Section : Quality Solving

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Checklists ISO 9001: 2015: Blog 51

Blog 51
Checklists ISO 9001:2015

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน




* ผู้บริหาร (Top Management) มีการผลักดันการพิจารณาความเสี่ยงโดยเฝ้าติดตามระบบบริหารคุณภาพ
ขององค์กรอย่างไร หลักฐานคืออะไร มีการพิจารณาไปถึงแผนธุรกิจด้านคุณภาพอย่างไร
* องค์กรมีการกำหนดกลยุทธ์ขึ้นมาหรือไม่
*กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์อะไรบ้าง เน้นทิศทางด้านใด
จากกลยุทธ์ส่งต่อไปยังนโยบายคุณภาพอย่างไร

*ข้อ 4.1 มีการพิจารณาปัจจัยภายใน (Internal Effect) อะไรบ้างที่มีผลกระทบ
*มีการพิจารณาปัจจัยภายนอก (External Effect) อะไรบ้างที่มีผลกระทบ
*ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรขององค์กรอย่างไร
*ดำเนินการและบริหารอย่างไร
*นำข้อจำกัดด้านทรัพยากร มาพิจารณาในการจัดทำและกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์หรือไม่ อย่างไร
*ผลกระทบกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ได้นำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรมาพิจารณาอย่างไร ทั้งการสำรวจ
ชี้บ่ง และวิเคราะห์ด้วยวิธีการอย่างไร
*การพัฒนาเป้าหมายต่างๆได้พิจารณาหัวข้ออะไรบ้าง มั่นใจหรือไม่ว่าการกำหนดกลยุทธ์สามารถ
*กำหนดทิศทาง นำพานโยบายต่างๆ ทำให้เป้าหมายได้บรรลุตามผลลัพท์ที่ตั้งใจ
*ผู้เกี่ยวข้องทั้ง ผู้ถือหุ้น พนักงานทุกระดับ ข้อตกลงกับลูกค้าทุกกรณี รวมทั้งข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีการนำมาพิจารณาอย่างครบถ้วนหรือไม่
*ได้มีการกำหนดด้านวิสัยทัศน์ พันธะกิจ คุณค่าองค์กรอะไรบ้าง (ถ้ามี)
*การเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่ส่งผลกระทบด้านระบบบริหารคุณภาพ พิจารณาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างไร
*ได้สื่อสารให้พนักงานทุกระดับและผู้เกี่ยวข้องทราบสิ่งสำคัญในแต่ละเรื่อง แต่ละระดับอย่างชัดเจนหรือไม่ มีประสิทธิผลเพียงใด

4.2 องค์กรมีกำหนดไว้อย่างชัดเจน ครบถ้วนหรือไม่ว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีใครบ้าง กลุ่มใดบ้าง
*ได้มีการพิจารณาถึงทุกกลุ่ม ทั้งด้านความต้องการและความคาดหวังครบ
ถ้วนหรือไม่
*กรณีที่มีผลต่อองค์กร ได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง
*มีจัดทำเป็นแผนงานหรือออกโปรเจ็คหรือไม่ หรือมาตรการดำเนินการอย่างไร
*ผลพิจารณาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพท์อย่างไร ขอดู
*ผลพิจารณาความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์อย่างไร ขอดู

*พิจารณาแล้ว นำไปดำเนินใดต่อ มีแผนงานหรือไม่ ถ้ามีขอดู


เกี่ยวกับนโยบายคุณภาพ อยู่ในข้อกำหนดของ ISO9001:2015 ข้อที่ 5.2
เขียนคำถามเพื่อไปตรวจประเมินภายใน (Internal Audit) เช่น
* ตรวจสอบขอบข่าย ครอบคลุมอะไรบ้าง มีกิจกรรมที่ปฏิบัติในหัวข้อที่เกี่ยวข้องจริงหรือไม่
* ตรวจสอบว่าขอบข่ายกับกิจกรรม ต้องสอดคล้องกัน  ไม่เกิน ไม่ขาด
* ให้สอบถามถึงวิธีการได้มาซึ่งนโยบาย และทำอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ
* การกระจาย (Deployed) นโยบายคุณภาพ (Quality Policy)
* การกำหนดทิศทางกลยุทธ์ (Strategic Direction) สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจ ขนาดและลักษณะหรือประเด็นความเสี่ยงหรือไม่
* นโยบายผู้บริหารมีวิธีการอย่างไรให้เข้าพนักงานทั้งองค์กรเข้าใจและมีส่วนร่วม
* พนักงานมีความตระหนักถึงนโยบายอย่างไร ประเมินผลและติดตามผลอย่างไร
* มีการทวนสอบด้านนโยบาย และผู้บริหารระดับสูงอนุมัติและพิจารณาหรือไม่อย่างไร พร้อมทั้งติดตามผลมากน้อยแค่ไหน มีความมุ่งมั่นในการที่จะปรับปรุงความเสี่ยงหรือไม่ 
(จะสร้างความมั่นใจในสิ่งที่องค์กรจะเดินหน้าต่อไปด้านนโยบาย ว่าจะช่วยบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์หรือไม่ หรือแค่ออกนโยบายแล้วก็จบกัน)
* นโยบายมีการจัดทำเป็นเอกสารแล้วหรือไม่ และได้ประกาศไปทั่วทั้งองค์กรอย่างไร
* มีการกำหนดความจำเป็นในการทบทวนนโยบาย (Policy) อย่างไร ความถี่ในการทบทวน เช่น ปีละกี่ครั้ง หรือเมื่อไร 
* ไว้ติดตามที่หน้างานด้วยว่าพนักงานได้รับรู้นโยบายมากน้อยแค่ไหน มีความเข้าใจหรือไม่ มีส่วนร่วมหรือไม่ อย่างไร
* มีการแจ้งนโยบาย (Policy) ให้กับผู้เกี่ยวข้องใดบ้าง ทั้งลูกค้า (Customers) ผู้รับเหมา(Contractors) รวมทั้งผู้รับเหมาช่วง ซัพพลายเออร์ (Suppliers) 
* มีการถ่ายทอดนโยบาย (Policy) ให้กับผู้เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิผลหรือไม่ อย่างไร
 *ผลลัพท์ที่ได้จากการกำหนดนโยบายคุณภาพหรือ Feed Back เป็นอย่างไร มีการคำเนินการต่ออย่างไรกับ

Check List เกี่ยวกับ ข้อกำหนด 5.3 เกี่ยวกับบทบาท ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่
(Roles, Responsibility and Authority) สิ่งที่ขอดูและต้องตรวจสอบ เช่น
* ผู้บริหารมีการจัดการอย่างไร เกี่ยวกับทรัพยากรที่จำเป็น ต้องมีเพียงพอ เพื่อจัดทำระบบ ปรับปรุง โดยรวมสาธารณูปโภค ความชำนาญเฉพาะด้านและเทคโนโลยี รวมทั้งการเงิน
* มีการจัดทำเอกสารบทบาท ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ (Resource, Roles, Responsibility and Authority) ของบุคคลต่างๆทุกระดับแล้วหรือยัง และได้สื่อสารออกไปชัดเจน ครบถ้วนหรือไม่ของ โครงสร้างและความรับผิดชอบ(Structure and Responsibility)ในระบบบริหารคุณภาพ
* บุคลากรทราบบทบาท ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ หรือไม่ ให้ตรวจสอบรวมไปถึงคณะทำงานด้านคุณภาพ และ Committees ด้วย
* ขอดูหลักฐานว่าผู้บริหารได้มอบหมายเกี่ยวกับตัวแทนฝ่ายบริหารสิ่งแวดล้อมแล้วอย่างไร (มักมีใบประกาศแต่งตั้ง QMR)
* QMR ได้ทำหน้าที่รณรงค์ ส่งเสริม และรักษาระบบคุรภาพอย่างไรบ้าง
* QMR มีจัดทำรายงานผล(Performance) ให้กับผู้บริหารเพื่อการปรับปรุงหรือไม่
* ตรวจสอบว่าได้ครอบคลุมความต้องการของระบบหรือไม่ เช่น ปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือตามกฎหมายหรือไม่ ปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินด้านคุณภาพมอบหมายความรับผิดชอบ หน้าที่อย่างไร
* QMR ทราบบทบาท หน้าที่ตนเองหรือไม่ มั่นใจว่าดำเนินการสอดคล้องกับระบบหรือไม่
* จากรายงานผล ผู้บริหารมีการทบทวน ติดตามข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบหรือไม่
* เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ เช่น เปลี่ยนแปลงตัว QMR มีการ Up-date ประกาศและเอกสารหรือไม่ รวมทั้งคณะกรรมการคุณภาพมีบางคนลาออกไปหรือไม่

* QMR มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตามมาตรฐานISO9001:2015 หรือไม่ อย่างไร

ช่วงนี้ผู้เขียนลงไปภาคใต้ทุกเดือนเพื่อบรรยาย ISO9001:2015, ISO14001 และ ISO/TS16949 การเดินทางไปพักที่อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา 

ยกตัวอย่างความเสี่ยง ข้อกำหนด 6.1 มาตรฐาน ISO9001:2015
การจัดระดับความเสี่ยงตามเวอร์ชั่นใหม่ ต้องมองด้านคุณภาพ

ระดับ 5 เสี่ยงที่สุด มีผลกระทบแบบมากที่สุด

ระดับ 4 เสี่ยงมาก แสดงว่าลดลงจากระดับห้า แต่ถือว่ามาก เกณฑ์ต้องชัดเจนด้วย กรณีเสี่ยงที่สุดและเสี่ยงมากมักมีผลกระทบ (Impact)

ระดับ 3 เสี่ยงปานกลาง 

ระดับ 2 เสี่ยงน้อย 

ระดับ 1 เสี่ยงน้อยที่สุด 

ก่อนหน้านี้ วันนี้วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 ผู้เขียนเดินทางมาบรรยายระบบคุณภาพที่เกาะสมุย หลังหยุดเขียนบทความไปนานพอสมควร ช่วงเย็นนี้พอมีเวลาบ้าง ขอแนะนำคำถาม เช่น


สนามบินเกาะสมุย

                                
ชายหาดเกาะสมุย มองไกลๆเห็นอ่าวผุด




มองไปตรงข้ามคือ เกาะพงัน ที่มักจัดฟูลมูนปาร์ตี้



คำถามเรื่องความเสี่ยง เป็นหัวข้อใหม่ ของข้อกำหนดเวอร์ชั่น 2015 

เทคนิคการตรวจติดตามแล้วแต่สไตร์แต่ละท่าน เริ่มจากการตั้งคำถาม เช่น
q ขอดู Risk Management Procedure (ถ้าจัดทำ)
q Risk Assessment ผลลัพธ์อย่างไร มีนัยยะแบบไหนบ้าง
q ขอดู Risk Lists  
      ถามหา Type of Risk 
      ถามหา Risk Profile
q การหาปัจจัยภายใน มีอะไรบ้าง ดูว่าหามาครบถ้วนหรือไม่
q ปัจจัยภายนอกมีอะไรบ้าง จัดทำมาครบถ้วนหรือไม่
q มีแผนงานความเสี่ยง(Risk Plans)หรือไม่ และวิธีการควบคุมทำอย่างไร
q Risk Identification ดูหลักฐานทำการสำรวจครบถ้วนหรือไม่ ชี้บ่งถูกต้องหรือไม่
q Risk Analysis ใช้วิธีการใด ถูกต้องหรือไม่
q Risk Evaluation ทำถูกต้องหรือไม่ ดู Risk Criteria หรือเกณฑ์ที่ใช้ประเมิน
q ดูเกณฑ์ High, Medium, Low กำหนดวิธีการประเมินอย่างไร
q สุ่มดูการคิดคะแนน ประเมินถูกต้องหรือไม่
q Risk Assessment Methods ใช้วิธีการใด ใช้ถูกวิธีการแค่ไหน
q ความเสี่ยงจัดการอย่างไร Risk Mitigation (Reduce, Control, Prevent)
q Treatment มีประสิทธิผลหรือไม่ เช่น Avoid, Mitigation, Accept, Sharing 
       และถามถึงเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ Risk Appetite
q Risk Remain ส่วนที่ซ่อน/ แอบแฝง จะจัดการอย่างไร
q Level of Risk แบ่งระดับความเสียงอย่างไร ใช้แบบใด ดูว่าเหมาะสมและถูกต้องหรือไม่
q Risk Remain ส่วนที่ซ่อน/ แอบแฝง จะจัดการอย่างไร
q กฎหมายที่ส่งผลกับความเสี่ยงมีหรือไม่ อย่างไร
q มีการสื่อสารความเสี่ยงอย่างไร
q ขอดูผลที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับ กิจกรรม กระบวนการ Function สินค้า
q แหล่งข้อมูลความเสี่ยง
q มีการเฝ้าระวัง (Monitoring) การ Review หรือไม่ อย่างไร
q มีการรายงาน Report Risk/ Record Risk ขอดู สุ่มดู
q มีความเสี่ยงอะไรเกิดขึ้นบ้าง ทำไมจึงเกิด
q อะไรที่มีผล (Effect) ด้านความเสี่ยง
q แหล่งความเสี่ยงและข้อมูลรวบรวมไว้อย่างไร
q โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงในอนาคต ดำเนินการอย่างไร
q Mitigation Factors มีอะไรบ้าง
q มั่นใจว่ามีการชี้บ่งความเสี่ยงได้อย่างเพียงพอ
q ขอดู Risk Treatment Plans
q มั่นใจว่าทุกฝ่ายจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่
q ขอดูผลสรุป Riskและการทบทวนใน Management Review


คำถามคงเลือกถาม ให้เหมาะสม ถามเป็นขั้นตอน มองง่ายๆความเสี่ยง มีขั้นตอนเริ่ม

ตั้งแต่ สำรวจเพื่อชี้หาความเสี่ยง Risk Identification จากนั้นทำการวิเคราะห์ Risk Analysis

แล้วจึงประเมินผล Risk Evaluation ทั้งหมดคือ Risk Assessment


ผู้เขียนจะหาเวลามาทำเพิ่มเติมต่อไป


Check List: 6.2 Objectives and Planning to Achieve them

เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนงานต่างๆด้านคุณภาพ ดังนี้

* มีการจัดตั้งเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนงานต่างๆอย่างไรบ้าง

* วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย สามารถวัดค่าได้หรือไม่ ตั้งมาสมเหตุสมผลหรือไม่

* วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย สอดรับ สอดคล้องกับนโยบายหรือไม่

* วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ขององค์กรหรือโรงงานมีความตั้งใจ ความมุ่งมั่นเพียงใด

* วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ขององค์กรหรือโรงงานมีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุง

อย่างต่อเนื่องหรือไม่

* วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ โรงงาน

ได้ทำหรือไม่ และมีความมุ่งมั่นเพียงใด

* การจัดตั้งวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ได้พิจารณาจากอะไรบ้าง เช่น

- จากกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆของลูกค้าอย่างไร

- จากลักษณะความเสี่ยงอย่างไร

- จากด้านเทคโนโลยี

- จากการเงินและด้านธุรกิจ

- หรือจากผู้ที่ส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือหุ้นบริษัท

* หลังจากออกวัตถุประสงค์ และเป้าหมายแล้ว มีการดำเนินการอย่างไร มีออกแผนหรือไม่

* แผนงานที่ออกมานั้นมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย

มากน้อยเพียงใด ดูเรื่องความรับผิดชอบและสิ่งที่ทำให้วัตถุประสงค์ และเป้าหมายบรรลุผลตาม


ที่ตั้งไว้

* ในแผนงานเหล่านั้น มีกำหนดความรับผิดชอบของทุกฝ่าย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

หรือที่อยู่ในขอบข่ายขอรับการรับรองระบบบริหารหรือไม่ และเกิดผลกระทบกับ

โรงงานหรือไม่ อย่างไร

* จากแผนงานเหล่านั้นจากทุกฝ่าย ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีระบุระยะเวลา (Time 

Frame) ผู้รับผิดชอบรวมทั้งวิธีการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย

อย่างไร เน้นว่าทุกเป้าหมาย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่ อย่างไร


* มีการทบทวนวัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างไร ความถี่ในการทบทวน ขอดู

ข้อมูลทั้งหมด

* มีการสื่อสารและเผยแพร่วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ไปยังทุกฝ่าย ทุกส่วนงานที่

เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร


เขียนต่อคราวหน้า..............

KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
ติดต่อ K.NAT K.Sun 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855 
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
http://ksthailand.blogspot.com/
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS/FSSC22000  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ        ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANTCO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต 
Copy Right, All Rights Reserved.
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง
ที่ ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com