บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28 ถนนพรหมาสตร์ ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 0886560247, 083 2431855
E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ โทรหา KS" 081 3029339, 088 6560247
ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act
วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว
โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1 วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี
โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ
PSM: Process Safety Management
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน
In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ช่วงนี้โรงงานเริ่มอบรมภายใน เพื่อป้องกันโควิท 19
ช่วงนี้โรงงานเริ่มอบรมภายใน เพื่อป้องกันโควิท 19
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
ผู้เข้าอบรมเข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA
สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
New FMEA By AIAG & VDA
สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link http://safetysolving.blogspot.com/
คุณภาพเป็นเลิศ ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี
081 3029339, 083 2431855
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com
isoiatf@hotmail.com
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS link: http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000 link: http://safetysolving.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn Ngamprompong หรือ ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.
อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018
ทำงานโรงงานไหนดี คำนี้คิดอย่างไร เราเลือกได้ด้วยหรือ?
น้องๆมักถามบ่อยเลือกทำงานที่โรงงานไหนดี ของคนไทยหรือต่างชาติ โดยเฉพาะโรงงานญี่ปุ่นเป็นอย่างไร ผู้เขียนบอกว่าทุกโรงเรียน มีกฎระเบียบ วัฒนธรรมและชีวิตของแต่ละโรงงาน เท่าที่มีประสบการณ์ ในอดีตที่ผ่านมาเคยไปสัมภาษณ์โรงงานของชาวต่างชาติที่เป็นแขก ขณะสัมภาษณ์อยู่ๆผู้บริหารที่สัมภาษณ์ ทุบโต๊ะกลางวงสัมภาษณ์อย่างแรง แล้วนั่งเงียบ เราก็นั่งเงียบโดยไม่มีปฎิกิริยาตอบโต้ในเหตุการณ์ เวลาผ่านไปสักพัก ท่านผู้บริหารจึงบอกเราว่า คุณมีความอดทน รับต่อสถานะการณ์ได้ ทำให้เราคิด เราก็เปลี่ยนงานบ่อย หรือเราไม่อดทนงานใช่ไหม? เพราะในหนึ่งวันทำงานเราใช้เวลาอยู่โรงงานมากกว่าสิบสองชั่วโมงต่อวัน ย้ายงานมักมีเหตุ และไปหาความท้าทาย เวลาที่อยู่โรงงานนั้นถึงจะสองถึงสามปี แต่รู้สึกเหมือนทำงานให้เป็นห้าปี/สิบปีในแต่ละแห่ง จึงบอกน้องๆว่า ชีวิตงานกับชีวิตครอบครัวและส่วนตัวต้องสมดุลกัน
ขณะเดียวกันไปสัมภาษณ์งานที่โรงงานญี่ปุ่น เราเลือกไปอยู่ที่โรงงานญี่ปุ่น เพราะมองว่าเดินทางใกล้กว่า เส้นทางรถติดน้อยกว่า
ชีวิตงานของเราต้องสัมผัสกับชาวญี่ปุ่น ข้อดีของคนญึ่ปุ่นคือ ขยัน ตั้งใจทำงาน แม้แต่ WI หรือการทำงาน คนญี่ปุ่นจะเคร่งครัดปฏิบัติตาม แล้วพนักงานไทยเราละ ก็มีทั้งทำตามขั้นตอน และที่ลัดขั้นตอนก็มีให้พบเห็นเสมอๆ
คนญี่ปุ่นจะสุภาพ พบกันทักทายกัน โค้งแล้วโค้งอีก ยิ่งโค้งมาก คนไทยมองว่า แขกคนนั้นคงนับถือมากเป็นพิเศษ บางท่านโค้งมากเหลือเกินจนอดเป็นห่วงว่าหัว (ศรีษะ) จะทิ่มพื้นดิน คุณทำงานที่โรงงานญึ่ปุ่น ตั้งใจทำงาน มาเช้ากลับดึก เรียกว่านายรักคุณเหลือเกิน สังคมโรงงานเกาหลี โรงงานไต้หวัน โรงงานจากสาธารณะรัฐประชาชนจีน
เป็นเหมือนกัน แต่โรงงานฝรั่งชาวยุโรป กลับไม่ใช่ กลับบ้านเกินห้าโมงเย็นบ่อยๆมองว่าประสิทธิผลการทำงานไม่ดี ทำไมแปดชั่วโมงคุณทำไม่เสร็จ ผู้เขียนได้มีประสบการณ์ผ่านมากับทุกโรงงานดังกล่าว
โรงงานฝรั่งทำงานเน้นแผนงาน รับผิดชอบงาน หากคุณผิดพลาดต้องพิจารณาตนเองลาออก ดูอย่างโรงงานทำลิฟท์แห่งหนึ่ง ลิฟท์ที่กำลังติดตั้งเกิดตก พนักงานที่ไปทำงานเสียชีวิต รุ่งขึ้นกรรมการผู้จัดการประกาศลาออก ส่วนคนญึ่ปุ่นก็มีความรับผิดชอบสูง บางครั้งไปธุระงานหรือมีงานเลี้ยงกลับที่พักดึกดื่น หลังเที่ยงคืน หรือ ตีสอง ตีสาม แต่รุ่งเช้า 6.30 น. คนญี่ปุ่นมาถึงที่ทำงานแล้ว นั่งโต๊ะทำงาน แต่ผู้จัดการคนไทยกว่าจะโผล่ก็ราวๆ 9-10 โมงกว่าไปแล้ว หรือเที่ยงวันค่อยโผล่มา นับเป็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ให้มองในภาพรวม
คนญี่ปุ่นรุ่นเก่าส่วนใหญ่ย้อนไปสักปี 2540-2550 มักพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ หรือพูดได้ สำเนียงแบบอมมะเขือเทศพูด ยกเว้นบางท่าน ภาษาดีมาก มักเคยอยู่ในประเทศที่เน้นใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นเวลาที่คนญี่ปุ่นประชุมเสียงออกดัง โต้เถียงกันในงานอย่างเอาเป็นเอาตาย บางครั้งยังพบเห็นมีการขว้างแปรงลบกระดาน หรือกระทั่งยกโต๊ะหรือเก้าอี้ คว่ำมันซะเลย ถึงเวลาเบรคเสียงอ็อดโรงงานดังขึ้น พบว่าคนญี่ปุ่นกลุ่มนั้นออกมาพักเบรค มานั่งพักสูบบุหรี่หันหน้าพ่นควันใส่กัน คุยกันสนุกสนาน เฮฮา มันเป็นภาพที่เรียกว่าหนังคนละม้วน เพราะเขาทำงานจริง ไม่ได้คิดหักหาญกันในส่วนตัว
พูดเรื่องสูบบุหรี่ คนญี่ปุ่นสูบบุหรี่ค่อนข้างมาก ตั้งแต่ผู้บริหารยันช่างเทคนิคและพนักงานชาวญึ่ปุ่นที่มาทำงานในโรงงาน มีน้องล่ามคนหนึ่งลาออก เขียนเหตุผลในใบลาออกว่าเวลาต้องเข้าไปแปลภาษาหรือเป็นล่าม เหม็นกลิ่นบุหรี่ หนูทนไม่ได้ ขอลาออก ฝ่ายบุคคลบางแห่งบอกว่า เดี๋ยวจัดให้ ย้ายที่สูบบุหรี่ไปให้ไกล หรือออกไปอยู่ข้างรั้วโรงงานมันซะเลย คนญี่ปุ่นก็ทำตามระเบียบ ให้ไกลแค่ไหนก็เดินออกไปสูบบุหรี่ด้านนอกตามระเบียบ ในห้องประชุมก่อนห้ามสูบนั้น เวลาคนญี่ปุ่นประชุมกันเอง ชอบขว้าง ที่เขี่ยบุหรี่ก็เลยเปลี่ยนจากแก้วหรือกระเบื้อง ไปเป็นวัสดุที่ทนแตก (ผู้เขียนไม่อยากบอกว่าเปลี่ยนเป็นแบบที่ทนมือทนเท้า)
คนญี่ปุ่นเน้นเรื่องมารยาท เวลาให้นามบัตรต้องจับมุมหนึ่ง ค่อยๆส่งนามบัตรจับมุมหนึ่ง ให้ผู้รับมองด้านหน้าอ่านชื่อผู้ให้เห็นชัดเจน บรรจงยื่นให้แบบสุภาพนอบน้อม เพราะเป็นการให้เกียรติกัน ผู้รับนามบัตรต้องรู้มารยาทเช่นกัน ให้รับนอบน้อม ชำเลืองดูสักนิด จดจำชื่อผู้ให้สักหน่อย อย่ายัดใส่กระเป๋าเสื้อ ยิ่งยัดใส่กระเป๋ากางกางนั้นเสียมารยาทสุดๆให้รับรู้ไว้ ผู้เขียนมักจะบอกน้องๆเสมอ หากนั่งโต๊ะประชุมกันให้วางนามบัตรไว้ด้านหน้าเราก่อน ยังไม่ต้องเก็บใส่กระเป๋าจนกว่าการประชุมจะเสร็จสิ้น
คนญี่ปุ่นนั้นอนามัย รักสะอาดและเป็นระเบียบ ดูง่ายๆตู้เย็นของคนญี่ปุ่น แม่บ้านจะล้างสม่ำเสมอ นำสิ่งของต่างๆออกจากตู้เย็น ทำการขัด ล้าง ถู ของไทยเราละ ตั้งแต่ซื้อมาสิบปีไม่เคยเสีย และก็ไม่เคยล้างเช่นกัน พูดความจริงขออย่าได้โกรธเคืองกัน
วันหนึ่งนายญี่ปุ่นไม่ชอบใจน้องทำรายงาน (Report) หลังรับรายงานแล้วขย่ำ โยนทิ้งที่พื้น ท่านลุกขึ้นมาใช้เท้ากระทืบๆๆๆๆๆอยู่หลายครั้ง จนอารมณ์เย็นลง เราก็ถามว่า ทำไมทำอย่างนั้น ท่านตอบว่า ที่ญี่ปุ่นทำกันแบบนี้เสมอถือเป็นเรื่องปกติ เราบอกไปว่าที่เมืองไทย พนักงานคนไทยไม่ชอบการกระทำลักษณะนี้
นายญี่ปุ่นบอกว่าคนไทย โดยเฉพาะวิศวกรและผู้จัดการเปลี่ยนงานกันบ่อยบางคนเป็นสิบแห่ง ผู้เขียนบอกนายว่าสิบแห่งนั้นขั้นต่ำ ผู้เขียนมีเพื่อนย้ายงานบ่อยกว่าและเกินสิบแห่ง ตอนนี้เขาก้าวสู่โรงงานที่ยี่สิบแล้ว แต่เขาเก่งเรื่องเครื่องจักรและงานซ่อมบำรุง
นายบอกว่าที่ญี่ปุ่นไม่ใช่แบบไทย การทำงานโรงงานแรกของคนญี่ปุ่นอาจทำไปตามที่ได้งานหรือทำไปก่อนชั่วคราว เพราะไม่ใช่โรงงานที่ชอบหรือต้องการ แต่โรงงานที่สองแล้ว มักอยู่ยาว แต่ละท่านอยู่ทำงานให้โรงงานมาแล้วกว่าสามสิบปี คนที่จะเปลี่ยนไปโรงงานที่สามมีน้อยมาก ที่พักกับโรงงานเดินทางเพียงห้านาทีก็ถึงแล้ว ที่ญี่ปุ่นคนเก่งมีมาก แต่ไม่ค่อยยอมออกมาทำงานต่างประเทศในญี่ปุ่นมีตำแหน่งระดับจัดการน้อยกว่าคนเก่งที่มี คนญี่ปุ่นที่เป็นหัวหน้าหรือ Supervisor บางครั้งความสามารถไม่แพ้คนที่เป็นผู้จัดการ (Manager) แล้วคนปุ่นที่ส่งมาเมืองไทย เป็นประเภทไม่เก่งหรือ ?
ชาวญี่ปุ่นที่บริษัทแม่ส่งมาทำงานเมืองไทย ได้รับค่าตอบแทน รวมสิ่งอำนวยความสะดวกและอยู่แบบราชา ส่วนใหญ่มักพักอยู่แถวทองหล่อ สุขุมวิท กรุงเทพน ใครถูกบริษัทแม่เรียกกลับเกาะ บางท่านนั่งเงียบและซึมเศร้าไปเลย พบที่นั่งก้มหน้าน้ำตาคออยากอยู่ต่อเมืองไทยก็มี บางท่านพูดภาษาไทยเก่งอย่างรวดเร็ว เพราะได้ยาดี คือ มีภรรยาคนไทย
วันก่อนได้ข่าวน้องวิศวกร ถูกให้ออกจากงาน คือ ไม่พ้นทดลองงาน
โดยรุ่นพี่ หรือผู้จัดการที่รับวิศวกรใหม่ เข้าไปทำงานให้ไม่ผ่านทดลองงาน หรือไม่ผ่านโปรนั่นเอง ทำให้นึกถึงชีวิตในโรงงานที่เรา ตัดสินใจรับดาบแทนน้อง และตัวเองต้องลาออก แสดงความรับผิดชอบในฐานะผู้จัดการฝ่าย
การฝึกงานเพียง 3-4 เดือน ให้น้องวิศวกรคนนี้ ที่ถูกมอบหมายให้รับผิดชอบงานออกแบบ และต้องรู้ ISO/TS 16949 นั้น ตอบได้ว่ายากมาก ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเก่าของผู้เขียนด้วย ของน้องคนนี้ด้วย ผู้เขียนกล้ากล่าวได้ว่าไม่สามารถปูพื้นฐานความรู้ ชนิดจบเป็นบัญฑิต แล้วทำงานด้าน TS16949 ได้ทันที คิดว่าอย่างน้อยต้องใช้เวลาเรียนรู้มากกว่าหนึ่งปีขึ้นไปและต้องตั้งใจเรียนรู้ต่อในชีวิตงานจริง
ดังนั้นงานที่เกี่ยวข้องกับ Core Tools เริ่มจาก APQP อย่างน้อยวิศวกรใหม่ จะเรียนรู้ คาดว่ายังต้องใช้เวลาหกเดือนหรือหนึ่งปีขึ้นไป ก็ยังเรียนรู้ไม่ถ่องแท้ แต่ไม่ได้บอกว่าใครผิดและถูก เรื่องการจัดการมีความละเอียดอ่อน ผู้จัดการอาจมองน้องว่าแสดงบางอย่างออกมาไม่ถูกใจ หรือน้องอาจจะมองว่า ถูกกระทำให้เบื่อหน่ายในหน้าที่การงาน คิดว่าปานนี้ คงเข้าใจในชีวิตโรงงานแล้วว่าแตกต่างจากมหาวิทยาลัยโดยสิ้นเชิง
ผู้เขียนรับวิศวกรเข้ามาใหม่คนหนึ่งสมัยอยู่โรงงานขนาดใหญ่ของเกาหลี งานที่นี่ เริ่มจากผู้จัดการสี่ฝ่ายจบวิศวะทุกคน ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายประกันคุณภาพ (QA) ฝ่ายวิศวกรรม และฝ่ายจัดซื้อ ต้องมีการประชุมโรงงานประจำเดือน มาแจกแจงหัวข้อต่างๆในการทำงาน หัวข้อหลักต้องเน้น เรื่องผลผลิตและของเสีย
วันนั้นวิศวกรใหม่ ถูกผู้เขียนมอบหมายทำรายงาน แทนวิศวกรอีกคนที่อยู่มาหลายปีแล้ว โดยผู้เขียน ดูข้อมูลการผลิตและของเสียของเดือนที่ผ่านๆมา คิดว่ามีนัยยะบางอย่าง เมื่อตัดสินใจโยกคนเก่าออกไป ใส่คนใหม่ทำแทน ข้อมูลของเสียที่จัดทำรายงานโดยฝ่าย QA และฝ่ายผลิต ที่ถูกต้องควรสอดคล้องกัน แต่วันนั้นกลับแตกต่างแบบมากมาย ไม่เหมือนทุกๆเดือนที่ผ่านมา
ฝ่ายผลิต ลุกขึ้นโต้แย้งว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง แต่วิศวกรใหม่ QA ยืนยันว่าถูกต้อง วิศวกรใหม่โดนแย้งว่าเพิ่งเข้ามาทำงาน ช่วงนั้นผู้เขียนติดงานลูกค้าต่างประเทศคือ Walmark มาตรวจและช่วงนั้นกว่าจะได้ดูรายงานจากน้อง ยามปกติได้ดูรายงานแค่คืนเดียว ข้อมูลทำกันกว่าจะแล้วเสร็จ จะล่าช้าหรือใช้เวลานาน กำลังหาคอขวดอยู่ที่ใด และผู้เขียนก็เพิ่งย้ายมาทำงานที่นี่เพียงไม่กี่เดือน ทำให้คืนนั้นผู้เขียนไม่ได้ดูรายงาน เพราะดึกแล้ว จึงรีบออกจากโรงงาน กว่าจะถึงที่พักเกือบเที่ยงคืน คิดว่าช่วงเช้าจะรีบมาดูรายงานกับน้องวิศวกรใหม่ เพราะมีบางคำถามที่จะซักไซ้ก่อนเข้าประชุม จะรีบมาพบน้องแต่เช้า ซึ่งผู้เขียนพักที่ชลบุรี แต่ขับรถไปทำงานที่ระยองทุกวัน
ตอนเช้าวันประชุม นายชาวเกาหลี เรียกเราซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่าย QA ตั้งแต่เช้าทำให้ไม่ได้เจอกับน้องวิศวกรใหม่ เน้นแต่ว่าทำไมเมื่อวาน พนักงาน Sub-Contract ไปให้ข้อมูลคนนอกแบบนั้น ผู้เขียนบอกว่า เด็กๆเข้าใจว่าลูกค้านั้นคือ ข้าราชการ จึงพยายามดิ้นรน เพื่อให้ได้สิทธิพิจารณาปรับมาเป็นพนักงานประจำ เลยแจ้งไปว่าโรงงานมีการทำ OT เกินกำหนด มีการควงกะ นายก็ไม่ยอมจบกับเรา ให้เราบอกมาว่าพนักงาน ห้าหรือหกคนนั้นคือใคร ผู้เขียนบอกว่าขอดูรายงานประชุมวันนี้ก่อนได้ไหม
ทันใดนั้น ผู้อำนวยการโรงงานพร้อมที่ปรึกษาใหญ่ (ต้องบอกว่าใหญ่จริง) ขนาดผู้บริหารชาวเกาหลียังนอบน้อม เกรงใจท่านทุกคน
เมื่อข้อมูลโต้แย้งกันว่าไม่ตรง ฝ่ายหนึ่งผิด โดยฝ่ายผลิตยืนยันว่าตนเองถูกต้อง แต่น้องวิศวกร QA โต้แบบสวนกลับว่าฝ่ายประกันคุณภาพถูกต้อง สุดท้ายผู้อำนวยการท่านโกรธมาก หันไปถามผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ว่า วิศวกรใหม่คนนี้ เข้ามาทำงานเมื่อไรเวลาไหนที่จะถึงช่วงพิจารณาการพ้นทดลองงาน ผู้เขียนรู้ว่าท่านจะพูดคำไหนหรือคิดสิ่งใดต่อจากนั้น ติดสินใจเบรคเกมส์แบบเทนนิสทันที
ผู้จัดการฝ่าย QA ออกเสียงดังไปทันทีว่า ท่านครับ ต้องเชื่อข้อมูลฝ่าย QA ขอยืนยันว่าถูกต้อง (เพราะได้สอบถามน้องแบบเบื้องต้นช่วงกำลังทำรายงานมาบ้างแล้ว) ถ้าจะผิดตรงที่ผู้เขียนคือ ผม ไม่ได้อ่านรายงานเมื่อคืนที่ผ่านมาก่อนมาเข้าประชุมวันนี้ ขอเป็นความรับผิดชอบของผม ถ้าเกิดความผิดพลาดจริงต้องผมรับผิดชอบ
ผู้อำนวยการท่านหันกลับมา และเลิกการตวาดใส่กับวิศวกรใหม่ทันที แต่ท่านถามว่า ฝ่าย QA จะรับผิดชอบอย่างไร ผู้เขียน ก็ตอบไปว่า หลังเสร็จสิ้นการประชุมนี้ จะไปเขียนใบลาออกให้ท่านครับ
ทุกอย่างจบและเงียบสนิท เข้าใจว่า ณ เวลานั้น ท่านที่ปรึกษาใหญ่ แสดงความไม่ชอบใจอย่างมาก อาจจะส่งผลกระทบอะไรตามมาก็ไม่ทราบ
ค่ำวันนั้น นายเกาหลีฝ่าย QA ท่านกังวลกับเรื่องที่เกิดขึ้นในการประชุมของวันนี้ จึงไปตรวจสอบข้อมูลซ้ำ ท่านบอกผู้เขียนว่า ข้อมูลฝ่าย QA น่าเชื่อถือ เพียงแต่ข้อมูลบางจุดเบิ้ลคือเป็นสองเท่า แต่ของเสียแค่ปริมาณเท่าเดียว ก็มากกว่าที่ฝ่ายผลิตรายงานหลายเท่าตัว
นายและผู้บริหารเกาหลี เข้าใจแล้ว ขอให้ผู้เขียนไม่ต้องลาออก ขอให้ย้ายไปเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อชั่วคราว แต่ผู้เขียนตอบว่า คำพูดคือ นาย กล่าวแล้วไม่เปลี่ยนใจ ต้องขอลาออกและลาท่านกลับกรุงเทพฯ ลาก่อนปลวกแดง จังหวัดระยอง จากนั้นใช้ชีวิตว่างอยู่เดือนหนึ่งไปต่างจังหวัด แล้วก็กลับมาทำงานที่จังหวัดสมุทรปราการ
เหตุการณ์แบบนี้ แต่แตกต่างที่มูลเหตุและต่างโรงงาน ได้บังเกิดกับตัวเราอีก 4 ครั้ง เราเป็นคนที่รู้สึกว่า เราต้องเป็นฝ่ายลาออกไปดีกว่าจะให้ลูกน้องรับผิด ประวัติการทำงานจึงค่อนข้างลุย และเปลี่ยนงานบ่อยถึงสิบเอ็ดโรงงาน
ได้เห็นหลายแห่ง ผู้เสียผลประโยชน์อาจไม่ชอบคนใหม่ หรือคนนอกกลุ่มเข้ามาทำงานร่วม บางแห่งจะพยายามกำจัดคนใหม่ทุกคนออกไป ทำให้พวกพ้องกลุ่มเก่าเกาะกินผลประโยชน์ของโรงงาน เอาเถอะอย่าคิดมาก เห็นมามากมาย วันนี้พอเป็นวิทยากร ทุกเรื่องที่ท่านถาม ก็เห็นมาจากโรงงานต่างๆเหล่านั้น นั่นคือ ชีวิตจริงของโรงงาน
ฝากถึงน้องวิศวกรใหม่ ให้เริ่มต้นใหม่ ต้องมีสัมมาคาระวะต่อผู้อาวุโสกว่า ชีวิตยังอีกยาวนาน หากทำโรงงานต่อ ยังมีอายุงานราว 30 ปีในชีวิตโรงงาน เพราะเอกชนจะเกษียณงานอายุ 55 ปี (ราชการที่ 60 ปี)
เขียนต่อคราวหน้า
ขณะเดียวกันไปสัมภาษณ์งานที่โรงงานญี่ปุ่น เราเลือกไปอยู่ที่โรงงานญี่ปุ่น เพราะมองว่าเดินทางใกล้กว่า เส้นทางรถติดน้อยกว่า
ชีวิตงานของเราต้องสัมผัสกับชาวญี่ปุ่น ข้อดีของคนญึ่ปุ่นคือ ขยัน ตั้งใจทำงาน แม้แต่ WI หรือการทำงาน คนญี่ปุ่นจะเคร่งครัดปฏิบัติตาม แล้วพนักงานไทยเราละ ก็มีทั้งทำตามขั้นตอน และที่ลัดขั้นตอนก็มีให้พบเห็นเสมอๆ
คนญี่ปุ่นจะสุภาพ พบกันทักทายกัน โค้งแล้วโค้งอีก ยิ่งโค้งมาก คนไทยมองว่า แขกคนนั้นคงนับถือมากเป็นพิเศษ บางท่านโค้งมากเหลือเกินจนอดเป็นห่วงว่าหัว (ศรีษะ) จะทิ่มพื้นดิน คุณทำงานที่โรงงานญึ่ปุ่น ตั้งใจทำงาน มาเช้ากลับดึก เรียกว่านายรักคุณเหลือเกิน สังคมโรงงานเกาหลี โรงงานไต้หวัน โรงงานจากสาธารณะรัฐประชาชนจีน
เป็นเหมือนกัน แต่โรงงานฝรั่งชาวยุโรป กลับไม่ใช่ กลับบ้านเกินห้าโมงเย็นบ่อยๆมองว่าประสิทธิผลการทำงานไม่ดี ทำไมแปดชั่วโมงคุณทำไม่เสร็จ ผู้เขียนได้มีประสบการณ์ผ่านมากับทุกโรงงานดังกล่าว
โรงงานฝรั่งทำงานเน้นแผนงาน รับผิดชอบงาน หากคุณผิดพลาดต้องพิจารณาตนเองลาออก ดูอย่างโรงงานทำลิฟท์แห่งหนึ่ง ลิฟท์ที่กำลังติดตั้งเกิดตก พนักงานที่ไปทำงานเสียชีวิต รุ่งขึ้นกรรมการผู้จัดการประกาศลาออก ส่วนคนญึ่ปุ่นก็มีความรับผิดชอบสูง บางครั้งไปธุระงานหรือมีงานเลี้ยงกลับที่พักดึกดื่น หลังเที่ยงคืน หรือ ตีสอง ตีสาม แต่รุ่งเช้า 6.30 น. คนญี่ปุ่นมาถึงที่ทำงานแล้ว นั่งโต๊ะทำงาน แต่ผู้จัดการคนไทยกว่าจะโผล่ก็ราวๆ 9-10 โมงกว่าไปแล้ว หรือเที่ยงวันค่อยโผล่มา นับเป็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ให้มองในภาพรวม
คนญี่ปุ่นรุ่นเก่าส่วนใหญ่ย้อนไปสักปี 2540-2550 มักพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ หรือพูดได้ สำเนียงแบบอมมะเขือเทศพูด ยกเว้นบางท่าน ภาษาดีมาก มักเคยอยู่ในประเทศที่เน้นใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นเวลาที่คนญี่ปุ่นประชุมเสียงออกดัง โต้เถียงกันในงานอย่างเอาเป็นเอาตาย บางครั้งยังพบเห็นมีการขว้างแปรงลบกระดาน หรือกระทั่งยกโต๊ะหรือเก้าอี้ คว่ำมันซะเลย ถึงเวลาเบรคเสียงอ็อดโรงงานดังขึ้น พบว่าคนญี่ปุ่นกลุ่มนั้นออกมาพักเบรค มานั่งพักสูบบุหรี่หันหน้าพ่นควันใส่กัน คุยกันสนุกสนาน เฮฮา มันเป็นภาพที่เรียกว่าหนังคนละม้วน เพราะเขาทำงานจริง ไม่ได้คิดหักหาญกันในส่วนตัว
พูดเรื่องสูบบุหรี่ คนญี่ปุ่นสูบบุหรี่ค่อนข้างมาก ตั้งแต่ผู้บริหารยันช่างเทคนิคและพนักงานชาวญึ่ปุ่นที่มาทำงานในโรงงาน มีน้องล่ามคนหนึ่งลาออก เขียนเหตุผลในใบลาออกว่าเวลาต้องเข้าไปแปลภาษาหรือเป็นล่าม เหม็นกลิ่นบุหรี่ หนูทนไม่ได้ ขอลาออก ฝ่ายบุคคลบางแห่งบอกว่า เดี๋ยวจัดให้ ย้ายที่สูบบุหรี่ไปให้ไกล หรือออกไปอยู่ข้างรั้วโรงงานมันซะเลย คนญี่ปุ่นก็ทำตามระเบียบ ให้ไกลแค่ไหนก็เดินออกไปสูบบุหรี่ด้านนอกตามระเบียบ ในห้องประชุมก่อนห้ามสูบนั้น เวลาคนญี่ปุ่นประชุมกันเอง ชอบขว้าง ที่เขี่ยบุหรี่ก็เลยเปลี่ยนจากแก้วหรือกระเบื้อง ไปเป็นวัสดุที่ทนแตก (ผู้เขียนไม่อยากบอกว่าเปลี่ยนเป็นแบบที่ทนมือทนเท้า)
คนญี่ปุ่นเน้นเรื่องมารยาท เวลาให้นามบัตรต้องจับมุมหนึ่ง ค่อยๆส่งนามบัตรจับมุมหนึ่ง ให้ผู้รับมองด้านหน้าอ่านชื่อผู้ให้เห็นชัดเจน บรรจงยื่นให้แบบสุภาพนอบน้อม เพราะเป็นการให้เกียรติกัน ผู้รับนามบัตรต้องรู้มารยาทเช่นกัน ให้รับนอบน้อม ชำเลืองดูสักนิด จดจำชื่อผู้ให้สักหน่อย อย่ายัดใส่กระเป๋าเสื้อ ยิ่งยัดใส่กระเป๋ากางกางนั้นเสียมารยาทสุดๆให้รับรู้ไว้ ผู้เขียนมักจะบอกน้องๆเสมอ หากนั่งโต๊ะประชุมกันให้วางนามบัตรไว้ด้านหน้าเราก่อน ยังไม่ต้องเก็บใส่กระเป๋าจนกว่าการประชุมจะเสร็จสิ้น
คนญี่ปุ่นนั้นอนามัย รักสะอาดและเป็นระเบียบ ดูง่ายๆตู้เย็นของคนญี่ปุ่น แม่บ้านจะล้างสม่ำเสมอ นำสิ่งของต่างๆออกจากตู้เย็น ทำการขัด ล้าง ถู ของไทยเราละ ตั้งแต่ซื้อมาสิบปีไม่เคยเสีย และก็ไม่เคยล้างเช่นกัน พูดความจริงขออย่าได้โกรธเคืองกัน
วันหนึ่งนายญี่ปุ่นไม่ชอบใจน้องทำรายงาน (Report) หลังรับรายงานแล้วขย่ำ โยนทิ้งที่พื้น ท่านลุกขึ้นมาใช้เท้ากระทืบๆๆๆๆๆอยู่หลายครั้ง จนอารมณ์เย็นลง เราก็ถามว่า ทำไมทำอย่างนั้น ท่านตอบว่า ที่ญี่ปุ่นทำกันแบบนี้เสมอถือเป็นเรื่องปกติ เราบอกไปว่าที่เมืองไทย พนักงานคนไทยไม่ชอบการกระทำลักษณะนี้
นายญี่ปุ่นบอกว่าคนไทย โดยเฉพาะวิศวกรและผู้จัดการเปลี่ยนงานกันบ่อยบางคนเป็นสิบแห่ง ผู้เขียนบอกนายว่าสิบแห่งนั้นขั้นต่ำ ผู้เขียนมีเพื่อนย้ายงานบ่อยกว่าและเกินสิบแห่ง ตอนนี้เขาก้าวสู่โรงงานที่ยี่สิบแล้ว แต่เขาเก่งเรื่องเครื่องจักรและงานซ่อมบำรุง
นายบอกว่าที่ญี่ปุ่นไม่ใช่แบบไทย การทำงานโรงงานแรกของคนญี่ปุ่นอาจทำไปตามที่ได้งานหรือทำไปก่อนชั่วคราว เพราะไม่ใช่โรงงานที่ชอบหรือต้องการ แต่โรงงานที่สองแล้ว มักอยู่ยาว แต่ละท่านอยู่ทำงานให้โรงงานมาแล้วกว่าสามสิบปี คนที่จะเปลี่ยนไปโรงงานที่สามมีน้อยมาก ที่พักกับโรงงานเดินทางเพียงห้านาทีก็ถึงแล้ว ที่ญี่ปุ่นคนเก่งมีมาก แต่ไม่ค่อยยอมออกมาทำงานต่างประเทศในญี่ปุ่นมีตำแหน่งระดับจัดการน้อยกว่าคนเก่งที่มี คนญี่ปุ่นที่เป็นหัวหน้าหรือ Supervisor บางครั้งความสามารถไม่แพ้คนที่เป็นผู้จัดการ (Manager) แล้วคนปุ่นที่ส่งมาเมืองไทย เป็นประเภทไม่เก่งหรือ ?
ชาวญี่ปุ่นที่บริษัทแม่ส่งมาทำงานเมืองไทย ได้รับค่าตอบแทน รวมสิ่งอำนวยความสะดวกและอยู่แบบราชา ส่วนใหญ่มักพักอยู่แถวทองหล่อ สุขุมวิท กรุงเทพน ใครถูกบริษัทแม่เรียกกลับเกาะ บางท่านนั่งเงียบและซึมเศร้าไปเลย พบที่นั่งก้มหน้าน้ำตาคออยากอยู่ต่อเมืองไทยก็มี บางท่านพูดภาษาไทยเก่งอย่างรวดเร็ว เพราะได้ยาดี คือ มีภรรยาคนไทย
วันก่อนได้ข่าวน้องวิศวกร ถูกให้ออกจากงาน คือ ไม่พ้นทดลองงาน
โดยรุ่นพี่ หรือผู้จัดการที่รับวิศวกรใหม่ เข้าไปทำงานให้ไม่ผ่านทดลองงาน หรือไม่ผ่านโปรนั่นเอง ทำให้นึกถึงชีวิตในโรงงานที่เรา ตัดสินใจรับดาบแทนน้อง และตัวเองต้องลาออก แสดงความรับผิดชอบในฐานะผู้จัดการฝ่าย
การฝึกงานเพียง 3-4 เดือน ให้น้องวิศวกรคนนี้ ที่ถูกมอบหมายให้รับผิดชอบงานออกแบบ และต้องรู้ ISO/TS 16949 นั้น ตอบได้ว่ายากมาก ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเก่าของผู้เขียนด้วย ของน้องคนนี้ด้วย ผู้เขียนกล้ากล่าวได้ว่าไม่สามารถปูพื้นฐานความรู้ ชนิดจบเป็นบัญฑิต แล้วทำงานด้าน TS16949 ได้ทันที คิดว่าอย่างน้อยต้องใช้เวลาเรียนรู้มากกว่าหนึ่งปีขึ้นไปและต้องตั้งใจเรียนรู้ต่อในชีวิตงานจริง
ดังนั้นงานที่เกี่ยวข้องกับ Core Tools เริ่มจาก APQP อย่างน้อยวิศวกรใหม่ จะเรียนรู้ คาดว่ายังต้องใช้เวลาหกเดือนหรือหนึ่งปีขึ้นไป ก็ยังเรียนรู้ไม่ถ่องแท้ แต่ไม่ได้บอกว่าใครผิดและถูก เรื่องการจัดการมีความละเอียดอ่อน ผู้จัดการอาจมองน้องว่าแสดงบางอย่างออกมาไม่ถูกใจ หรือน้องอาจจะมองว่า ถูกกระทำให้เบื่อหน่ายในหน้าที่การงาน คิดว่าปานนี้ คงเข้าใจในชีวิตโรงงานแล้วว่าแตกต่างจากมหาวิทยาลัยโดยสิ้นเชิง
ผู้เขียนรับวิศวกรเข้ามาใหม่คนหนึ่งสมัยอยู่โรงงานขนาดใหญ่ของเกาหลี งานที่นี่ เริ่มจากผู้จัดการสี่ฝ่ายจบวิศวะทุกคน ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายประกันคุณภาพ (QA) ฝ่ายวิศวกรรม และฝ่ายจัดซื้อ ต้องมีการประชุมโรงงานประจำเดือน มาแจกแจงหัวข้อต่างๆในการทำงาน หัวข้อหลักต้องเน้น เรื่องผลผลิตและของเสีย
วันนั้นวิศวกรใหม่ ถูกผู้เขียนมอบหมายทำรายงาน แทนวิศวกรอีกคนที่อยู่มาหลายปีแล้ว โดยผู้เขียน ดูข้อมูลการผลิตและของเสียของเดือนที่ผ่านๆมา คิดว่ามีนัยยะบางอย่าง เมื่อตัดสินใจโยกคนเก่าออกไป ใส่คนใหม่ทำแทน ข้อมูลของเสียที่จัดทำรายงานโดยฝ่าย QA และฝ่ายผลิต ที่ถูกต้องควรสอดคล้องกัน แต่วันนั้นกลับแตกต่างแบบมากมาย ไม่เหมือนทุกๆเดือนที่ผ่านมา
ฝ่ายผลิต ลุกขึ้นโต้แย้งว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง แต่วิศวกรใหม่ QA ยืนยันว่าถูกต้อง วิศวกรใหม่โดนแย้งว่าเพิ่งเข้ามาทำงาน ช่วงนั้นผู้เขียนติดงานลูกค้าต่างประเทศคือ Walmark มาตรวจและช่วงนั้นกว่าจะได้ดูรายงานจากน้อง ยามปกติได้ดูรายงานแค่คืนเดียว ข้อมูลทำกันกว่าจะแล้วเสร็จ จะล่าช้าหรือใช้เวลานาน กำลังหาคอขวดอยู่ที่ใด และผู้เขียนก็เพิ่งย้ายมาทำงานที่นี่เพียงไม่กี่เดือน ทำให้คืนนั้นผู้เขียนไม่ได้ดูรายงาน เพราะดึกแล้ว จึงรีบออกจากโรงงาน กว่าจะถึงที่พักเกือบเที่ยงคืน คิดว่าช่วงเช้าจะรีบมาดูรายงานกับน้องวิศวกรใหม่ เพราะมีบางคำถามที่จะซักไซ้ก่อนเข้าประชุม จะรีบมาพบน้องแต่เช้า ซึ่งผู้เขียนพักที่ชลบุรี แต่ขับรถไปทำงานที่ระยองทุกวัน
ตอนเช้าวันประชุม นายชาวเกาหลี เรียกเราซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่าย QA ตั้งแต่เช้าทำให้ไม่ได้เจอกับน้องวิศวกรใหม่ เน้นแต่ว่าทำไมเมื่อวาน พนักงาน Sub-Contract ไปให้ข้อมูลคนนอกแบบนั้น ผู้เขียนบอกว่า เด็กๆเข้าใจว่าลูกค้านั้นคือ ข้าราชการ จึงพยายามดิ้นรน เพื่อให้ได้สิทธิพิจารณาปรับมาเป็นพนักงานประจำ เลยแจ้งไปว่าโรงงานมีการทำ OT เกินกำหนด มีการควงกะ นายก็ไม่ยอมจบกับเรา ให้เราบอกมาว่าพนักงาน ห้าหรือหกคนนั้นคือใคร ผู้เขียนบอกว่าขอดูรายงานประชุมวันนี้ก่อนได้ไหม
ทันใดนั้น ผู้อำนวยการโรงงานพร้อมที่ปรึกษาใหญ่ (ต้องบอกว่าใหญ่จริง) ขนาดผู้บริหารชาวเกาหลียังนอบน้อม เกรงใจท่านทุกคน
เมื่อข้อมูลโต้แย้งกันว่าไม่ตรง ฝ่ายหนึ่งผิด โดยฝ่ายผลิตยืนยันว่าตนเองถูกต้อง แต่น้องวิศวกร QA โต้แบบสวนกลับว่าฝ่ายประกันคุณภาพถูกต้อง สุดท้ายผู้อำนวยการท่านโกรธมาก หันไปถามผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ว่า วิศวกรใหม่คนนี้ เข้ามาทำงานเมื่อไรเวลาไหนที่จะถึงช่วงพิจารณาการพ้นทดลองงาน ผู้เขียนรู้ว่าท่านจะพูดคำไหนหรือคิดสิ่งใดต่อจากนั้น ติดสินใจเบรคเกมส์แบบเทนนิสทันที
ผู้จัดการฝ่าย QA ออกเสียงดังไปทันทีว่า ท่านครับ ต้องเชื่อข้อมูลฝ่าย QA ขอยืนยันว่าถูกต้อง (เพราะได้สอบถามน้องแบบเบื้องต้นช่วงกำลังทำรายงานมาบ้างแล้ว) ถ้าจะผิดตรงที่ผู้เขียนคือ ผม ไม่ได้อ่านรายงานเมื่อคืนที่ผ่านมาก่อนมาเข้าประชุมวันนี้ ขอเป็นความรับผิดชอบของผม ถ้าเกิดความผิดพลาดจริงต้องผมรับผิดชอบ
ผู้อำนวยการท่านหันกลับมา และเลิกการตวาดใส่กับวิศวกรใหม่ทันที แต่ท่านถามว่า ฝ่าย QA จะรับผิดชอบอย่างไร ผู้เขียน ก็ตอบไปว่า หลังเสร็จสิ้นการประชุมนี้ จะไปเขียนใบลาออกให้ท่านครับ
ทุกอย่างจบและเงียบสนิท เข้าใจว่า ณ เวลานั้น ท่านที่ปรึกษาใหญ่ แสดงความไม่ชอบใจอย่างมาก อาจจะส่งผลกระทบอะไรตามมาก็ไม่ทราบ
ค่ำวันนั้น นายเกาหลีฝ่าย QA ท่านกังวลกับเรื่องที่เกิดขึ้นในการประชุมของวันนี้ จึงไปตรวจสอบข้อมูลซ้ำ ท่านบอกผู้เขียนว่า ข้อมูลฝ่าย QA น่าเชื่อถือ เพียงแต่ข้อมูลบางจุดเบิ้ลคือเป็นสองเท่า แต่ของเสียแค่ปริมาณเท่าเดียว ก็มากกว่าที่ฝ่ายผลิตรายงานหลายเท่าตัว
นายและผู้บริหารเกาหลี เข้าใจแล้ว ขอให้ผู้เขียนไม่ต้องลาออก ขอให้ย้ายไปเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อชั่วคราว แต่ผู้เขียนตอบว่า คำพูดคือ นาย กล่าวแล้วไม่เปลี่ยนใจ ต้องขอลาออกและลาท่านกลับกรุงเทพฯ ลาก่อนปลวกแดง จังหวัดระยอง จากนั้นใช้ชีวิตว่างอยู่เดือนหนึ่งไปต่างจังหวัด แล้วก็กลับมาทำงานที่จังหวัดสมุทรปราการ
เหตุการณ์แบบนี้ แต่แตกต่างที่มูลเหตุและต่างโรงงาน ได้บังเกิดกับตัวเราอีก 4 ครั้ง เราเป็นคนที่รู้สึกว่า เราต้องเป็นฝ่ายลาออกไปดีกว่าจะให้ลูกน้องรับผิด ประวัติการทำงานจึงค่อนข้างลุย และเปลี่ยนงานบ่อยถึงสิบเอ็ดโรงงาน
ได้เห็นหลายแห่ง ผู้เสียผลประโยชน์อาจไม่ชอบคนใหม่ หรือคนนอกกลุ่มเข้ามาทำงานร่วม บางแห่งจะพยายามกำจัดคนใหม่ทุกคนออกไป ทำให้พวกพ้องกลุ่มเก่าเกาะกินผลประโยชน์ของโรงงาน เอาเถอะอย่าคิดมาก เห็นมามากมาย วันนี้พอเป็นวิทยากร ทุกเรื่องที่ท่านถาม ก็เห็นมาจากโรงงานต่างๆเหล่านั้น นั่นคือ ชีวิตจริงของโรงงาน
ฝากถึงน้องวิศวกรใหม่ ให้เริ่มต้นใหม่ ต้องมีสัมมาคาระวะต่อผู้อาวุโสกว่า ชีวิตยังอีกยาวนาน หากทำโรงงานต่อ ยังมีอายุงานราว 30 ปีในชีวิตโรงงาน เพราะเอกชนจะเกษียณงานอายุ 55 ปี (ราชการที่ 60 ปี)
เขียนต่อคราวหน้า