ระบบบริหารคุณภาพ เปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างกับระบบบริหารสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act
วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว
โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1 วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี
โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ
PSM: Process Safety Management
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA
สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
New FMEA By AIAG & VDA
สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link http://safetysolving.blogspot.com/
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn Ngamprompong หรือของสุนทร
งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ สู่ "โซเชียล ไอโซ่ (Social ISO) เพื่อนแท้ที่แปลกหน้า" Q&A: คำถามและตอบปัญหา link ที่
http://quality1996-quality1996.blogspot.com/ ให้ดูจากบล๊อค Blog 17 : KS Nation Consultant Co.,Ltd.หรือ Blog ที่ 21
*************************************
ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System: QMS)
เปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างกับ
ระบบบริหารสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
(Environmental, Occupational Health and Safety Management Systems)
ISO9001:2015 Quality Management System สำหรับทั่วไปทุกอุตสาหกรรมและงานบริการ รวมถึง Trading แบบซื้อมาและขายไป ยื่นขอรับการรับรองได้หมด เรียกย่อๆว่า QMS
ISO13485:2016 Medical Device สำหรับเครื่องมือแพทย์ เรียก QMS เช่นกัน
IATF16949:2016 สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ก็เรียก QMS แต่เติม A หรือ Automotive เป็น AQMS เครื่องยนต์การเกษตร เครื่องยนต์การประมง ไม่สามารถยื่นได้ เพราะไม่ใช่อุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ให้ไปยื่น ISO9001:2015
ISO14001:2015 Environmental Management System: เรียกว่า EMS
ISO45001:2018 Occupational Health and Safety Management Systems
เรียกว่า OH&SMS ระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
Integrated Management System สามารถทำได้กับทุกมาตรฐาน ช่วยลดการเขียนเอกสารแยกกัน ระเบียบปฏิบัติ (Procedure) ใช้ร่วมกันได้อีกต่างหาก
สิ่งที่ข้อกำหนดเหมือนกัน ดังนี้
* ใช้โครงสร้าง HLS: High Level Structure มี 10 หมวด (Elements)
แต่ ISO13485 ยังใช้โครงสร้างเดิม 8 หมวด ก็ฉันยังจะใช้แบบนี้ ไปว่ากันในอนาคต ต้อง HLS แนะนำโรงงานเครื่องมือแพทย์เขียนและทำระบบแบบ 10 ข้อกำหนดรองรับไปเลย สามารถทำได้ หรือไปศึกษา
ภาคผนวก A ดูการเปรียบเทียบหัวข้อ ISO 13485:2003 กับ ISO 13485:2016
ภาคผนวก B ดูความสอดคล้องกันระหว่าง ISO 13485:2016 และ ISO 9001: 2015
* Not Require Manual คู่มือบริหาร เอกสารระดับหนึ่ง แต่ว่า
IATF16949:2016 ยังต้องมี QM เน้นไม่มีโดน CAR
แนะนำให้คงไว้หรือมีทุกมาตรฐานที่ทำ ทั้ง QM, EM, OH&SM เขียนควบรวมไปเลยเรียกอะไรก็ได้ เช่น QEOH&SM ให้เป็นคำสั่งของนายว่าให้ทุกฝ่ายทำงานอย่างไร พูดให้หรูว่าท่านให้นโยบายเชิงบริหารสำคัญท่านต้องการและคาดหวังโรงงานท่านในอนาคตอย่างไร ใส่ไป จัดไป ไม่ผิดหรอก ไหนๆก็ทำแล้ว ทำให้มันดีเลิศเลย เป็นหน้าตาขององค์กร เผื่อลูกค้าขอ ทำเป็นรูปแบบเด่นๆ ใส่ Company Profile เข้าไป ติดภาพท่านประธาน ผู้ถือหุ้น สามารถทำได้แถมใช้โฆษณาได้ด้วย
ใน Management Manual ระดับหนึ่ง ตามเวอร์ชั่นเก่าต้องมีครบสามอย่าง เฉพาะ IATF16949:2016 เพิ่มเรื่องที่ 4 CSR: Customer Specificatio Requirements แนบเข้าไปด้วยในรูป Matrix เท่านี้ก็พอ แต่เห็นใส่เข้าไปอีกทั้งๆที่ไม่ใส่ก็ได้ หรือไม่ควรใส่ เช่น แผนผังองค์กร เมตริกซ์ข้อกำหนดกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หากมีเปลี่ยนแปลง ทำให้เปลืองพลังงาน เรียกคืนกลับ แล้วสำเนาชุดใหม่ไปให้ วันๆมีแต่แก้ไขเอกสาร สร้างแต่เอกสาร โทษแต่หนูตลอดว่าช้า ในที่นี้หมายถึง DC: Document Controller เลย Turn Over บ่อย
ลองสังเกตหลายโรงงาน DC เรียนรู้ค่อนข้างมาก เก่งขึ้น อนาคตไปไกลเป็น QMR ก็เห็นมามาก หนูเป็น DC ได้หมื่นห้าค่ะ ไปเป็น QMR ได้เงินเดือนห้าหมื่นบาท ดังนี้แล้วน้องๆ DC อดทนต่อไป เดินหน้าไป ให้ถึงฝัน รอโอกาส ยิ่งหลายโรงงานผูกตำแหน่ง QA Manager ต้องเป็น QMR คุณสมบัติว่าต้องทนแรงดันพิเศษ Under Pressure หรือแปลว่าทนความกดดัน รอเลยลำแสงแห่งความหวังอยู่แค่อื่ม หลังหัวหน้าเราที่เป็นตัวแทนฝ่ายบริหารลาออก เรียกว่า โอกาสมาแล้ว เวอร์ชั่นใหม่ใน ISO ชอบใช้คำว่า โอกาสเกิด Opportunity
* Not Require MR หรือตัวแทนฝ่ายบริหาร
เวอร์ชั่นเก่ามักบังคับให้มีแค่หนึ่งคน ต้องระดับจัดการ แต่ในเวอร์ชั่นใหม่ไม่มีระบุถึง แปลว่า Not Require แต่ให้มีการมอบหมายผู้หนึ่งผู้ใด หรือหลายคนก็ได้มาดูแล หาคนที่นายท่านไว้วางใจ เลือกมาเลย กี่คนก็ได้ ระดับงานไหนก็ได้ หาที่มีฝีมือนั่นเอง ก่อนหน้านี้ใช้แบบเอาหัวหน้าสักคนมาเป็นหรือใครก็ได้ คนนั้นรู้สึกเหมือนจับได้ใบแดงเกณฑ์ทหาร เพาเวอร์ไม่มี อำนาจไม่สามารถสั่งทุกฝ่ายได้ แม้จะมีความสัมพันธ์ การจะไปผลักดันระบบ นับว่าเหนื่อยชมัด ให้เป็นข้อคิด
ไม่ก้าวล่วงนายครับ สมัยทำงานโรงงาน นายสั่งอย่างไรก็ตามนั้น..จบ
* ลด Reduce หรือไม่เขียนถึงคำว่า Documented Procedure เอกสารระดับสอง อย่าถอด QP, EP ออกเด็ดขาด มีศรีธนนชัยกำเนิดขึ้นในโรงงานแล้ว เหนื่อยมาก และ CBs ยังตรวจแบบ เขียนให้ตรงจริง ทำให้ตรงกับที่เขียน เชื่อว่าหรือมั่นใจว่า (Ensure) มีประสิทธิผล (Effectiveness) ช่วยให้สอบผ่านง่ายนั่นแหละ
* เพิ่มหมวด 4 บริบทองค์กร (Context of the Organization)
4.1 ความเข้าใจองค์กรและบริบทองค์กร
4.2 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความต้องการ
ISO13485:2016 จะหาเวลามาว่ากันอีกครั้ง มีรอบรีเพล์
* ในหมวด 5 เห็นชื่อเด่น คือ ภาวะผู้นำ Leadership ข้อย่อย 5.1
ทุกมาตรฐานเหมือนกัน
(ISO13485:2016 จะหาเวลามาว่ากันอีกครั้ง มีรอบรีเพล์)
ข้อย่อย 5.2 นโยบาย ก็เหมือนๆกันทุกมาตรฐาน
รายละเอียดจะหาเวลามาขยายความต่อไป
แต่เฉพาะ Policy ของ ISO45001:2018 มีเพิ่มความมุ่งมั่นในการกำจัดอันตรายและลดความเสี่ยง (ดูข้อกำหนดที่ 8.1.2) และมีข้อย่อย 5.4 มีเปลี่ยนแปลงเนื้อใน......
* เพิ่มเรื่อง ความเสี่ยงและโอกาสเกิดทุกมาตรฐาน หมวดที่ 6
เฉพาะ ISO45001:2018
6.1.2.3..........
* 6.2.2.......อธิบายอีกครั้ง
หมวดที่ 7 คล้ายกันมากๆ ข้อกำหนดย่อยใช้ชื่อเหมือนกัน ตั้งแต่
7.1-7.5และใช้กันได้หมด ที่ต่างกันคือ QMS มีแยกย่อยอีก จาก
7.1.1 ถึง 7.1.6 แต่ EMS และ OH&S ไม่มีเขียนไว้ ไม่ต้องสนใจ ทำ ISO9001:2015 แล้วประยุกต์มาใช้ด้วยร่วม ร่วมกัน ให้กลืนเข้าไปเป็นระบบเดียวกัน
* การควบคุมเอกสารและบันทึก ในมาตรฐานใหม่นี้ คือ 7.5 ข้อนี้เปลี่ยนชื่อเป็น Documented Information
ไว้อธิบายเพิ่ม แต่แนะนำให้เปลี่ยนชื่อตามและเดินระบบเหมือนเดิมได้เลย ไม่ต้องคิดมากในทุกมาตรฐาน แม้แต่ ISO13485:2016 สามารถล้อตามได้ ทำแบบ HLS (มีเทคนิคไว้แนะนำอีกครั้ง)
(ISO13485:2016 จะหาเวลามาว่ากันอีกครั้ง มีรอบรีเพล์)
IATF16949:2016 ภาคบังคับต้องมี QM
* ข้อกำหนดที่ 8 ตาม HLS มี 7 ข้อกำหนดย่อยของ QMS มี 8.1-8.7
แต่ EMS และ OH&SMS (ISO45001:2018) มีเพียง 8.1, 8.2 เฉพาะ ISO45001:2018
* 8.1.4.2
* 8.1.4.3 อธิบายอีกครั้ง
* ช้อกำหนดหรือหมวด 9 มีข้อกำหนดย่อย 9.1-9.3 เหมือนกันหมด
แต่ Management Review Input มีการปรับเปลี่ยน Agenda หัวข้อย่อย ที่นำเข้าทบทวน อธิบายอีกครั้ง ทุกมาตรฐาน (ISO อื่นๆ จะมาเขียนต่อ)
* เฉพาะใน ISO45001:2018
ข้อย่อย 9.3 Management Review การทบทวนของฝ่ายบริหาร
ของ OH&SMS มีเพิ่มขึ้นหนึ่งเรื่องย่อยต่างจาก OHSAS18001:2007 คือ
การเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอก ความต้องการและความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Interested Parties) รวมทั้งกฎหมาย ข้อกำหนด ความเสี่ยงและโอกาสเกิด และย้ายหัวข้อเรื่อง ความเพียงพอของทรัพยากรที่อยู่ Management Output ของ OHSAS18001 มาอยู่ใน Agenda ของ Management Input ใน ISO45001
การเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอก ความต้องการและความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Interested Parties) รวมทั้งกฎหมาย ข้อกำหนด ความเสี่ยงและโอกาสเกิด และย้ายหัวข้อเรื่อง ความเพียงพอของทรัพยากรที่อยู่ Management Output ของ OHSAS18001 มาอยู่ใน Agenda ของ Management Input ใน ISO45001
* ISO ทุกมาตรฐาน ตาม HLS ไม่มีระบุถึงคำว่า PA: Preventive Action ปฏิบัติการป้องกัน
แต่ IATF16949:2016 มีข้อกำหนดย่อย PA
ห้ามถอดออกหรือยกเลิกใบพา PA
ห้ามถอดออกหรือยกเลิกใบพา PA
มีข้อย่อย 10.3 Continual improvement
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เฉพาะใน ISO45001:2018 มีเพิ่มหัวข้อย่อยต่างจาก OHSAS18001:2007 ว่าให้จัดเก็บเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับหลักฐานการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เขียนต่อคราวหน้า.....................................................................................................
หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
ติดต่อ K.NAT K.Sun 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
ksnationconsultant@hotmail.com
isoiatf@hotmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
In-House Training: http://ksnationconsultant.blogspot.com/
http://ksthailand.blogspot.com/
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS/FSSC22000 link: http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000 link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link: http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่ http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn Ngamprompong หรือ ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANTCO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต
Copy Right, All Rights Reserved.
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง
ที่ ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com