตถุประสงค์ ภายใต้ขอบข่ายที่ขอรับรอง จึงต้องทำ Check List บางส่วนที่ถามเช่นเดียวกันกับ ISO9001 เหมือนกับที่เขียนใน Web Blog ที่ 4 : QMS Check List สามารถ link ดูจาก 
http://quality1996-quality1996.blogspot.com/

หรือดูจาก Web Page ISO 9001 Check List ของ Web Google Site นี้:

ก่อนอื่น แจ้งข่าวว่าประเทศไทย ณ November 2012 มีจดทะเบียนรถยนต์ที่กรมการขนส่ง จำนวน 32 ล้านกว่าคันแล้ว ประชากรไทยประมาณ 65 ล้านคน แสดงว่าคนไทยสองคน มีรถยนต์ใช้งานหนึ่งคัน
ครัวเรื่อนหนึ่งๆ ต้องมีรถยนต์ใช้หนึ่งคัน แสดงว่า ไทยเรารวยจริง

สำหรับคุณสมบัติของ Auditor สำหรับ ISO/TS 16949 ท่านสามารถ Link ดูที่ www.iatfglobaloversight.org
หรือหาโอกาสไปอบรม/ศึกษาเกี่ยวกับ Automotive Certification Scheme For ISO/TS 16949:2002 จะได้เข้าใจเกี่ยวกับ Rule for achieving IATF recognition 

ส่วน Check List ที่จะทำเพิ่มเข้าไปเป็นของ IATF16949:2016 จะได้นำไปถามผู้ถูกตรวจประเมิน(Auditee) หากทำภายในองค์กร ก็เรียกกันว่า การตรวจติดตาม (Internal Audit) เช่น ขอดู หรือถามเกี่ยวกับ :
* Auditor ตรวจประเมินเกี่ยวกับนโยบาย

* ตรวจประเมินการควบคุม Engineering Specification
* จะขอตรวจประเมินเกี่ยวกับ Design Activities
* ตรวจประเมิน Quality Planning
* ตรวจประเมิน และขอดูกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
* ขอดูคู่มือแผนฉุกเฉิน ต้องเขียนหรือระบุครบทุกสถานการณ์ ทั้งกรณีน้ำท่วม ไฟไหม้ ก๊าซระเบิด สารเคมีหกรั่วไหล เครื่องจักรเสีย แรงงานประท้วง หรือเหตุการณ์ใหย่ที่ส่งผลกระทบอย่างแรง ทำให้แผนการผลิต และส่งชิ้นงานออกไป Supply ไม่ทัน
* ขอดูแผนฉุกเฉิน (Contingency Plan) กำหนดไว้อย่าง กรณีน้ำท่วมโรงงานดำเนินการอย่างไร (ปี 2012 จะพบกับวิกฤตน้ำท่วมอีกหรือไม่ ยังมีความเสี่ยง ต้องบริหารความเสี่ยงด้วย)
* ตัวแทนฝ่ายลูกค้า เป็นใคร(ฝ่ายใด) ตำแหน่งใด กำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจนหรือไม่
* ตรวจประเมินเกี่ยวกับ Contract Review

* ตรวจประเมินเกี่ยวกับ Approval of Suppliers
* ต้องมีข้อกำหนดของลูกค้า (Customer Specification) ทบทวนและเปลี่ยนแปลงทำอย่างไร
* มีคู่มือ APQP และดำเนินการตามนั้นหรือไม่
* มีคู่มือ PPAP  และดำเนินการตามนั้นหรือไม่
* มีคู่มือ MSA  และดำเนินการตามนั้นหรือไม่ ดูรายละเอียดของการทำ MSE
* มีคู่มือ SPC  และดำเนินการตามนั้นหรือไม่
* มีคู่มือ FMEA  และดำเนินการตามนั้นหรือไม่

* ขอดูรายงานต่างๆ เช่น 8D Report, Claim Report, NC Report, Internal Audit Report และ 
   Manament Review Report
* ขอดู การวางแผนการทำ Internal Audit และผลลัพท์ ดำเนินการครบถ้วน ถูกต้องหรือไม่
* ขอดูการทำ Management Review ทำครบถ้วน และผู้บริหารพิจารณาตัดสินส่วน Output แล้ว
* เน้นเรื่อง Training ที่ต้องเข้มงวดในด้าน Competence, Skill, Education และ Experience ขอดูระเบียบปฏิบัติหรือคู่มือการฝึกอบรม ขอดู JD ดูแผนการฝึกอบรม และประวัติการฝึกอบรม
การตรวจประเมินอยู่ที่ว่า ผู้ตรวจประเมิน (Auditor) มุ่ง (Aim) ประเด็นใดบ้างเกี่ยวกับงานบุคคล
โดยไปดูความสอดคล้องกับข้อกำหนด หากพบว่าไม่สอดคล้อง จึงหาหลักฐานสิ่งที่บกพร่อง
จากนั้นร้องขอให้มีปฏิบัติการแก้ไข

เริ่มจาก JD แผนการฝึกอบรมประจำปี สอบกลับไปยังการสำรวจการฝึกอบรม (Training Needs)

ผู้เขียนขอแนะนำการเตรียมตัวตรวจติดตามภายใน IATF16949:2016 เช่น


จัดทำใบตรวจติดตามหรือ Check List ต้องรู้
1. ข้อกำหนด IATF16949:2016 ข้อกำหนด ISO 9001:2015 และข้อกำหนดเฉพาะบริษัท
2. การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์และการวางแผนการควบคุม (APQP & CP : Advance Product
 Quality Planning & Control Plan)
3. การขออนุมัติผลิตชิ้นส่วน
    (PPAP: Part Production Approval Process)
4. การควบคุมกระบวนการด้วยกลวิธีทางสถิติขั้นพื้นฐาน

  (Statistical Process Control : SPC)
5. การวิเคราะห์ข้อขัดข้องด้านศักยภาพและผลกระทบ FMEA
    (Failure Mode and Effect Analysis)
6. การวิเคราะห์ระบบเครื่องมือตรวจวัด (MSA)
    (Measurement System Analysis)
7. ข้อกำหนดของลูกค้า :
    Customer Specification Requirement(CSR) ต้องนำไปพิจารณาความเสี่ยง
8.Ford Motor Company: Customer-Specific Requirements For Use With ISO/TS 16949
9.Automotive Process Approach
10.ข้อกำหนดที่ลูกค้าต้องการ เช่น Ford, Chrysler, General Motor หรือ
ข้อกำหนดเฉพาะของ OEM ของสมาชิก IATF : online
http://www.iatfglobaloversight.org/content.aspx?page=OEMCustomer-SpecificRequirements
11. ข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้าอื่นๆ จะเรียกว่า  Supplier Quality Manual                                   
12. เข้าใจถึงวิธีการตรวจแบบเชิงกระบวนการในอุตสาหกรรม
    ยานยนต์ (Automotive Process Approach Auditing)


ผู้เขียนขอเรียนให้ทราบว่า ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ มีมาตรฐาน หรือบางท่านว่าเป็นทั้งระบบและเครื่องมือ (Tools) คือ VDA 6.3 Version 2010 เป็น German Standard ใช้ในกลุ่ม BMW, Volkswagen, Dailmler

ส่วน TS16949 เป็น ISO ด้วย เพื่อใช้ทั่วไปทุกค่ายรถยนต์รวมทั้งค่ายรถญี่ปุ่น ส่วน QS9000 เดิมก่อนจะกลายเป็น ISO/TS16949 เป็นของ Big Three หรือกลุ่มค่าย Ford, GM, Chrysler จะเปลี่ยนไปเป็น IATF16949:2016

จะมีหลักสูตรบรรยายข้อกำหนดและการตรวจกระบวน หรือ Audit Process โดยใช้มาตรฐานที่เรียกว่า VDA นำมาใช้ เช่น    Process Audit of VDA 6.3 : 2nd Edition, 2010  
   
หลักสูตร VDA 6 Part 3 : Process Audit และ VDA 6 Part 5 : Product Audit ใช้เวลา 5-7 วัน เพราะมี 3 Modules สามารถนำผลสอบผ่านและใบ Certificate ไปขึ้น Registered Auditor           
ใน TS จะมีหลักสูตร (Mini) Lead Auditor เรียน 5 วัน ค่าเรียน 2-3 หมื่นบาท ขึ้นทะเบียนเป็น Registered Auditor ไม่ได้ มีสอนที่เมืองไทย การบรรยายเหมือนแบบหลักสูตร Lead Auditor ของ TS16949 ที่ต้องลงทุนไปเรียนต่างประเทศ เพราะมักจัดต่างประเทศ  ยกเว้นปี 2012 จัดที่เมืองไทย ค่าเรียน 7-8 หมื่นบาท หากไปเรียนต่างประเทศค่าใช้จ่ายรวมสองแสนกว่าบาท แต่ขึ้นทะเบียน Registered Auditor ได้


กรณีที่โรงงานได้รับรอง ISO9001:2008 แล้ว จะปรับเป็น IATF16949:2016 ต้อง Set Up ระบบ เริ่มจากการอบรมข้อกำหนดของ IATF16949:2016 จากนั้นทำคู่มือ Core Tools ตามความเหมาะสม เช่น APQP, PPAP, FMEA, MSA, SPC แล้วอบรมผู้ตรวจติดตาม หรือหลักสูตร Internal Auditor of IATF16949:2016 

สำหรับผู้ตรวจติดตามภายในหากตรวจฝ่ายใด จำเป็นต้องผ่านการอบรม Core Tools ที่เกี่ยวข้อง ต้องได้รับการอบรมด้วย จึงจะ Qualified คือต้องมีความสามรถในการตรวจติดตาม กรณีแบบนี้หากไม่ผ่านการอบรม Core Tools มักโดน CB Auditor เคยให้ CAR มาแล้ว การอบรมอาจจัดเป็น In-House Training หรือ ส่งคนไปอบรมเป็น Public Training แล้วกลับมาจัดทำระบบต่อไป จากนี้ไปให้เป็นระบบ IATF16949:2016 เมื่อระบบปรับเปลี่ยนอย่างเรียบร้อยครบถ้วนทุกขั้นตอน หมายถึง ระบบเอกสารแล้วเสร็จ จัดอบรมครบถ้วน นำไปปฏิบัติต่อเนื่อง ทำการตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal Audit) และทำการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร (Management Review) ให้ QMR ติดต่อ CB ที่ให้การรับรองมาตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองเป็นมาตรฐาน IATF16949:2016 ดูแล้วจะเห็นว่าง่ายนิดเดียว (ยากเยอะใช่ไหมครับ แต่อย่าท้อ สามารถทำได้ไม่ยาก)


เขียนต่อคราวหน้า


ทะเลติดกับตัวเมืองชลบุรี ใกล้กับตลาดนัดอาหารทะเล ท่าเรือประมงพลี
         
วันนี้นอกจากเรื่องคุณภาพ ขอพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยและอุบัติเหตุสักนิด ผู้เขียนจึงเตือนมายังผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบ อย่างน้อยก็เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมก็ยังได้

* ผู้เขียนขอแนะนำทุกๆบริษัท โดยเฉพาะของคนไทย ควรมีผู้บริหารไปอบรม จป.ผู้บริหาร และส่งพนักงานไปอบรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน มิฉะนั้นเวลาเกิดอุบัติเหตุ และเรื่องเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน เจ้าหน้าที่จะมาตรวจสอบที่สถานประกอบการ ที่ไม่มี จปว. จะเรียกขอ หรือขอดูการอบรมของผู้บริหารและของหัวหน้างานเกี่ยวกับความปลอดภัย หากไม่มีหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จะถูกทางราชการปรับเป็นเงินมากโข เรียกว่าหลายแสนบาทก็มีแล้ว จัดอบรมดีกว่า เวลาเกิดเรื่องจะได้ไม่ยุ่งยาก ยิ่งอะไรที่เกี่ยวกับราชการ หรือกฎหมาย เรียกว่าเหนื่อยมากๆ

* ยิ่งโรงงานหรือบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คน (ไม่ใช่ทำบุญร้อยวันนะ แต่เกิดอุบัติขึ้นมา ก็ใช่เลย)
ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ หรือ จปว. รวมทั้งบริษัท ที่มีผู้บริหารกลุ่มเดียวกัน หรือมีหลายโรงงานในรั๊วเดียวกัน นับจำนวนพนักงานรวมกันครบ 100 คน ก็เข้าข่าย ลักษณะแบบนี้ยังมีอีกหลายแห่ง หากเกิดอุบัติเหตุ จะถุกตรวจสอบเข้ม และปรับหนักพอสมควร ทำให้ถุกต้อง ปลอดภัยและสบายใจ

* ปัจจุบันโรงงานญี่ปุ่นมาตั้งที่ไทย มักมีพนักงานไม่ถึง 50 คน ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านเทคนิค ไม่ต้องมี จปว. มักเป็นโรงงานขนาดเล็ก ผลิตชิ้นส่วน หรือ สินค้า ส่งกลับไปให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น
แต่นิยมใช้เครื่องที่อัตโนมัติมากขึ้น พนักงานหนึ่งคน คุม 6-8 เครื่องจักรที่ใช้ผลิต ไม่เหมือนแต่ก่อน หนึ่งเครื่องใช้คนคุม 3-4 คน ข้อดีโรงงานญี่ปุ่น คือ เน้น 5 ส และตระหนักถึงเรื่องอุบัติเหตุ เราควรนำสิ่งดีๆมาประยุกต์ใช้กับพนักงานคนไทย

ช่วงนี้ไปหลายโรงงาน ที่ปรึกษามักเร่งระบบ เร่งเวลา จึงไม่มีการทำ QM ไม่มีจัดทำ Procedure เพราะข้อกำหนดไม่บังคับของ ISO9001:2015, ISO14001:2015 เขียนสั้นๆสร้างระบบแบบคนที่ทำเป็นคนรู้แค่ไม่กี่คน พอคนนั้นออกไป คนในองค์กรที่เหลือไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อ และส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยรู้ เพราะได้รับการถ่ายทอดน้อย ไม่อธิบายและไม่สอนให้รู้กระจ่างเกี่ยวกับ ISO และ IATF16949:2016

ดังนั้นแนะนำโรงงานจัดทำ ISO ครั้งแรกในชีวิต จึงต้องจัดทำ QM, Procedure การทำงานของทุกฝ่าย ย่อมสำคัญมาก ใช้เป็นเกณฑ์การทำงาน กำหนดระเบียบปฎิบัติเข้าไปในระบบ มีกติกา เกณฑ์การทำงานชัดเจน ใช้สอนงานได้ จึงอย่ามองข้าม จึงจะรักษาระบบได้อย่างยั่งยืนไม่ต้องอาศัยคนนอกตลอด

เขียนต่อคราวหน้า