Section : Quality Solving

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561

New FMEA AIAG & VDA 2019 Blog 60


Blog ที่ 60: New FMEA AIAG & VDA 1st Edition 2019

เครื่องมือใช้ประยุกต์ในระบบบริหารคุณภาพ
ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์
New FMEA = Failure Mode Effect Analysis  

การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ  



เปลี่ยนแปลงอะไรที่ต่างไปจาก FMEA 4 Edition AIAG


เรียกว่า FMEA AIAG & VDA 2019 First Edition มี 


Hand Book เล่มเดียวจากความร่วมมือ


ของ AIAG และ VDA (สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์


เยอรมัน) ร่วมกันร่าง


เดิมมีสองเล่มของ 4 Edition AIAG และ 4 Edition VDA


2 ฉบับเดิมเรียก Blue Book ฉบับใหม่จะเรียก Red Book


 คงจะได้


3 เปลี่ยนแบบฟอร์มใหม่ (New Forms)


4 มี  7 ขั้นตอน (Steps)


5 ปรับเปลี่ยนตารางใหม่ของค่า S, O, D


6 ยกเลิก  RPN  ใช้คำว่า AP: Action Priority แทน


7 เน้นการวิเคราะห์ความเสี่ยงเข้ามาเพิ่ม (Risk Analysis)


มี High, Medium, Low ผู้ที่อบรม ISO31000:2018 จะ


เข้าใจทันที


เริ่มต้องเข้าใจทั้ง Risk Level หรือ Priority Level


o เหตุผลการปรับเปลี่ยน



กำหนดโครงสร้างเดียวกันโดย AIAG  และ VDA

o New FMEA 1 Edition 2019 มี 7 ขั้นตอน ดังนี้


1 การวางแผนน 


Planning

2 วิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้าง Structure 


Analysis

3 วิเคราะห์เกี่ยวกับฟังค์ชั่น  Function Analysis

4 วิเคราะห์เกี่ยวกับความล้มเหลว  


Failure Analysis


ให้พิจารณาความล้มเหลวให้ครอบคลุมส่วนที่



สำคัญ

5 วิเคราะห์เกี่ยวกับความเสี่ยง  Risk Analysis

6 ดำเนินการหรือการจัดการให้เหมาะสม 


Optimization



7 Result Documentation `(Risk Communication)

โดยจัดทำ Action Priority แทน   RPN


ทุกขั้นตอน เตรียมปรับรูปแบบฟอร์ม เพื่อประยุกต์ใช้ New FMEA
ปี 2019 โรงงานที่จัดทำมาตรฐาน IATF16949:2016 คงเตรียมการอบรม 5 New Core Tools

ตัวแรกที่ต้องอบรม กล่าวกันมากมาแล้วคือ New FMEA: First Edition 2019 By AIAG & VDA ข้อมูลมีการเผยแพร่เพื่อให้ศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้งานจริง และอบรม ถามกันมากเรียก First หรือ Fifth Edition ถ้าดูที่ Red Print หรือการประกาศของ AIAG เรียกว่า 
1st Edition 2019 มาแทนที่ Fourth Edition ฉบับเดิมหรือ Blue Print
VDA ก็เยอรมัน ร่วมกับ AIAG 
บางคนเรียก New FMEA AIAG & VDA 1st Edition 2019 
ผู้สนใจหาซื้อ New Manual กดเนท พอหาซื้อกันได้
ในเมืองไทยละ ข่าวว่าติดต่อไปที่ QP ได้ มีข้อกำหนดของ IATF16949:2016 ด้วย ผู้เขียนไม่ได้รู้จักส่วนตัว ท่านที่สนใจ
สามารถติดต่อสอบถามไปโดยตรง 

New FMEA By AIAG & VDA 
ยกเลิกการระบุ RPN ที่เคยทำแบบเดิม
มองว่าใช้งานแล้วไม่เหมาะสม ไม่ตอบโจทย์
ชีวิตโรงงานเราก็รู้กัน ตัวเลข RPN นั้นเบี่ยงๆกันได้
เริ่มใช้ AP (Action Priority) แทน มองว่าดีกว่า
ก็ต้องลองนำไปประยุกต์ใช้ และปฏิบัติจริง
AP ที่ว่า ปรับเป็น High, Medium, Low และ
เงื่อนไขคะแนนจาก 10-1 กับพิจารณาร่วมกับค่า O, D
แบบฟอร์มมีการปรับเปลี่ยนใหม่ 

โรงงานจะเริ่ม New FMEA By AIAG & VDA เมื่อไร
* ไปเริ่มที่ New Project 
* หรือตามที่ตกลงกับลูกค้า 
* ถ้ายังไม่พร้อม ลองถาม CB ที่ท่านยื่นรับรอง 
* ผู้เขียนมองว่า เผื่อไว้ให้เขียนระบุเงื่อนไขการเปลี่ยนถ่าย
จัดทำแผน ระบุเวลาจะเปลี่ยนตอนไหน อย่าลืมว่าหลังปีใหม่
มีทั้งการเกษียณและการย้ายงาน ทำให้มีผลกระทบ พนักงาน
เข้ามาใหม่ยังต้องใช้เวลาเรียนรู้พอสมควร

โรงงานไปทบทวนและ Up date ที่ FMEA Manual
บางโรงงานนำเข้ามาจัดทำเป็น QP หรือ Procedure
ถือเป็นเอกสารระดับ 2 ในระบบโครงสร้างด้านเอกสาร


New FMEA
FMEA AIAG & VDA First Edition 2019 สามารถศึกษา Blog 63 (Self Learning)
จากนั้นปรับแบบฟอร์มใหม่ให้ตรงกับขั้นตอนที่ 2 ถึง 6
ขั้นตอนที่ 1  ตั้งทีม Core Tool ขึ้นมา
จากนั้นทำ Process Flow Diagram: PDF
การวิเคระห์มีในขั้นตอนที่ 2 ถึง 5
พื้นฐานเก่าที่อบรม Risk Management นำมาใช้ในขั้นตอนที่ 5
ความรู้เก่า FMEA ยังใช้ได้มากถึง 70%
ปรับตารางใหม่ กำหนดค่า S, O, D กำหนดเกณฑ์ Criteria ให้ชัดเจน
กำหนดค่า S จาก 10 - 1
กำหนดค่า O จาก 10 - 1
กำหนดค่า D จาก 10 -1
จัดลำดับความสำคัญ Action Priority: AP
พิจาราณาจากค่า Severity: S ค่า O ค่า D ทำตารางเทียบ
ค่า AP มองจากค่า Risk แบ่งเป็น H, M, L
ยกตัวอย่าง
ค่า S= 10 Very High
ค่า O= 10 Very High
ค่า D= 10 Very Low to Detect
เทียบตารางแล้วพิจารณาให้ค่า AP = H หรือ High
ค่าสูงมาก ต้องรีบดำเนินการ

ยกตัวอย่าง 7 ขั้นตอนการทำ New AIAG VDA FMEA
ขั้นตอนที่ 1: การวางแผน Planning
ผู้เขียนเอาเรื่องใกล้ตัว ขอยกตัวอย่างถุงลมนิรภัย (Airbag) 
ที่ประกอบเข้ากับรถยนต์
ส่วนถุงลมที่อยู่ในตัวหรือ Body ของทุกท่านมีเหมือนกัน 
คือ ปอด (Lung)
ถ้าทำ DFMEA: ให้เน้นว่า What is included
ทีมงาน FMEA Team จัดทำแผนงาน FMEA Plan

รถยนต์ของผู้เขียน ได้รับจดหมายจากค่ายรถยนต์ ให้นำรถเข้าเปลี่ยนถุงลมนิรภัย (Airbag) หลังซื้อมาห้าปีกว่า เป็นอันทราบว่าปัญหาเกี่ยวกับถุงลม ทำให้หลายค่ายรถยนต์เรียกรถกลับมาทำการเปลี่ยนถุงลม
ซึ่งทราบว่าผลิตมาจากโรงงานที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี รถยนต์ผู้เขียนได้เข้าศูนย์เปลี่ยนไปแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิตรถยนต์

เขียนผัง หรือ BoundaryDiagram: 
1  Input สิ่งที่ป้อนเข้าไปในระบบเป็นความจำเป็นหรือต้องการ (Needs) ในการออกแบบ เช่น สัญญาณ Signal
2 ความคาดหวังคือ อยากได้ผลลัพท์ Output คือ ถุงลมต้องตอบสนอง (Response) อย่างถูกต้อง ถูกจังหวะ
3 ส่วนกระทบ Impact เช่น สิ่งแวดล้อม อะไรบ้างที่ทำให้เกิดความรวน
ภาษาโรงงานว่า เกิดเพี้ยน
4 Control Factors มีอะไรบ้าง ทีมงานให้ระดมความคิด (Brainstorm)

ขั้นตอนที่ 2: Structure Analysis
รถยนต์เป็นสินค้า (Product)
การทำ New FMEA: 
ผู้ส่งมอบ (Supplier) จัดส่งสินค้า Deliver Product ซึ่งก็คือ 
ถุงลมนิรภัย (Airbag) ค่ายรถยนต์รับชิ้นงานนี้เพื่อนำไปประกอบ (Assembly) ว่าฟังค์ชั่นใช้งานได้หรือไม่ ซึ่งตามข้อกำหนด IATF16949 ข้อ 4.4.1.2 มองส่วนนี้เป็น Product Safety ด้วย

พิจารณาในขั้นตอนนี้
* System คือ รถยนต์ที่คนขับต้องได้รับความปลอดภัย
* Subsystem คือ ระบบถุงลมนิรภัย Airbag System
ซึ่งเกี่ยวกับสมรรถนะของสินค้า (Product Performance)
* Component หรือส่วนประกอบ ก็คือ เซนเซอร์ (Sensor) แต่ดันเซ่อขึ้นมาทำให้ผู้ใช้รถยนต์ที่สหรัฐอเมริกาเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต ปัญหาเริ่มกระจายวงกว้าง ผู้รับผิดชอบก็คงหาทางปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน รวมถึงพิจารณาความเสี่ยงและโอกาศเกิด
Goal: ตั้งเป้าหรือกำหนดจุดหมายชัดเจน ทำการทบทวนถึงโครงสร้างของระบบถุงลมนิรภัย 
(Overview  System Structure of Airbag)

ขั้นตอนที่ 3: Function Analysis
ดังนั้นในขั้นตอนนี้ ถ้าทำ New FMEA ให้พิจารณา
* ทำการทบทวน Product Function
* Customer Specification Requirements ตรงกับที่ต้องการ
* มองถึง Effect Relation
* คิดลึกๆทีมงาน ก็ Failure ความล้มเหลวจะโผล่หรือไม่ อย่างไร
ฟังค์ชั่นต้องได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล 
(Efficiency & Efectiveness)

ขั้นตอนที่ 4 Failure Analysis ของการทำ New FMEA:
นำสิ่งที่ระบุ (Identified) จากการวิเคราะห์ฟังค์ชั่นของขั้นตอนที่ 3 นำมาวิเคราะห์ถึงความล้มเหลวทั้ง 
* Failure Effects
* Failure Mode เน้นลึกๆ Potential Failure Mode
* Failure Causes ทำมาให้ครบ จัดทำ List of Failure Causes
ความล้มเหลวที่หามา เริ่มต้องมองถึงค่า S ส่งผลกระทบ ก่อให้เกิดความรุนแรงเพียงใด
กำหนดเกณฑ์ค่า S: จากคะแนน 10 - 1
จะอธิบายต่อเนื่องหรือแทรกข้อมูลให้เข้าใจมากขึ้นต่อไป

ขั้นตอนที่ 5: Risk Analysis
โรงงานเคยทำทั้ง
Current Prevention
พิจารณาค่า O
Current Detection
พิจารณาค่า D

ตอนนี้มีการตั้งเกณฑ์ หรือ Criteria: S, O, D
เปลี่ยนจาก RPN ปรับเป็นค่า AP
กำหนดระดับ หรือ Level  ในแบบฟอร์ม (New Form) 
จะมีคอลัมพ์ AP 
เพื่อใช้พิจารณา High, Medium, Low 
ยกตัวอย่าง 

AP Very High
ค่า S ช่วง 9-10  ค่า O ช่วง 6-10 ค่า D ช่วง 2-10
เมื่อพิจารณาค่า AP ตัดสินว่า Very High
เพราะว่า มองจากความไม่ปลอดภัยในผลิตภัณฑ์
ส่งผลกระทบกับข้อกำหนดของลูกค้า กฎหมาย
การให้น้ำหนักความสำคัญต้องเป็น Very High

AP High
ถ้าเป็น High ไม่ใช่ very High มองอย่างไร
ค่า S ยังช่วง 9-10  ค่า O ต่ำลงอยู่ช่วง 4-5 
ค่า D ช่วงราวๆ 7-10
เมื่อพิจารณาค่า AP ตัดสินว่าเป็น  High
เพราะว่า มองจากความไม่ปลอดภัยในผลิตภัณฑ์
ส่งผลกระทบกับข้อกำหนดของลูกค้า กฎหมายแล้ว
แต่โอกาสเกิด O เป็นปานกลาง Moderate Occ.
ค่า D บอกว่าตรวจจับพบก่อนเกิดปัญหากับลูกค้า
High Detection Rating
การให้น้ำหนักความสำคัญต้องเป็น High

AP เป็นระดับปานกลาง Medium มองอย่างไร
ค่า S อยู่ช่วง 5-8  ค่า O อยู่ช่วง 4-5 
ค่า D ช่วงราวๆ 2-4 แสดงว่าการตรวจจับพบลดลง
เมื่อพิจารณาค่า AP ตัดสินว่าเป็น  Medium
เพราะว่า มองจากความสูญเสีย Loss การลดหรือความเสื่อม
Degrade ในฟังค์ชั่นเกี่ยวกับพาหนะ (Vehicle Function)
หรือการส่งผลกระทบเกี่ยวกับการผลิต ทำให้ชลอและล่าช้า
(Manufacturing Disruption)
แต่มองโอกาสเกิด O เป็นปานกลาง Moderate Occ.
ค่า D บอกว่าตรวจจับพบก่อนเกิดปัญหากับลูกค้า
แบบ Low Detection Rating
สรุปการให้น้ำหนักให้มองหลายๆมุมมอง
ดังนั้นความสำคัญให้เป็น AP ปานกลาง Medium

AP Low
เมื่อพิจารณาค่า AP ตัดสินว่าเป็น  Low
เพราะว่า มองจากปัญหา ลักษณะข้อบกพร่องที่พบต่างๆ
หรือการส่งผลกระทบเกี่ยวกับการผลิต ทำให้ชลอและล่าช้า
(Manufacturing Disruption) ควบคู่กับโอกาสเกิด O 
เป็นปานกลาง Moderate Occurrence
ค่า D บอกว่าตรวจจับพบก่อนเกิดปัญหากับลูกค้า
แบบ Low Detection Rating
สรุปการให้น้ำหนักให้มองหลายๆมุมมองส่วนใหญ่พบค่าต่างๆว่าต่ำลง
ดังนั้นความสำคัญให้เป็น AP ที่ต่ำหรือ Low
แต่คะแนนมีพิจารณาหลายแบบ เช่น
ค่า S อยู่ช่วง 2-4, 2-10, 1
ค่า O อยู่ช่วง 4-5, 1,.... 

ค่า D อยู่ช่วง 2-4, 1,.....
รายละเอียดให้ศึกษาจาก New FMEA Manual

กรณีนี้ ผู้เขียนพิจารณาใช้รถยนต์ต่อไป หากไม่ไปรับการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยใหม่ มีความเสี่ยงสูงมาก อาจทำให้เสียชีวิต
พิจารณาค่า S ให้เท่ากับ 10
ค่า O มีโอกาสเกิดจริง
ค่า D ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วน หมายถึงผู้ส่งมอบ (Supplier)
ตรวจจับไม่ได้ชิ้นส่วนชิ้นใดมีข้อบกพร่อง
ค่ายรถยนต์ไม่รู้ถึงฟังค์ชั่นและสมรรถนะ 
(Product Performance) ของชิ้นส่วนนี้ คือ ถุงลมนิรภัย Airbag
หลังการประกอบ (Assembly)
* ให้คิดถึงว่า ทำไม (Why) จึงพบความล้มเหลว (Failure)
แล้วผลลัพท์ส่งผลหรือสำคัญเพียงใด (Consequenc Effect)

ขั้นตอนที่ 6: Optimization
ค่าที่พิจารณาจากตารางมี H, M, L
ผู้เขียนให้ค่า AP เท่ากับ H = High
จากนั้นไปดำเนินการ ของผู้เขียนเพียงแค่นำรถยนต์เข้าศูนย์บริการ รับการเปลี่ยนถุงลมนิรภัย แต่จะมั่นใจแค่ไหน คงยาก ผลจะสะท้อนกลับไปที่ค่ายรถยนต์ต้องรับผิดชอบก่อน จากนั้นปัญหานี้คงย้อนกลับไปให้ผู้ส่งมอบชิ้นงาน (Supplier) ต้องสามารถสร้างความมั่นใจ 
ลดความเสี่ยงและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิผล 
(Reduce Risk and Prevent Effectiveness) ต้องสามารถลด
ความล้มเหลวอย่างเหมาะสมกับชิ้นส่วนนี้ ซึ่งถือว่า
เป็น Product Safety

ขั้นตอนที่ 7: Result Documentation
 Evidence Record Risk Communication/ ผลลัพท์

จากนั้นให้ระบุ
* Preventive Action ให้ระบุแนวทางให้แข็งแรง ชัดเจน
* Detective Action สามารถตรวจจับได้
* Responsibility Person ให้ระบุชื่อผู้รับผิดชอบ ใครบ้าง
* Target Date กำหนดวันชัดเจน เป็น Timing Task จะได้ไม่เลื่อนแล้วก็เลื่อนออกไปเรื่อยๆ ช่วยกันทำงานเป็นทีม (Team Work) 
ลองศึกษาจากคู่มือ หรือทำการทบทวนคู่มือเดิมแล้วปรับปรุง
ทั้งระบุทั้ง Action Taken, Completely Date, อื่นๆ 

โรงงานที่ทำ IATF16949 ปี 2019 เริ่มปรับปรุง FMEA First Edition 2019 ของAIAG & VDA และถามบ่อย คาดว่าอีก 4 Core Tools คือ 
APQP, PPAP, SPC, MSA อนาคตให้ติดตามข้อมูลข่าวสาร 
ทุกอย่างย่อมมีปรับเปลี่ยน เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ  ของสุนทร    
งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน
เขียนต่อคราวหน้า ...................................................................................................................................

หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
ติดต่อ K.NAT K.Sun 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855 
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
http://ksthailand.blogspot.com/
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS/FSSC22000  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ        ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANTCO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต 
Copy Right, All Rights Reserved.
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง
ที่ ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com

BCMs Blog 59

Blog ที่ 59: BCMs

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
     New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

BCMs
ในปีนี้พบว่าโรงงานผลิตชิ้นงานรถยนต์ หรือด้าน Automotive
เหมือนจะทำ BCMs มากขึ้น เนื่องจากลูกค้าร้องขอสิ่งต่างๆต้องมีในรายการตรวจของลูกค้า หรือ Checklists นั่นคือส่วนหนึ่งของ ISO22301 นั้นเอง
เริ่มแรกให้มองที่ Incident  เน้นที่อุบัติการณ์จะเกิดทั้งอุบัติเหตุ ภัยคุกคามทำให้ไม่สามารถส่งชิ้นงานในอนาคต
มองอย่างมีระบบโดยมีแผนงาน หากเกิดขึ้นจริงต้องดำเนินการอย่างไร รวมถึงแผนงานฉุกเฉินทั้งคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
ต้องมี Financial หรือการเงินมาเกี่ยวเพราะต้องมีตั้งงบประมาณ เมื่อเกิดเหตุจะฟื้นฟูสู่สภาพเดิม ยังส่งชิ้นงานให้ลูกค้าได้ หรือลดจำนวนวันที่กระทบหยุดส่งอย่างไรบ้าง
โดยมีเงินจ้าง ใช้จ่ายต่างๆ ทั้งจ้างคนข้างนอกทำแทน จ้างรถส่งแทน จ้างคนเพิ่ม ซ่อมแซมอาคาร เครื่องจักรต่างๆใช้การเงินมาสนับสนุนเพื่อคืนสู่สภาพเดิม

เน้นการบริหารเมื่อเกิดสถานการณ์/เหตุการณ์ที่ทำให้ธุรกิจเกิดการหยุดชะงัก รวมทั้งเหตุการณ์ทางการเมือง หรือเหตุการณ์ใดๆ ที่เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด รวมถึง
* ความผิดพลาดในการทำธุรกิจ
* ความผิดพลาดในการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง
* ภัยจากธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม วาตภัย ฟ้าผ่าฯ
* รวมถึงอุบัติเหตุ/อุบัติภัยต่างๆ
โรงงานโดนน้ำท่วม บางพื้นที่เกิดแผ่นดินไหว ให้น้ำมาจัดทำแผนฉุกเฉินด้วย
ผู้บริหาร จึงกำหนดกลยุทธ์และแผนงานขึ้นมาใช้รับมือ เพื่อให้
การส่งมอบชิ้นงานหรือสินค้า ที่ส่งผลกระทบในเวลาอันสั้น และเริ่มทำการฟื้นฟูสู่สภาพเดิม

เขียนต่อคราวหน้า ........................................................................................................................................................................................................

หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"

KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
ติดต่อ K.NAT K.Sun 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855 
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
http://ksthailand.blogspot.com/
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS/FSSC22000  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ        ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANTCO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต 
Copy Right, All Rights Reserved.
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง
ที่ ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com