ISO31000 Risk Management/ การบริหารความเสี่ยง
E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
ช่วงนี้โรงงานเริ่มอบรมภายใน เพื่อป้องกันโควิท 19
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
Line ID: iatf16949
isoiatf@hotmail.com
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
ภาษาไทยเรียกว่า การบริหารความเสี่ยง องค์กรต่างๆคงต้องมองไปว่าโอกาสเกิดและความรุนแรงที่มาจากความผิดพลาด (Wrong) ไปจากค่าเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ (Objective) ที่ตั้งไว้นั้นจะส่งผลใดบ้าง
สนามบินนครศรีธรรมราช |
หลักการบริหารความเสี่ยง มีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ (อิงกับบล๊อคที่ 44)
(Risk Communication and Reporting)
6 ทบทวนความเสี่ยง (Risk Review) และจัดเก็บข้อมูลไว้ให้ผู้ตรวจประเมินและผู้ที่เกี่ยวข้องใช้ดำเนินการด้านความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงให้เกิดประสิทธิผลดี ควรเริ่มจาก
- แต่งตั้งทีมงาน ที่มาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดค่าเป้าหมายจากวัตถุประสงค์คุณภาพ โดยเน้นไปที่กระบวนการสำคัญก่อน หรือกระบวนการหลัก เพื่อให้เห็นว่า Quality Risk Management Process มีเรื่องใดบ้างนั้น ผู้เขียนจะทยอยเขียนบทความอธิบาย
เริ่มจากทำความเข้าใจกับข้อกำหนดของ ISO31000:2009 จะมี 5 หมวด
1 ขอบข่าย (Scope)
3 หลักการ (Principles)
4 กรอบแนวทางการปฏิบัติ (Framework)
5 กระบวนการ (Process)/ ของการบริหารความเสี่ยง
3 ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
4 โครงสร้างการดำเนินงาน
5 รูปแบบและวัฒนธรรมขององค์กร
เขื่อนศรีนครินทร์ เมืองกาญจนบุรี ภาพถ่ายช่วงน้ำมีปกติ จากนี้ไปช่วยกันประหยัดน้ำ |
ปกติจะไม่คุยเรื่องการเมือง แต่ปีนี้พบภาวะฝนแล้ง ถ้าเอาเรื่องการบริหารความเสี่ยงมามองและ
ขอช่วยกันประหยัดน้ำด้วยน่าจะดี
1 ตั้งทีมงานชัดเจน มาจากทุกฝ่าย ฝึกทำงานแบบทีม (Team Work)
2 ศึกษาหาความรู้ ให้ไปอ่าน ISO31000 ไม่บังคับแต่นิยมใช้
3 มีความรู้ด้าน Analysis Tools ง่ายมากเพราะทุกโรงงานมีใช้งานจริง
ให้ทีมงานเรียนรู้ เช่น ผังก้างปลา การวิเคราะห์แบบ SWOT หรือจะใช้ Turtle Diagram ที่มักเรียกแผนภูมิหลังเต่า จะใช้ FMEA ก็ได้ อื่นๆ
เริ่มเลย ทีมงานไปสำรวจและชี้บ่งว่า
ปัจจัยภายในมีอะไรบ้าง ค้นหามาเพื่อพิจารณา ทำให้ตรงกับความจริงของสภาพโรงงานหรือบริษัทของท่าน ไม่ให้ทำแค่ได้ใบ Certificate ไม่เกิดประโยชน์ หรือผู้ตรวจประเมินพบว่าไม่มีประสิทธิผล อาจให้เป็น CAR
สมมติโรงงานศรราม ทำชิ้นส่วนขึ้นรูปและเป็นงานที่ต้องเชื่อมประกอบส่วนต่างๆ
ปัจจัยภายใน ยกตัวอย่าง เช่น
1 เครื่องจักรที่ใช้ขึ้นรูป ผลการพิจารณา
จุดอ่อนพบว่าเครื่องจักรสมัยเก่าโน่นสิบห้าปีที่แล้ว เทคโนโลยีที่มากับเครื่องค่อนข้างล้าสมัย ขึ้นรูปต้องปรับตั้งบ่อยครั้ง ทำให้ผลิตไม่ทันแผนการผลิต
ผลกระทบสูง ถูกลูกค้าปรับเงิน หรือ ...... คิดเอง มีอะไรใส่มา
แต่ใส่มาแล้ว ต้องดำเนินการลดผลกระทบนั้นๆ ห้ามใส่มั่ว ช่วยกันคิดแบบทีม
2 วิธีการเชื่อมชิ้นงาน
จุดอ่อนพบว่าเครื่องจักรเก่าโน่นสมัยพระเจ้าเหาอย่างที่พนักงานชอบเปรียบเปรย เทคโนโลยีที่มากับเครื่องทำให้วิธีการเชื่อมใช้เวลาต่อชิ้นงานนานมาก (เทียบกับเครื่องเชื่อมรุ่นใหม่)
ผลกระทบสูง เชื่อมล่าช้า ทำให้ผลิตไม่ทันแผนการผลิต ลูกค้าไม่พอใจ ต้องเพิ่มล่วงเวลา ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง สุดท้ายถ้าเลือกซื้อเครื่องเชื่อมใหม่ ก็ไปเขียนแผน(Action Plan) หรือโปรเจ็ค จะซื้อเมื่อไร กู้เงินจากธนาคารใด ระยะเวลาเริ่มสับเปลี่ยน .........คิดเอง มีอะไรใส่มา
3 สมรรถนะด้านคน
บุคลากรขาดความสามารถ ขาดความรู้ ขาดการสื่อสารที่ดี
ขาด สาย ป่วยบ่อย .........ลองคิด Thinking มีอะไรใส่มาให้มองว่ามีผลกระทบอย่างไร จำคำว่า Impact
4 การเงิน อาจมองว่าขาดการวางแผนการเงินระยะยาว
5 วัฒนธรรมองค์กร
ไม่มีสัมมาคาระวะ ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ตรงเวลา ผลกระทบอย่างไร.........ลองคิด Thinking หากว่านายต้องการให้องค์กรมีวัฒนธรรมที่ซื่อสัตย์ ตรงเวลา มีจิตสำนึก ดำเนินการอย่างไร จัดไป ข้อนี้ชีวิตจริงยากเหมือนกันนะ ถ้าทำไม่ได้ อย่าเลือกหัวข้อนี้
เน้นว่า ความเสี่ยงแต่ละองค์กรเหมือนความเสี่ยงสุขภาพของแต่ละคน แต่ละเวลา คนละเพศ วัย ย่อมต่างกัน โรงงานก็เช่นกัน ธุรกิจคนละประเภท คน ความรู้ ความสามารถ ระบบงานมีแตกต่างกันไป ความเสี่ยงเราจึงเป็นคนเลือกเรื่องนำมาพิจารณา ไม่จำเป็นต้องพิจารณามากมายมโหฬาร ค้นหาที่กระทบและจำเป็นเท่านั้น
6, 7......องค์ความรู้ก็นำมาเป็นปัจจัยภายในได้ หรืออื่นๆหามาพิจารณา
บอกเน้นเลยว่า ปัจจัยภายใน ก็อยู่ในองค์กรเรา สั่งได้ ควบคุมได้
มีอะไรอีกบ้าง.............................ทีมงานจัดไป
แนะนำอาจใช้หลักการแบบ Balance Score Card มาใช้ก็ได้
สร้างมุมมอง เอาแต่ละปัจจัยไปพิจารณาแบบสี่มุมมอง เช่น
มุมมองที่ 1 จากกระบวนการภายใน (Internal Process)
มุมมองที่ 2 จากทรัพยากร (Resource)
มุมมองที่ 3 จากการตลาด (Marketing)
มุมมองที่ 4 จากการเงิน (Finance) ถ้าพิจารณาฐานะทางการเงินองค์กรเราแข็งแกร่ง บริษัทเรารวย ก็ไม่มีผลกระทบใดๆ เป็นความเสี่ยงต่ำ ก็ไม่ต้องดำเนินการใดเพิ่มเติม .........วางกองไว้แค่นี้ ไว้ทบทวนใหม่ หากมีผลกระทบหรือเป็นความเสี่ยงซ่อนเร้น พบใหม่ก็นำมาพิจารณาใหม่ ทำต่อเนื่องทุกปีหรืออาจทบทวนทุกหกเดือน เจอผลกระทบสูงเมื่อใด จัดการ จัดไปตามถนัดของท่าน
ปัจจัยภายนอก ยกตัวอย่าง เช่น
1 คู่แข่ง
2 เทคโนโลยี
3 กฎหมาย
4 การเมือง
5 สภาพภูมิศาสตร์
6, 7, 8......อื่นๆหามาเพื่อพิจารณา
บอกเน้นเลยว่า ปัจจัยภายนอก ก็อยู่นอกองค์กรหรือนอกโรงงาน สั่งไม่ได้ ไปบังคับไม่ได้ ควบคุมยาก พิจารณาง่ายๆเช่น คู่แข่ง ราชการหรือกฎหมาย สังคม การเมือง เศรษฐกิจของประเทศ สภาพสิ่งแวดล้อมรอบโรงงานเราสั่งไม่ได้เลย
ข้อกำหนด 4.1 นี้จึงนิยมใช้ SWOT มาพิจารณา มองหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคที่พบ โรงงานศรรามมองแล้ว พบว่าจุดอ่อนและอุปสรรค มีจึงนำมาพิจารณาหาความเสี่ยงและโอกาสเกิด ต้องทำให้บริบูรณ์เพื่อลดผลกระทบ (Impact) จุดแข็ง และโอกาสที่ดี ย่อมไม่ค่อยส่งผลกระทบ ให้มันจบไป เพราะพิจารณาแล้วมีความเสี่ยงต่ำ
ความเสี่ยง ไม่บังคับรูปแบบและวิธีการ การค้นหา การวิเคราะห์ และการประเมินความเสี่ยง (Risk Evaluation) บริบทของตัวเราเลือกเอง ทำเอง แต่ต้องทำให้ได้ ค้นหาให้เจอ แล้วทำ Risk Mitigation คือ ลด (Reduce) ควบคุม (Control) และป้องกัน (Prevent) ความเสี่ยงนั้น
ตั้งเกณฑ์พิจารณาง่ายๆแค่ สูง High ปานกลาง Medium และต่ำ Low
หรือเล่นแบบง่ายๆ ใช้ประชุมตัดสินเลยว่า สูง กลาง หรือ ต่ำ (ไม่ต้องทำแบบคิดคะแนน ให้เสียเวลา) ไปเดินตรวจแล้วตัดสินเลยก็ได้
ท่องไว้ ผลกระทบสูง ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมีมาตรการรองรับ หรือออกแผนงาน (Action Plans) ไว้ให้ผู้ตรวจประเมินจาก CBs
มาทำต่อเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Interested Parties) ตามข้อกำหนด 4.2
ทั้ง ISO9001:2015, IATF16949:2016 รวมถึง ISO14001:2015 ให้มองไปมุมสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงสูงถึงขึ้นถูกทางราชการปรับ ระงับหรือสั่งปิดโรงงาน หรือชุมชนร้องเรียน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Interested Parties) ยกตัวอย่าง เช่น
กลุ่มคนใน
1 ผู้ถือหุ้น (ถ้ามี)
2 พนักงานทุกระดับ
กลุ่มคนนอกบ้าง
1 ลูกค้า (Customers)
2 ผู้ส่งมอบ (Suppliers)
3 หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง กระทรวง กรม กอง เทศบาล อบต. อุตสาหกรรมจังหวัด หรือการนิคมอุตสาหกรรมที่โรงงานตั้งอยู่
4 สถาบันการเงิน
5, 6, 7...........................ค้นหามา
เน้น ถ้าต้องการ (Needs) มอง ณ ปัจจุบัน (Present)
ถ้าความคาดหวัง (Expectations) มองไปข้างหน้า ถึงอนาคต (Future)
ตั้งเกณฑ์พิจารณาง่ายๆแค่ สูง High ปานกลาง Medium และต่ำ Low
หรือเล่นแบบง่ายๆ ใช้ประชุมตัดสินเลยว่า สูง กลาง หรือ ต่ำ (ไม่ต้องทำแบบคิดคะแนน ให้เสียเวลา) ไปเดินตรวจแล้วตัดสินเลยก็ได้
เน้นต้องทำให้ตรงกับชีวิตจริงของแต่ละองค์กร ไม่ต้องทำแบบเวียงแห นั่นมากไป เลือกว่าความต้องการและความคาดหวังใดสำคัญ ส่งผลให้เกิดปัญหา มีผลกระทบ ถ้าสูง หรือเสี่ยงมาก ท่องไว้ ผลกระทบสูง ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมีมาตรการรองรับ หรือออกแผนงาน (Action Plans) ไว้ให้ผู้ตรวจประเมินจาก CBs เวลาถูกตรวจประเมิน ขอดูแล้วไม่มี หลัการตรวจประเมินถือว่าไม่ได้ทำ ทยอยทำและปรับปรุง ไม่โดน Major
ความเสี่ยงมี 4 ด้าน S, F, O, C เอาตามวิชาการ ดังนี้
S: Strategic Risk ดูข้อ 1 ด้านล่าง
F: Financial Risk ความเสี่ยงด้านการเงิน
O: Operation Risk ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน
C: Compliance Risk พบว่าไม่สอดคล้องกฎหมาย ไม่ได้ตามข้อตกลงกับลูกค้า
จากนั้นนำไปทำให้ตรงกับชีวิตจริงของแต่ละองค์กร
1 ท่านทำเสี่ยง ? นายเรา : Top Management ด้าน S: Strategic Risk
ผู้บริหาร รับข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก รวมถึงความต้องการ (Needs) และความคาดหวัง (Expectation) ของผู้เกี่ยวข้อง (Interested Parties)
หรือจะเรียกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากทีมงานมักเป็นระดับจัดการฝ่ายต่างๆไปสำรวจและพิจาณา นำเสนอผลรวมไปให้ผู้บริหารเพื่อนำไปกำหนด ทบทวนเกี่ยวกับทิศทางของกลยุทธ์ (Strategic Direction) ทิศทางกลยุทธ์เปลี่ยนไป ทำให้นโยบายคุณภาพเปลี่ยนตาม วัตถุประสงค์ก็เปลี่ยนด้วย ย่อมทำให้ KPI ปรับเปลี่ยนตามด้วย การปรับเปลี่ยนนี้ รวมถึงเป้าหมายเบี่ยงเบน หากพิจารณามีความเสี่ยงสูง ต้องมีมาตรการรองรับ โรงงานมักทำเป็นแผนงาน (Action Plans) หรือโครงการ (Projects)
เช่น ทิศทางกลยุทธ์ปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ ขายสินค้าแบบมีชิงโชคแจกเงินรางวัลละสิบล้านบาทแจกทุกวัน ให้ผู้ที่โชคดีถ้าถูกรางวันได้เงินสิบล้านบาท ยังใจถึงมาก ให้รวมถึงทุกคนในครอบครัว พ่อ แม่ ลูก ภรรยา สามี มีกี่คนให้ไปเที่ยวอาฟริกาบวกอเมริการหนึ่งเดือนเต็ม รางวัลแจกทุกวัน
พิจารณาแล้วมีความเสี่ยง ดังนั้นต้องมีแผนงานรองรับ ขายต้องได้ตามเป้า
มาตรการรองรับ ดังนี้
1 เพิ่มตัวแทนจำหน่ายในประเทศอีกห้าหมื่นแห่ง เดินไปไหน เจอๆๆๆ กินๆๆๆ เอาเถอะเราก็สนุก
2 ฝ่ายการตลาดเพิ่มการส่งออกมากขึ้น เคยขายแค่อาเซี่ยน ต้องเร่งส่งออกจาก 10 ประเทศ เป็นสัก 190 ประเทศ
ถ้าองค์กรเราทำได้ ไม่เสี่ยง อยากแจกก็แจกไป อาจเพิ่มแถมบ้านเดี่ยว แจกรถหรู แจกทองคำ แจก Rolex ฝังเพชรต่อไป
สรุปเรื่องนี้ เป็นของนาย ดังนั้นผู้บริหาร นำข้อมูลของบริบทองค์กรไปกำหนดทั้ง กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ (Vision) กำหนดภาระกิจ (Mission) เพื่อให้การขายทะลุเป้าหนึ่งแสนล้านบาท หากไม่ได้คงต้องเตรียมแผนฉุกเฉินเป็นคนล้มละลายจากความเสี่ยงด้าน S (Strategic Risk)
แผนฉุกเฉิน (Contingency Plans/ Action) ให้นำมาพิจารณาความเสี่ยงด้วย
โรงงานที่ทำมาตรฐาน IATF16949:2016 ให้มีการซ้อมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เลือกสักหนึ่งเรื่องจากหลายๆเรื่องที่กำหนดไว้ในแผนฉุกเฉินมาทำการซ้อม มาตรฐาน ISO9001:2015 ไม่พูดถึงการซ้อมฉุกเฉิน แต่มีหัวข้อนี้เพิ่มเติมแตกต่างจาก ISO9001:2008 จากนั้นนำไปทำให้ตรงกับชีวิตจริงของแต่ละองค์กร
2 ด้าน F: Financial Risk ความเสี่ยงด้านการเงิน
ถ้าองค์กรเข้าตลาดหลักทรัพย์ จะเป็นมหาชน ข้อนี้ต้องเน้นมากๆเลย
จะหาเวลามาอธิบายต่อไป
3 O: Operation Risk ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน
แนะง่ายๆ นำแผนควบคุม หรือ Control Plans มาพิจารณาว่าขั้นตอนใดเสี่ยงบ้าง หรือนำ Flow งาน หรือ ขั้นตอนการทำงานตาม Procedure ก็ได้ แต่อยากให้พิจารณาแบบ Process Approach
เน้นมองแต่ละกระบวนการว่า ปัจจัยนำเข้า (Input) ต้องการอะไร (Needs)
ไปเพ่งทีผลลัพธ์ออก (Output) คาดหวังจะได้อะไร เช่น ชิ้นงานตรงข้อกำหนดของลูกค้า
เน้นว่า ข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้า (CSR: Customer Specification Requirements) ต้องพิจารณาความเสี่ยงด้วย
จะหาเวลามาอธิบายต่อไปว่า กระบวนการใด ฝ่ายใดที่ทำให้ Customer Not Satisfaction และ Not Meet Quality Product ต้องนำมาพิจารณา คำนวณเป็นคะแนน ทำแบบ FMEA ต้องตั้งเกณฑ์ความเสี่ยง (Risk Criteria) กำหนดระดับความเสี่ยง (Risk Level)
ท่องไว้ ผลกระทบสูง ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมีมาตรการรองรับ หรือออกแผนงาน (Action Plans)
4 C: Compliance Risk ถ้ากระทำไม่สอดคล้องกฎหมายย่อมเสี่ยงสูง หรือไม่ได้ทำตามข้อตกลงกับลูกค้า ชิ้นงานหรือบรรจุภัณฑ์ต้อง RoHS Free หมายถึง ไม่มีสารต้องห้ามเกินปริมาณที่กำหนด ผลิตมา ส่งไปเมื่อไร หายนะมาแน่
โดนเคลม คืนแน่ๆ หรือลูกค้าไปซื้อผู้ผลิตรายอื่นแทน ต้องพิจารณาเป็นความเสี่ยงสูง ออกแผนงาน เฝ้าติดตามแผน ทบทวน สรุปรายงาน
การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง
ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com