Section : Quality Solving

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Blog 18 ชีวิตงานของ ISO Free Lance Auditor/Consultant

Blog 18: ชีวิตงานของ ISO Free Lance: Auditor/Consultant
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา" 
081 3029339 บริษัทมี QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ

หลักสูตรแนะนำใหม่
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Personal DATA Protection Act. PDPA
ส่วนองค์กรขนาดเล็ก ข้อมูลน้อย มีกฎหมายลูกยกเว้น
สามารถนำมาจัดทำระบบรองรับเพื่อให้ข้อมูลมั่นคงปลอดภัย
สนใจหลักสูตร การประยุกต์ใช้งาน PDPA อย่างมีประสิทธิผล
ผู้เข้าอบรม เช่น ฝ่าย HR ขายและการตลาด จัดซื้อ บัญชี วิศวกรรม ซ่อมบำรุง และ จปว.

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

ยุดโควิท-19 ให้ลองจัดทำมาตรฐาน ISO45005 & ISO45003
In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ช่วงนี้โรงงานเริ่มอบรมภายใน เพื่อป้องกันโควิท 19 
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF 
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
กรณีผู้เข้าอบรมจำนวน 30-40 ท่านขึ้นไป ควรจัดระยะห่าง มีเจลล้างมือ ใส่แมสตลอด 
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
Mobile: 0813029339, 0886560247   Line ID: iatf16949

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
     สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
     New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 & 63 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
FMEA AIAG & VDA First Edition 2019 สามารถศึกษา (Self Learning)
จากนั้นปรับแบบฟอร์มใหม่ให้ตรงกับขั้นตอนที่ 2 ถึง 6
ขั้นตอนที่ 1  ตั้งทีม Core Tool ขึ้นมา
จากนั้นทำ Process Flow Diagram: PDF ของ PFMEA
การวิเคระห์มีในขั้นตอนที่ 2 ถึง 6
พื้นฐานเก่าที่อบรม Risk Management ก็ช่วยได้ในแนวคิด
ปรับตารางใหม่ กำหนดค่า S, O, D กำหนดเกณฑ์ Criteria ให้ชัดเจน
จัดลำดับความสำคัญ Action Priority: AP
พิจาราณาจากค่า ตารางที่สามารถสร้างให้คะแนนสมเหตุผล
ไม่จำเป็นต้องยึดตามFMEA Manual ทั้งหมด แต่ใช้คู่มือจาก AIAG & VDA แล้วแต่สะดวกชอบใจ
ค่า Level มองจากค่า Risk พิจารณาจากค่าตารางที่สร้างใหม่
ค่า AP สูงมาก ต้องรีบดำเนินการ
FMEA Manual เป็นแค่ Guideline เท่านั้น ไม่ใช้ Requirements ที่บังคับให้ต้องสอดคล้องทั้งหมด

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 081 6493828, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
"as your require"
            ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562    

                จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง

ที่             ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy 

               กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com 

บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ  http://sites.google.com/site/isosiamtraining/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้
หลักสูตรพิเศษ เช่น
* การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
* การสอนงาน (The Coaching)
* หัวหน้างานสมองเพชร (Genius Supervisory)





บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                   ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   

วันนี้ผู้เขียนจะเล่าประสบการณ์งานเกี่ยวกับการเป็นผู้ตรวจประเมินระบบบริหาร หรือเรียกง่ายๆว่า ตรวจ ISO และงานที่ปรึกษา ISO ซึ่งไม่สังกัดหน่วยงานใด มักเรียกว่า Free Lance Auditor และ Free Lance Consultant


ทะเลเมืองชลบุรี ณ ท่าเรือประมงพลี


ดูแล้วน้องๆโรงงาน อยากจะเป็น Auditor หรือ ผู้ตรวจประเมินกันมาก ไม่ว่าจะเหตุผลใด บางคนว่าอิสระดี ออกจากโรงงานที่ทำงานประจำ รู้สึกว่าเป็นไท หรือบางคนมองว่าดูดี เรียกง่ายๆว่า โก้เก๋ แต่ผู้เขียนมักแนะนำน้องๆที่ถามบ่อยครั้ง และหลายๆสิบคนว่า ทำงานประจำดีแล้ว มั่นคง ถึงเวลาชีวิตจะมาเป็น Auditor ทำงานประจำ CB (Certification Body) หรือรับงานแบบอิสระ ที่เรียกว่า Free Lance ยังมีอีกมากโขเข้าทำนองคนในอยากออก คนนอกอยากเข้า

ผู้เขียนพบว่ามีน้องโรงงานหลายๆคน อยากออกมาเป็น Auditor ที่หน่วยงานให้การรับรอง บางเหตุผลคือ เบื่อชีวิตโรงงาน เพราะคิดว่าจำเจ ครั้งจะออกจากโรงงานดีหรือไม่ ไม่รู้ข้อมูลเลย การออกมาเสมือนไปตายเอาดาบหน้า กังวลสองเรื่องว่า ค่าตอบแทนดีไหม และงานมั่นคงหรือไม่ 

ผู้เขียนไม่ได้ตอบ E-Mail กลับไป หรือไม่ได้กดแชร์น่าจะหลายๆคนเพราะติดขัดเรื่องเวลา เอาเป็นว่าถ้าเกษียณงานจะมานั่งเปิด Note Book มากขึ้นหรือตลอดเวลา ฉะนั้นต้องขอโทษที่กิจกรรมตรงนี้ไม่ได้เข้าร่วมกับผู้ที่ขอแชร์เท่าไรนัก เพราะชีวิตมีแต่การเดินทาง จึงขอบอกน้องๆว่า หาโรงงานที่ดี และใช่โรงงานในฝัน ตั้งใจทำงานอย่าออกมาเร่ร่อนเลย เพราะปัจจุบันงานผู้ตรวจประเมินแบบประจำ จ้างต่อเนื่องรับเป็นเงินเดือน หรือ Free Lance Auditor ไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรืออย่างที่คิด แต่กลายเป็นธุรกิจ หวังแต่กำไรกันมากๆ หรือต่างฝ่ายต่างไม่เชื่อใจกัน ไม่สนับสนุนกันหลายๆ CBs ก็ขาดคนที่มีประสบการณ์และขาดคนเก่ง ครั้นจะจ้างคนมีประสบการณ์มากๆเหล่านั้นก็ว่าแพง ด้วยเหตุต้องลดต้นทุน จึงหาเด็กใหม่ที่ค่าตัวถูกลง แต่ส่งผลสะท้อนไปตรวจประเมินโรงงานแล้วไม่เกิดความน่าเชื่อถือ หรือไปสอนบรรยายคนโรงงานบอกฟังไม่ค่อยเข้าใจ ไปตรวจโรงงานก็รู้ว่าต้องตรวจอะไร เวลาถ่ายทอดเหมือนใช้ภาษาฟังยาก

หรือภาษาออดิเตอร์ ดังนั้นตัวแทนฝ่ายบริหารมักเข้าใจคนเดียว ทีจริงฟังนานๆจะคุ้น เริ่มจะเข้าใจยังไรต้องใช้เวลา แต่ไม่ว่าอะไร บางครั้งแอบบ่น เอาเถอะ สุดท้ายขอเอาใบ Certificate เท่านั้น (ก็มีโรงงานที่คิดแบบนี้)

สำหรับน้องที่อยู่โรงงานอาหารและเป็น Suppervisor จะออกมาเป็น Auditor ขอบอกว่าต้องหา CB ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงใน 10 CBs งานจึงจะมั่นคง ส่วนค่าตอบแทนช่วงหลังไม่สูงกว่าโรงงานดีๆ และต้องยอมรับสภาพการเดินทางบ่อย ถูกจัดหนักให้ตรวจทุกวัน เค๊าก็ต้องใช้เราให้คุ้ม เมื่อสภาพการณ์แบบนี้ สิ่งที่ตามมา เด็กใหม่ทำสักพัก จะดิ้นหนีจาก Auditor ประจำที่มีเงินเดือน ไปเป็น Free Lance Auditor รับงานอิสระและหลายที่ สิ่งที่ตามมาจะเริ่มไม่ไว้วางใจกัน เวียนวน หรือวนเวียนเป็นแบบนี้ รวมทั้งงานที่ปรึกษายิ่งหนัก พอทำเป็นก็แยกวง ทำให้วงการที่ปรึกษา ISO ในไทยไม่เติบโต ทุกบริษัทจะมีไม่กี่คน หรือที่มีมากก็จ้างแบบเหมางาน หรือกำหนดระยะเวลา หมดโปรเจ็คก็เลิกกันไป ไม่ต้องจ่ายโบนัส ไม่ต้องรับผิดชอบสวัสดิการสังคม ไม่รับผิดชอบประกันการเดินทาง ประกันชีวิต หรือม่ต้องจ่ายโน่นจ่ายนี่ คงประมาณนี้แหละ รู้อย่างนี้แล้วจะออกจากโรงงานดีๆไปทำไม? เพราะ CBs ก็ต้องการอยู่รอดและลดต้นทุนแบบโรงงานเช่นกัน 


ผู้เขียนก็พเนจรร่อนเร่ หรือเร่ร่อนไปทำงานต่างๆมากมายในชีวิต ทำให้พบเห็นโรงงานมากมาย เห็นเกือบทุกสาขาอาชีพแม้แต่งานก่อสร้าง (Construction) งานเครื่องมือแพทย์ งานผลิตพลาสติก งานชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอางค์ อาหารเสริม โรงงานผลิตอาหาร โรงงานน้ำดื่มและน้ำอัดลมโรงงานชำระเนื้อสัตว์ โรงงานผลิตโคนม โรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตปูนซิเมนต์ อุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าและอิเลคทรอนิค อุตสาหกรรมรถยนต์ โรงงานยาสูบโรงงานโลหะทองแดง อลูมิเนียม สังกะสี เหมืองแร่ โรงงานบรรจุภัณฑ์ โรงงานผลิตสี ผลิตกาว ปิโตรเคมี โรงงานเคมี โรงงานผลิตสติ๊กเกอร์ โรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศ โรงงานยางพารา โรงงานเฟอร์นิเจอร์ โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ โรงงานผลิตสปริงค์และลวด โรงงานกระจก โรงงานผลิตถังแก๊ซ โรงงานผลิตยางรถยนต์ โรงงานแอสฟัลท์ โรงงานผลิตกระป๋องบรรจุอาหาร โรงงานน้ำปลา/ซีอิ๊ว โรงงานผลิตน้ำมเขือเทศ โรงงานผลิตซุปไก่ดำ โรงงานผลิตบะหมี่สำเร็จรูป งานจิวเวลรี่ งานนั่งร้าน งานซ่อมบำรุงเครื่องจักร งานแม่พิมพ์ โรงกลึง โรงไม้ งานรักษาความปลอดภัย แขวงการทาง งานทันตแพทย์ หอสมุดแห่งชาติ สามมหาวิทยาลัยและอีกหนึ่งบัณฑิตวิทยาลัย ภัตตาคารอาหาร โรงงานสุกี้ โรงงานขนมปัง โรงงานผลิตไส้กรอก โรงงานข้าวเกรียบ ห้องเย็น โรงงานน้ำมันพืช โรงกลั่นน้ำมัน และอีกสารพัด จะว่าดีตรงนี้ไงที่ทำให้ได้ตัวเราได้เรียนรู้จากชีวิตจริง มีประสบการณ์ แต่ข้อเสียตอนทำงานประจำ นอกจากเป็นผู้ตรวจประเมินโรงงาน ที่ปรึกษาวิทยากร รวมถึงตัวแทนฝ่ายบริหารหลายมาตรฐาน ทั้ง QMR/EMR/OHSMR/Food Safety Team Leader คือเปลี่ยนงานบ่อย ย้ำน้องๆอย่าเปลี่ยนบ่อย จะได้เงินกองทุนนะ แต่ตัวผู้เขียนชอบทำงานแบบลุย ชอบงานท้าทายชอบตัดสินใจรวดเร็ว เพราะช้าเร็วปัญหามันต้องถูกจัดการนั่นเอง ปัจจุบันอาชีพ Auditor มักจำกัดวงแคบเข้า เน้นตรงสาขามากขึ้น เพราะมีจำนวนผู้ตรวจประเมินมากกว่าแต่ก่อนมาก 

ปี 2534 ที่เมืองไทยเริ่มอบรมหลักสูตร Lead Auditor เป็นครั้งแรกของประเทศ ช่วงนั้นมีข้าราชการ ซึ่งเป็น Auditor รุ่นแรก 6 ท่านไปดูงาน ISO ทีประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น สมอ.มีการก่อตั้งกองรับรองระบบคุณภาพ หรือ Certification Body เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยคุณเฑียร เมฆานนท์ชัย ท่านเลขาธิการ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำกับดูแล
ปี 2535-2536 เริ่มมีโรงงงานกำลังจัดทำระบบ ตอนนั้นมีมาตรฐาน ISO9001, ISO9002, ISO9003 ต่อมามีได้รับการรับรองโดยบริษัท เชลล์ นับเป็นรายแรกของประเทศ ตอนนั้นแบ่งแยกว่า
ISO9001:1994 แสดงว่าโรงงานได้รับรองการออกแบบและพัฒนาด้วย
ISO9002:1994 แสดงว่าโรงงานได้รับรองการผลิต
ISO9003:1994 แสดงว่าองค์กรนั้นได้รับรองการบริการ
ปัจจุบันให้การรับรองเพียง ISO9001:2015 ไประบุในใบ Certificate ว่ามีการออกแบบและพัฒนา
หรือได้รับรองการผลิต หรือได้รับรองการบริการ สำหรับ ISO9001,9002,9003 Version1987 โรงงานใช้เวลาทำระบบนานไปเท่าที่ทราบน่าจะไม่มีให้การรับรองระบบในเวอร์ชั่นนี้ในไทย ณ เวลานั้น และ ISO9003:1987 พวกงานบริการก็ไม่มีใครยื่นขอรับรองเข้ามา จนมาทำสำเร็จใน Version 1994

จากนั้นหน่วยงานของกองรับรองระบบคุณภาพมีผู้ตรวจประเมินหลักเพียง 9 คน ซึ่ง ISO กำลังเริ่มบูมในเวลาต่อมาซึ่งผู้เขียนเป็น 1 ใน 9 Auditors ต่อมาลาออกจากชีวิตผู้ตรวจประเมินไปศึกษาต่อปริญญาเอกด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชีวิตกลับเข้าสู่โรงงานต่างๆ และสลับลาออกจากโรงงานมาเป็น Free Lance 4 ครั้ง กับ 11 โรงงานพร้อมกับเป็น QMR/EMR/OHSMR/Food Safety Team Leader

โรงงานดีๆดูตรงไหน ส่วนตัวใช้ตัววัดว่า ขั้นแรกดูที่รถรับส่งพนักงาน สภาพดีเยี่ยม มักจะมีอะไรที่ดีๆตามมา หากว่ารถรับส่งยังขี้เหนี่ยว สภาพโทรมและทรุด เข้าไปแล้วย่อมทุพลภาพตามไปด้วย ยกเว้นโรงงานที่กำลังเติบโต แล้วเราเข้าไปบุกเบิก ทำให้โรงงานเติบโต อย่างนี้ซิท้าทายและภูมิใจกว่า โรงงานประเภทผ้าขี้ริ้วห่อทองแบบหนังไทยในอดีต คงหายากแล้ว พูดถึงโรงงานดีๆมีชื่อเสียงการคัดเลือกพนักงานก็มักมีขั้นตอนและแข่งขันสูงมาก หากไม่ได้โรงงานในฝัน แต่ว่าใจรัก Auditor จะมาลองทำดูใช้ชีวิตแบบพเนจรสักพักนับว่าเป็นสีสรรชีวิตแถมได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย เป็นประสบการณ์ชีวิตแบบผู้เขียน ซึ่งยอมรับว่ารู้ตัวว่าชอบอาชีพนี้ จึงสนใจทำ เรื่องกำไรไม่ต้องพูดถึง อยากทำก็จะทำไม่สนเรื่องค่าตอบแทนเลย พูดถึงเรื่องรวย อย่าไปคิดมาก จะมีมากหรือน้อยต้องนึกว่าเป็นวาสนาหรือชะตาชีวิต อย่าไปคิดให้กังวล ถ้าใจรัก จะทำซะอย่าง ไม่ดีก็รีบหาทางกลับโรงงานอย่างที่ Auditor หลายคนกลับสู่โรงงาน ขอให้ใช้วิจารณาญาณของปัจเจกบุคคล ว่าเข้านั่น ขอให้น้องๆโชคดี


ผู้เขียนทำงานมาทั้งภาคเอกชนเริ่มจาก Sale ฝ่ายผลิต และกลับไปทำกิจการของครอบครัว ชีวิตจับพัดจับผลูได้ไปรับราชการที่กระทรวงอุตสาหกรรม มาเป็นผู้ตรวจประเมิน ISO หรือ Auditor จากนั้นกลับเข้าโรงงานเป็น QMR/EMR/OHSMR/Food Safety Leader และผู้จัดการฝ่ายต่างๆ และผู้จัดการโรงงาน และทำที่ปรึกษาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4  ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา เห็นโรงงานใหญ่โต ขนาดกลางและ SMEs มาแล้วน่าจะเกินสามถึงสี่ร้อยโรงงาน

ครั้งล่าสุดที่เป็น Free Lance เดิมตั้งใจจะเป็น Auditor อีกครั้ง ทิ้งทวนก่อนจะเกษียณงาน เพราะรู้สึกว่าชอบชีวิต Auditor มากเป็นพิเศษ ทำให้ได้เห็น ได้รู้อะไรอีกมากมาย เพิ่มพูลความรู้นำไปต่อยอด แต่มักบอกน้องๆว่า ชีวิตแบบนี้ไม่น่าสนุก เดินทางมาก ตลอดชีวิตผู้เขียน อยู่แต่โรงงาน กลับจากงานก็ดึกๆดื่นๆ พูดได้ว่า "รถยนต์คือบ้าน โรงงานคือประเทศ" ช่วงหนึ่งของชีวิต ประมาณ 15 ปีขับรถยนต์ไปหนึ่งล้านกิโลเมตร ไม่นับที่เดินทางโดยรถตู้ที่มารับเรา หรือเดินทางโดยเครื่องบินน่าจะมากโข

หลายคนเปลี่ยนงานทำจากโรงงาน มาเป็นผู้ตรวจประเมิน (Auditor) ที่ CB (Certification Body) เดิมคิดว่างานอิสระกว่าอยู่โรงงานมาก ชีวิตแบบนี้ น้องๆดูว่าดี หรือสนุก เอาเข้าจริงไม่น่าจะใช่ หากใครมีครอบครัว ทำงานแบบนี้สัก 3-5 ปีบอกได้ว่า เหนื่อยและล้า พออายุมากขึ้นบางท่านลาออกจากสังกัด CB หันมาเป็น Free Lance ทั้ง Auditor และ/หรือ Consultant รับงานแบบอิสระแต่รายได้มักไม่แน่นอน แตกต่างจากอดีตมาก ประมาณปี 2540 มี CB แห่งหนึ่งชักชวนเพือนของผู้เขียนไปทำงานเป็น Auditor ด้วยอัตราเงินเดือนเริ่มแรก 80,000 บาท สำหรับอีกท่านที่ผู้เขียนรู้จัก อยู่อีก CB ได้รับตำแหน่งผู้จัดการ อัตราเงินเดือนตัวเลขหกหลักกว่า ทำงานสัปดาห์ละห้าวัน มีวันหยุดพักร้อน ได้ไปต่างประเทศบ่อย รับโบนัสแต่ละครั้งหลายแสนบาท ผ่านความสุขมาด้วยดี จนวันดีคืนดี เปลี่ยนตัว Top Management ใหม่ จ้องแต่จะให้ออก ชีวิตก็เป็นแบบนี้ หรืออีกรายเป็นผู้จัดการ/บริหาร ย้ายมาที่ CB ใหม่แล้วปรากฎว่าสอบไม่ผ่าน Qualified สุดท้ายถูกบีบให้ลาออก 

นับเป็นสัจจะธรรมชีวิตไปรับเงินค่าจ้างเดือนละเป็นแสน หากไม่ได้ตามที่องค์กรต้องการ ก็ต้องใส่ร้องเท้า Converse คือทางใครทางเขา ฉะนั้นบั้นปลายชีวิตอย่างไรเสียรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ย่อมดีกว่าเอกชนทั่วไป ยกเว้นองค์กรเอกชนที่มีเครดิตและระดับแนวหน้าของประเทศ อย่างเช่น ปตท. SCG, CP หรือ ธกส. กรุงไทย ฟังจากคนรู้จักใกล้ชิดที่ทำงานองค์กรเหล่านี่มาจนเกษียณ ดูดีน่าจะมั่นคงที่สุด เพราะพบหลายท่านที่รู้จัก บั้นปลายและครอบครัวได้รับสวัสดิการดีค่อนข้างมาก แต่โรงงานเอกชนทั้งไทย ญี่ปุ่น และฝรั่งดีๆมั่นคงก็มีนะครับ 

เดี๋ยวนี้น้องๆจบใหม่หลายคนที่อยู่โรงงานแค่ 1-2 ปี เริ่มมองงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ขอให้ทุกคนโชคดีตามวิถีชิวิต ขอให้ยึดคำว่า พอเพียง ทำงานที่ไหนก็ได้ขอให้มีความสุข ร่างกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี บางคนยังคิดแต่จะเปลี่ยนงาน เชื่อเถอะทุกที่มีปัญหาเหมือนๆกัน ตั้งใจทำงาน อยู่จนเกษียณ บางองค์กรได้เงินหลายล้านบาทก็มีนะ เรียกว่าบำเน็จของเอกชนที่มั่นคง อย่าย้ายงานบ่อยแบบผู้เขียนนะ

ผู้เขียนเปลี่ยนงานครั้งนี้ คิดว่าจะกลับมาเป็น Auditor ให้กับ CB แห่งหนึ่ง ปรากฎว่าช่วงที่รอกลับมาเป็น Auditor อีกครั้ง ได้ถูกสลับให้ไปทำที่ปรึกษาไปสอน บรรยาย หรืออบรมภายในและให้คำปรึกษาโรงงานจัดทำระบบ ISO

วันหนึ่งได้พบกับคนๆหนึ่งขอเรียกง่ายๆและสมมุติว่าชื่อเบน ชีวิตคนๆนี้กับเส้นทาง หรือการทำงานช่วงหลังใกล้เคียงกัน ลักษณะงานคล้ายคลึงกัน ผู้เขียนเป็น Auditor กลับสู่โรงงานเป็น QMR/TQM Manager คุณเบนออกจาก QMR/TQM Manager มาเป็น Auditor ที่ี CB แห่งที่ 1

จากนั้นคุณเบนย้ายมาทำที่ CB แห่งที่สอง มาพบกันที่แห่งนี้โดยบังเอิญ ผู้เขียนตั้งใจอย่างแรงกล้าว่าจะมาทำงานที่ CB นี้ คุณเบนเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เคยขอซื้อ CB นี้ แต่ทางผู้บริหารซึ่งเป็นชาวต่างชาติไม่ขายให้ ต่อมาคุณเบนลาออกไปตั้งบริษัทที่ปรึกษา ส่วนผู้เขียนเปลี่ยนใจเดิมจะกลับสู่โรงงานอีกครั้ง เพราะมีรุ่นพี่มาชักชวนกลับโรงงาน แต่ใจมันมุ่งจะเป็น Auditor เพื่อมาช่วย CB ขนาดเล็กแห่งนี้ เสมือนมาแทนคุณเบน คราวก่อนคุณเบนลาออกจากโรงงานแห่งหนึ่ง ผู้เขียนเข้าไปตั้งใจทำงาน เสมือนเข้าไปสานงานต่อ หรืออาจช่วยงานในระบบ ISO และผลักดันร่วมกับทีมงานซึ่งเป็นพนักงานเก่าขององค์กร ระบบสามารถเดินต่อไปได้ เป็นความภาคภูมิใจร่วมกับน้องๆ เพราะทำงานแล้วมีความสุข หรือคราวนี้จะต้องเข้าทำนองเดิมอีกครั้ง มาช่วยงานที่นี่ เพราะคุณเบนลาออก คิดว่า CB นี้กระทบแน่นอน

   ผู้เขียนจึงตั้งใจช่วยทำ In-House Training และที่ปรึกษาระบบให้กับลูกค้าของ CB แห่งนี้ ซึ่งลูกค้ามักเป็นโรงงานญี่ปุ่นขนาดเล็ก คำว่าโรงงานเล็ก หมายถึงมีพนักงานไม่ถึง 30 คน ไม่ต้องมี จปว. (ปกติมักแซว จป.ว่า จากไป เพราะกลับไปที่โรงงานที่มีพนักงานเกิน 100 คนอีกครั้ง มักพบว่า จป. หายไป คือลาออกกันบ่อยมาก คิดว่างานคงมีความกดดัน หรือ  Pressure) แต่อนาคตดูเริ่มมีอุปสรรค เหมือนว่าตัว Co-Ordinate ของ CB  ไม่ค่อยไว้ใจพวก Free Lance และตัวผู้เขียน รับรู้จากความรู้สึกนั่นเอง เรื่องแบบนี้บอกยาก แต่สัมผัสง่าย

ขอเล่าต่อ โรงงานญี่ปุ่นเหล่านั้นที่ผู้เขียนไปทำหน้าที่ที่ปรึกษาและฝึกอบรม ISO ให้ มักทำชิ้นงานส่งกลับไปให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นเป็นหลัก ผู้เขียนคิดใหม่ว่า CB นี้ต้องการคนช่วยงานที่มีประสบการณ์ น่าจะมีลูกค้าไม่มากในเมืองไทย จึงเป็น CB ขนาดเล็ก หลังจากร่วมงานกันไปแล้ว และดูเสมือนว่าตัวประสานงานจะไม่ค่อยไว้ใจ Free Lance มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่เราก็พูดความจริง บอกว่ามีทำที่ปรึกษาส่วนตัวด้วย แต่ไม่คิดไปแย่งลูกค้าของ CB ลูกค้า ซึ่งเป็นคนละกลุ่ม คนละสังคมกัน ลูกค้าของ CB ไม่เคยไปข้องแวะ  ไม่ติดต่อแอบไปรับงานซ้อน ไม่แย่งลูกค้าเขาเลย

หลังจากผู้เขียนรวมกลุ่มกับน้องๆจากโรงงานเก่าจัดตั้งบริษัทที่ปรึกษา เพื่อว่าจะมุ่งไปรับงาน ISO จากหน่วยงานราชการ ซึ่ง CB แห่งนี้ไม่คิดทำตรงนี้เลย การบอกความจริงออกไป ความระแวงน่าจะเพิ่มสูงขึ้น แต่เราก็อย่าไปคิดมาก ให้ไปสอนมักมีแค่ไฟล์บรรยาย เราก็ไปทำให้ เพราะข้อมูลและรูปภาพ เรามีมากมาย เพราะทำ ISO มากว่า 20 ปี ย่อมสะสมประสบการณ์และสิ่งต่างๆไว้มาก ข้อมูลบาง ISO เราน่าจะมีมากกว่า CB แห่งนี้ 

เมื่อลูกค้าของ CB นี้ ขอบางสิ่งบางอย่างหรือข้อมูลใดๆ ทางเราก็ตัดปัญหาให้กลับไปขอที่ CB นี้ เพราะข้อมูลที่ Free Lance หรือตัวเราที่ทำมาโชกโชน จะมีมากมายสะสมไว้ส่วนตัว ที่จริงไม่ต้องอาศัยเอกสารหรือความรู้จาก CB เลย เชื่อว่า Free Lance อาวุโสส่วนใหญ่สะสมประสบการณ์ ไฟล์ และภาพชีวิตจริงโรงงานไว้อย่างมากมาย

หากนำของส่วนตัวให้ไป จะมีปัญหาหรือไม่ เพราะนามบัตรส่วนตัวทาง CB ยังห้ามให้เราแจกลูกค้า นับเป็นการยึดถือคำมั่นสัญญากันไว้ อย่างผู้เขียนก็กำลังทำงานที่ปรึกษาอิสระ มักแจ้งให้ CB ทราบเกี่ยวกับส่วนตัวเราและงานส่วนตัวก่อน จะได้ไม่มีปัญหากันภายหลัง กลายเป็นว่าบอกมากไป ทำให้ไม่ดีนัก คิดมาก ดีที่สุดหลังๆให้บอกว่ามีจัดตั้งบริษัทแบบคุณเบน ควรให้จ้างงานผ่านบริษัท น่าจะเป็นสัณญาณทำให้เกิดความไว้วางใจ ชีวิตเราก็ดันเดินทางไปเหมือนกันกับคุณเบนอีกแล้วเพราะทำบริษัทที่ปรึกษาเอง ร่วมกับน้องๆ ต่อมาตัดสินใจก่อตั้งเป็นบริษัทที่ปรึกษาเล็กๆของเราเอง ไม่ต้องไปทำให้ในนามบริษัทที่ปรึกษาอื่นๆก็พอมีงานทำ ทำในราคาลุกค้ารับได้ เพื่อนๆว่าโครตถูก อย่างกับมูลนิธิไอโซ่ ทำเหมือนให้ฟรีๆเอาเถอะรายได้หลักๆ ทุกคนยังเป็น Free Lance กับ CBs กับส่วนตัว มีรายได้ดีพอสมควร ให้บริษัท KS ทำประโยชน์ให้กับสังคมเถอะ เผยแพร่ความรู้ บรรยายในราคาถูก ตอบหรือทำระบบให้ฟรีกับน้องๆที่ขอมา ถามมาแบบฟรี  

น้องๆที่คิดจะทำ Free Lance ไม่ว่าจะ Auditor และ/ หรือ Consultant ต้องระวังจุดนี้ พอไปสอนโรงงานแห่งหนึ่ง CB ไม่มีเอกสารที่ลูกค้าขอ ดูแล้วลูกค้าไม่ Happy จะนำเอกสารที่เรามีทำส่วนตัวก็ไม่กล้าให้ เกรงว่าจะมีปัญหาในอนาคต ผู้เขียนมีน้องๆร่วมทีมงาน Free Lance อีกหลายคนในหลายๆหน่วยงาน 

ครั้งหนึ่งลูกค้าขอ Common Laws ผู้เขียนให้ลูกค้าไปขอจาก CB  แต่ CB แห่งนี้น่าจะไม่มีทำไว้ คิดว่าไม่มีให้ลูกค้า ผู้เขียนและน้อง มีข้อมูล Common Laws บางส่วนเราจัดทำ บางส่วนมี CB อื่นทำ ซึ่งได้รับอนุญาตให้แจกได้ พวกเราทำงานเป็นที่ปรึกษาอาจบางครั้งไปสอนงาน ไปอบรมให้กับโรงงาน ฉะนั้นเมื่อ CB นี้ไม่มี เราจึงไม่ให้ ให้ไปอาจไม่เหมาะไม่ควรหรือไม่ ไม่แน่ใจ รู้แต่ว่าให้เกียรติ ของคนอื่น ไปให้คนิื่นต่อก็ไม่ดี และอาจมีปัญหาตามไหม ตัดทิ้งไม่ให้ดีกว่า เนื่องจากไม่ใช่ลูกค้าของเราโดยตรง หากเกิดอะไรขึ้น จะกระทบกับผู้ที่ว่าจ้างเราไปสอน บรรยาย ถ้างานเราโดยตรง รับเอง เราสามารถรับผิดชอบเอง  

เมื่อเห็นว่า CB แห่งนี้ไม่พร้อมงานด้าน Food Safety หรืออีกหลายมาตรฐาน ผู้เขียนตั้งใจทำให้เฉพาะ ISO 9001ถือว่าง่ายที่สุด แต่ที่นี่มีงานพอสมควร ไม่ถึงกับมาก บางเดือนรายรับไม่มากนัก หรือมากหน่อยก็ไม่กี่หมื่นบาท แต่มักไม่จ่ายค่าตอบแทนให้ Free Lance ตรงเวลาและปฏิบัติตามสัญญาที่ระบุไว้ พอทดลองใจ ทวงถาม ดูท่าทีจะโกรธเราอีก จึงแจ้งไปทางผู้บริหารให้ทราบ ท่านก็สัญญาว่าจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้อีก ต่อมาก็ยังเกิดอีกหลายครั้ง ทำให้เราคิดว่าคงมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินหรือไม่ หรืองานบัญชี จัดซื้อ ชอบดึงเวลา แต่ก็ยังตั้งใจจะช่วยงานให้ที่นี่เติบโตขึ้นไป ลูกค้ามากๆประทับการบรรยายของเรา ไม่คิดจะหนีหายไปไหน เพราะมีงานส่วนตัวที่ทำ และงานกับหน่วยงานอื่นๆ ทำให้มีรายได้หลายทางไว้รองรับอีกทางหนึ่ง แต่ห่วงน้องๆที่เป็น Free Lance และไม่มีงานอื่นรองรับ จะลำบากเรื่องค่าใช้จ่ายของครอบครัวทันที ผู้เขียนมักไม่ชอบเรื่องผิดคำพูด ไม่รักษาสัจจะวาจามากที่สุดจึงต่อว่าไป ความสัมพันธ์จึงเริ่มเหินห่าง จงจำไว้อย่าพูดเยอะ ไม่พูดเลยเรื่องเงินดีที่สุด รับไม่ได้ก็ย้ายออกไป สบายใจทุกฝ่ายดีที่สุด

ช่วงหลังลูกค้ารายหนึ่งโทรศัพท์ไปยังผู้ประสานงานของ CB โดยโทรศัพท์เย็นนี้ขอเลื่อนงานวันพรุ่งนี้ ซึ่งตัวประสานงานก็ให้เลื่อนตลอดหลายครั้ง แต่ลูกค้าหลายรายขอเลื่อนหนึ่งครั้งหรือสองครั้งมาที่เราเสมอ ก็อนุญาตให้เช่นกัน เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ มีอยู่รายหนึ่งขอเลื่อนไม่ต่ำกว่า 5 ครัง ก็ยังให้ เพราะติดต่อเราโดยตรง และเข้าใจว่าชีวิตงานมีแต่ยุ่ง หากบริหารเวลาไม่เก่ง เกิดสภาพคอขวดทันที ยิ่งยุคนี้จะมีการจ้างงาน มักให้ทำมากกว่าหนึ่งหน้าที่ มักกล่าวว่าสวมหลายหมวก คือหนึ่งคนต้องทำงานหลายหน้าที่งาน ต้องยึดบทบาทหน้าที่ของแต่ละตำแหน่งหรือหมวกที่สวมใส่ที่ต้องรับผิดชอบให้ดี ผู้ตรวจประเมิน ISO ก็ไม่ว่า เพราะเป็นกิจกรรมภายในองค์กร เพียงแต่ตรวจประเมินแล้วพบว่างานที่รับผิดชอบไม่ดีไม่ครบถ้วน หรือ "ดินพอกหางหมู" มักออก CAR (Corrective Action Request) หรือแจ้งว่าบกพร่อง ส่วนจะแก้ไขอย่างไร ขึ้นกับองค์กร

การที่ผู้ประสานงานให้เลื่อน กลับไม่คำนึงถึงความเสียหายของ Free Lance ทำให้ต้องเสียวันและว่างงานวันนั้นไปฟรีๆ คนที่คิดทำอาชีพนี้ต้องเผื่อไว้ บาง CB ลูกค้าไปเลื่อน CB น้อยกว่า 15 วัน หรือ 7 วัน ซึ่ง CB เก็บค่าเสียหาย 50%  หากทำอาชีพ Free Lance ให้มีข้อตกลงไว้ด้วยก็ดี เมื่อ CB เก็บลูกค้า ต้องจ่ายเราด้วย เพราะคนเสียหายมากคือ Free Lance 

มีอยู่ครั้งหนึ่งเปลี่ยนวันไม่บอกด้วยวาจาทางโทรศัพท์ก่อน ทางเราไปสอนลูกค้าบอกว่ามีนัดพบกันวันพุธ มารู้จากลูกค้าบอกในห้องอบรมว่า ได้ตกลงเลื่อนเป็นวันศุกร์ไม่ใช่หรือค่ะ เรางงเลย มาดู E-Mail กลายเป็นว่าเพิ่งแจ้งมาลักษณะนี้ เสมือนให้ถือว่าเราต้องยอมรับ น่าจะสอบถามให้ชัดเจนเพราะบางครั้ง มีติดงานส่วนตัว หรือมีธุระต้องไปต่างจังหวัด เพราะการเลื่อนแบบนี้ไปตรงกับงานอื่นของรายอื่นที่ยืนยันไว้ล่วงหน้าแล้ว

ปัญหาที่ทำให้เลิกงานกับ CB แห่งหนึ่งเป็นบทเรียนนำมาเป็นครู คือมูลเหตุมาจากลูกค้ารายหนึ่ง เคยตกลงกับเราและ CB ว่าจะให้ไปโรงงานวันที่ 2 ยืนยันกันแน่นอนก่อนรับงานนี้ ต่อมาลูกค้าอาจมีความจำเป็นขอเปลี่ยนมาวันที่ 3 หรือระบุในแผนงานแล้ว ยังไงก็เอาวันที่ 3 แต่จะมาบอกที่ปรึกษาให้เลื่อนมาวันที่ 2 ในช่วงใกล้ๆ เพราะคิดว่า ต้องเปลี่ยนให้ ตามที่ลูกค้ารายนั้นต้องการ

คราวนี้ผู้ประสานงานโทรศัพท์มาขอสลับวัน แต่ผู้เขียน หรือ Free Lance เจอติดงานส่วนตัวหรือรับงานจากที่อื่นแล้ว และนัดหมายวันไว้ชัดเจนแล้วคือวันที่ 3  ไม่สามารถเปลี่ยนเวลาให้โรงงานนั้นมาเป็นวันที่ 3 ซ้อนกัน ดังนั้นจึงไม่สามารถเปลี่ยนกลับเป็นวันที่ 3 ตามที่ต้องการให้ได้ เพราะรับปากกับที่อื่นแล้ว ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่สะดวกเพราะไปเปลี่ยนแผนงานใหม่ แต่ที่สลดใจยิ่งคือผู้จัดการฝ่ายบุคคลดูวัยรุ่นเป็นสุภาพบุรุษ มุมมองว่าจะเปลี่ยนต้องได้เปลี่ยน เมื่อไม่ได้ดังใจ แสดงออกมาอย่างเสียมารยาทบวกคู่หูเป็นสุภาพสตรีมุมมองคล้ายกันแสดงความไม่พอใจเชิงขู่จะขอยุติงานที่ยังมีโปรแกรมเข้าอีกหลายวันในเดือนหน้า 

เสียดายตอนรับงานไม่ได้ให้ลงชื่อลงข้อมูลเป็นหลักฐาน อยากเลื่อนก็จะเลื่อน กล่าวว่าทางนั้นจะเปลี่ยนตัวผู้เขียนใช้ที่ปรึกษาหรือวิทยากรคนอื่นหรือคนใหม่ วาจาฟังดีๆออกเชิงไม่มีสัมมาคาราวะเลย แต่เราต้องใจเย็นอย่าไปสวนคำว่าใดๆ ในใจเราก็คิดเผื่อไว้ ไม่อยากทำให้คุณแล้วเช่นกัน แต่จะอดทนทำให้ดีที่สุด ถึงว่าที่ปรึกษาคนที่แล้วทิ้งงานคุณไปกะทันหัน CB ขอผมไปสานต่อแบบด่วนกะทันหัน คุณผิดคำพูด เลื่อนออกหนึ่งวัน ดูว่าไม่สำคัญ แต่ผู้เขียนสำคัญต้องไปสอนต่างจังหวัดต่อ เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้ประสานงานดูท่าจะไม่พอใจบอกเลิกใช้บริการจากเรา เอาเถอะจากกันด้วยดีให้เป็นบทเรียน น้องๆที่ทำ Free Lance ต้องให้ลงสัญญา หนังสือข้อตกลงเขียนให้ชัดเจนเรื่องการเลื่อนแบบไม่มีเหตุผล เลื่อนกระทันหัน ต้องกำหนดเกณฑ์ที่ชัดเจนแบบยุติธรรม อย่างไรก็พยายามให้ลูกค้าพึงพอใจที่สุดนะครับ 

สุดท้ายผู้เขียนจึงตัดสินใจรีบบอกผู้บริหารไปว่าขอเคลียร์งานเก่าให้หมด โดยยังไม่รับงานลูกค้ารายใหม่ ป้องกันโดนข้อหาทิ้งงาน แต่ถ้าจะให้ช่วย หรือไปบรรยายกับลูกค้ารายต่างๆในช่วงนั้น ให้ Free Lance พึงต้องยื่นเงื่อนไขขอรับค่าตอบแทนก่อน คงเดาได้ว่าหรือทราบว่าคงเป็นไปไม่ได้ แต่ความหมายของเราก็คือ ขอ Withdrawal ชีวิต Free Lance หาเหตุผลมาตั้ง นำทางใช้อ้างแบบสวยๆหมายถึงทั้งไม่รับงาน หรือต้องแยกทางกันเดินออกจากกันอย่างดีๆ แต่ถ้าผู้บริหารจะขอให้ช่วยงาน ใจจริงก็จะทำให้เช่นกัน เพราะเป็นความตั้งใจตั้งแต่แรกจะมาร่วมงานกัน เพราะรู้ทันทีว่า CB แห่งนี้อาจจะกระทบอย่างมาก ณเวลานั้น ยังขาดแคลนวิทยากร ผู้ตรวจประเมินที่รู้รอบด้านหรือมีประสบการณ์สูง

ผู้เขียนรับงานในราคาพิเศษหรือถูกมากเพราะต้องการช่วย ร่วมงาน บุกเบิกหลังจากตัดสินใจไม่กลับไปใช้ชีวิตโรงงานแบบประจำเป็นผู้จัดการใดๆอีกแล้ว ถือว่ารับงาน ISO ถูกมาก ประสบกาณ์ของเรามีรับที่อื่น ตามข้อตกลงกับลักษณะงานได้มากกว่า CB แห่งนี้ถึงสามเท่าต่อแมนเดย์และเก็บค่าเดินทางต่างหาก น้องๆต้องคุยให้ชัดก่อนรับงานใดๆ

ผู้เขียนมารวมกลุ่มกับน้องๆเปิดบริษัทที่ปรึกษาและฝึกอบรมแบบภายใน น้องๆมาปรึกษาว่า CB มาติดต่อขอให้ทำ Free Lance มักให้ข้อคิดไปว่าตกลงกันให้ชัดเจน กรณีขอให้ล๊อควันให้เดือนละกี่วัน ผู้เขียนบอกน้องๆไปว่า ดีแล้วหากเกิดกรณีติดธุระ เลื่อนหรือเปลี่ยนให้ไม่ได้ จะมีเงื่อนไขอย่างไร ก็จะหมดปัญหาไป เรียกว่ายุติธรรมกันทั้งสองฝ่าย ส่วนน้องๆที่เป็น Free Lance ก็ควรรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นรูปบริษัทดีกว่า เพราะสุดท้ายคนที่ไปสอนโรงงานมักเป็นผู้บรรยายจาก Free Lance ยกเว้น CB ใหญ่ๆ จะมีคนประจำของตัวเอง แต่คนบรรยายชัดเจน สอนรู้เรื่องเข้าใจง่าย ใช้ภาษาโรงงาน มักมาจากที่ปรึกษาอาวุโส ผ่านชีวิตจริงโรงงานมาก 15-20 ปีขึ้นไป

CBs ที่มาเปิดกิจการให้การรับรอง เช่น MASCI (ของไทย), SGS, bsi group, URS, BVC(BVQI) กลุ่ม TUV: TUV Rheinland, TUV SUD หรือ CB อื่นๆ รวมแล้วเคยนับได้กว่า สามสิบราย 

ฉะนั้นน้องๆที่คิดจะทำ Free Lance ให้ตกลงเรื่องเวลาให้ชัดเจน กรณีเลื่อนงานกันบ่อยๆแบกระทันหัน และค่อนข้างถี่ ให้คุยด้วยว่าความเสียหาย CB จะพิจารณาอย่างไร เป็นการไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน กรณี Free Lance ผิดกฎมีข้อกำหนด ถูกปรับ คิดเป็นเงินมโหฬาร คุณอาจต้องทำงานใช้ค่าฟ้องร้อง 5-10 ปี ผู้เขียนอ่านสัญญาการกลับมาเป็น Auditor ที่นี่ ดูแล้วข้อสัญญาผูกมัด และไม่น่าจะมั่นใจ หากเข้าไปรับงาน จึงตัดสินใจละทิ้งอุดมกาณ์ ไม่รับและเซ็นต์สัญญาเป็น Auditor เดินทางกลับบ้าน ไปทำงานแบบ Free Lance ส่วนตัว น่าจะดีกว่า 

ดังนั้นน้องๆที่คิดจะเป็น Auditor ทั้งประจำและ Free Lance ให้อ่านข้อสัญญาให้ดีๆ แต่มักพบว่า CB บางแห่งไม่ปฏิบัติตามสัญญามักไม่มีผลใดๆ คิดเผื่อไว้ก็ดี จะได้ทำงานกันแบบสบายใจ แต่ CB ที่ดีคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา คงต้องยุติธรรมพอควร และไม่เอาเปรียบ Free Lance ทั้งผู้เป็น Auditor ใหม่ วิทยากร และที่ปรึกษา ในทางกลับกัน Free Lance ก็ต้องยึดถือคำมั่นสัญญา ไม่ละทิ้งงานให้ CB เสียหาย ซึ่งผู้เขียนพบว่ามี Free Lance หลายคนทิ้งงานไป เพราะทนการเอารัดเอาเปรียบ หรือผูกมัดจนเกินความพอดี แต่ Free Lance ที่ไร้ความรับผิดชอบก็มีข่าวเช่นกัน 

ผู้เขียน ยังมั่นใจตนเองไม่เคยทิ้งงาน แม้เลิกจาก CB หรือบางงาน เหตุที่งานยังไม่เสร็จบริบูรณ์ มีลูกค้าบางรายขอให้เข้าไปทำระบบต่อ แก้ไขปัญหาและฝึกอบรมให้ ผู้เขียนมีเข้าไปทำให้อีก 2-4 Mandays โดยไม่เก็บค่าตอบแทนใดๆ 

มีน้องๆถามว่าจะขึ้นทะเบียนที่ IRCA ต้องให้ใครรับรองประวัติการตรวจประเมิน คิดว่าคงต้อง CB ที่คุณทำงานให้เค๊านะ ส่วนผู้เขียนนานมากแล้วมากกว่า 25 ปี ตอนนั้นเป็น Auditor มีสะสมประวัติการตรวจประเมิน แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ต่อมาลาออกจากชีวิต Auditor ไปศึกษาต่อปริญญาเอกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาส่งเรื่องไปขึ้นทะเบียนโดยผู้รับรอง (Sponser) ประวัติงานของผู้เขียน ไม่ใช่หน่วยงานเดิมเพราะเราลาออกมาแล้ว เรื่องนี้ผู้เขียนยังระลึกถึงท่านรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม(อดีตท่านเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ที่เราเคารพนับถืออย่างมากท่านจบวิศวะไฟฟ้าที่จุฬาฯ ยังมีท่านศาสตราจารย์กิตติคุณจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และท่าน รองศาสตราจารย์ ด๊อกเตอร์จากภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รวม 3 ท่านที่ให้ความเมตตากรุณาเสมอมากับลูกศิษย์ หรือกับผู้เขียน เป็นผู้รับรองประวัติการขึ้นทะเบียนเป็น Auditor ที่ IRCA ให้กับผู้เขียน ตอนนี้มีน้องรุ่นใหม่ ต้องการได้รับการขึ้นทะเบียน Registered Auditor มีอีกวิธีการที่จะขึ้นทะเบียนโดยไม่ต้องอาศัย CB คือ เก็บประวัติการทำ Suppliers Audit ณ ปัจจุบันกติกาและเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนให้ศึกษาจาก IRCA



สถานที่แห่หนึ่งแถวอ่างศิลา ตรงข้ามกับศาลเจ้านาจา จังหวัดชลบุรี เดินลงไปพบทะเล บรรยากาศสงบ อากาศเย็นสบาย
 
การเข้าไปฝึกอบรมให้โรงงานของ CB ต่างๆ ก็เสมือนการทำที่ปรึกษาแบบทับซ้อนงานที่ปรึกษา ปกติ CB จะไม่ทำงานที่ปรึกษา (Consult) และมีกฎจากหน่วยงานที่กำกับ CB เช่นกัน หากผู้ตรวจประเมินไปทำงานลักษณะนี้ ภายในสองปีห้ามเข้าไปตรวจประเมินโรงงานนั้น เพื่อป้องกันการ Bias แต่ก็มีบาง CB ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาทำงานลักษณะนี้ เวลาไปเสนอราคาก็ให้ทั้งคำปรึกษา และต่อด้วยการตรวจปประเมินเพื่อให้การรับรองโดยบริษัทแม่ต่อไป เรียกว่าทำครบวงจร สำหรับผู้เขียนก็จะยึดกรณีเป็นผู้ตรวจประเมิน จะไม่ทำหน้าที่ที่ปรึกษา หากยึดอาชีพที่ปรึกษาก็จะหยุดการเป็นผู้ตรวจประเมิน

ปัจจุบัน ผู้เขียนรับงานเป็นผู้บรรยายหลักสูตร Public Training แบบ Free Lance ให้กับสองถึงสามหน่วยงาน ล่าสุดผู้เขียนไปบรรยายให้กับ CB บางแห่ง บรรยากาศของการอบรมดี ผู้รับการอบรมได้ความรู้จากทีมงานของผู้เขียน ที่ไปร่วมเล่าประสบการณ์ถึงสามคน (ปกติจะใช้ผู้บรรยายเพียงวันละหนึ่งคน) การบรรยายต้องทำให้เกิดความสนุกกับการอบรม ที่สำคัญไม่ทำให้ง่วงนอน หากผู้รับการอบรมง่วงนอนเมื่อไร ทุกสิ่งจบ เพราะความรู้จะไม่เข้า ผู้เขียนว่า ที่สำคัญระหว่าง CB กับ ISO Free Lance ต้องมีความไว้วางใจกัน จะร่วมงานกันอย่างมีความสุข เราก็ทำในนามของ CB นั้น มีอะไรก็ให้สอบถามไปยัง CB ก่อน 

ปัจจุบันไม่ว่า จะทำงานเป็นผู้ตรวจประเมิน(Auditor) ในบางครั้ง หรือทำงานที่ปรึกษา (Consult) ไม่ใช่จะรายได้ดีแบบแต่ก่อน ในอดีตอยู่โรงงานสักไม่กี่ปี พอเรียนรู้ระบบ ISO ย้ายมาทำงานที่ CB ได้เงินเดือนหกถึงแปดหมื่นบาทขึ้นไป ทำงานเฉพาะวันจันทร์ถึงวันศุกร์ มีพักร้อน และโบนัสปีละหลายเดือน หรืองานที่ปรึกษาในอดีต งาน 15-18 Mandays บริษัทที่ปรึกษาเรียกค่าตอบแทน สามถึงสี่แสนบาท หรือโรงงานขนาดใหญ่ๆก็สี่แสนกว่าบาทต่อจ๊อบ (Job) เพราะสิบกว่าปีที่แล้วคนรู้ ISO น้อยมาก เรียกว่า ดีมานด์ มากกว่า ซับพลาย(Demand and Supply) ปัจจุบันไม่เป็นแบบนั้นทำที่ปรึกษาให้ราคาถูกมาก แทบจะทำแบบให้ฟรีเลย โครงการของรัฐแบบฟรีก็มีบ่อยมาก แต่อาจไม่ยืดหยุ่นเท่ากับการใช้ที่ปรึกษาเอง เพราะต้องอบรมรวมกัน ส่งตัวแทนไปเรียนให้แค่ 2-4 คน เลื่อนยากเพราะต้องเดินระบบไปพร้อมกันทั้งสิบหรือยี่สิบโรงงาน ระยะเวลาก็ปาไป 8-10 เดือน จำนวนวันให้คำปรึกษาจะสั้น ถ้าโรงงานที่ไม่มีคนรู้ ISO เลย เข็ญกันจนเหนื่อย หรือโรงงานเก่งหน่อยจะขอเร่งระบบแบบขอด่วน เข้าถี่ๆบ่อยๆอาจจะต้องคุยหรือไปเพิ่มค่าใช้จ่ายไหม คงไปตกลงกันเอง 

ปัจจุบันถึงจะมีคนรู้ระบบ ISO มากขึ้น แต่จะรู้และเข้าใจลึกซึ้งและครบทั้งวงจรก็ยังมีไม่มากนัก เหตุผลเพราะเวลาตรวจประเมิน เปลี่ยนจากอดีต ซึ่งไล่ตรวจทีละฝ่ายไปเรื่อยๆ ทีมงานจากโรงงานก็เรียนรู้ได้ครบวงจรภายใน 1-2 ปี แต่เดี๋ยวนี้เล่นตรวจให้จบภายใน 1-2 วัน มาที 2 คนตรวจ หรือโรงงานใหญ่ๆเจอตรวจทีเดียว 3-4 คนตรวจ โรงงานขนาดเล็กจะใช้คนตรวจเพียง 1 คน โรงงานก็ต้องแบ่งทีมรับการตรวจออกเป็น 3-4 ทีม กว่าจะเรียนรู้และเข้าใจถ่องแท้ ย่่อมต้องใช้เวลานนานมากขึ้น เหตุที่เป็นลักษณะนี้ อาจจะ CB มีผู้ตรวจประเมินไม่เพียงพอ หรือวันตรวจของแต่ละคนมักจะไม่ว่างตรงกัน ยิ่งหลังๆ ผู้ตรวจประเมินรุ่นเก่าจะเดินทางไปต่างจังหวัด มักมีเงื่อนไขมากขึ้น ทำให้การจัดคิวไปตรวจยากขึ้น CB ก็มองว่าคนในเล่นตัว จึงหา Free Lance เข้ามาเสริม เท่าที่ทราบหลายคนก็บอกกันมาจะอยู่ในอัตราการจ้าง 6,000-9,000 กว่าบาท หรือเฉลี่ยก็ 5,500 -7,500 บาทต่อ Mandays หากเป็นงานของ ISO/TS16949 จะได้สูงที่สุด ถึง 9,000-11,000 บาท ต่าสุดคือ ISO9001 ปีนี้ ค.ศ.2012 การอบรมหลักสูตร Lead Auditor : ISO/TS 16949 มาจัดที่ประเทศไทย ไม่ต้องบินไปเรียนที่ยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา หรือจะอบรมหลักสูตรน้องๆ Lead Auditor ก็อบรม 5 วัน เนื้อหาครบ แต่ใบ Certificate ไม่สามารถใช้ขึ้นทะเบียน IRCA เพราะว่าแค่เกือบจะเทียบเท่า แต่ที่จริงไม่ใช่หลักสูตร Lead Auditor ของ ISO/TS 16949 ตอนนี้มาตรฐานนี้ได้เปลี่ยนเป็นมาตรฐานใหม่คือ IATF16949:2016 กับการสอน 5 Core Tools มักได้ค่าตอบแทนสูงกว่า ISO

สำหรับ CB แต่ละแห่งไปเรียกเก็บลูกค้า ราคาไม่เท่ากัน ประมาณ 12,000-15,000 บาทสำหรับโรงงานขนาดเล็ก ส่วนโรงงานขนาดกลางก็ตกประมาณ 16,000-18,000 บาทต่อวันต่อAuditor สำหรับ CB ขนาดใหญ่มีจุดยืนชัดเจน ราคาก็มากขึ้น ตั้งแต่ 20,000, 22,000 หรือ 25,000 บาทขึ้นไปก็มี คำว่า CB ขนาดเล็ก หมายถึงมีลูกค้าขอรับการรับรองในเมืองไทยน้อย บางครั้งจ้างผู้ตรวจประเมิน หรือจ้างที่ปรึกษารับช่วงงานไปทำ In-House Training เพียง 3,000-4,000 บาทต่อวันก็มีบาง CB ถ้าเลือกใช้วิทยากรระดับอาวุโส ด๊อกเตอร์หรือคนสอนที่เก่งมีชื่อเสียงอาจตกวันละหนึ่งหมื่นกว่าบาทค่าเดินทางต่างหาก แต่จะราคาแค่ไหน เท่าไร ก็คงขึ้นกับสมัครใจทำ หรือ แล้วแต่ตกลงกัน ส่วนที่ถามว่า CB ไหนดี หรือแม้แต่ที่ปรึกษา ต้องเลือกที่มีประสบการณ์ เข้าใจในเนื้องานจริงๆ ไม่ใช้ออก CAR แล้วโรงงานไม่อาจแก้ CAR ได้ ธุรกิจสะดุด ในข้อกำหนด ISO ยังใช้คำว่า Continual หรือให้ปรับปรุงทีละขั้น ค่อยๆไต่ระดับ ไม่ใช้คำว่า Continuous เลยหรือต้องขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการประยุกต์ ISO เข้าไปให้พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมกับแต่ละองค์กร ที่มีศักยภาพไม่เท่ากันต้องดูที่ผลลัพธ์

ในเมืองไทยมี CB มาหากินประมาณการให้สักเกือบ 40 บริษัท แต่ที่มีชื่อเสียงยอมรับและลูกค้ามาก กลุ่ม CB ที่พบเห็นตามโรงงาน เช่น MASCI, SGS, BVC(BVQI), BSI, URS, TUV Group : เยอรมัน (มี 3 บริษัท แยกกัน) AJA, JQA, Intertek และ CB อื่นๆยังมีหลากหลาย กระจัดกระจายกันไป เลือกได้ตามใจชอบ 

มาคุยต่อ หลังจาก Auditor ของ CB รุ่นเก่ามีเงื่อนไขมากขึ้น เดินทางไปต่างจังหวัดอาจไม่คล่องตัว มีข้ออ้างมาก แต่ก็อาจมีความจริงและความจำเป็น ทุกคนมีเหตุผลส่วนตัว ทำให้การใช้งานตรวจประเมินสู้เด็กใหม่ไม่ได้ ไม่เกี่ยง ไม่บ่น ให้ไปไหนก็ไป กำลังกระตือรือร้นอยากจะเป็น Auditor ไม่ปฏิเสธทุกเงื่อนไข ขอให้มีโอกาสเป็น Registered Auditor ก่อน เดี๋ยวนี้จึงมี Auditor รุ่นใหม่เข้ามาแทนที่ แต่ต้องผ่านการเป็นผู้ตรวจประเมินฝึกหัด ค่าตอบแทนก็ไม่ฟู่ฟ่าเหมือนแต่ก่อน บาง CB ให้ผู้ตรวจประเมินมาขึ้นรถตู้ที่สำนักงาน หลังการตรวจเสร็จ ต้องมาลงรถที่สำนักงาน ไม่อนุญาตให้แวะลงกลางทาง หรือขึ้นลงกลางทาง ผู้ตรวจประเมินเริ่มคิดว่าชีวิตไม่ได้เหลืองอร่าม เรืองรองอย่างที่คิด ไม่อิสระเท่าที่ควร ทำให้หลายคนอยากโดดออกมาเป็นที่ปรึกษามากขึ้น (ไม่ใช่ข้อมูลของทุกคน ผู้เขียนมองภาพเองส่วตัว) ขอให้ระลึกไว้ทุกอาชีพไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบจริงๆ อาชีพนี้ยังเป็นของคนจบสาขาวิศวกรรมศาสตร์และรองลงมาก็สาขาวิทยาศาสตร์มากที่สุด เพราะทีขอรับรองส่วนใหญ่เป็นโรงงาน ต้องตรวจกระบวนการผลิต หรือ Process Control หรือ การออกแบบ (Design and Development) สาขาเหล่านี้สามารถตรวจได้ลึกกว่าผู้จบสาขาอื่นๆ

สิ่งที่น้องๆถามว่า จะเป็นที่ปรึกษาต้องมีคุณสมบัติอย่างไร คือ ง่ายๆ ต้องซื่อสัตย์กับลูกค้า ตั้งใจใจสอนให้ลูกค้าเข้าใจสามารถทำระบบต่อเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งที่ปรึกษาตลอดชีพ สอนให้ลูกค้าไปต่อยอด ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีใครจ้างต่อ โรงงานเมืองไทยมีมาก และที่สำคัญ พอเป็นคนในแล้ว มักจะสอนกันเองไม่ได้ เพราะไม่เชื่อถือกัน หรือทุกคนก็เก่ง จึงต้องใช้ที่ปรึกษาหรืออาจารย์จากมหาวิทยาลัยไปบรรยายและจัดสัมมนาให้ทุกปี หน้าที่เราก่อนจะเป็นที่ปรึกษาต้องรู้มากๆ รู้กว้างๆ เข้าใจทุกๆมาตรฐานหรือระบบการบริหารต่างๆ เพราะจะสัมพันธ์กัน และโรงงานมักไม่ได้ทำระบบเดียว  ยกเว้น SMEs และ OTOP ที่ต้องเริ่มจี เอ็ม พี ขั้นพื้นฐาน (Primary GMP) ภายในสามปี (ให้เวลถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 สำหรับผู้ประกอบการรายเก่า) เพราะกฎหมายบังคับ กระทรวงสาธารณสุขก็ประกาศ สื่อสาร รณรงค์ และให้ความรู้ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ลักษณะนี้ก็เหมือนเหตุการณ์ปี 2543 ที่มีกฎหมายให้โรงงานผลิตอาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ ต้องมี GMP ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 2546 

ช่วงปี 2542-2543 ผู้เขียนได้ไปทำงานที่ปรึกษาให้กับ 10 โรงงานทำมาตรฐาน GMP/HACCP แปลกใจมาก ยุคนั้นลูกค้าส่วนใหญ่ไม่รู้จัก HACCP ลูกค้ามักไปบังคับโรงงานผลิตอาหารให้ทำ ISO 9001 (หากไม่มีงานออกแบบ ก็ยื่นขอ ISO 9002)

ผู้เขียนก็อธิบายว่า ทำ HACCP แล้วไม่จำเป็นต้องทำ ISO9001 เพราะเป็นระบบบริหารคุณภาพทั่วไป
แต่ HACCP นับเป็นระบบคุณภาพด้านอาหารปลอดภัยแล้ว แต่เมื่อไม่รู้จัก ก็ทำหมดก็แล้วกัน มาบางโรงงานก็เริ่ม Integrated ทุกระบบเข้าไป ปรากฎว่าปัจจุบันเกิด ISO22000 ก็คือรวมทั้งสามมาตรฐาน GMP+HACCP+ISO9001 ต่อมาเกิด FSSC 22000:2018  ก็คือรวมทั้ง ISO22000:2018+ISO/TS22002-1 หลายโรงงานก็บ่นว่าทำไม่มีวันจบ ก็ขอให้อดทน เพราะโลกคงไม่มีหยุดนิ่ง หากเราหยุด ลูกค้าก็ขาดความมั่นใจ ก็อาจหยุดซื้อเราได้เช่นกัน งานที่ปรึกษาและผู้ตรวจประเมิน ก็คงคู่กับโรงงานต่อไป

ส่วนการเป็น Auditor แน่นอนต้องผ่านการอบรมหลักสูตร Lead Auditor หรืออาจเรียก Lead Assessor
หลักสูตรนี้มักเรียน 5 วัน ปัจจุบันมีหลักสูตรให้เรียนเพียง 2 วันเรียกว่า Transtion ....ส่วนคุณสมบัติอื่นและประสบการณ์ทำงานต้องกี่ปี คราวหน้าจะนำมาลงให้ทราบของ IRCA เพื่อเตรียมการขึ้นทะเบียนเป็น Registered Auditor ซึ่ง IRCA ตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ

สำหรับคุณสมบัติของ Auditor สำหรับ IATF16949 ท่านสามารถ Link ดูที่ www.iatfglobaloversight.org
หรือหาโอกาสไปอบรม/ศึกษาเกี่ยวกับ Automotive Certification Scheme จะได้เข้าใจเกี่ยวกับ Rule for achieving IATF Recognition

ปี 2557 หลายๆ หน่วยงานให้การรับรอง หรือ Certification Body (CB) รับสมัครผู้ตรวจประเมินใหม่ในทุกระบบการบริหาร (Management Systems) มาเป็นผู้ตรวจประเมินใหม่ หรือผู้ตรวจประเมินฝึกหัดแทนรุ่นเก่าที่นับวันลาออกไปเป็น Free Lance Auditor หรือเปลี่ยนไปทำอาชีพที่ปรึกษา เท่าที่พบ ต้องการคนรุ่นใหม่อายุ 28-30 ปี แสดงว่าต้องการคนที่มีประสบการณ์โรงงาน พูดง่ายๆผ่านงานโรงงานมาสัก 5-8 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นหลัก เฉพาะในสาขาอาหารจะเน้นรับผู้สำเร็จจากสาขาอุตสาหกรรมอาหาร หรือ Food Science สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (Bio-Technology) หรือผู้มีประสบการณ์จากโรงงานผลิตอาหาร ผ่านงาน ISO/GMP/HACCP มีวุฒิทางด้านจุลชีววิทยา (Microbiology) หรือด้านชีววิทยา (Biology) ดูแล้ว CB ต้องการคนรุ่นใหม่ ใช้งานง่ายและต้องการคนลุยงาน เพราะชีวิตผู้เตรวจประเมิน หรือ Auditor ต้องเดินทางตลอดไปทุกที่ ที่มีลูกค้าขอรับการรับรองระบบนั่นเอง

วันนี้รู้สึกกังวล ไม่คิดจะเขียนเรื่องลักษณะนี้ แต่เป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น ทุกครั้งเวลาผู้เขียนบรรยาย Public Training มักกล่าวตลกว่า ผู้ตรวจประเมิน หรือ Auditor ไม่ใช่พระอิฐพระปูน ทำอะไร ก็เพลาๆ จะ Make เอกสาร ก็ลับๆทำกันเน๊อะ เล่นให้ผู้จัดการเซ็นต์ระหว่างตรวจ ระวังนะผู้ตรวจประเมินมักจะสายตาดี ที่เน้นขอให้ต้อนรับให้ดี มีมิตรภาพต่อกัน ผู้ตรวจคงไม่โหดร้ายให้สอบตก ถ้าไม่หนักหนาเกินไป ในทางกลับกันโรงงานก็ต้องเข้าใจผู้ตรวจประเมินด้วยเช่นกัน

เรื่องที่กำลังเกิด คือ สองฝ่ายไม่เข้าใจกัน โรงงานก็ไปต่อว่าผู้ตรวจประเมินอย่างหนัก ในทางกลับกัน ผู้ตรวจประเมินเกิดความโกรธแค้นลูกค้า เราอยู่ข้างหลัง มองเห็นภาพทั้งหมด 

เรื่องมีดังนี้ ฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าผู้ตรวจลำเอียงและกลั่นแกล้ง ฝ่ายผู้ตรวจประเมินหลังถูกต่อว่า เกิดแค้นฝังหุ่น เล่นทุกอย่างจัดหนัก  งัดข้อกฎหมายมาใส่โรงงานนี้เพี๊ยบเลย เพราะเป็นโรงงานผลิตอาหาร ให้พูดแบบกลางๆตรวจแล้วธุรกิจลูกค้าต้องดำเนินต่อไปได้ ไม่ใช่วางสนุกหลอกกัน 

แต่ว่ามองในมุมกลับกัน ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ตรวจประเมิน เมื่อไปเจอท่านนั้น เรียกว่า เขี้ยวสุดๆ ไม่ยอมทำอะไร พูดคำเดียวเสียแต่เงิน และเพิ่มคนทำงานมาลงข้อมูล หากท่านมองว่าข้อมูลมีประโยชน์เมื่อได้รับการวิเคราะห์ สามารถใช้ประโยชน์มากมาย แค่ง่ายๆใช้สอบกลับล๊อทผลิต ใช้สอบกลับวัตถุดิบที่เข้ามามีปัญหาปนเปื้อน และเสื่อมคุณภาพ การคิดว่าจะทำแบบนี้ จะทำแค่นี้ สุดท้าย CB ต้องให้ผ่าน 
หากไม่ครบข้อกำหนด ผลลัพท์งานไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร เชื่อว่าไม่มีผู้ตรวจประเมินท่านใด จะเสนอโรงงานท่านให้การรับรอง หากผู้ตรวจประเมินตกในสถานการณ์แบบนี้ ไม่ควรไปทะเลาะ ให้หาทางหลีกเลี่ยง ตามผลปฏิบัติการแก้ไข หากไม่ได้มา อย่าใจร้อน อยู่นิ่งๆ ปล่อยให้ลูกค้าของท่าน ตามติดท่าน เพราะเมื่อไม่ได้รับรองระบบ ลูกค้ารายใหญ่จะบี้หนักมาก ขู่จะเปลี่ยน CB จนท่านนั้นยอมเข้าตามกติกาหรือตามใจต่อไป  

ทำ ISO แล้ว ทำไมเหมือนลงเอกสารและบันทึกมากมาย ผู้ตรวจประเมินมักตามจากเอกสารก่อน เนื่องจากทั้งปีไม่ได้อยู่ตลอดเวลา ณ โรงงานท่าน ไม่รู้ทำอะไรกัน การตรวจจากเอกสารและบันทึก เพื่อสืบย้อนการทำงานในระหว่างปี จากนั้นโน๊ท หรือ จดประเด็นน่าสนใจ และข้อสงสัย ไปตรวจประเมินหน้างาน หากการทำงานสอดคล้องกับข้อกำหนด เขียนให้ตรงจริง และทำให้ตรงกับที่เขียน ไม่ลัดขั้นตอน โอกาสผ่านการตรวจแน่นอน

ทำให้นึกถึงด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ขอพูดแทรก นึกถึงวิศวกรค่ายรถยนต์ใหญ่รายหนึ่งก็เช่นกัน ไปตรวจผู้ผลิตชิ้นงาน บอกว่า ต้องทำชิ้นงานให้ได้ตามแบบ (Drawing) ทุกจุดทุกกระเบียดนิ้ว ในชีวิตจริง ไม่มีใครทำได้ในโลกนี้ แม่พิมพ์ใหม่ ต้องทำออกมาได้ตามแบบทุกจุด สุดท้ายโรงงานเลยไปขย่ำแม่พิมพ์ใหม่ ดูแล้วเสียดายมาก แค่ให้ได้ตามที่วิศวกรท่านนั้นต้องการ การตรวจลักษณะนี้ สร้างความลำบากใจให้ลูกค้ามาก หรือเพราะด้อยประสบการณ์ชีวิตจริงในโรงงาน

การตรวจประเมินมีเรื่องเล่าขานให้คิดเป็นอุธาหรณ์มากกว่ามองเป็นอย่างอื่น สักปลายปี 2014 ผู้ตรวจประเมินท่านหนึ่ง ระหว่างตรวจฝ่ายจัดซื้อไปหลุดปากว่า หัวข้อที่ประเมินมองราคาถูก หรือ Price ไม่เกี่ยวกับ ISO9001:2008 และ ISO/TS16949:2009 ให้ถอดออกไปดีกว่า 

โรงงานตกใจแอบโทรมาถามผู้เขียน ก็บอกว่า ใช่ ผู้ตรวจประเมินพูดไม่ผิด กลับมาในชีวิตจริง ราคาถูกนะเรื่องใหญ่ มองก่อนหัวข้ออื่นกันมากนักต่อนัก เอาเถอะชี้แจงผู้ตรวจประเมินไปขอคงอยู่เป็นหนึ่งในหัวข้อประเมินผู้ส่งมอบ ให้ทอนน้ำหนักลงบ้างเหลือสักสิบหรือยี่สิบเปอรฺเซนต์ เพิ่มหรือเน้นด้านคุณภาพให้มาก ทั้งคุณภาพดี ส่งมอบตรงเวลา แต่สิ่งที่ระวังสำหรับคนเป็นผู้ตรวจประเมินน้องใหม่ อย่าก้าวเข้าไปลึกนัก มีหน้าที่ตรวจว่าสอดคล้องกับข้อกำหนดไหม ไม่ไปเสนอแนะน่าจะดีกว่า การไปติติงนโยบาย ความสามารถองค์กรลูกค้าท่านยิ่งต้องระมัดระวังแบบสุดๆ 

มีครั้งหนึ่ง ผู้ตรวจประเมินคนหนึ่งของอีก CB ไปออกข้อบกพร่อง จริงๆคือพบความไม่สอดคล้อง ออกให้ สิบกว่าเรื่อง โรงงานประท้วงไม่ขอรับ แต่ผู้ตรวจประเมินยืนกรานต้องออก สุดท้ายลูกค้ารายนั้นเปลี่ยนไปยื่น CB แห่งใหม่ทันที

การตรวจประเมิน มีท่านหนึ่งเสมือนกำลังเล่นงานลูกค้าตนเอง แต่ละคนอาจมองแตกต่างกัน แต่ผู้เขียนเตือนว่าอย่าไปแค้นฝังหุ่น จะทำให้ CB นั้นกระทบได้หรือไม่ เราไม่รู้ แต่ที่แน่ๆจะขาดลูกค้าไปหนึ่งราย เพราะการไม่แยกแยะความโกรธส่วนตัว ต้องนึกเสมอว่า เราเป็นผู้ตรวจประเมิน เพื่อช่วยโรงงานยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน ความแค้น ความไม่ชอบใจใดๆ อย่าปล่อยให้เกาะกินใจ สุดท้ายจะฆ่าอาชีพตนเอง 

อีก CB เกิดเหตุการณ์ที่ผู้ตรวจประเมินจะออกข้อบกพร่องให้กับตัวแทนฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิเสธไม่ยอมรับ โต้ทันควัน หากออกมาจะเปลี่ยน CB ทันที สุดท้ายผู้ตรวจประเมินยอมถอย ช่างน่าเห็นใจทุกฝ่าย เครียดกับการมีข้อบกพร่องมากไปไหม ถ้ามีจริงก็ควรรับ รีบนำไปแก้ไข องค์กรเราต่างหากที่ได้ประโยชน์ในการนำไปปรับปรุง ผู้เขียนเชื่อว่าผู้ตรวจประเมิน ต้องมั่นใจจึงจะออกคาร์หรือพบความไม่สอดคล้อง ใช้เป็นกระจกส่องเงาได้ เรื่องว่าออกหยุมหยิม ค่อยมาพินิจพิเคราะห์ น่าจะแก้ไขได้ง่ายๆ

ผู้เขียนก็เข้าใจว่าเวลาคุย แจงแล้วไม่ตรงกัน เข้าใจคนละอย่าง ความปวดหัวตามมาแน่ จึงขอบอกน้องที่ไปรับงานแบบ Free Lance คุยให้ชัด เกณฑ์ รูปแบบรายงานว่า CB ให้เราใช้ของ CB หรือให้เราออกของเราเอง อีกครั้งหนึ่งที่เป็นบทเรียนที่สองครั้งที่ไปรับงาน หรือไปรับตรวจมาตรฐาน GMP ASEAN น้องที่ประสานกับเราบอกว่าให้ทำรายงานให้โดยใช้รายงานตามรูปแบบเรา พอตรวจประเมินเสร็จได้ส่งรายงานไปให้ มาบอกว่าไม่ใช่ เราพลาดไม่ได้บันทึกคำพูด สิ่งที่สั่งงานเราไว้ 

หลังการตรวจโรงงาน มาแจ้งทำไมไม่ทำแบบนั้นแบบนี้ ต้องแก้ไขกันสามวัน เร่งๆมาตลอด จึงรู้ว่าเราพลาดแล้ว พูดต่างจากที่คุยกันทั้งหมด เอกสาร Checklist ที่ส่งมาก็ยังสงสัยว่าเป็นโรงงานที่จีน เป็น GMP ทั่วไป ไม่บอกว่าจะให้ทำแบบนี้ ต้องใช้แบบนี้ แต่บอกให้ตรวจแบบ GMP ASEAN ใช้แบบรายงานเราก็ได้ สุดท้ายหลังแก้ไขงาน พอเรื่องไปถึงหัวหน้าเขามาสอบถามเรา จึงบอกให้เรียกคนประสานนั้นมาคุยต่อหน้ากันดีกว่าจะได้รู้ความจริง เชื่อว่าน้องคนนั้นไปบอกหัวหน้า คงบอกจากดำเป็นขาวเลย แต่เราก็ผิดพลาดไม่เคลีย์ให้ชัดทุกเปราะ โดนคนที่ฮ่องกงเมล์มาต่อว่าอีก อย่าไปตอบโต้ ดันบอกเราตรวจอย่างไรไม่ตรงกับ Checklists ก็คุณไม่ได้บอกให้ใช้ชุดนั้น และต้องแก้ไขรายงานหลายครั้ง ตามที่เขาต้องการ แถมโกรธอีก เหนื่อยและเป็นบทเรียนกับอุทาหรณ์อย่างมาก 

จริงๆสมัยเราเป็นผู้ตรวจยุคแรกๆของประเทศ เขายังเด็กๆในระบบ ISO ผู้ตรวจประเมินต้องเพิ่มอีกเรื่องอดทน ให้เรื่องจบไป ให้มันเป็นอุธาหรณ์ ห้ามใจร้อนตอบโต้ถ้าเลือกอาชีพนี้แล้ว ต้องทำให้มีความสุข เป็นเสมือนอาจารย์ให้ความรู้ จงภูมิใจ ไม่ต้องไปภูมิใจไทย ให้ไปใช้ชีวิตในโรงงานให้สบายใจกับผู้ถูกตรวจประเมินกับชีวิตโรงงานแม้นไม่ได้อยู่ประจำ และการไปตรวจประเมินถือว่าไปศึกษา ค้นคว้าและหาความรู้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ค่ำลงเอาแบบนก กลับบ้านนอน เบื่อเมื่อไรก็กลับบ้านต่างจังหวัดไปปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา CB จ้างมาก็ไปทำงานให้ หรือสลับไปเป็นวิทยากร หรือทำงานที่ปรึกษา หรือบางคนอยากกลับเข้าโรงงานก็ว่าไป แต่ส่วนใหญ่ออกจากโรงงานมาเป็นผู้ตรวจประเมินแล้ว มักไม่กลับแล้ว ห้ามใจร้อนรีบออกมาแบบไปตายเอาดาบหน้า

เขียนต่อคราวหน้า