Section : Quality Solving

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

ระบบบริหารคุณภาพกับชิวิตจริงในโรงงาน (Blog6: เรื่องข้อกำหนด : QMS Requirement)


ระบบบริหารคุณภาพกับชิวิตจริงในโรงงาน (Blog6: เรื่องข้อกำหนด : QMS Requirement)
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 0886560247, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ โทรหา KS" 081 3029339, 088 6560247

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ช่วงนี้โรงงานเริ่มอบรมภายใน เพื่อป้องกันโควิท 19 
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
ผู้เข้าอบรมเข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
     สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
     New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                   ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018



Night Plaza, Changmai Province, Northern of Thailand

ภาพกลางคืนที่ไนท์พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณสี่ทุ่มกว่า ยังมีรถยนต์วิ่งบนท้องถนน สองข้างทางยังมีนักท่องเที่ยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาเดินซื้อสินค้าพอสมควร ช่วงนี้อาจซบเทราไปบ้าง คงเพราะเทศกาลสงกรานต์เพิ่งผ่านพ้นไปไม่กี่วัน
 ในข้อกำหนดจะพบคำว่า   QMR หมายถึง ตัวแทนฝ่ายบริหารคุณภาพ (Quality Management Representative)
โดยโรงงานขนาดใหญ่อาจแบ่งเป็นหลายโรงงานย่อย อาจใช้QMR ก็คือ QA Manager หรือ Quality Manager มารับผิดชอบดูแลระบบบริหารคุณภาพเพียงคนเดียว หรือแบ่งขอบข่ายแยกออกเป็นโรงงานย่อยของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยแต่ละโรงงานก็แต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหารขึ้นมา ต่างคนต่างรับผิดชอบ ซึ่งก็อยู่ที่ผู้บริหารตัดสินใจว่าแบบใดเหมาะสมและดีที่สุด
ให้ดูในข้อกำหนด ของมาตรฐาน ISO9001 ฉบับภาษาอังกฤษ หน้าที่ 5 ข้อ 5.5.2 ที่ Note เขียนได้ชัดเจนกว่าฉบับภาษาไทย ซึ่งระบุในหน้าที่ 4 of 15 (เปิดมาตรฐาน ISO 9001 ฉบับภาษาอังกฤษ เปรียบเทียบกับคำแปลของฉบับภาษาไทย)
Note: The responsibility of a management representative can include………ตรงอักษรสีแดงนี้ระบุชัดว่า ต้องหนึ่งคนเท่านั้น จากระดับผู้จัดการ หรือพิจารณาข้อกำหนดจากบรรทัดคำว่า
Top management shall appoint a member of organization’s management who,…..
แสดงให้เห็นว่า ต้องเป็นผู้บริหาร (Top Management) เท่านั้น ที่แต่งตั้งผู้จัดการได้เพียงหนึ่งคน มาเป็นตัวแทนฝ่ายบริหารคุณภาพ (MR) หรือManagement Representative และต้องเป็นคนในองค์กรเท่านั้น
ผู้เขียนมองว่าเจตนาของข้อกำหนดต้องการให้มีคนเดียว เพื่อการประสานงานชัดเจน บางอย่างหลายคน หลายความคิดก็ยิ่งดี แต่บางอย่างหลายคนมากความคิด ไม่ลงรอยกันสักที ที่สำคัญห้ามมีสามคนหรือสามกลุ่มเด็ดขาด ดูประวัติศาสตร์โลก เพราะว่าจะเกิดสามก๊ก

 MR ในระบบบริหารคุณภาพ คือ ตัวแทนฝ่ายบริหาร (Management Representative) ซึ่งในข้อกำหนด เรียกว่า MR  ไม่ได้ระบุว่ามีคิว : Q นำหน้า ต่อมาทำระบบบริหารสิ่งแวดล้อม และจัดทำระบบบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ทำให้มีสามระบบในบริษัท จึงมีการนำ อักษรคิว (Quality) อักษร อี E: Environmental และอักษร S (Occupational Health and Safety)หรือ OHS มานำหน้า เพื่อแยกให้ออกว่าเป็นตัวแทนระบบใด
   จะมีการแต่งตั้ง QMR, EMR, OHSMR เป็นคนละคน หรือแต่งตั้งให้หนึ่งคน เป็นตัวแทนทั้งสามระบบก็ได้
   อีกเรื่องที่จะอธิบาย ในข้อกำหนดไม่มีพูดถึงผู้ช่วยตัวแทนฝ่ายบริหาร Assistant QMR, Ast. EMR, Ast.OHSMR เลย แต่ทุกบริษัททำกันไม่ทันบ้าง MR ประชุมเยอะ จึงต้องหาตัวช่วย เพื่อให้งานลุล่วง
หัวข้อการควบคุมเอกสาร (Control of Documents) อยู่หน้าที่ 3 ของมาตรฐานฉบับภาษาอังกฤษที่ต่อไปผู้เขียนขอยึดเป็นหลัก หากท่านใดสะดวกฉบับภาษาไทย ให้เปิดเทียบที่หัวข้อแทน แต่ลำดับหน้าของเอกสารอาจไม่ตรงกัน (ภาษาไทยอยู่หน้าที่ 2)
คำว่า “Documented Procedure" ก็คือ มาตรฐานฉบับนี้บังคับต้องทำเป็นระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure นั่นเอง อ่านพบคำนี้เมื่อไร ต้องทำแน่นอน
ฉะนั้น มาตรฐานนี้ บังคับให้มี ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure  (จะไม่ทำไม่ได้) ดังนั้นตามข้อกำหนดบังคับไว้มี 6 หัวข้อ หรือ 6 เรื่องเท่านั้น ดังนี้
1ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure เรื่องการควบคุมเอกสาร
(Control of Documents) อยู่หน้าที่ 3 หัวข้อ 4.2.3
2ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure เรื่องการควบคุมบันทึก
(Control of  Records) อยู่หน้าที่ 3 หัวข้อ 4.2.4
3ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure เรื่องการตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal Quality Audit) อยู่หน้าที่  12 หัวข้อ 8.2.2
4ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure เรื่องการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Control of Nonconformity Product) อยู่หน้าที่  13 หัวข้อ 8.3
5 ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure เรื่องการปฎิบัติการแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำ (Corrective) อยู่หน้าที่ 14 หัวข้อ 8.5.2
6 ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure เรื่องการป้องกัน (Preventive) อยู่หน้าที่ ที่ 14 หัวข้อ 8.5.3
ในความเป็นจริงแล้ว ทุกบริษัท มีทำเป็นระเบียบปฎิบัติมากกว่าหกหัวข้อ บางบริษัท ทำทุกเรื่องเขียนเป็นระเบียบปฎิบัติทั้งหมด แยกย่อยจนมีระเบียบเกือบร้อยชุด อย่างนี้จะบอกว่าดีไหม ก็คงดี เพราะมีไว้ใช้งาน อย่างน้อยพนักงานใหม่ ได้ใช้อบรม หรือเวลาหัวหน้าไม่อยู่ ก็เปิดดู เพื่อให้มั่นใจว่าทำงานถูกต้องตามที่กำหนด หากมีแล้วไม่เปิดใช้งาน เก็บไว้แต่ในแฟ้ม ผู้เขียนมองว่าไม่เกิดประโยชน์ ไม่คุ้มค่ากับเวลาที่สูญเสียไป
เวลาที่ผู้ตรวจสอบจากภายนอกมาตรวจสอบ มักพบว่า ทำงานไม่ตรงกับที่เขียน หรือทำงานมากกว่าที่เขียนไว้ในระเบียบปฎิบัติ แสดงว่ากระบวนการเขียนและทบทวนระเบียบนี้ยังไม่ดีพอ ส่วนใหญ่คนเขียนไม่ใช่คนปฎิบัติ ฉะนั้นเวลาเขียน ควรเชิญผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาร่วมกันจัดทำ เขียนให้ครบข้อกำหนดก่อน จากนั้นใส่งานจริงเข้าไป คนทำงานก็ปฎิบัติจริง ตรวจอย่างไรก็พบว่าถูกต้อง
เรามักพูดกันว่าผู้ตรวจสอบ ISO 9001 มักตรวจแต่เอกสาร จริงแล้วต้องตรวจสอบทั้งคนทำงาน สถานที่ปฎิบัติงานหรือหน้างานด้วย เพื่อบอกให้ได้ว่า หน่วยงานนั้นทำงานไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดใด แต่ผู้ตรวจสอบ ไม่มีเวลามาเฝ้าเราทำงาน ตลอดเวลา แต่การที่จะประเมินว่า ทำดีหรือไม่ ก็เริ่มจากการตรวจสอบเอกสารต่างๆ อาจขอดูย้อนหลังไปสามเดือน หรือหกเดือน เพราะว่าในเอกสารบางครั้งก็สืบหาข้อบกพร่องและนำมาประเมินผลเบื้องต้นได้ 
ตามข้อกำหนดเรื่องการควบคุมเอสารนั้น มีดังนี้ (ข้อย่อย a ถึง g)
a เอกสารต้องมีการอนุมัติ ส่วนการแบ่งกลุ่มเอกสารที่จะลงนามมักลดหลั่นลงไปจากผู้บริหาร ลงมาที่ผู้จัดการ ลงมาที่หัวหน้างาน การจะให้คนๆเดียวลงนามทั้งหมดคงไม่ไหว วันๆไม่ต้องทำอะไร แค่นั่งลงนามก็หมดเวลาจะไปคิดค้นสิ่งใหม่ๆทางออกคือให้ระบุว่าเอกสารต่างๆใครทำ ใครทบทวน ท่านใดลงนามเพื่อกระจายงานออกไป (หัวข้อการควบคุมเอกสาร :Control of Documents อยู่หน้าที่ 3 ของมาตรฐานฉบับภาษาอังกฤษ)
อกสารต้องมีการอนุมัตินั้น การลงนามก็ต้องมีการพิจารณา ลงนามแล้วจะบอกว่าไม่รู้ก็ไม่ได้ แต่ว่าเคยเกิดเหตุการที่โด่งดังมากลงหนังสือพิมพ์ค่อนข้างนานมาแล้ว สมัยหนึ่ง ท่าน รมต. ท่านหนึ่ง ลงนามช่วงที่เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย ท่านพูดกับนักข่าวว่า กรมที่ดินส่งเอกสารมา ผมก็เซ็นต์ให้หมด เนื้อหาภายในไม่ทราบมีอะไร ใครส่งมาก็เซ็นต์ให้ ทำเอานักข่าวอึ้งไปตามๆกัน ถ้าสั่งก๋วยจั๊บมากิน ก็เน้นก๋วยจั๊บน้ำขุ่นๆ (ข้อความหลัง ผู้เขียน เขียนเองเพราะชอบสไตร์ท่าน ทำให้เรื่องซีเรียสมาก กลายเป็นเรื่องตลก เรื่องจบเลย แต่ในระบบคุณภาพจะไม่จบ เพราะผู้ตรวจสอบคงให้ใบ CAR กับท่าน) 
จุดประสงค์ของการควบคุมเอกสาร คือต้องการให้มีการพิจารณาเพื่ออนุมัติ จะให้หรือไม่ให้อนุมัติ ผู้ตรวจสอบไม่ว่าอะไร แต่หากไม่มีการลงชื่อในช่องอนุมัติ ถือว่าผิดข้อกำหนดข้อนี้
หากสังเกตุว่าเอกสารแต่ละใบ มักมีทั้งผู้จัดทำ จะกี่คนก็ได้ ช่องผู้ทบทวนหรือผู้ตรวจสอบจะกี่คนก็ได้ สุดท้ายคือผู้อนุมัติ จะมีกี่คน กี่ขั้นตอน  ขึ้นกับองค์กรนั้นๆ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ คนเซ็นต์ทุกคนต้องอ่านและกลั่นกรองถึงเนื้อหาและความถูกต้อง
ผู้ขียนเคยพบ บางองค์กร คนเซ็นต์จำนวนมาก เอกสารกว่าจะเซ็นต์ครบ ใช้เวลาหลายวัน หากจะซื้ออะไรที่ด่วนมากๆ คงต้องกำหนดช่องทางพิเศษ และสามารถตรวจสอบได้ มิฉะนั้น การทำงานจะไม่เกิดประสิทธิผล หากเปิดช่องทางให้ทำงานง่ายเกินไป อาจจะไม่ดีนัก เพราะว่าหากมีคนประเภทศรีธนนชัยขึ้นมา สามารถซิกแซกได้ ฉะนั้นหัวหน้าคงต้องเข้มงวด ก็เรียกว่า ร่วมด้วยช่วยกัน
บางครั้งจึงพูดลำบากมาก จะควบคุมอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ คนเรา ถ้าทำดีมีจิตสำนึก ไม่ต้องไปนั่งเฝ้า แต่ว่าคนไม่ทำอาจจะมีหลายๆเหตุผล เช่น ทำไม่เป็น หรือการสื่อสารไม่ชัดเจน  หรือไม่เข้าใจ เพราะขาดการชี้แนะ เป็นต้น จึงต้องเพิ่มการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ในหลายๆรูปแบบ
b. เอกสารต้องทบทวน ทันสมัยและอนุมัติใหม่
คำว่าทันสมัย หรือ Up-Date นั้นสำคัญ เช่น แบบ (Drawing) แก้ไขเป็นครั้งที่ 3 แต่ว่าผู้ผลิตชิ้นส่วน (Vendor) ทำให้และส่งชิ้นงานมา ยังถือฉบับที่ 2 ผลกระทบคือ ทำชิ้นงานส่งมาให้กี่ครั้ง ก็โดน IQAหรือหน่วยตรวจสอบรับเข้า ต้องปฎิเสธ หรือ Reject เสมอ
การที่จะรู้ว่าเอกสารทันสมัยนั้น ต้องมีรายการที่รวบรวมหลังจากขึ้นทะเบียนเอกสารว่าเป็นปัจจุบัน ที่นิยมเรียกว่า Master List ซึ่งจะบอกว่าเอกสารขึ้นทะเบียนหรือยัง ใครขอแก้ไข แก้ไขไปเมื่อไร กี่ครั้งแล้ว และมีผลบังคับใช้เริ่มเมื่อไร
ยกตัวอย่าง ประเทศไทย มี 76 จังหวัด หลังจาก ครม. ได้ประกาศจัดตั้งจังหวัด  บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ 77 แยกออกจากจังหวัดหนองคาย ต้องไป Up-date แผนที่ แต่อย่าเพิ่งไปซื้อแผนที่ใหม่ เพราะมีข่าวจะจัดตั้งจังหวัดที่ 78  ออกจากจังหวัดเชียงราย อาจใช้ชื่อ นครเทิง หรือ จังหวัดเทิง                 
ข้อ c เอกสารต้องมีการชี้บ่งสถานะ ยกตัวอย่างบัตรประชาชน ข้างบนจะมีหมายเลข    สิบสามหลัก ระบุชื่อ นาย/นาง/นางสาว ระบุนามสกุล  ระบุ  วันเกิด ศาสนา หมู่โลหิต ด้านล่างๆจะระบุ ที่อยู่ วันออกบัตร บัตรหมดอายุ และลงชื่อนายทะเบียน
ผู้เขียน  คิดว่าภาษาไทยดิ้นได้ และบางคำ มีความหมายว่าอย่างไร ยกตัวอย่างใกล้ตัวเรา เช่น หมา กับ สุนัข ต่างกันอย่างไร  คนกับมนุษย์ ต่างกันอย่างไร โจรกับขโมย ก็แตกต่างกันไหม
ช่วงว่างจะเข้าไปร้านหนังสือ วันก่อนไปอ่านพบว่า หมาต่างจากสุนัข คนที่เขียนหนังสือเล่มหนึ่งบอกว่า มีโรงเรียนสอนสุนัข ตอนมาใหม่ๆ ต้องเรียกว่า หมา (ขออนุญาตใช้คำตรงๆ เพื่อเข้าใจง่าย) จึงถึงบางอ๋อ ทำไมจึงเรียกแต่ สุนัขตำรวจ เพราะว่าได้รับการสอนมาแล้ว 
ส่วนโจรต่างจากขโมยตรงไหน
โจร ก็คือขโมย แต่มีการใช้อาวุธ เรียกว่า จับได้โทษหนักกว่ามาก ขโมย ไม่มีอาวุธโทษก็จะเบากว่า


วันก่อนผู้เขียนฟังข่าว ทราบว่ามหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา ที่สหรัฐอเมริกา มีหลักสูตรสอนสุนัข ระดับปริญญาตรีเรียน 3 ปี  แต่ปีนี้มีสุนัขตัวหนึ่งที่ชื่อ แซมซั่น ได้รับปริญญาเกียรตินิยม เพราะจบหลักสูตรการดูแลสุขภาพผู้ป่วยภายใน 2 ปีเท่านั้น บัณฑิตสุนัข สามารถช่วยผู้ป่วยได้ ทั้งการนำทาง การหยิบสิ่งของให้ผู้ป่วยอัมพาต สามารถเปิดประตูแล้วเอาตัวบัง ช่วยให้คนไข้ที่สูงอายุเข้าประตูได้โดยปลอดภัย และอีกสารพัดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองไม่ได้ หรือผู้สูงอายุที่ตาบอด
ข้อ d เอกสารที่ใช้งานต้องเป็นฉบับล่าสุด หรือ Up-Date  ณ จุดปฎิบัติงาน (หัวข้อการควบคุมเอกสาร :Control of Documents อยู่หน้าที่ 3 ของมาตรฐานฉบับภาษาอังกฤษ)
จากข้อกำหนดก็ไม่ได้บังคับว่า ทุกงานต้องมีคู่มือการทำงาน หรือกฎ หรือเอกสารที่ใช้ในการปฎิบัติงานทุกเรื่อง แต่งานยาก งานทางเทคนิค หรืองานที่ทำด้วยคนที่หมุนเวียนเปลี่ยนหน้าตาบ่อยๆ งานที่ทำหลายครั้งอาจทำได้ไม่เหมือนกัน หรือทำได้หลายวิธี ก็น่าจะจัดทำเป็นคู่มือการทำงานออกมา ซึ่งช่วยลดความผิดพลาด ใช้สอนงานหรือ OJT เพื่อทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะก่อนออกคู่มือต้องผ่านการทบทวน ได้วิธีการที่เหมาะสมและดีที่สุด
ส่วนคำว่า เอกสารต้องอยู่ ณ จุดปฎิบัติ คือให้สามารถใช้งานสะดวกค้นหาได้เมื่อจำเป็นต้องใช้ทำงาน อาจจะอยู่ห่างบ้าง แต่รู้ว่าอยู่ที่ใด ติดขัดหยิบใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องติดไว้ข้างกายพนักงานตลอด แต่ถ้าทำได้ยิ่งดี จะเป็นประโยชน์มากสำหรับพนักงานเข้าใหม่ หรือเกิดกรณีไม่แน่ใจ และหัวหน้างานก็ไม่อยู่ บางโรงงานที่เห็นมาก็ทำได้ดีมาก บางแห่งติดไว้บนศรีษะพนักงานทำงาน ดูอย่างกับการตากผ้าที่ซัก แถมคนงานก็ไม่ดูหรือนำมาใช้งาน ฝุ่นจับและหยากไย่เกาะ เนื้อหาไม่ตรงกับวิธีการทำงานจริง ก็เป็นสิ่งสะท้อนออกมาได้เช่นกัน
เวลาผู้ตรวจสอบมาตรวจระบบการทำงานที่โรงงาน ถ้าพนักงานทำถูกต้องทำได้คล่อง ถือว่าดี แต่หากตรวจสอบ บางครั้งพนักงานทำไม่ถูกต้อง ทำลัดขั้นตอน ผู้ตรวจสอบมักออกใบแก้ไขข้อบกพร่องให้ หลายโรงงานมักเลือกทำคู่มือ เพื่อทำการสอนงาน และให้ใช้หน้างาน ผู้ตรวจสอบมัก OK
ทำให้บางโรงงานเกรงว่าจะถูกตรวจสอบไม่ผ่าน เลยทำมันทุกเรื่อง มีคู่มือทุกอย่างมากมาย เพิ่มกฎต่างๆเต็มที่ เรียกว่าขอดูอะไร ข้ามีให้ดูหมด ที่สำคัญ มีแล้วต้องนำไปทำจริง และทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเกิดประโยชน์  
    ผู้เขียน ขอเปลี่ยนเรื่องคุยบ้าง วันนี้มาคุยเรื่องเมืองแปดริ้ว หรือฉะเชิงเทรา คำว่าแปดริ้ว มีที่มาอย่างไร เดิมเมืองแปดริ้ว มีปลาช่อนมากๆๆๆๆ (ส่วนปลาช่อนแม่ลา ปลาเผา อยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี) เพราะการมีปลาช่อนมาก จึงต้องนำไปทำตากแห้ง โดยหันออกเป็นริ้วๆ หันทีไรก็มีแปดริ้ว สุดท้ายกลายเป็นที่มาของคำว่า เมืองแปดริ้ว                                                               
เรื่อง เอกสารที่ใช้งานต้องเป็นฉบับล่าสุด หรือ Up-Date  ณ จุดปฎิบัติงาน (รายละเอียดมีอีกมาก) ขอแทรกรายการคือมีเรื่องเล่าให้ฟังสองเรื่อง ดังนี้
ข้อกำหนด 4.2.4 การควบคุมบันทึก ทำให้ถึงตายได้ ในข้อกำหนดระบุว่า การเขียนบันทึก การลงข้อมูล ต้องถูกต้อง ค้นหาง่าย ชี้บ่งชัดเจนคืออ่านออก บันทึกต้องจัดเก็บดูแลดี ถ้าปลวกขึ้น ถือว่า จบกันเลย นอกจากนี้ยังต้องมีการป้องกันการเสียหายและสูญหาย หากค้นหาเท่าไรก็ไม่พบ ก็แสดงว่าการจัดเก็บไม่ดี ไม่มีการป้องกัน ใครๆก็เข้ามาหยิบได้ สุดท้ายบันทึกต้องสามารถเรียกคืนได้ มีกำหนดระยะเวลาการจัดเก็บ กำหนดวิธีการทำลาย หลายท่านอาจสงสัยคำว่าเอกสาร(Document) กับคำว่า บันทึก(Record) เหมือนกันหรือแตกต่างกัน?
คำตอบคือ ต่างกัน โดยเอกสารคือสิ่งที่เรากำหนดสถานะให้เป็นเอกสารเช่น คู่มือ แบบ(Drawing) แบบฟอร์มเปล่าที่จะใช้งาน ส่วนบันทึกคือสิ่งที่เรากรอกหมึก หรือเขียนลงไปในแบบฟอร์มการทำงาน รวมทั้งสิ่งที่แก้ไขไปจากความจริงไม่ได้ เช่น ผลลัพท์การทดสอบต่างๆ ผลการตรวจวัดค่าน้ำเสีย ผลการตรวจวัดค่าแสงสว่าง เป็นต้น ผู้เขียนเคยเห็นมาสองบริษัท ที่มีระบบป้องกันดีมาก ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาทำงานทั้งหมด เอกสารไม่สามารถสำเนาหรือพิมพ์ออกไปจากระบบได้ จะใช้ Handy drive หรืออุปกรณ์ใดๆต่อเข้าระบบก็ไม่ได้ ต้องผ่านการควบคุมจาก IT ทั้งหมด
กลับมาเล่าต่อเรื่อง บันทึกไม่ดี ทำให้ถึงตาย ผู้เขียนหรือคุณ เวลาไปหาแพทย์ ลองมองดู จะเห็นลายมือแพทย์บางท่าน อ่านแทบไม่ออก เพราะเกรงว่าคนไข้จะไปซื้อยาเอง?    การอ่านบันทึกไม่ออก หรือแปลผิด โดยเกิดจากพยาบาลอ่านภาษาอังกฤษ  โดยคุณหมอ สั่งว่า(บันทึก)ให้ฉีดยาให้กับคนไข้ Three day per time  แต่พยาบาลอ่านว่า ต้องฉีดยาเข้าเส้นเลือดให้กับคนไข้จำนวน สามครั้งต่อวัน (Three time per day)  คนไข้ท่านนั้น ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด ภายในชั่วโมงกว่าๆ คนไข้ก็เสียชิวิต เหตุการณ์นี้เกิดที่จังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือ (ติดกับจังหวัดตาก)
  
หัวข้อการออกแบบ (Design) :
เนื่องจากกระแสละครเรื่องดอกส้มสีทอง หรือเรื่องดอกทองสีส้ม ไม่แน่ใจ เพราะไม่ได้ดู เอาเป็นว่า คุณ   เรยา จะแต่งงานกับเขาทราย และพากันมาที่บริษัทรับเหมาก่อสร้างบ้าน ต้องการให้สร้างบ้านใช้เป็นทั้งเรือนหอ และห้องสวีทแต่งงานสำหรับแขกสองพันคน 

ขั้นตอน Design Input
หลังจากได้ข้อมูลรับเข้ามาจากว่าที่บ่าวสาวทั้งสองคน ต้องการให้สร้างบ้านที่ใช้เป็นทั้งเรือนหอ และห้องสวีทแต่งงานสำหรับแขกสองพันคน ห้องแต่งงานมีรูปแบบวิมานสีทอง แขกที่มาในงานจะมีความรู้สึกเหมือนยืนอยู่ในไร่ส้ม มีความเย็นสบายราวกับยืนตามชายหาด เนื้อที่ตัวบ้านต้องรองรับแขกที่มาร่วมงานได้ทั้งหมด หลังจากตกลงกันแล้ว ทีมงานนักออกแบบต้องดำเนินการวางแผน เพื่อให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการต่อไป
เมื่อนักออกแบบ(Designer) รับข้อมูลเหล่านี้แล้ว ทำการวางแผนและนำข้อมูลไปสังเคราะห์ให้ออกมาว่า ต้องสร้างบ้านลักษณะใด ฐานรากเป็นอย่างไร ต้องแข็งแรงเป็นพิเศษโดยเสริมสิ่งใด จากนั้นแปลข้อมูลนำเข้า ให้ออกมาเชิงวิศวกรรม เขียนแบบ (Drawing) ของบ้านที่เป็นเรือนหอ สร้างบ้านขึ้นมา ปกติในการออกแบบจะสร้างบ้านตัวอย่างขึ้นมาที่เรียกว่า Prototype แต่สินค้าชิ้นนี้ คงทำแค่ชิ้นเดียว หมายความว่าหลังจากนั้นการสร้างเป็นบ้านจริงๆคือมีหลังเดียว

ขั้นตอนการทบทวน (Design Review)
จากนั้นทีมงานนักออกแบบ ไปทำทบทวน หากไม่ได้ตามการออกแบบ ให้ทำการเปลี่ยนแปลง (Design Change) ทำการแจ้งไปยังช่างและมัณฑนากร ที่เกี่ยวข้องด้วยเอกสารแจ้งการแก้ไข หรือบางที่เรียกว่า Design Note หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่องค์กรนั้นกำหนด ขอให้รู้ว่ามีการสื่อสารและแจ้งการแก้ไขแบบ(Drawing) เพื่อจัดทำฉากขึ้นมาใหม่ เปลี่ยนแปลงบริเวณริมหน้าต่างใหม่ มีการทดลองประกอบฝาบ้านใหม่ เปลี่ยนบานหน้าต่างใหม่ ทำการทาสีใหม่ แต่เมื่อนักออกแบบ(Desiner)มาดูการแก้ไข คิดว่ายังไม่น่าจะใช่ สั่งให้รื้อเวทีทำใหม่อีกครั้ง (Design Change จะทำกี่ครั้งก็ได้ จนคิดว่าใช่เลย คือ ตรงตามที่ออกแบบแล้ว) และเป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการ(คือคุณเรยาและคุณเขาทราย)
จากนั้นนักออกแบบอาจเชิญให้ผู้จัดการฝ่ายออกแบบมาทำการทบทวนอีกครั้งว่าตรงตามที่คู่บ่าวสาวต้องการถือว่าผ่านขั้นตอน Verify หากไม่ผ่านก็ต้อง Re-Verify จนกว่าจะได้ หากเป็นการออกแบบสินค้าใหม่ ช่วงนี้มักจะ แก้ แก้ แก้ และก็แก้ไข ๆๆๆ ไม่รู้กี่ครั้ง

ขั้นตอน Verify
ขณะกำลังก่อสร้างและจัดทำเรือนหอ ทำฉาก ทำเวที โดยนักออกแบบและทีมงานจากบริษัทผู้รับเหมา ทำการทบทวน หรือพิสูจน์ (Verify) ขั้นต้นว่าน่าจะได้ตามแบบที่ทั้งคุณเรยาและคุณเขาทรายกำหนดแล้ว จากนั้นการ Verify ว่าใช่หรือไม่ใช่นั้น ก็ควรไปเชิญคุณเรยากับตี๋ใหญ่มาดู สำหรับคุณเรยานั้น OK สามารถ Verify ได้ ว่าถูกใจหรือไม่ เพราะมีผลโดยตรงคือเป็นเจ้าสาว แต่คุณตี๋ใหญ่ไม่ใช่เจ้าบ่าวจะมาตัดสินใจแทนคุณเขาทรายย่อมไม่ได้ เมื่อคุณเขาทรายมาถึง บอกว่าฉากหน้าเวที สียังไม่สดใส ไม่มีความรู้สึกสว่างเรืองรอง บริเวณริมหน้าต่างบ้านด้านนอกน่าจะโอ่โถงกว่านี้ จึงขอให้แก้ไขใหม่ (Design Change)
ขั้นตอน Validation:
 เป็นการทวนสอบหรือพิสูจน์ครั้งสุดท้ายว่า เรือนหอหลังนี้ เป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการทุกอย่าง ก่อนจะปล่อยออกเป็นสินค้า ซึ่งขั้นตอนนี้ หากเป็นสินค้าที่โรงงานผลิต ก็สามารถทำการทวนสอบพิสูจน์ยืนยันว่าใช่ มักอนุมัติโดยผู้บริหารระดับสูง แต่สินค้าที่ทำเฉพาะจากลูกค้า คนที่จะ Validate สุดท้าย แน่นอนต้องเป็นคุณเรยาและเขาทราย ตี๋ใหญ่ไม่ต้องมา เพราะมาก็ช่วยอะไรไม่ได้ หากลูกค้าดูแล้ว ไม่ผ่าน ต้องกลับไปทำการ Re-Verify ใหม่ เสียหายมากๆ ฉะนั้นในขั้นตอน Design Change ต้องทำให้ได้ ตามที่ออกแบบ(Design)และให้ตรงใจกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ (Specification and Needs) หากคราวนี้คุณเขาทรายไม่ OK อีก ให้คุณตี๋ใหญ่ไปตามคุณสามารถ มาคุยกับคุณเขาทราย หมายความว่า บางครั้งโรงงานออกแบบสินค้ามาแล้ว จะให้ลูกค้ามาร่วมด้วยคงยาก แต่อาจให้ตัวแทนความต้องการของลูกค้ามาให้ความเห็น ร่วมพิจารณา ซึ่งก็คือฝ่ายขาย แต่ครั้งนี้ไม่ต้อง เพราะคู่บ่าวสาวเท่านั้นที่จะตอบได้ว่า ใช่หรือไม่ เอาหรือไม่เอา สุดท้ายทั้งคุณเรยาและคุณเขาทราย บอกว่า ใช่เลย ตรงกับที่ต้องการทุกประการ
ขั้นตอน Design Output
ขั้นตอนสดท้ายหลังจากคุณเรยาและคุณเขาทรายได้ Validate แล้ว เข้าสู่ขั้นทำออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็คือสินค้า โดยที่ทำเพียงชิ้นเดียว คือบ้านทั้งหลังที่ใช้เป็นทั้งบ้านและเรือนหอ
จากนั้น ส่งมอบตามสัญญา จบขั้นตอนการออกแบบ หากเป็นเรื่องการพัฒนา (Development)
ใช้หลักการเดียวกัน 
ส่วนคำว่า Major Change หมายความว่าออกแบบใหม่ทั้งหมด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยทำมาก่อน หรือเปลี่ยนโครงสร้างสำคัญทั้งหมด ส่วนคำว่า Minor Change หมายความว่า สินค้านั้นเคยทำมาแล้ว มีการปรับใหม่บางส่วน หรือแก้ไขปรับโฉมบางส่วนเท่านั้น เช่นรถยนต์ขนาด 1500 ซีซี ช่วงแรกค่ายโตโยต้าออก Vios ค่ายฮอนด้าออกรุ่น City ฉะนั้นการออกแบบครั้งแรกเป็น Major Change หลายปีผ่านมาทั้งสองค่ายมีการปรับที่เรียกว่า Minor Change หลายต่อหลายครั้ง

พูดถึงเรืองการ Validation ผู้เขียน นึกถึงครั้งหนึ่งสมัยทำงานกับชาวญี่ปุ่น เวลาให้แปลว่าระบบงานหรือISO ให้ทำอย่างไร น้องล่ามแปลทีไร น้องวิศวกร หัวหน้างานจะโดนบ่นเสมอ ต่อมาหัวหน้างานไปตามให้พี่ล่ามมาแปล ไม่มีปัญหาเลย อาจเป็นว่าน้องล่ามเพิ่งจบมาใหม่ ศัพท์เทคนิค ศัพท์ ISO ยังไม่รู้ และไม่คล่อง 
ต่อมาผู้เขียนไปอยู่โรงงานอีกแห่ง ก็พยายามประคับประคองไม่ให้เกิดปัญหาเรื่อง เลือดข้นกว่าน้ำ หรือการสื่อสารตรงกันกับที่เราคิดจะสื่อหรือไม่ 
วันหนึ่งผู้บริหารเดินหรี่มาหาผู้เขียน สายตาดูซีเรียสมากเข้าใจว่าว่าเราปล่อยผ่านขั้นตอนการ Validation โดยที่แม่พิมพ์ยังไม่ได้มีการทวนสอบและรับรอง แต่มีการเดินเครื่องจักรและใช้แม่พิมพ์นั้นผลิตชิ้นงานขึ้นมาโดยไม่ได้รับการอนุมัติตามขั้นตอนการออกแบบตามระบบการทำงานคือ ISO9001 ท่านคิดว่าเราพูดเท็จ ผู้เขียนเลยให้ถามกันโดยตรงต่อหน้า สุดท้ายกลายเป็นว่าคนของท่านพูดเท็จ และฝ่ายผลิตที่ท่านกำกับดูแล เป็นผู้ฝ่าฝืนกฎและทำมาหลายครั้ง หลังท่านทราบความจริง ท่านก็เดินจากไปแบบเงียบๆ ทำให้ผู้เขียนนึกถึงเจ้านายเก่า และได้แต่รำพึงรำพันในใจว่า ผลประโยชน์ย่อมอยู่เหนือสิ่งอื่นใด และพนักงานฝ่าย QA มีความกดดันสูง เพราะหากว่าทำงานพลาดพลั้ง หรือเกิดความผิดพลาด จะถูกลงโทษทันที แนวทางแก้ไข ต้องให้ระบบบริหารคุณภาพเกิดขึ้นเต็มตัว และสร้างจิตสำนึกในการทำงานอย่างต่อเนื่องกับผู้ที่ชอบฝ่าฝืนกฎและระเบียบการปฏิบัติงาน (Procedure)

วันก่อนพบกับเพื่อน อ่านบทความถามว่า ไประบุพนักงานบางท่านเป็นศรีธนญชัย นั้น ใจจริงไม่ได้คิดไปว่าน้องๆ แต่ขอใช้คำจำแนกกลุ่ม เพื่อให้เห็นบุคลิค จะว่าไปแล้วบรรดาศรีธนญชัย จะเป็นสีสรรของโรงงาน ยามปกติ ก็ชอบรบกับหน่วยงาน ISO เพราะถูกน้อง ISO ตามงานบ้าง ทวงเอกสารบ้าง สุดท้ายก็ทำให้ บ่อยครั้งชอบขอผลัดผ่อนไปก่อน ก็ไม่ว่ากัน แต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้ตรวจสอบจากภายนอก (Auditor จาก CB) มาตรวจโรงงาน พวกศรีธนญชัย นี่แหละจะเป็นตัวล่อตัวชนกับผู้ตรวจสอบ สร้างความสนุกเฮฮาในระหว่างการตรวจสอบ ฉะนั้นทำ ISO ขอให้เหมือนกับเรารับประทานข้าวทุกวัน ไม่ใช่ไปกินแบบบุฟเฟ่หมูกะทะ ขอให้ทำต่อเนื่อง ผู้ตรวจสอบจะมาเมื่อใดก็ได้ ทุกฝ่ายพร้อมเสมอ

สมบัติของลูกค้า (Customer Property) อยู่ข้อกำหนดที่ 7.5.4
ยกตัวอย่างง่ายๆ ลูกค้ามาจ้างโรงงานทำสินค้า โดยเอาวัสดุ กล่อง หรือบรรจุภัณฑ์มาให้โรงงาน สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสมบัติของลูกค้า ต้องได้รับการดูแล รักษา สื่อสารให้ทราบว่ามีจำนวนเท่าไร ชำรุดเสียหายหรือไม่ หากผู้ตรวจสอบมาพบว่า ขาดการดูแล เอาใจใส่ เอาสิ่งของ ของลูกค้าไปวางข้างนอกโดนแดดโดนฝน ถือว่าบกพร่ิองได้ เท่าที่พบ หลายโรงงานมักเขียนระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับสมบัติของลูกค้าว่า ให้ทำเฉกเช่นระเบียบปฏิบัติของโรงงาน

ขอยกตัวอย่างด้านโรงแรมเอาประเภทห้าดาว (ส่วนไก่ย่าง ไปหาซื้อข้างโรงแรม เพราะมีทั่วไปในรัศมีสองถึงสามกิโลเมตร ไม่พบไก่ย่างห้าดาว ก็มักพบข้าวมันไก่ห้าดาว) 
ผู้เขียน ขออธิบายว่า โรงแรม(Hotel) สามารถขอรับรอง ISO9001 ด้านบริการ(Servicing) ฉะนั้นเวลาเราไปพักโรงแรม นึกอยากจะว่ายน้ำในสระของโรงแรม สิ่งที่เรานำติดตัวมา เช่น แหวน สร้อย นาฬิกา โทรศัพท์มือถือ ตาทข้อกำหนดของ ISO 9001 นับว่าเป็นสมบัติของลูกค้า ฉะนั้นการให้บริการตู้เซฟนิรภัยของทางโรงแรม เพื่อต้องการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไม่ให้สูญหายนั่นเอง

ผู้เขียนเคยอ่านข่าว ศาลตัดสินว่ารถยนต์ที่ลูกค้ามาใช้บริการของโรงแรม หากสูญหายในพื้นที่โรงแรม ถือว่าอยู่ในความรับผิดชอบของโรงแรม ต้องรับผิดชอบและชดใช้ แม้ว่าโรงแรมจะติดป้ายประกาศว่า ให้จอดรถยนต์ได้ แต่ไม่ใช่การรับฝาก หากชำรุดเสียหายและสูญหาย ทางโรงแรมจะไม่รับผิดชอบใดๆ
ในทรัพย์สินของลูกค้าหาได้ไม่ คือ ต้องรับผิดชอบเต็มๆ กรณีแบบนี้ คิดว่าน่าจะใช้กับห้างสรรพสินค้าได้ในแนวทางเดียวกัน เพราะเราเป็นลูกค้า เข้ามาใช้บริการ สมบัติของลูกค้าต้องได้รับการดูแลด้วย ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ห้างสรรพสินค้ามียื่นขอรับการรับรอง ISO หรือไม่ แต่ศูนย์บริการรถยนต์มีได้รับการรับรอง ISO 9001 และ ISO14001 การที่จะรู้ว่าหน่วยงานใดได้รับการรับรองISO หรือไม่ คงต้องตรวจสอบกับทาง Certification Body ซึ่งเมืองไทยมีมากมายกว่าสามสิบบริษัท เท่าที่ทราบ ที่ประเทศสิงคโปร์ต้องแจ้งเรื่องการได้รับรองมาที่หน่วยงานของรัฐ ทำให้สามารถสืบค้นได้ง่ายและจากแหล่งเดียว

อีกเรื่อง ตามตลาดสด มักจะพบเห็นทีวีถ่ายทอดสดการชกมวย หรือที่เราเรียกว่ามวยตู้ มีคนดูมากๆ สิ่งที่ตามมาคือเล่นพนันมวย เวลาตำรวจบุกจับมักยึดทีวีไปด้วย เดือดร้อนแม่ค้าอดดูละคร กรณีแบบนี้มีคำพิพากษาแล้วว่า คนเท่านั้นที่เล่นพนันมวยตู้ แต่ทีวีไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการพนัน ตำรวจไม่สามารถยึดทีวี แม่ค้าทวงคืนได้ครับ คงต้องไปคัดลอกคำฎีกาของศาลมาเป็นสิ่งอ้างอิง แต่สิ่งที่ดีที่สุด คือไม่ต้องไปเล่นการพนัน
ISO9001 ต้องการให้เขียนเป็น Quality Procedure(QP)
     วันนี้ผู้เขียนจะกล่าวต่อว่า ตามข้อกำหนดที่ระบุว่า Documented Procedure หมายความว่า โรงงานหรือองค์กรต้องจัดทำเป็นระเบียบปฎิบัติ (QP หรือ Quality Procedure ตามที่อธิบายข้างบน มีข้อกำหนดที่ 4.2.3, 4.2.4, 8.2.2, 8.3, 8.5.2, 8.5.3) และบันทึก (Record) มี 20 เรื่อง  พอสรุปว่า ISO9001:2008 ข้อกำหนดที่ระบุว่าต้องมี Record (ไม่ต้องเขียนเป็น Documented Procedure ) หรือ QP แต่ต้องมีบันทึกเป็นหลักฐานให้ตรวจสอบ คือ
ข้อกำหนดที่ 5.6.1 เกี่ยวกับ Management Review เวลาผู้ตรวจสอบขอดูหลักฐาน โรงงานก็จะโชว์ บันทึกการประชุมงานบริหารคุณภาพ (Management Review Minute หรือ Report) ให้ดูว่ามีการปฎิบัติสอดคล้องกับข้อกำหนดจริง
ข้อกำหนดที่ 6.2.2 e หลักฐานที่จะให้ผู้ตรวจสอบดูว่ามีบันทึก เช่น บันทึกประวัติพนักงาน บันทึกการฝึกอบรม แผนการฝึกอบรม

ข้อกำหนดที่ 7.1d เช่น แผนงานด้านคุณภาพ หรือ Project หรือ Contract ที่อ้างอิงกับแผนคุณภาพ
(Quality Plans)
ข้อกำหนดที่ 7.2.2 เช่นสัญญาการขายต่างๆ รวมทั้งการแก้ไข การทบทวนสัญญาต่างๆ
ข้อกำหนดที่ 7.3.2 เช่นข้อกำหนดของลูกค้า (Specification) ข้อมูลต่างๆที่เข้าสู่ Design Input มีทั้งข้อมูลจากฝ่ายขาย จากลูกค้าเคลม จากผู้บริหารต้องการให้ Design และ Development
ข้อกำหนดที่ 7.3.4 เช่นจากรายงานการประชุมทบทวนการออกแบบและพัฒนา
ข้อกำหนดที่ 7.3.5 เช่น บันทึกแผนงานการออกแบบ แผนงานการทดสอบในการออกแบบของ New Product  หรือบันทึกผลการ Verify
ข้อกำหนดที่ 7.3.6 เช่น บันทึกผลการ Validation รายงานผลการทดสอบที่เกี่ยวข้อง
ข้อกำหนดที่ 7.3.7เช่นบันทึกหรือรายงานการเปลี่ยนแปลง(Design Change)
ข้อกำหนดที่ 7.4.1 เช่น ผลการประเมิน Suppliers, ASL
ข้อกำหนดที่ 7.5.2.เช่น บันทึกการรับรองผลที่เกี่ยวกับกระบวนการพิเศษต่างๆ (การชุบ การพ่นสี การเชื่อม(Welding or Soldering))
ข้อกำหนดที่ 7.5.3 เช่น การชี่บ่งและสอบกลับที่ีพบในระบบงานให้ต้องรักษาคือ มีแสดงทุกจุดที่ต้องมีอย่างชัดเจน Serial Number ถือว่าเป็นสิ่งที่สอบกลับได้(Traceability)
ข้อกำหนดที่ 7.5.4 บันทึกที่แจ้งลูกค้าเกี่ยวกับทรัพย์สินเสียหายหรือสูญหาย
ข้อกำหนดที่ 7.6 เช่น บันทึกผลการสอบเทียบภายใน ใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดจากภายนอก(Calibration Certificate)
ข้อกำหนดที่ 7.6.a บันทึกผลการ Calibrate หรือ Verify ที่อ้างอิงมาตรฐานระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ หรือใช้ความรู้จัดทำขึ้นมาหากไม่มีมาตรฐานมารองรับ
ข้อกำหนดที่ 8.2.2 เช่น IA Plans, Internal Audit Report, IA Check List, CAR, Log CAR
ข้อกำหนดที่ 8.2.4 เช่น ใบอนุมัติให้ปล่อยสินค้า(Release of Product)
ข้อกำหนดที่ 8.3 เช่น ใบ NCR
ข้อกำหนดที่ 8.5.2 เช่น ใบ CAR
ข้อกำหนดที่ 8.5.3 เช่น ใบ PAR

ผู้เขียนทำในอดีต คือเขียน QM, Procedure, Check List, CAR  ตัวอย่างไว้ในหนังสือชื่อ แนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องในระบบคุณภาพ ที่เขียนไว้เมื่อปี พ.ศ. 2539 (คศ.1996) หมายเลข ISBN 974-634-405-6  จำนวน 130 หน้า สามารถนำมาศึกษาได้เช่นกัน

เขียนต่อคราวหน้า 
  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น