Section : Quality Solving

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ ISO17025:2017 Blog 61

Blogที่: 61 ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ ISO17025
Risk in Laboratory for Accreditation

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Personal DATA Protection Act. PDPA
ส่วนองค์กรขนาดเล็ก ข้อมูลน้อย มีกฎหมายลูกยกเว้น
สามารถนำมาจัดทำระบบรองรับเพื่อให้ข้อมูลมั่นคงปลอดภัย
สนใจหลักสูตร การประยุกต์ใช้งาน PDPA อย่างมีประสิทธิผล
ผู้เข้าอบรม เช่น ฝ่าย HR ขายและการตลาด จัดซื้อ บัญชี วิศวกรรม ซ่อมบำรุง และ จปว.

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน
Mobile: 0813029339, 0816493828   Line ID: iatf16949

ผู้เขียน จะมาอธิบายเกี่ยวกับ ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ
ตามมาตรฐาน ISO/IEC17025:2017 ให้การรับรองห้องปฏิบัติการ 
ที่โรงงานมักเรียก ห้องแลบ
การพิจารณาความเสี่ยงและโอกาศเกิด สามารถนำความรู้ของ ISO31000:2018 มาประยุกต์ใช้ได้ (ปรับเวอร์ชั่นจาก ISO31000:2009)
โรงงานผลิตอาหาร โรงงานผลิตเครื่องสำอางค์และยา ห้องทดสอบทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกค์ ห้องทดสอบด้านอุตสาหกรรมยานยนต์
มีหลายแห่งที่ได้รับรองมาตรฐานนี้ คือ Laboratory Acreditation

ความเสี่ยง (Risk) คิดง่ายๆคือ ความไม่แน่นอน Uncertainty
ความเสี่ยง มองง่ายๆมาจากด้านต่างๆ
1 จุดประสงค์ของห้องปฏิบัติการ (Organization Purpose) พบว่าเกิดความเบี่ยงเบนจากค่าเป้าหมาย ไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ ย่อมมีความเสี่ยง (Risk)
2 ขั้นตอนต่างๆในการทดสอบและทดลองชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์
ย่อมมีความเสี่ยงและโอกาสเกิด หาให้พบความเสี่ยงอยู่จุดใดบ้าง
* เสี่ยงนี้คือ กิจกรรมต่างๆในห้องแลบ หมายถึงทุกขั้นตอนการทำงาน ทุกๆกระบวนการนั่นเอง
3 ขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัด ความเสี่ยงอยู่จุดใดบ้าง
ผู้ปฏิบัติงานก็คือ คนที่ทำการสอบเทียบและทำการทดสอบ สร้างหรือทำให้เกิดความเสี่ยงได้เช่นกัน
5 การปรับเปลี่ยนทิศทางกลยุทธ์ นโยบายด้านห้องแลบของผู้บริหาร ให้พิจารณาความเสี่ยงด้วย
6 การไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ กฎระเบียบของห้องปฏิบัติ รวมทั้งกฎหมาย ให้พิจารณาด้วยว่า ส่งผลกระทบ (Impact) และทำให้เกิดความเสี่ยงและโอกาสมากน้อยอย่างไร
เน้นชัดๆว่า ผลลัพท์การทำงานจากแลบไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Specification) รวมทั้งทำให้ผู้รับบริการจากห้องแลบไม่พึงพอใจ ที่กล่าวมาทั้งหมด มีความเสี่ยง (Risk)
ข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ ข้อที่ 8.5 Actions to Address Risks and Opportunities ถ้าโรงงานที่ทำ ISO9001:2015 QMS, IATF16949:2016 AQMS, ISO22000:2018 FSMS แม้แต่ ISO14001:2015 EMS, ISO45001:2018 OH&S MS ตรงกับข้อกำหนดที่ 6.1 ล้อตามโครงสร้าง HLS วางโครงสร้างไว้ 10 ข้อ

แต่ ISO13485:2016 Medical Device (มักนำ ISO14971:2007 มาใช้งานในการพิจารณาความเสี่ยง องค์กรจะใช้ควบคู่กับ ISO31000 สามารถทำได้) และ Laboratory Accreditation หรือ ISO/IEC17025:2017 ซึ่งสองมาตรฐานนี้ยังเขียนเป็น 8 ข้อกำหนด

หลักการของ Risk ยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในมาตรฐาน ISO22301:2012 BCMs, ISO/IEC27001:2013 ISMS, ISO/IEC20000:2018 IT รวมถึง AS9100:2016 Aerospace ซึ่งมีโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 1 จังหวัดชลบุรี และจังหวัดลพบุรีได้รับการรับรองมาตรฐาน AS9100:2016

ข้อกำหนด ISO/IEC17025:2017 (E), Third Edition, 2017-11 มีดังนี้
General Requirements for the Competence of Testing and Calibration Laboratories 
1. ขอบข่าย Scope
2. อ้างอิง Normative References
3. คำศัพท์และนิยาม Terms and Definitions
4. ทั่วไป General Requirements 
4.1 Impartiality 
4.2 Confidentiality
5. ข้อกำหนดโครงสร้างองค์กรStructural Requirements
6. ข้อกำหนดด้านทรัพยากร Resource Requirements
6.1 General 
6.2 บุคลากร Personnel
6.3 สิ่งอำนวยความสะดวกและสภาวะสิ่งแวดล้อม
Facilities and Environmental Conditions
6.4 เครื่องมือ Equipment
6.5 การสอบกลับได้ทางมาตรวิทยาMetrological Traceability
6.6 Externally Provided Products and Services
7. ข้อกำหนดด้านกระบวนการ Process Requirements
7.1 การทบทวนคำขอ ข้อเสนอการประมูล และสัญญา
 
Review of Requests, Tenders and Contracts
7.2 การคัดเลือก การทวนสอบ และการตรวจรับรอง
ถึงความใช้ได้ของวิธี
 
Selection, Verification and Validation of Methods
7.3 การสุ่มหรือการชัก Sampling หมายถึงการชักตัวอย่าง 
ถ้าถึงกับชักตาตั้ง รีบนำออกจากห้องแลบไปส่งโรงพยาบาล
ไปแถวพระรามสี่ดีกว่า ไม่ไปพระรามสองเพราะระยะทางไกล
7.4 การจัดการตัวอย่างทดสอบหรือสอบเทียบ 
 
Handling of Test or Calibration Items
Handing หมายถึงการเคลื่อนย้ายอย่างถูกวิธี
7.5 บันทึกด้านเทคนิค Technical Records หรือด้านวิชาการ
7.6 การประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัด
 
Evaluation of Measurement Uncertainty
7.7 Ensuring the Validity of Results
7.8 Reporting of Results
7.9 ข้อร้องเรียน Complaints
7.10 Nonconforming Work 
7.11 Control of Data and Information Management
8. Management System Requirements
8.1 Options
* มีออฟชั่น เอ กับ บี
8.2 Management System Documentation (Option A)
8.3 Control of Management System Documents (Option A)
8.4 การควบคุมบันทึก Control of Records (Option A)
8.5 Actions to Address Risks and Opportunities (Option A)
8.6 การปรับปรุง Improvement (Option A)
8.7 ปฏิบัติการแก้ไข Corrective Actions (Option A)
8.8 การตรวจติดตามภายใน Internal Audits (Option A)
8.9 การทบทวนงานบริหาร Management Reviews (Option A)
เกี่ยวกับห้องปฎิบัติการ

ดังนั้นการขอรับรองห้องปฎิบัติการ (Laboratory) มียื่นขอได้
สมอ. คือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 
ยังมียื่นขอรับรองห้องแลบที่กรมวิทย์บริการ ยื่น ISO17025
และเกี่ยวกับห้องแลบแพทย์ ก็สามารถยื่นกรมการแพทย์
มีมาตรฐาน ISO15189:2012 Medical Laboratories 

กรณีโรงพยาบาลจะมีระบบคุณภาพที่เรียกว่า Hospital Accreditation จำง่ายๆ HA แต่มาตรฐานที่โรงพยายาลชั้นนำทำจะมีที่เชื่อถือมากคือ JCI
ย่อมาจาก Joint Commission International รับรองสามปีเหมือนกัน
ทุกปีมีการตรวจติดตามผล (Surveillance)
ด้านเครื่องมือแพทย์ (Medical Device) ซึ่งอาจไม่ใช้ ISO31000 มาพิจารณาความเสี่ยง แต่จะใช้เป็น ISO14971:2007

การประเมินความเสี่ยง Risk Assessment ทำง่ายๆ ดังนี้
1 สำรวจ หรือ ประชุมกลุ่ม พาโทล จนสามารถชี้บ่งความเสี่ยง
Risk Identification ถ้านำไปใช้กับห้องแลบ มองให้ครบในห้องนั้นและสภาพแวดล้อมห้องแลบทั้งภายในและภายนอกมีผลกระทบอย่างไร นึกถึงคำว่า Impact นั้นมีมากหรือน้อย
2 ทำการวิเคราะห์ความเสี่ยง Risk Analysis
จะวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือใดก็ได้ ขอให้ทำออกมาถูกต้อง
3 ประเมินความเสี่ยง Risk Evaluation
ต้องกำหนดเกณฑ์ Risk Criteria เช่น ค่า S, O บางที่เรียก L
ต้องกำหนดระดับความเสี่ยง Risk Level คือ High, Medium, Low
4 เมื่อพบว่าความเสี่ยงมีนัยยะสำคัญ หรือเสี่ยงสูง ให้มีมาตรการจัดการ ทำแผนปฏิบัติการ (Action Plans) ได้ หรือจะทำเป็นโปรเจ็ค (Project) ก็ได้
5 ต้องมีการเฝ้าติดตามแผน (Monitoring) ไม่ละเลย ละทิ้ง
6 ทบทวนว่า (Review) คืบหน้า สำเร็จ หรือค้าง (Pending)
7 รายงาน (Report) ให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง นำสู่การทบทวนงานบริหาร (Management Review)
ใช้แบบฟอร์มที่ทำ ISO9001:2015 หรือ IATF16949:2016 ได้เลย

ถามมาว่า จะมองความเสี่ยงด้านการเงินไหม หรืออย่างไร
ผู้เขียน ตอบว่า ได้ มุมมองการเงิน (Financial Risk) คิดว่า หากเกิดเหตุการทำให้ห้องแลบสะดุด แน่นอนกระทบงานบริการสอบเทียบและทดสอบ ต้องทำให้ฟื้นฟู คืนสู่สภาพเดิม ทำให้ผู้รับบริการได้เร็วขึ้น การมีเงินสำรองใช้ได้ทั้งตอนเกิดเหตุฉุกเฉิน

กรณีสถานการณ์เกิดเหตุฉุกเฉิน เอามาพิจารณาความเสี่ยงต่อห้องแลบ สามารถทำได้ไม่ผิดหรอก ก็ห้องแลบมีโอกาสเกิดได้ทั้งไฟฟ้าดับ สารเคมีหกรั่วไหล ทั้งไฟไหม้ หรือน้ำท่วม เครื่องมือคงเสียหายมาก มองไว้ได้ เพราะห้องแลบคงไม่ใช้ห้องนิรภัย ทนไฟ ทนแรงระเบิด

เหตุการที่ทำให้เกิดแบบนี้ เรียกว่า Incident จงนำ ISO22301 หรือ BCMs มาพิจารณาได้ เรียกว่า สนุกสนานในการทำ ISO หลายๆมาตรฐานให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน สร้างวิถีแห่งตนขึ้นมา My Way 
เมื่อเกิดอุบัติการณ์ (Incident) ทำอย่างไรที่โรงงานยังต้องมอบชิ้นงานให้ลูกค้าได้ หรือห้องแลบ ต้องให้บริการทดสอบและสอบเทียบได้ ไม่ให้เกิดผลกระทบกับลูกค้าหรือผู้รับบริการยาวนานไม่รู้เวลาต้องทำให้คืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว............



  






































จะทยอยมาเขียนขยายความ หรืออธิบายให้กระจ่างขึ้น ผู้ที่มีพื้นความรู้มาบ้าง สามารถเข้าใจทันที
เขียนต่อคราวหน้า ..........................................................................................................................
หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
ติดต่อ K.NAT K.Sun 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855 
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
http://ksthailand.blogspot.com/
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS/FSSC22000  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ        ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANTCO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต 
Copy Right, All Rights Reserved.
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง
ที่ ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561

New FMEA AIAG & VDA 2019 Blog 60


Blog ที่ 60: New FMEA AIAG & VDA 1st Edition 2019

เครื่องมือใช้ประยุกต์ในระบบบริหารคุณภาพ
ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์
New FMEA = Failure Mode Effect Analysis  

การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ  



เปลี่ยนแปลงอะไรที่ต่างไปจาก FMEA 4 Edition AIAG


เรียกว่า FMEA AIAG & VDA 2019 First Edition มี 


Hand Book เล่มเดียวจากความร่วมมือ


ของ AIAG และ VDA (สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์


เยอรมัน) ร่วมกันร่าง


เดิมมีสองเล่มของ 4 Edition AIAG และ 4 Edition VDA


2 ฉบับเดิมเรียก Blue Book ฉบับใหม่จะเรียก Red Book


 คงจะได้


3 เปลี่ยนแบบฟอร์มใหม่ (New Forms)


4 มี  7 ขั้นตอน (Steps)


5 ปรับเปลี่ยนตารางใหม่ของค่า S, O, D


6 ยกเลิก  RPN  ใช้คำว่า AP: Action Priority แทน


7 เน้นการวิเคราะห์ความเสี่ยงเข้ามาเพิ่ม (Risk Analysis)


มี High, Medium, Low ผู้ที่อบรม ISO31000:2018 จะ


เข้าใจทันที


เริ่มต้องเข้าใจทั้ง Risk Level หรือ Priority Level


o เหตุผลการปรับเปลี่ยน



กำหนดโครงสร้างเดียวกันโดย AIAG  และ VDA

o New FMEA 1 Edition 2019 มี 7 ขั้นตอน ดังนี้


1 การวางแผนน 


Planning

2 วิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้าง Structure 


Analysis

3 วิเคราะห์เกี่ยวกับฟังค์ชั่น  Function Analysis

4 วิเคราะห์เกี่ยวกับความล้มเหลว  


Failure Analysis


ให้พิจารณาความล้มเหลวให้ครอบคลุมส่วนที่



สำคัญ

5 วิเคราะห์เกี่ยวกับความเสี่ยง  Risk Analysis

6 ดำเนินการหรือการจัดการให้เหมาะสม 


Optimization



7 Result Documentation `(Risk Communication)

โดยจัดทำ Action Priority แทน   RPN


ทุกขั้นตอน เตรียมปรับรูปแบบฟอร์ม เพื่อประยุกต์ใช้ New FMEA
ปี 2019 โรงงานที่จัดทำมาตรฐาน IATF16949:2016 คงเตรียมการอบรม 5 New Core Tools

ตัวแรกที่ต้องอบรม กล่าวกันมากมาแล้วคือ New FMEA: First Edition 2019 By AIAG & VDA ข้อมูลมีการเผยแพร่เพื่อให้ศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้งานจริง และอบรม ถามกันมากเรียก First หรือ Fifth Edition ถ้าดูที่ Red Print หรือการประกาศของ AIAG เรียกว่า 
1st Edition 2019 มาแทนที่ Fourth Edition ฉบับเดิมหรือ Blue Print
VDA ก็เยอรมัน ร่วมกับ AIAG 
บางคนเรียก New FMEA AIAG & VDA 1st Edition 2019 
ผู้สนใจหาซื้อ New Manual กดเนท พอหาซื้อกันได้
ในเมืองไทยละ ข่าวว่าติดต่อไปที่ QP ได้ มีข้อกำหนดของ IATF16949:2016 ด้วย ผู้เขียนไม่ได้รู้จักส่วนตัว ท่านที่สนใจ
สามารถติดต่อสอบถามไปโดยตรง 

New FMEA By AIAG & VDA 
ยกเลิกการระบุ RPN ที่เคยทำแบบเดิม
มองว่าใช้งานแล้วไม่เหมาะสม ไม่ตอบโจทย์
ชีวิตโรงงานเราก็รู้กัน ตัวเลข RPN นั้นเบี่ยงๆกันได้
เริ่มใช้ AP (Action Priority) แทน มองว่าดีกว่า
ก็ต้องลองนำไปประยุกต์ใช้ และปฏิบัติจริง
AP ที่ว่า ปรับเป็น High, Medium, Low และ
เงื่อนไขคะแนนจาก 10-1 กับพิจารณาร่วมกับค่า O, D
แบบฟอร์มมีการปรับเปลี่ยนใหม่ 

โรงงานจะเริ่ม New FMEA By AIAG & VDA เมื่อไร
* ไปเริ่มที่ New Project 
* หรือตามที่ตกลงกับลูกค้า 
* ถ้ายังไม่พร้อม ลองถาม CB ที่ท่านยื่นรับรอง 
* ผู้เขียนมองว่า เผื่อไว้ให้เขียนระบุเงื่อนไขการเปลี่ยนถ่าย
จัดทำแผน ระบุเวลาจะเปลี่ยนตอนไหน อย่าลืมว่าหลังปีใหม่
มีทั้งการเกษียณและการย้ายงาน ทำให้มีผลกระทบ พนักงาน
เข้ามาใหม่ยังต้องใช้เวลาเรียนรู้พอสมควร

โรงงานไปทบทวนและ Up date ที่ FMEA Manual
บางโรงงานนำเข้ามาจัดทำเป็น QP หรือ Procedure
ถือเป็นเอกสารระดับ 2 ในระบบโครงสร้างด้านเอกสาร


New FMEA
FMEA AIAG & VDA First Edition 2019 สามารถศึกษา Blog 63 (Self Learning)
จากนั้นปรับแบบฟอร์มใหม่ให้ตรงกับขั้นตอนที่ 2 ถึง 6
ขั้นตอนที่ 1  ตั้งทีม Core Tool ขึ้นมา
จากนั้นทำ Process Flow Diagram: PDF
การวิเคระห์มีในขั้นตอนที่ 2 ถึง 5
พื้นฐานเก่าที่อบรม Risk Management นำมาใช้ในขั้นตอนที่ 5
ความรู้เก่า FMEA ยังใช้ได้มากถึง 70%
ปรับตารางใหม่ กำหนดค่า S, O, D กำหนดเกณฑ์ Criteria ให้ชัดเจน
กำหนดค่า S จาก 10 - 1
กำหนดค่า O จาก 10 - 1
กำหนดค่า D จาก 10 -1
จัดลำดับความสำคัญ Action Priority: AP
พิจาราณาจากค่า Severity: S ค่า O ค่า D ทำตารางเทียบ
ค่า AP มองจากค่า Risk แบ่งเป็น H, M, L
ยกตัวอย่าง
ค่า S= 10 Very High
ค่า O= 10 Very High
ค่า D= 10 Very Low to Detect
เทียบตารางแล้วพิจารณาให้ค่า AP = H หรือ High
ค่าสูงมาก ต้องรีบดำเนินการ

ยกตัวอย่าง 7 ขั้นตอนการทำ New AIAG VDA FMEA
ขั้นตอนที่ 1: การวางแผน Planning
ผู้เขียนเอาเรื่องใกล้ตัว ขอยกตัวอย่างถุงลมนิรภัย (Airbag) 
ที่ประกอบเข้ากับรถยนต์
ส่วนถุงลมที่อยู่ในตัวหรือ Body ของทุกท่านมีเหมือนกัน 
คือ ปอด (Lung)
ถ้าทำ DFMEA: ให้เน้นว่า What is included
ทีมงาน FMEA Team จัดทำแผนงาน FMEA Plan

รถยนต์ของผู้เขียน ได้รับจดหมายจากค่ายรถยนต์ ให้นำรถเข้าเปลี่ยนถุงลมนิรภัย (Airbag) หลังซื้อมาห้าปีกว่า เป็นอันทราบว่าปัญหาเกี่ยวกับถุงลม ทำให้หลายค่ายรถยนต์เรียกรถกลับมาทำการเปลี่ยนถุงลม
ซึ่งทราบว่าผลิตมาจากโรงงานที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี รถยนต์ผู้เขียนได้เข้าศูนย์เปลี่ยนไปแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิตรถยนต์

เขียนผัง หรือ BoundaryDiagram: 
1  Input สิ่งที่ป้อนเข้าไปในระบบเป็นความจำเป็นหรือต้องการ (Needs) ในการออกแบบ เช่น สัญญาณ Signal
2 ความคาดหวังคือ อยากได้ผลลัพท์ Output คือ ถุงลมต้องตอบสนอง (Response) อย่างถูกต้อง ถูกจังหวะ
3 ส่วนกระทบ Impact เช่น สิ่งแวดล้อม อะไรบ้างที่ทำให้เกิดความรวน
ภาษาโรงงานว่า เกิดเพี้ยน
4 Control Factors มีอะไรบ้าง ทีมงานให้ระดมความคิด (Brainstorm)

ขั้นตอนที่ 2: Structure Analysis
รถยนต์เป็นสินค้า (Product)
การทำ New FMEA: 
ผู้ส่งมอบ (Supplier) จัดส่งสินค้า Deliver Product ซึ่งก็คือ 
ถุงลมนิรภัย (Airbag) ค่ายรถยนต์รับชิ้นงานนี้เพื่อนำไปประกอบ (Assembly) ว่าฟังค์ชั่นใช้งานได้หรือไม่ ซึ่งตามข้อกำหนด IATF16949 ข้อ 4.4.1.2 มองส่วนนี้เป็น Product Safety ด้วย

พิจารณาในขั้นตอนนี้
* System คือ รถยนต์ที่คนขับต้องได้รับความปลอดภัย
* Subsystem คือ ระบบถุงลมนิรภัย Airbag System
ซึ่งเกี่ยวกับสมรรถนะของสินค้า (Product Performance)
* Component หรือส่วนประกอบ ก็คือ เซนเซอร์ (Sensor) แต่ดันเซ่อขึ้นมาทำให้ผู้ใช้รถยนต์ที่สหรัฐอเมริกาเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต ปัญหาเริ่มกระจายวงกว้าง ผู้รับผิดชอบก็คงหาทางปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน รวมถึงพิจารณาความเสี่ยงและโอกาศเกิด
Goal: ตั้งเป้าหรือกำหนดจุดหมายชัดเจน ทำการทบทวนถึงโครงสร้างของระบบถุงลมนิรภัย 
(Overview  System Structure of Airbag)

ขั้นตอนที่ 3: Function Analysis
ดังนั้นในขั้นตอนนี้ ถ้าทำ New FMEA ให้พิจารณา
* ทำการทบทวน Product Function
* Customer Specification Requirements ตรงกับที่ต้องการ
* มองถึง Effect Relation
* คิดลึกๆทีมงาน ก็ Failure ความล้มเหลวจะโผล่หรือไม่ อย่างไร
ฟังค์ชั่นต้องได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
(Efficiency & Efectiveness)

ขั้นตอนที่ 4 Failure Analysis ของการทำ New FMEA:
นำสิ่งที่ระบุ (Identified) จากการวิเคราะห์ฟังค์ชั่นของขั้นตอนที่ 3 นำมาวิเคราะห์ถึงความล้มเหลวทั้ง 
* Failure Effects
* Failure Mode เน้นลึกๆ Potential Failure Mode
* Failure Causes ทำมาให้ครบ จัดทำ List of Failure Causes
ความล้มเหลวที่หามา เริ่มต้องมองถึงค่า S ส่งผลกระทบ ก่อให้เกิดความรุนแรงเพียงใด
กำหนดเกณฑ์ค่า S: จากคะแนน 10 - 1
จะอธิบายต่อเนื่องหรือแทรกข้อมูลให้เข้าใจมากขึ้นต่อไป

ขั้นตอนที่ 5: Risk Analysis
โรงงานเคยทำทั้ง
Current Prevention
พิจารณาค่า O
Current Detection
พิจารณาค่า D

ตอนนี้มีการตั้งเกณฑ์ หรือ Criteria: S, O, D
เปลี่ยนจาก RPN ปรับเป็นค่า AP
กำหนดระดับ หรือ Level  ในแบบฟอร์ม (New Form) 
จะมีคอลัมพ์ AP 
เพื่อใช้พิจารณา High, Medium, Low 
ยกตัวอย่าง 

AP Very High
ค่า S ช่วง 9-10  ค่า O ช่วง 6-10 ค่า D ช่วง 2-10
เมื่อพิจารณาค่า AP ตัดสินว่า Very High
เพราะว่า มองจากความไม่ปลอดภัยในผลิตภัณฑ์
ส่งผลกระทบกับข้อกำหนดของลูกค้า กฎหมาย
การให้น้ำหนักความสำคัญต้องเป็น Very High

AP High
ถ้าเป็น High ไม่ใช่ very High มองอย่างไร
ค่า S ยังช่วง 9-10  ค่า O ต่ำลงอยู่ช่วง 4-5 
ค่า D ช่วงราวๆ 7-10
เมื่อพิจารณาค่า AP ตัดสินว่าเป็น  High
เพราะว่า มองจากความไม่ปลอดภัยในผลิตภัณฑ์
ส่งผลกระทบกับข้อกำหนดของลูกค้า กฎหมายแล้ว
แต่โอกาสเกิด O เป็นปานกลาง Moderate Occ.
ค่า D บอกว่าตรวจจับพบก่อนเกิดปัญหากับลูกค้า
High Detection Rating
การให้น้ำหนักความสำคัญต้องเป็น High

AP เป็นระดับปานกลาง Medium มองอย่างไร
ค่า S อยู่ช่วง 5-8  ค่า O อยู่ช่วง 4-5 
ค่า D ช่วงราวๆ 2-4 แสดงว่าการตรวจจับพบลดลง
เมื่อพิจารณาค่า AP ตัดสินว่าเป็น  Medium
เพราะว่า มองจากความสูญเสีย Loss การลดหรือความเสื่อม
Degrade ในฟังค์ชั่นเกี่ยวกับพาหนะ (Vehicle Function)
หรือการส่งผลกระทบเกี่ยวกับการผลิต ทำให้ชลอและล่าช้า
(Manufacturing Disruption)
แต่มองโอกาสเกิด O เป็นปานกลาง Moderate Occ.
ค่า D บอกว่าตรวจจับพบก่อนเกิดปัญหากับลูกค้า
แบบ Low Detection Rating
สรุปการให้น้ำหนักให้มองหลายๆมุมมอง
ดังนั้นความสำคัญให้เป็น AP ปานกลาง Medium

AP Low
เมื่อพิจารณาค่า AP ตัดสินว่าเป็น  Low
เพราะว่า มองจากปัญหา ลักษณะข้อบกพร่องที่พบต่างๆ
หรือการส่งผลกระทบเกี่ยวกับการผลิต ทำให้ชลอและล่าช้า
(Manufacturing Disruption) ควบคู่กับโอกาสเกิด O 
เป็นปานกลาง Moderate Occurrence
ค่า D บอกว่าตรวจจับพบก่อนเกิดปัญหากับลูกค้า
แบบ Low Detection Rating
สรุปการให้น้ำหนักให้มองหลายๆมุมมองส่วนใหญ่พบค่าต่างๆว่าต่ำลง
ดังนั้นความสำคัญให้เป็น AP ที่ต่ำหรือ Low
แต่คะแนนมีพิจารณาหลายแบบ เช่น
ค่า S อยู่ช่วง 2-4, 2-10, 1
ค่า O อยู่ช่วง 4-5, 1,.... 

ค่า D อยู่ช่วง 2-4, 1,.....
รายละเอียดให้ศึกษาจาก New FMEA Manual

กรณีนี้ ผู้เขียนพิจารณาใช้รถยนต์ต่อไป หากไม่ไปรับการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยใหม่ มีความเสี่ยงสูงมาก อาจทำให้เสียชีวิต
พิจารณาค่า S ให้เท่ากับ 10
ค่า O มีโอกาสเกิดจริง
ค่า D ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วน หมายถึงผู้ส่งมอบ (Supplier)
ตรวจจับไม่ได้ชิ้นส่วนชิ้นใดมีข้อบกพร่อง
ค่ายรถยนต์ไม่รู้ถึงฟังค์ชั่นและสมรรถนะ 
(Product Performance) ของชิ้นส่วนนี้ คือ ถุงลมนิรภัย Airbag
หลังการประกอบ (Assembly)
* ให้คิดถึงว่า ทำไม (Why) จึงพบความล้มเหลว (Failure)
แล้วผลลัพท์ส่งผลหรือสำคัญเพียงใด (Consequenc Effect)

ขั้นตอนที่ 6: Optimization
ค่าที่พิจารณาจากตารางมี H, M, L
ผู้เขียนให้ค่า AP เท่ากับ H = High
จากนั้นไปดำเนินการ ของผู้เขียนเพียงแค่นำรถยนต์เข้าศูนย์บริการ รับการเปลี่ยนถุงลมนิรภัย แต่จะมั่นใจแค่ไหน คงยาก ผลจะสะท้อนกลับไปที่ค่ายรถยนต์ต้องรับผิดชอบก่อน จากนั้นปัญหานี้คงย้อนกลับไปให้ผู้ส่งมอบชิ้นงาน (Supplier) ต้องสามารถสร้างความมั่นใจ 
ลดความเสี่ยงและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิผล 
(Reduce Risk and Prevent Effectiveness) ต้องสามารถลด
ความล้มเหลวอย่างเหมาะสมกับชิ้นส่วนนี้ ซึ่งถือว่า
เป็น Product Safety

ขั้นตอนที่ 7: Result Documentation
 Evidence Record Risk Communication/ ผลลัพท์

จากนั้นให้ระบุ
* Preventive Action ให้ระบุแนวทางให้แข็งแรง ชัดเจน
* Detective Action สามารถตรวจจับได้
* Responsibility Person ให้ระบุชื่อผู้รับผิดชอบ ใครบ้าง
* Target Date กำหนดวันชัดเจน เป็น Timing Task จะได้ไม่เลื่อนแล้วก็เลื่อนออกไปเรื่อยๆ ช่วยกันทำงานเป็นทีม (Team Work) 
ลองศึกษาจากคู่มือ หรือทำการทบทวนคู่มือเดิมแล้วปรับปรุง
ทั้งระบุทั้ง Action Taken, Completely Date, อื่นๆ 

โรงงานที่ทำ IATF16949 ปี 2019 เริ่มปรับปรุง FMEA First Edition 2019 ของAIAG & VDA และถามบ่อย คาดว่าอีก 4 Core Tools คือ 
APQP, PPAP, SPC, MSA อนาคตให้ติดตามข้อมูลข่าวสาร 
ทุกอย่างย่อมมีปรับเปลี่ยน เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ  ของสุนทร    
งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน
เขียนต่อคราวหน้า ...................................................................................................................................

หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
ติดต่อ K.NAT K.Sun 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855 
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
http://ksthailand.blogspot.com/
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS/FSSC22000  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ        ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANTCO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต 
Copy Right, All Rights Reserved.
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง
ที่ ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com