Section : Quality Solving

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

ระบบบริหารคุณภาพกับชิวิตจริงในโรงงาน (Blog2: เรื่องเริ่มการจัดทำระบบ)

ระบบบริหารคุณภาพกับชิวิตจริงในโรงงาน (ต่อจาก Blog1: เรื่องทั่วไป ISO9001หรือ QMS)

Blog ที่ 2: เริ่มการจัดทำระบบ
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา" 
081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ช่วงนี้โรงงานเริ่มอบรมภายใน เพื่อป้องกันโควิท 19 
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF 
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
กรณีผู้เข้าอบรมจำนวน 30-40 ท่านขึ้นไป ควรจัดระยะห่าง มีเจลล้างมือ ใส่แมสตลอด 
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
Mobile: 0813029339, 0886560247   Line ID: iatf16949

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
     สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
    New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                   ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018



สมัยผมวัยรุ่นแบบนี้ ก็ตะลุยไปทั่วแคว้น ปัจจุบันทำ ISO ก็ยังเดินทางไม่หยุด  นายแบบนะน้องชายของผู้เขียน
กลับจากตะลุยภูเก็ต


เริ่มการจัดทำระบบ :
ประเภทโรงงานที่ทำ ISO 9001 สามารถยื่นขอรับการรับรองได้ทุกประเภท ขอให้มีครบสี่ขั้นตอนคือ
1 มีระบบเอกสารครบถ้วนตามข้อกำหนด (Document Control System)
2 มีการปฏิบัติใช้งานจริงไม่น้อยกว่าสามถึงสี่เดือนขึ้นไป (Implementation)
มีการตรวจประเมินคุณภาพภายในองค์กรแล้ว (Internal Quality Audit หรือ เรียกสั้นๆว่า IQA)
มีการทบทวนงานบริหารคุณภาพร่วมกับผู้บริหารองค์กรแล้ว (Management Review Meeting)

  ถามว่า ร้านขายกล้วยทอด แม่ค้าขายลูกชิ้นปิ้ง ขอรับรอง ISO ได้หรือไม่
คำตอบ จะร้านเล็กหรือบริษัทใหญ่ ก็ขอให้มีครบสี่ขั้นตอน สามารถยื่นขอรับการรับรองได้ทั้งหมด แต่ว่าค่ายื่นรับรองอย่างต่ำๆก็เกินหนึ่งแสนบาท บาง CB อาจคิดค่าตรวจรับรองสองถึงสามแสนบาท ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดธุรกิจ จำนวนพนักงาน ขอบข่ายของงานที่ต้องตรวจประเมินครั้งแรกเพื่อกำหนดจำนวนวัน (Manday) ที่ตัองตรวจสอบ เท่าที่ทราบมีตั้งแต่สามวันถึงสิบห้าวัน ส่วน CB บางแห่งคิดค่าตรวจสอบวันละ 12,000 บาทต่อผู้ตรวจสอบหนึ่งคน บาง CB คิดราคา 24,000-29000 บาทก็มี ยังไม่รวมค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าใบรับรองและค่าธรรมเนียม อย่างนี้แล้วแม่ค้ากล้วยแขกผมขายได้วันละห้าร้อยบาท คงไม่มีความจำเป็นต้องมีใบรับรอง ISO หากเป็นการบินไทยฝ่ายโภชนาการ หรือขนมหม้อแกงเมืองเพชรบุรี ของแม่กิมลั้ง แม่กิมไล้ คิดว่าไม่มีปัญหา มีศักยภาพด้านการเงิน บุคลากรและทรัพยากรเพียงพอ
การจัดทำระบบการจัดการและมาตรฐาน ในเมืองไทย ไม่ใช่มีแค่ ISO9001 ยังมี ตัวอื่นดังนี้
ISO 14001, OHSAS 18001, TIS 18001, TS16949 แต่โรงงานทั่วไปและส่วนใหญ่ทำ ISO 9001
แต่โรงงานผลิตอาหารเน้นทำระบบและเป็นมาตรฐาน ISO 22000(FSMS), HACCP ภายใต้ระบบนี้จะมีภาคบังคับโรงงานอาหารให้ต้องทำมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice: ในโรงงานผลิตเครื่องสำอาง และยา ก็เน้น GMP) พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ GMP ส่วนใหญ่เป็น Subset ของ HACCP (HACCP คือ Hazard Analysis and Critical Control Point)
หมายเหตุ FSMS คือ Food Safety Management System
โรงงานผลิตรถยนต์และอะไหล่จัดทำ ISO/TS 16949 แต่ก่อนเป็น QS9000 ของกลุ่มบิ๊กทรี
ช่วงนี้หลายโรงงานเริ่มทำ ISO 26000 (Social Responsibility) หรือ ทำมาตรฐานแรงงานไทย ที่เรียกย่อๆว่า มรท 8001หรือ TLS 8001(Thai Labor Standard 8001)

เครื่องมือ(Tools) ช่วยปรับปรุงระบบ :
หลายๆโรงงานก็นำเครื่องมือ(Tools) ต่างๆ เข้ามาใช้ เช่น ฝรั่ง (จริงๆ) กล่าวถึง TQM (Total Quality Management) แต่ญี่ปุ่นเรียกว่า Total Quality Control หรือ TQC  สิ่งที่ไม่ใช่ระบบจึงไม่จำเป็นต้องขอรับรอง แต่การทำ TQC จะมีรางวัลเดมมิ่ง(Deming Prize) ของญี่ปุ่นหรือรางวัลมัลคอล์ม บอลดิฟ อะวอร์ด (Malcolm Baldrige International Quality Award) ของอเมริกาให้สำหรับโรงงานหรือองค์กรที่ดีเยี่ยมจริงๆ ในไทยเราก็มีรางวัล TQA Award ก็ใช้หลักการของ มัลคอล์ม บอลดิฟของอเมริกา ปีนี้2554 ปตท ได้รับรางวัลนี้จากท่านนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ 

แต่ส่วนใหญ่กลุ่มโรงงาน SCG(กลุ่มซิเมนต์ไทย), CP และ ปตท ก็มักจะได้รับรางวัลต่างๆไปแทบทุกปี หากองค์กรใดจะทุ่มเทพัฒนาให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นเลิศ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พนักงานมีส่วนร่วมและสร้างความรักความผูกพันที่ดีต่อองค์กรมากขึ้น ย่อมต่างกับองค์กร ที่ไม่มีการอบรมอะไรเลย ผลิตอย่างเดียว ขายอย่างเดียว นานวันเข้า พนักงานก็เช้ามาทำงาน เย็นก็กลับบ้าน ความเฉื่อยในงานก็จะเริ่มมาเยือนและเกาะติดแน่น พอองค์กรต้องการทำอะไรสักอย่าง เช่น บางโรงงานคิดว่าจะนำ Six Sigma เข้ามาช่วยปรับปรุงองค์กร คำแรกที่ได้ยินคือ คงทำไม่ได้ หรือว่า จะทำไปทำไม หากพนักงานเหล่านั้นมีโอกาสแบบองค์กรที่ได้รับรางวัล TQA  Award คงไม่เกิดทัศนะคติแบบนั้น ผู้เขียนชอบดูรายการ "กบนอกกะลา" ได้ความรู้ใหม่ๆมากมาย ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ก็เป็นการสะท้อนให้คิด หากว่าพนักงานมีโอกาสสู่โลกภายนอก ไปพบไปเห็นอะไรดีๆ จะได้นำกลับมาปรับปรุงองค์กรของตนเองต่อไป

ส่วน Six Sigma ก็เป็นเครื่องมือซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้น มีการใช้หลักสถิติมาวิเคราะห์อย่างมาก อาจใช้โปรแกรม Minitab หรือ Excel มาประยุกต์โดยยึดหลักการ ห้าขั้นตอนคือ DMAIC (Define, Measure, Analyze, Improve, Control) มีหลายโรงงานที่ใช้ Tool นี้ เช่น Sony, LG, Samsung, GE, etc 

ผู้เขียนอาจจะเคยทำระบบเหล่านี้มาทั้งหมด บวกกับเป็นผู้ตรวจสอบ เป็นวิทยากรและที่ปรึกษาบางโครงการมาก่อน สิ่งหนึ่งที่พบเห็นมามาก หลายมาตรฐาน ผู้คนมักกล่าวว่า
 "มาตรฐานต่างๆมีจุดกำเนิดและเกิดในอเมริกา ไปเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในญี่ปุ่นแดนปลาดิบ แต่สุดท้าย ยังไม่ทันกระพริบตาเลย ต้องมาตายอย่างอเน็ดอนาดหลายๆโรงงานที่เมืองไทย"
สิ่งแรกสำคัญที่สุดคือ ต้องคิดว่า ทำไมจึงเป็นแบบนั้น เพราะเรามักคิดว่าทำไม่ได้ ผู้บริหารไม่จริงจัง งบประมาณไม่เพียงพอ ขีดความสามารถของพนักงานทำไม่ได้ และไม่มีเวลาทำ ยุ่งเหลือเกิน เป็นต้น สาธุ ๆๆๆๆๆๆ ห้ามคิดอย่างนี้ หากหัวหน้าใจไม่สู้ ลูกน้องก็ฝ่อไปด้วย
หากเราคิดกลับกันว่า การเปลี่ยนแปลงนำไปสู่สิ่งที่ดีๆและใหม่ จงละทิ้งสิ่งเก่าๆรวมทั้งวัฒนธรรม (Culture)เดิมๆ ที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยออกไป ให้คงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีและเด่นขององค์กร และเพิ่มความพยายามโดยทุกส่วนต้องร่วมแรงแรงใจกันไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ เรื่อง คน(Man)สำคัญที่สุด และไม่มีอะไรที่โรงงานเราทำไม่ได้ (ห้ามต่อท้ายว่า ยกเว้น ISO....)


สมัยผู้เขียน เป็น QMR โรงงานแห่งหนึ่ง มีผู้บริหารท่านหนึ่งค่อนข้างต่อต้านการทำ ISO9001 อย่างมาก ขนาดเขียนคำหยาบถึงผู้อำนวยการโรงงาน ลงท้ายยังใส่คำว่า คาราบาว   ลงไปด้วย แปลว่า บัฟฟาโล่ ซึ่งก็คือหัวหน้าของท่าน แต่ผู้เขียนแปลกใจ ทำไมนายไม่ไปส่งให้ท่านผู้อำนวยการ กลับส่งมาให้ QMR สุดท้ายเกรงว่าเรื่องจะใหญ่โต QMR เลยเอากระดาษบันทึกนั้นเผาไฟ ถือว่าเป็นการทำพิธีกงเต๊ก แต่สิ่งที่แปลกใจ ทำไมผู้บริหารท่านนั้นต่อต้าน ISO เพราะท่านคิดว่าคนทำระบบนี้โง่ โดนฝรั่งหรอก หากได้เข้าไปคุยหรือฟังคำพูด จะรู้ว่าท่านรู้ ISOมาก ทั้งที่ไม่ค่อยเข้าอบรม สุดท้ายถึงบางอ้อ ท่านนั้นสมัยเรียนวิศวะ ใช้หนังสือสถิติของ จูราน(Quality Control Handbook) เล่มหนาเกือบหนึ่งคืบเลย และท่านก็ใช้เล่มนั้นมาตลอดการทำงาน บวกกับมีไหวพริบ คิดเอง เข้าใจเองแต่กลับถูกต้องในระบบการบริหารคุณภาพ หนังสือของท่าน จูราน ดีมากๆ ไม่ล้าสมัย อ่านแล้วเรียกว่า มีกำลังภายใน (QMS) แบบไม่รู้ตัว ก็คงคล้ายๆกับที่เรากล่าว สุดยอดของ MBA คือ อ่านตำราสามก๊ก


      อีกประเด็น การทำระบบนี้ ต้องมีการตรวจประเมินระบบ หรือเรียกว่า การตรวจติดตามคุณภาพภายใน(Internal Quality Audit) จะทำกันเองภายในองค์กร โดยกติกาไม่ให้ตรวจสอบฝ่ายของตนเองเพื่อป้องกันการลำเอียง (Bias) ช่วงการทำระบบเรียกสั้นๆว่า ตรวจสอบภายใน กระทำโดยพนักงานของโรงงาน ไม่ใช่แพทย์หรือคุณหมอนะครับ  ก็ต้องประสานงานดีๆ เพราะว่ามักเกิดเหตุการณ์ ศึกยอดมวยไทยก็มี โดย QMR ต้องจัดการและทำแผนการตรวจสอบพยายามอย่าให้จับคู่ประเภท เดือดต่อเดือด ร้อนแรงเจอกัน ใช้หมุนทีมตรวจแบบวงกลม (Cyclic) หรือไม่ควรจัดให้ ผู้ตรวจสอบที่เด็กกว่าไปตรวจสอบผู้ใหญ่กว่า ผู้ตรวจสอบที่เป็นเด็กใหม่หรือน้องวิศวกร อาจเกิดอาการฝ่อ สุดท้ายลาออกไปเลยก็มี รายละเอียดจะไปเขียนต่อในหัวข้อเรื่อง การตรวจติดตามคุณภาพภายใน

      ส่วนโรงพยาบาล ก็มีทำระบบคุณภาพเช่นกัน เราเรียก HA หรือ  Hospital Accreditation  นานมาแล้ว โรงพยาบาลก็ทำ ISO ก็จะมีคุณหมอท่านหนึ่งเป็น QMR แต่ยุคโน้นยังมี ISO9002 (ต่างจาก ISO9001 คือไม่มีการออกแบบและพัฒนา; Design and Development) มีน้องที่โรงงานป่วย ส่งไปรักษาตัว ผู้เขียนไปอ่านดูใบรับรองระบบ ISO9002 บอกขอบข่ายที่รับรอง ยังไม่รวมหน่วยงานหัวใจ ประสาท และกระดูก พูดง่ายๆคือได้รับรองไปบางส่วน(ไม่ใช่ทั้งระบบ) ยกตัวอย่างเช่น อายุรกรรม ผิวหนัง และสูตินารี หากคนป่วยมาอ่านบ้าง ไม่รู้จะคิดอย่างไร แต่ตอนนี้คนป่วยยังนอนอยู่หน้าเขียว ตัวเขียวเลย จุกหน้าอก หายใจไม่ออกเพราะโรคหัวใจกำเริบ หลายคนพูดว่า โรงพยาบาลได้รับรอง ISO เองรอดแน่นอน (มีโอกาสจะขยายความเรื่องเข้าใจผิดนี้ใหม่ เป็นเรื่องเก็บตกมาฝาก จะลงบทความใน Blog ที่7 การเป็น QMR ซึ่งจะพบเรื่องตลก แปลก หรือเครียดก็มีให้เห็นเสมอ)

คุณภาพคืออะไร
 คุณภาพ หรือ Quality มีให้คำจำกัดความมากมาย เช่น Quality is the totality of characteristics for product or service that bear on its ability to satisfy stated and implied needs. 
แต่ผู้เขียนสรุปว่า Quality is Customer Satisfaction ควรทำสินค้าและบริการให้ถูกต้องและตรงใจกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
ยุคนี้ มีอีกคำที่นิยมกล่าวถึงคือ นวัตกรรม (Innovation) คือ การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีๆและใหม่ ละทิ้งสิ่งเก่าๆรวมทั้งวัฒนธรรม (Culture)เดิมๆ ที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยออกไป 

ระบบการบริหารคุณภาพ หรือ QMS 
มาตรฐาน ISO 9001หรือ ระบบการบริหารคุณภาพ (Quality Management System: QMS) 
สิ่งที่แตกต่างจากเวอร์ชั่นเก่า คือ
เรื่อง Outsource Control โดยบางโรงงานเขียนไว้ในคู่มือคุณภาพแล้ว ปรับเวอร์ชั่นใหม่ก็ใช้ได้เลย คำว่า Outsource Control หรือ การควบคุมกระบวนการจากภายนอก เพื่อให้มีวิธีการต่างๆ หากพบไม่เป็นไปตามข้อกำหนด จะควบคุมแก้ไขอย่างไรให้โรงงานกำหนดขึ้นมา แต่ละองค์กรไม่เหมือนกัน ที่เป็นกระบวนการจากภายนอกที่ต้องควบคุม เช่น รถรับเหมาขนส่งสินค้า การจ้างทำแม่พิมพ์หรือการปรับปรุง (Modify) การจ้างทำชิ้นงานพลาสติก เหล็ก อลูมีเนียม หรือ การนำแผ่นโลหะไปจ้างข้างนอกทำหรือขึ้นรูป เป็นต้น

ส่วนเรื่องที่สอง หัวเรื่องยังเหมือนเวอร์ชั่นเดิม คือ การปฎิบัติการป้องกัน(Preventive Action)  แต่วิธีการตรวจประเมิน (Audit) ของผู้ตรวจสอบเข้มงวดมากขึ้น เพราะเน้นเรื่องประสิทธิผล ใบที่เราตอบแก้ไขปัญหา หรือ Corrective Action Request: CAR หรือ Countermeasure กำหนดการแก้ไขและป้องกัน บอกว่าปัญหาหายแล้ว ผ่านไปสักสองหรือสามอาทิตย์ ปัญหาโผล่มาลักษณะนี้อีก หรือพบบ่อยครั้งทุกเดือน แสดงว่าไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันปัญหา ฉะนั้นการตรวจก่อนหน้านี้ตามเวอร์ชั่นเก่า(ปี2000) มีเขียนแนวทางการป้องกันไว้ ผู้ตรวจสอบก็อนุโลมให้ผ่าน แต่เวอร์ชั่นปัจจุบัน(ปี2008)ให้เน้นและเข้มงวด (อยู่แต่ว่าผู้ตรวจสอบจะเอาจริงหรือไม่ บางครั้งก็ผ่อนปรนเพื่อให้ลูกค้าทยอยปรับปรุงและพัฒนาขึ้นมา   

มีเรื่องเล่าให้ฟังคลายเครียด 
         คนจีนชอบเลข 8 คนไทยชอบเลข 9 คนเกาหลีไม่ชอบเลข  4 พร้องเสียงกับคำว่า ซี่ แปลว่าตาย คนนฝรั่งไม่ชอบเลข 13 คนญี่ปุ่นชอบเลข 7 จริงหรือเท็จ จะเรียนถามผู้รู้อีกครั้ง ดูอย่าง Seven Eleven บริหารดีมาก ทุกคนเข้าไปก็เจอทักทายสวัสดีค่ะ ช่วงหนึ่งที่ผ่านมา โจร ก็ปล้น 7-11 บ่อยมาก เพราะตอนออก ได้รับคำว่า ขอบคุณค่ะ

เกี่ยวกับเลขเจ็ด ที่คุ้นกัน เช่น 7 QC Tools, New 7 QC Tools, QCC ก็เป็น Tool (Quality Control Circle) โดยใช้หลักการของ QC Story ก็มีเจ็ดขั้นตอน 
ถามว่า ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สองคำนี้ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
 •คำตอบ คือ แตกต่างกัน โดยประสิทธิภาพ (Efficiency) กับประสิทธิผล (Effectiveness) ขอยกตัวอย่างให้เข้าใจดังนี้
นายหนึ่ง ทำรถจักรยานได้หนึ่งร้อยคันตามที่วางแผน แสดงว่าประสิทธิภาพคือ 100% คิวซีตรวจสอบแล้วพบจักรยานเสีย สี่สิบคัน แสดงว่า ประสิทธิผลการทำงานของนายหนึ่ง เท่ากับ 60%
ตัววัดประสิทธิผลหรือ KPI (Key Performance Indicator) เช่น ปริมาณของเสีย ปริมาณการเคลม เรื่องที่ลูกค้าร้องเรียน การผลิตไม่ได้ตามแผน การส่งของล่าช้า ความถี่ของการเสียของเครื่องจักร เป็นต้น 
เหตุผลที่โรงงานทำ ISO9001 กันมาก เพราะการตรวจสอบคิวซีแบบเดิมๆคงใช้ไม่ได้ดีนัก จึงเกิดระบบต่างๆและมาตรฐานต่างๆเข้ามาเพื่อรับประกัน (Assurance)ให้กับลูกค้าและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า หรือมีการเปรียบเทียบคือ ทำ Benchmark กับคู่แข่ง

สิ่งแรกที่องค์กรหรือโรงงานต้องเตรียมตัวเพื่อจัดทำระบบ คือส่งคนไปรับการอบรม บางแห่ก็ใช้ที่ปรึกษา (Consult) ในไทยมีที่ลงโฆษณาในหนังสือ For Quality ของ สสท ก็มีประมาณ 70-80 แห่ง (Consultant) จริงๆมีมากกว่า เป็นร้อยๆบริษัท เมื่อพนักงานมีความรู้ ให้สร้างทีมงานที่รับผิดชอบขึ้นมา ควรมีผู้บริหารระดับสูงร่วมด้วยในช่วงแรกๆ ตั้งเป็น Steering Committee จากนั้นก็หาหนึ่งคนที่รู้ข้อกำหนดดี เป็นระดับจัดการจะดีกว่าใช้ Supervisor หรือ วิศวกร สามารถเข้ากับทุกฝ่ายได้ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์ แต่งตั้งให้เป็น ตัวแทนหรือผู้แทนฝ่ายบริหาร ซึ่งก็คือ QMR แต่งตั้งแค่คนเดียวพอ เพราะข้อกำหนดระบุไว้ชัดเจน เหตุผลเพื่ออะไร คงเข้าใจดี ยิ่งเป็นองค์กรจีน ไม่ควรตั้งเป็นสาม เพราะอะไร? ผู้เขียน ระบุเอง ว่าจะเกิดสามก๊ก ดูประวัติศาสตร์สากล รบกันร่วมสี่สิบห้าสิบปีเลย สุดท้ายลูกหลานสุมาอี้ กลายเป็นฮ่องเต้ ทั้งที่ขงเบ้งหรือจูกัดเหลียง เก่งมาก แต่โชควาสนาไม่ให้ ป่วยตายซะก่อน 
ผู้เขียนเคยคุยกับน้องหรือพี่ๆในโรงงานบางคนเก่งแต่ไม่รุ่ง ก็เพราะเหตุผลนี้ คำว่า "แข่งเรือแข่งพายได้ แต่แข่งบุญวาสนานั้นไม่ได้" ถ้าเก่งบวกเฮง ก็โชคดีไป แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตั้งใจทำงานและอย่าเกเรงานโดยเด็ดขาด
ขอกล่าวทั่วไปมากหน่อย ไม่อยากให้อ่านแล้วเคลียด ช่วงนี้น้องๆมหาวิทยาลัยจบแล้ว ยกเว้นพวกแก้เกรดซัมเมอร์ อย่างไรก็ต้องเตรียมตัวหางาน ให้ฝึกด้านภาษาต่างประเทศให้มากๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ถัดไปก็ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาเกาหลี จะไปเห็นผลในอีกหลายปีข้างหน้าของชีวิตการทำงาน ช่วยให้ก้าวหน้าได้รวดเร็วขึ้น ไม่ใช่เพื่อการเปลี่ยนงานบ่อย ยกเว้นเมื่อคุณเป็นผู้จัดการแล้ว ความรับผิดชอบจะมีมาก บางครั้งต้องมีสปิริตรับผิดชอบงาน "ชีวิตการทำงานนั้นอย่าไปโทษใคร ขอให้ตั้งใจทำงานในหน้าที่ให้ดีที่สุด" หากภาษาต่างประเทศดีชนิดใช้งานได้ไม่ติดขัด พูดได้คล่อง เราอาจเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นก็ได้ เพราะว่าอนาคตคือสิ่งที่ไม่แน่นอน ผู้เขียนมีเพื่อนบางคน วันเสาร์อาทิตย์ไปเป็นมัคคุเทศน์ ช่วงหนึ่งที่มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรีเปิดอบรม ก็ดีเหมือนกัน ทำงานไปและก็ท่องเที่ยวไป ได้รสชาติของชีวิตโดยไม่ต้องอมฮอลล์ โดยผู้เขียนจะเขียนเกี่ยวกับ ISO เน้นภาษาไทย หรือกล่าวว่า ISO พาเที่ยวทั่วไทย

เมื่อคนเป็นระบบหรือพนักงานทำ ISO9001 ได้ เข้าใจข้อกำหนดทุกหมวดของมาตรฐาน ISO9001:2008 ต้องทำระบบเอกสารขึ้นมา จะแบ่งกี่ระดับ(Level) ก็แล้วแต่องค์กรนั้นๆ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมแบ่งเป็นสี่ระดับ คือ
•ระดับ 1 คือ คู่มือคุณภาพ (Quality Manual)
•ระดับ 2 คือ ระเบียบปฎิบัติ (Procedure)
•ระดับ 3 คือ คู่มือหรือขั้นตอนการทำงาน (Work Instruction หรือ WI)
•ระดับ 4 คือ แบบฟอร์ม (Form) 
ความหมาย:
ระดับ 1 คือ คู่มือคุณภาพ (Quality Manual) หรือ QM ซึ่งจะบอกเกี่ยวกับนโยบายด้านคุณภาพ และทุกฝ่ายต้องปฎิบัติอย่างไร ให้เป็นไปตามนโยบาย จริงๆแล้วเรียกว่า นโยบายกระจาย(Deploy)ลงไปให้ปฎิบัติ พูดง่ายๆคือ คำสั่งให้ทุกฝ่ายนำไปทำงาน เพื่อเป็นไปตามเป้าหมายและทิศทางขององค์กร QM แจกจ่ายให้กับผู้จัดการฝ่ายและระดับผู้บริหาร หากผู้ตรวจสอบ พบว่าผู้จัดการ ผู้บริหาร ไม่ปฎิบัติตาม QM หรือไม่รู้ว่าคืออะไร เล่มนี้ไม่มีอยู่กับฝ่ายหรือตัวผู้บริหาร  ผู้ตรวจสอบมักเพ่งเล็งว่า ขาดความรับผิดชอบ หรือท่านไม่ให้ความสนใจ ไม่เข้ามามีส่วนร่วม อาจถูกระงับการตรวจสอบ หรือให้เป็นข้อบกพร่องหลัก (Major) ซึ่งในชีวิตจริง ก็มีกรรมการผู้จัดการบางท่าน ไม่รู้เรื่อง QM ก็เนื่องจากที่ปรึกษาเขียนและทำให้ทั้งหมด เพียงแต่ท่านต้องการใบรับรอง(Certificate) เท่านั้น ในทางกลับกันเมื่อท่านมีส่วนร่วมกับพนักงาน เข้าร่วมประชุมเปิด (Opening Meeting) ผู้ตรวจสอบ (Auditor) จะปลื้มและประทับใจมาก เรียกว่า รับคะแนนโบนัสไปมากโข สิ่งต่างๆที่พบจากการตรวจสอบ ผู้เขียนจะทยอยเขียนบอกวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ พร้อมทั้งรวบรวมให้เป็นกรณีศึกษา  เพื่อให้ผู้สนใจรับไปปรับปรุงระบบการทำงาน ขอให้ติดตามต่อๆไป (จะเขียนต่อใน Blog ที่ 5)
ระดับ 2 คือ ระเบียบปฎิบัติ (Procedure) เป็นระเบียบที่เขียนขึ้นให้ทำงานกัน เรียกว่าสิ่งที่ต้องปฎิบัติว่า ใคร ทำอะไร ทำที่ไหน เมื่อไรต้องทำ การเขียนระเบียบซึ่งอาจเกี่ยวพันกับหลายฝ่าย ก็จะต้องร่วมกันเขียนขึ้นมา หากเป็นงานของฝ่ายตนเองก็สามารถเขียนเอง แก้ไขเองได้ แต่ต้องไม่ไปโยนงานให้ฝ่ายอื่นทำการเขียน ฉะนั้นการทบทวนแก้ไขควรประชุมร่วมกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยองค์กร จะให้ QMR เป็นศูนย์กลาง ใครจะแก้ไขอย่างไร ให้ส่งมาให้พิจารณาก่อน แปลกใจ คำว่า คิวเอ็มอาร์ พนักงานมักไม่รู้จัก แต่รู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดี กับคำว่า แจ๊กแม่มคิง:JQK
ระดับ 3 คือ คู่มือหรือขั้นตอนการทำงาน (Work Instruction หรือ WI) คือ ขั้นตอนการทำงาน หรือ ทำอย่างไร (How to) งานที่ยากๆ งานที่หลายคนทำแล้วไม่สามารถทำได้เหมือนกันทุกครั้ง งานการประกอบสินค้า  งานประกอบเครื่องจักร งานประกอบเครื่องมือ วิธีการตรวจสอบ งานทางเทคนิค งานลักษณะนี้ควรทำเป็น WI และต้องมีใช้งาน ณ จุดปฎิบัติ หรือค้นหามาใช้งานได้ง่าย ทันที เมื่อไม่แน่ใจ หรือทำงานไม่ได้ นับว่ามีประโยชน์ทั้งสอนงานพนักงานเข้าใหม่ ใช้เมื่ิอมีการสลับหน้าที่งาน ในข้อกำหนดไม่ได้บังคับว่าทุกจุดทำงาน ทุกเรื่อง ต้องมี WI หากแต่ว่าเมื่อผู้ตรวจสอบพบว่างานมีปัญหา จะร้องขอให้แก้ไข หรือออก CAR ส่วนโรงงานก็มักออก WI แล้วก็ OJTให้พนักงาน เพื่อทำการปิด CAR 
ระดับ 4 คือ แบบฟอร์ม (Form) เป็นแบบฟอร์มต่างๆ(ฟอร์มเปล่า)ที่สร้างขึ้นมาใช้งาน
ฉะนั้นทั้งสี่อย่างหรือสี่ระดับที่กล่าวมา จึงเป็นเอกสาร เพราะถูกกำหนดสถานะ หรือให้ชีวิต(Status) ของทั้งหมดเป็นเอกสาร แต่เอกสาร (Document) กับบันทึก (Record) มีความแตกต่างกัน
โดยเอกสาร สามารถแก้ไข ทบทวนและเปลี่ยนแปลงได้ หลังแบบฟอร์มถูกกรอกน้ำหมึก (Ink) จะกลายสถานะเป็นบันทึก (Record) ซึ่งจะแก้ไขข้อเท็จจริงไม่ได้
ผู้เขียน เคยกล่าวถึงเอกสารระดับ 4 คือ แบบฟอร์ม (Form) จะรวมถึงเอกสารสนับสนุนต่างๆ(Supporting Document) ส่วนใหญ่จัดหรือกำหนดสถานะเป็นเอกสารระดับที่สี่ เช่นเอกสารประเภท BOM แบบหรือเขียนแบบ (Drawing) แต่องค์กรจะจัดเป็นระดับใด เช่น ระดับสาม ระดับห้า หก เจ็ด ก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับระบบเอกสารที่เราตั้งขึ้นมา การจัดระดับเพื่อระบุอำนาจการอนุมัติตามความสำคัญของเอกสาร
เมื่อเป็นเอกสาร (Document) ก็มีการควบคุมเอกสารตามข้อกำหนดจะระบุแยกย่อยให้เห็นหลักๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย แต่อาจไม่ต้องจำข้อกำหนดหมายเลขอะไร แต่ผู้ตรวจสอบจากภายนอกต้องจำได้ เพราะว่าเวลาบอกว่าใครบกพร่อง ต้องระบุบกพร่องเรื่องใด ข้อกำหนดย่อยใด
เปิดมาตรฐาน ISO 9001 ฉบับภาษาอังกฤษ หรือใครจะเปิดฉบับภาษาไทยก็ได้
ไว้เขียนในหมวดข้อกำหนด(Requirement) จะแจ้งให้ทราบว่าไป Download ISO 9001 Standard(Requirement) อย่างไร หรือช่วงนี้ให้ Click ไปที่ CB ต่างๆ ก็มีเอกสารที่เคยอบรมแจกให้กับโรงงานหรือผู้สัมมนา หรือหาจาก Google พิมพ์คำว่า ISO9001 เข้าไปลองค้นหาดูก่อน แต่ใช้ฉบับภาษาอังกฤษ ผู้เขียนว่าชัดเจน ภาษาไทยดิ้นได้ และตีความยาก

การควบคุมเอกสาร (Control of Documents) คือ ข้อกำหนดหมายเลขที่ 4.2.3  แยกข้อย่อยออกเป็น a ถึงพูดง่ายๆก็เหมือนกฎหมายมาตราที่เท่าไรนั่นเอง หากเราเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพภายใน สามารถระบุได้ว่าเอกสารที่พบผิดข้อกำหนดย่อยใด นับว่าดีมาก แสดงว่าเราแม่นข้อกำหนด ตามทันผู้ตรวจสอบ คำว่า ตามทันไม่ใช่ว่า พรุ่งนี้จะถูกตรวจ เอกสารก็มาแอบทำเพิ่ม เกรงว่าไม่ขลัง ไม่ศักดิ์สิทธ์พอที่จะให้ผู้ตรวจสอบเชื่อถือ ก็นำไปขย่ำสักหน่อย แล้วพ่นน้ำ (มนต์)สักนิด บางครั้งผู้ตรวจสอบจับได้ หรือสงสัย จะตรวจสอบเข้มงวดทันที
สรุปเอกสารสามาถแก้ไขได้ แต่ถ้าเป็นบันทึก หรือ Record ไม่สามาถแก้ไขได้

การควบคุมบันทึก (Control of Records) คือ ระบุในข้อกำหนดหมายเลข 4.2.4  คำว่าบันทึกคือสิ่งที่ลงข้อมูล กรอกน้ำหมึกลงไป ผลลัพท์ของบันทึกแก้ไขไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่นผลการตรวจสอบวัดค่ากระแสไฟฟ้า ค่าความต้านทานไฟฟ้า หรืือถ้าเป็น OHSAS 18001 เช่น ผลการตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงานทุกคน เช่น วัดค่าไขมันในเลือดได้ สามร้อย จะไปแก้ไขผลตรวจจากห้องแลปหรือผลตรวจเลือด เหลือค่าไขมันเท่ากับสองร้อย ก็ไม่ได้ เพราะวัดกี่ครั้ง วัด ณ ช่วงนั้น ผลก็ต้องออกมาแบบนั้น หากเวลาผ่านไปอีกห้าเดือน ผลวัดอาจกลายเป็นห้าร้อย (ไม่มีคำว่าอ้ายนำหน้า) อย่างนี้เป็นไปได้ เพราะเวลาเปลี่ยนไป ผลอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาวะของร่างกาย หรือถ้าเป็น ISO14001 เช่นผลการตรวจสอบน้ำเสียก็จัดว่าเป็นบันทึก จะไปแก้ไขผลจากน้ำเน่าเป็นน้ำดี ย่อมไม่ได้ เผลอๆ ผิดกฎหมาย อาจติดคุกด้วย 
อุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย (Northeastern of Thailand)


ผู้เขียนทำในอดีต คือเขียนความรู้เกี่ยวกับ ISO ตัวอย่างของ QM และ Procedure ไว้ในหนังสือชื่อ แนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องในระบบคุณภาพ ที่เขียนไว้เมื่อปี พ.ศ. 2539 (คศ.1996) หมายเลข ISBN 974-634-405-6  จำนวน 130 หน้า สามารถนำมาศึกษาได้เช่นกัน

อ่านต่อ Blog ที่ 3 เรื่องการสร้างระบบ: Set Up

การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง

ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy 

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com