Section : Quality Solving

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความเสี่ยงและโอกาส (Risk and Opportunity) ISO9001 Version 2015 & IATF16949:2016 : Blog 44

Blog 44 Risk and Opportunity: 
QMS VS AQMS
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา" 
081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ช่วงนี้โรงงานเริ่มอบรมภายใน เพื่อป้องกันโควิท 19 
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF 
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
กรณีผู้เข้าอบรมจำนวน 30-40 ท่านขึ้นไป ควรจัดระยะห่าง มีเจลล้างมือ ใส่แมสตลอด
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
Mobile: 0813029339, 081 6493828   Line ID: iatf16949

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
     สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.   
New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

ความเสี่ยงและโอกาส (Risk and Opportunity)
ความเสี่ยง Risk หมายถึง ผลของความไม่แน่นอนที่กระทบต่อการดำเนินงานเบี่ยงเบนจากค่าเป้าหมาย หรือไม่บรรลุวัตถุประสงค์ หรือเกิดจากการถูกเบี่ยงเบนไปจากค่าที่คาดหวัง เป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เกิดความสูญเสียเวลา ชื่อเสียง และการเงิน อ่านบทความช่วงท้ายบล๊อค และอิงกับบล๊อคที่ 49

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 081 6493828, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ  http://sites.google.com/site/isosiamtraining/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com

บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                      ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018

ความเสี่ยงและโอกาส (Risk and Opportunity): Blog 44
การประเมินความเสี่ยงตามข้อกำหนด 6.1 ของเวอร์ชั่นปี 2015 ระบบบริหารคุณภาพ ISO9001
วิธีการบริหารความเสี่ยง ถ้าพบว่าสูง หรือมีนัยยะ ต้องออกแผนงงาน
วิธีการเกี่ยวกับ Risk และ Opportunities  จะอธิบายอีกครั้ง

ISO เกี่ยวพันกับงานจัดซื้อ บัญชีและการเงินอย่างไร และยังเกี่ยวกับทุกฝ่ายด้วยอย่างไร
เริ่มจากการจัดซื้อวัตถุดิบที่ดี จึงจะผลิตสินค้าที่ดี ISO จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับงานจัดซื้อ ส่วนงานบัญชีและการเงิน มักถูกระบุอยู่นอกขอบข่าย ISO9001 เว้นแต่องค์กร ต้องการให้เข้ามาในระบบ เริ่มพบเห็นในโรงงานญี่ปุ่นขนาดเล็ก เพราะต้องการให้พนักงานบัญชีและการเงิน เข้ามาเป็นผู้ตรวจติดตามภายในของระบบบริหารคุณภาพ

การประเมินความเสี่ยงกับ ISO9001: 2015 กับ IATF16949:2016 ก็คือ เรื่องเดียวกัน

จากรูปภาพด้านล่าง การปีนมองดูง่าย ปฏิบัติก็ง่ายจริง มองอย่างไรก็ไม่มีความเสี่ยง อย่างนี้ถือว่า ความเสี่ยงต่ำ โอกาสเกิดอุบัติเหตุ เช่น แขนหัก มีโอกาสต่ำมากๆ
บางสถานที่จะมีฐานนอก อาจใช้ครูฝึกจากค่ายทหารมาร่วมเป็นวิทยากร

สิ่งที่จะเล่าให้ฟังเป็นประสบการณ์ชีวิต คือ การจัดงานแบบกิจกรรมบางอย่าง ไปใช้พื้นที่นอกโรงงาน เพื่อให้พนักงานมีประสบการณ์ภายนอก เช่น กิจกรรม Walk Rally เพื่อสร้างความสัคคีในองค์กร ประสบการณ์นั้นสำคัญ เช่นดูรายการที่มีประโยชน์ เช่น กบนอกกะลา 

การจัดกิจกรรมนอกสถานที่ มีทั้งกำไรและขาดทุน มีพนักงานบัญชีรายหนึ่งพูดว่า ประเมินแล้วการจัดกิจกรรมต้องมีกำไร ห้าหมื่นแปดพันบาท  คิดค่าวิทยากรให้สองหมื่นห้าพันบาท ขอให้ลดจำนวนเงินที่ค้างจ่ายงวดที่สองลงอีกสองหมื่นห้าพันบาท คนรับงานกับฝ่ายบัญชี และฝ่ายจัดซื้อขององค์กรนั้น จะกลายเป็นความเสี่ยงทันที หากขาดทุนจะขอเพิ่ม ก็คงไม่ได้ 

ที่โรงงานแห่งนั้น ช่วงวันหยุดสงกรานต์ปี 2541 ให้ขอคนมาทำงานวันหยุดยาว ไม่มีใครยอมมาทำ พนักงานร้องขอต้องได้สามแรงจึงจะมาทำให้ เหตุการณ์ครั้งนั้นผู้จัดการโรงงานอนุญาตให้ทำแต่ท่านหมายถึงให้สองแรงรวมกับค่าตอบแทนปกติถือเป็นสามแรง แต่พนักงานหมายถึงสามแรงต่างหาก ผู้เขียนรับผิดชอบอยู่ดูแลโรงงาน เข้าใจว่าสองฝ่ายตกลงตรงกันแล้ว พนักงานขอให้รับรองว่าต้องได้สามแรง 
ผู้เขียนตอบว่า ขอรับรองทุกคนได้สามแรงแนหลังสงกรานต์จึงทราบว่า ที่คุยกันนั้นคนละมุม สุดท้ายเพื่อรักษาสัจจะวาจา ผู้เขียนเรียกพนักงานประมาณร่วมร้อยคน มารับค่าแรงอีกหนึ่งแรงที่เหลือเพราะบริษัทไม่ได้จ่ายให้ พนักงานถามว่าถ้าเป็นเงินของรองผู้จัดการโรงงาน พวกเขาไม่ขอรับ ผู้เขียนตัดสินใจบอกว่าเป็นเงินของบริษัท สำนักงานใหญ่ที่สีลมส่งมาให้ต่างหาก และจ่ายให้ครบทุกคนทั้งที่เป็นเงินส่วนตัวของผู้เขียน โดยไม่บอกผู้จัดการโรงงานรู้ ไม่อยากให้ท่านไม่สบายใจ ท่านเป็นคนตรง เหมือนหลงจู๊บริหารโรงงานแต่การศึกษาท่านไม่สูง เป็นคนมีความสามารถ ผู้เขียนยังยอมรับท่านทั้งใจ ให้ความนับถือ ท่านก็มอบอำนาจ ให้ผู้เขียนกำกับโรงงานฝ่ายหลักได้เต็มที่ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายวิศวกรรม และฝ่ายประกันคุณภาพ ทำงานร่วมกันดีมาก แถมใครแหลมหรือฟาล์ว พี่ที่เป็นผู้จัดการโรงงาน จะหวดซ้ำ แต่อย่างว่าคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จบปริญญาโท มักไม่เข้าใจผู้จัดการโรงงาน มักกล่าวว่า ทำไมคุยกันกับผู้จัดการโรงงานไม่ค่อยรู้เรื่อง แล้วทำไมผู้เขียนจึงคุยได้ เหตุผลคือ ต้องตั้งใจฟัง และอดทนในการฟังเวลาทำงานกับท่าน หรือกับพนักงานปฎิบัติการ ผสมผสานทั้งพระเดชและพระคุณ เพราะว่าผู้จัดการรุ่นใหม่ และพนักงานวัยรุ่นก้าวสู่ระบบดิจิตอล ส่วนท่านกับผู้เขียนยังเป็นอนาลอค หรือคนรุ่นเก่า ความคิด มุมมอง มักแตกต่างกันพอสมควร

สมัยเด็ก ผู้เขียนใช้ชีวิตกับคุณพ่อ เดินทางเร่ขายเสื้อผ้าแบกะดินบ้าง ตามแผงลอยบ้าง คุณพ่อจะสอนเราว่า การรักษาคำพูดนั้นสำคัญที่สุด ภาพที่เห็น คุณพ่อ ถกเถียงกับเถ้าแก่ ที่มาส่งของ/เสื้อผ้า เรื่องเงินไม่กี่บาท ยังไม่ยอมกัน เพราะกำลังตกลงการค้าขาย หลังจากตกลงแล้ว สั่งของเท่าไรก็เท่านั้น สองท่านนั่งดื่มน้ำชาและข้าวต้ม คุณพ่อเลี้ยงเถ้าแก่หมดไปหลายสิบบาท กลับยิ้มแย้ม ท่านบอกว่านั่นคือ ความนับถือ 

ครั้งหนึ่งผู้เขียนเดินทางจากอำเภอท่าตะโก มายังจังหวัดนครสวรรค์ รถโดยสารหมด คืนนี้กลับบ้านไม่ได้ นึกถึงคุณพ่อบอกให้ไปบ้านเถ้าแก่ที่นครสวรรค์ ซึ่งเป็นร้านค้าส่งผ้ารายใหญ่ เถ้าแก่ท่านเลี้ยงข้าวและให้ที่พักเราอย่างเต็มที่ มูลค่ามากกว่าคุณพ่อเลี้ยงท่านเสียอีก นั่นเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2513 นับแล้ว 44 ปีที่ผ่านมายังอยู่ในความทรงจำว่า ธุรกิจต้องมีจริยธรรม
สัจจะสำคัญที่สุด 

ผู้เขียนทราบจากผู้บริหารท่านหนึ่ง มีจัดซื้อคนหนึ่งของลูกค้า ทุจริตต่อหน้าที่ ไปติดตามงานที่ผู้ส่งมอบหรือซัพพลายเออร์ (Supplier) เรียกรับเงิน หากไม่ให้ ทำการย้ายแม่พิมพ์ฉีดชิ้นงานออก สุดท้ายฝ่ายบุคคลของโรงงานลูกค้า สามารถรวบรวมหลักฐานการทุจริตได้ และให้ออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าตอบแทน

ผู้เขียนมีเพื่อนและน้องๆเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หลายคนพูดตรงกัน ตำแหน่งนี้มีคุณมีโทษ มีผู้ส่งมอบหรือซัพพลายเออร์ (Supplier) นำของขวัญมาให้วันเกิดบ้าง ส่งตรงถึงบ้านหลังรับไปแล้วเกิดกังวลใจว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ ยิ่งพบเรื่องว่า อีกโรงงานมีการตกเบ็ด หมายความว่า มีการให้สินบนต่อพนักงานจัดซื้อ พอรับไปแล้ว กลายเป็นว่าบริษัทของตนเอง ใช้เป็นวิธีตรวจสอบความโปร่งใสของคนฝ่ายจัดซื้อ 

เพื่อนผู้เขียนคนหนึ่งพูดติดตลกว่า ใจจริงก็อยากได้ของขวัญ แต่กลัวโดนตกเบ็ด ไม่เอาตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อไปเสี่ยง ผู้เขียนตอบว่า แม้จะคิดยังไม่ควร จำได้ไหมว่า ผู้เขียนบอกว่าไปตรวจผู้ส่งมอบหรือซัพพลายเออร์ (Supplier) มื๊อค่ำห้ามรับเลี้ยงเด็ดขาด เพราะจะเป็นบ่อเกิดแห่งความอยากได้ นำพาซึ่งหายนะแห่งชีวิตการทำงาน

สมัยที่ผู้เขียนเป็นผู้จัดการคลังสินค้าควบกับผู้จัดการฝ่ายเทคนิค รับรู้ข้อมูลว่าพนักงานคลังสินค้าคนหนึ่ง เวลามาทำงานขับรถยนต์เก่าๆมาทำงาน แต่ที่บ้านมีรถคันใหม่กลับไม่เคยขับมาทำงานที่โรงงาน มีสร้อยทองเส้นโตเวลาออกนอกบ้าน ทำไมอยู่โรงงานดูซอมซ่อมาก ผู้เขียนเริ่มแปลกใจ พบว่าหัวหน้างานคลังสินค้า ไม่สามารถรับมือกับพนักงานคนนี้ การสั่งซื้อลังไม้ใส่บรรจุสินค้า/พาลเลทไม้ ทำไมต้องเลือกซื้อผู้ผลิตที่ไกล รายอยู่ใกล้ๆกลับไม่ซื้อเลย และราคากลับสูงกว่า

ผู้เขียนตามพฤติกรรมสักพัก จึงใช้อำนาจหน้าที่ผู้จัดการคลังสินค้าลงไปช่วยหัวหน้างาน ให้ดาบเต็มที่สามารถจัดการได้ทุกเรื่องในการบริหารคลังสินค้าใหม่ ให้เปลี่ยนการซื้อวัสดุและพาเลทไปรายอื่นๆแบบเฉลี่ย หาที่มีคุณภาพและราคาสมเหตุสมผล ผู้เขียนไม่เคยมีความคิดต้องราคาถูกเป็นที่ตั้ง เพราะเข้าใจคนทำธุรกิจต้องมีกำไร จึงจะอยู่รอดได้ แค่เปลี่ยนแปลงแบบพลิกขั้ว แค่นั้นแหละ ความจริงก็ปรากฏ พบว่ามีการเสนอให้เงินใต้โต๊ะต่อชิ้นสามสิบบาท จึงให้ข้อคิดหัวหน้าไปว่า เงินไม่ใช่ของเรา อย่าไปรับ แต่ถ้าเงินเป็นของคุณ บริษัทไม่ให้ ผมต้องทวงถามให้ เงินก้อนไหนของบริษัท คืนเจ้านายไป ท่านให้เรามีงานทำ ดูแลครอบครัวเรา พระคุณก็ล้นฟ้าแล้ว 

เหตุการณ์นี้พนักงานฝ่ายคลังสินค้า ร่วมมือกับฝ่ายจัดซื้อคนหนึ่ง ทั้งคู่สนิทสนมกัน ทำงานประสานกันดีมาก เบื้องหลังเมื่อความจริงปรากฏ ให้บล๊อคทุกขั้นตอนที่เป็นจุดอ่อน พนักงานคนนั้นพอรู้ว่าเป็นฝีมือเรา เข้ามาตีรวนระบบ ออกอาการรวมพวก สั่งพนักงานคลังสินค้าอีกหกคนเชื่อฟังเขาคนเดียว ผู้เขียนจึงลงไปคลุกคลีกับพนักงาน ให้ความจริงใจ ช่วยเหลือสิ่งที่พนักงานเหล่านั้นถูกเรียกว่า จับกัง เพื่อให้หัวหน้างานคลังสินค้า เข้าบริหารงานเบื้องต้นให้ได้ เวลาผ่านไปพนักงานทั้งคลังสินค้าให้ความร่วมมือ ผู้เขียนจึงเรียกตัวแสบนั้นมาคุยต่อหน้าพนักงานทั้งหลายว่า ถ้าคุณไม่ตั้งใจทำงาน ไม่หยุดพฤติกรรมทุกอย่าง ให้พิจารณาตนเอง ผู้เขียนชี้ไปที่ประตูทางออกของโรงงาน และกล่าวว่า ถ้าจะเดินออกไปเหมือนวันก่อนที่ละทิ้งงานล่วงเวลา และยุยงพนักงานให้ทิ้งงานทั้งกลุ่ม ดีว่าผมมาทันเวลา อย่าทำอีก ขืนปล่อยให้สินค้าโดนฝน ก้าวออกไปแล้วไม่ต้องกลับมา จากวันนั้นเมื่อหมดฤทธิ์เดช หัวหน้างานคลังสินค้า สามารถทำงานได้ตามที่มอบหมายและเกิดความสุขในการทำงานของคนหมู่มากทั้งฝ่ายคลังสินค้า

ขอยกตัวอย่างที่ไม่คาดคิดว่าจะพบ สมมติว่า มีลูกค้าสักราย  ได้ไปร้านอาหาร สั่งลาดหน้าหนึ่งจาน พอรับประทานเสร็จ เดินไปบอกแม่ค้าว่า ผมประมาณและประเมินแล้ว ลาดหน้าจานนี้ พี่ใส่ผัก ใส่เส้น ใส่หมู ต้นทุนน่าจะไม่เกินสิบบาท ผมให้ค่าแรงที่ทำอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุน 15 บาท ฉะนั้นพี่ขายจานละ 40 บาท มีกำไรมาก ต้องลดให้อีก 20 บาท ท่านจะคิดอย่างไร

ฝ่ายจัดซื้อ และฝ่ายบัญชี อาจมองผลประโยชน์ ซึ่งก็คือ ผลลัพธ์ อาจจะออกเป็นบวกหรือลบ การหักราคาได้ ต้องหักไว้ก่อน ความคิดลักษณะนี้ เคยเกิดขึ้นกับองค์กรหนึ่ง บัญชีและการเงิน ไปหักราคาตามที่ตกลงไว้หนึ่งแสน จ่ายช่างติดตั้งเครื่องจักรแค่แปดหมื่นบาท ผู้รับเหมาและช่าง ก็ยอมให้หัก ต่อมาเครื่องจักรตัวอื่นเกิดเสีย และมีอีกหลายเครื่องต้องติดตั้งเพิ่ม เรียกช่างกลุ่มนั้นมารับงาน ปรากฏไม่มีใครยอมมารับงาน สุดท้ายเครื่องจักรนั้นจอดตัวเปล่าไปกว่าสองเดือน เสียหายผลผลิตไปมาก พอไปเรียกช่างกลุ่มอื่นมาทำ กลุ่มอื่นๆเลยเสนอราคาแบบเผื่อโดนหัก เรียกไปหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท

สิ่งสำคัญ คือ ผู้เขียนบอกทีมงานว่า บางครั้งไม่ต้องคิดถึงคำกำไร หากต้องขาดทุนก็ไม่เป็นไร ในการทำธุรกิจขอให้ทุกคนตระหนักต้องไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ขอให้ยึดเป็นปรัชญาประจำใจว่า  "ไม่เอาเปรียบลูกค้า ให้ลูกค้าได้เปรียบดีกว่า" 


การทำงานต้องเข้าใจ หน้าที่ อำนาจและบทบาท สมัยอยู่โรงงานหนึ่ง ได้ข่าวว่าทุกฝ่ายเวลาไปเบิกเงินจากฝ่ายบัญชีและการเงิน จะถูกซักถามเข้มงวดมาก เรื่องเหล่านี้ พบเห็นในหลายๆบริษัท พนักงานบัญชีและการเงิน เราต้องเข้าใจว่าลักษณะงานแบบนี้ คนที่อยู่ฝ่ายนี้ มักจะเป็นคนละเอียด ดูง่ายๆ แพทย์ก็บุคลิคอย่างหนึ่ง วิศวกรและช่าง จะให้บุคลิคแบบคุณหมอ คงจะไม่ได้ หากไม่มีการฟาล์ว หรือ ออฟไซด์ และต้องให้เกียติ ซึ่งกันและกัน ผู้เขียนจะไม่คิดทะเลาะกับใครเลย ยิ่งเป็นตัวแทนฝ่ายบริหาร เป็น QMR/EMR/OHSMR หรือ Food Safety Team Leader หรือประธานโปรเจ็คต่างๆ ยิ่งต้องยึดหลักอ่อนน้อมถ่อมตนให้มาก

ครั้งหนึ่งเคยต่อว่าฝ่ายบัญชี ซึ่งเป็นผู้จัดการชาย เพราะมองว่าออฟไซด์
หรือฟาล์วฝ่ายอื่นๆแล้ว ให้หัวหน้างานขึ้นไปเบิกเงินโครงการ นานมากยังไม่ลงมาและไม่ผ่าน ผู้เขียนขึ้นไปเอง ไม่นึกว่าจะเจอด้วยตนเอง ถูกผู้จัดการท่านนั้นให้ยืนตอบคำซักถาม ถูกถามมากมายและนานมาก ก็ปล่อยให้ถามไปเรื่อยๆ จนสุดท้าย ผู้เขียนกล่าวว่า ถามจบแล้วนะ ต่อไปให้ฟังดีๆ สิ่งที่จะกล่าวต่อไปให้เป็นกระจกสะท้อนถึงบทบาทการทำงานร่วมกัน ต่อไปอย่าได้กระทำแบบนี้อีก ไม่ควรให้ผู้จัดการทุกฝ่ายมายืนฟังคุณซักไซด์และต่อว่า คุณมีหน้าที่จ่ายเท่านั้น ตรวจสอบความถูกต้อง หากพบใครโกงเงินบริษัท จัดการตามกฏทันที

แต่ส่งที่คุณกระทำตอนนี้คือ กระทำตนเป็นกรรมการผู้จัดการซ้อนนายอีกชั้น คุณจงพิจารณาดูว่า นายท่านเซ็นอนุมัติแล้ว ท่านพิจารณาชัดเจนแล้ว ทำไมคุณจึงทำผิดบทบาทหน้าที่ ต่อไปอย่ากระทำแบบนี้อีก ผู้เขียนกล่าวจบ ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินท่านนั้น เซ็นทันที โครงการเดินหน้าต่อไป ทราบว่าจากวันนั้นเป็นต้นมาการซักไซด์ฝ่ายต่างๆลดน้อยลงไปมากโข แต่นิสัยคนเรา บางครั้งแก้ไขยาก มักติดเป็นนิสัย อาจเผลอตัวกระทำอีก อะไรที่ผ่านได้ ขอให้เร่งรัด ทำงานให้ง่ายขึ้น ปัญหาไม่มีวันหมด ยังมีเรื่องต่างๆรอการแก้ไข 

ครั้งหนึ่งรับปากทำงาน CB ขนาดเล็กแห่งหนึ่ง ไปเป็นวิทยากรให้คิดวันละสามพันบาท ยังทำให้เต็มที่ และอย่างดีที่สุด น้องๆบ่นว่า เดินทางเอง เสี่ยงอันตราย ทำให้แล้วไม่คุ้ม สุดท้ายยังไปทำให้  และ CB ไปเก็บลูกค้าวันละหนึ่งหมื่นกว่าบาท หรือถึงสองหมื่นกว่าบาท ผู้เขียนก็สอนน้องว่า นั่นคือ ธุรกิจของท่าน คุณเต็มใจและรับงาน ให้ยึดกติกา 

การรับงานแบบไม่ให้เกิดความเสี่ยงในงานกิจกรรม หรืองานบริการต่างๆ ควรให้ยืนยันงานมากกว่าสามสิบวันในช่วง Low Season หากเป็น High Season ควรมากกว่า 60 วัน ในการรับงานกิจกรรมนอกสถานที่ และให้ทำเป็นสัญญาทุกราย เรียกเก็บเงินครบถ้วนก่อนวันเดินทางตามตกลงจำนวนขั้นต่ำ ไม่ให้ยึดตามสัดส่วนมาจริง เพราะถือว่า ทำธุรกิจแบบนั้น จะมีความเสี่ยง ซึ่ง
ISO9001: 2015 New Version ระบุในข้อกำหนด 6.1 พอสรุป ดังนี้
* การดำเนินการต่อความเสี่ยงและโอกาส โดยองค์กรพิจารณาและเลือกเอง
ในการวางแผนสำหรับระบบการบริหารคุณภาพ องค์กรต้องพิจารณาประเด็นที่ระบุใน 4.1 และ ข้อกำหนดในข้อ 4.2 และพิจารณากำหนดความเสี่ยงและโอกาสที่จำเป็นที่จะต้องเข้าถึง เพื่อ
a ) มั่นใจว่าระบบบริหารคุณภาพจะสามารถบรรลุตามความตั้งใจ หรือ Outcome
b ) มั่นว่า องค์กรสามารถบรรลุให้สอดคล้องของสินค้าและบริการ และความพึงพอใจของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
c) ป้องกัน หรือลดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ 
d) บรรลุการปรับปรุง
กรณีของผู้เขียน ถือว่าข้อกำหนดย่อย c นั้น ผู้เขียนไม่มีการป้องกัน และเตรียมการกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น องค์กร หรือผู้เขียน ควรมีการวางแผนและการจัดการเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงในทางธุรกิจ กิจกรรมใดๆ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงและโอกาสต้องเป็นปฏิภาคกับผลกระทบอันมีศักยภาพให้สอดคล้องกับงานบริการ และความพึงพอใจของลูกค้า  
หมายเหตุ ตัวเลือกในการจัดการความเสี่ยง รวมถึงการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง การป้องกัน/ควบคุม/ลดความเสี่ยงหรือ การยอมรับความเสี่ยง

เหตุผลส่วนตัวยังไม่เคยเปิดเผยคือ สมัยที่ผู้เขียนเป็นผู้ตรวจประเมิน ISO หรือ CB Auditor กับเพื่อนคนหนึ่ง ไม่มีใครยอมถ่ายทอดความรู้ให้เลย ยุคนั้นต้องขนขวายและศึกษาจากตำราภาษาอังกฤษด้วยความลำเข็ญ จึงจดจำเป็นบทเรียนเมื่อกว่ายี่สิบปีที่แล้วยุดเริ่มแรกของ ISO ในประเทศไทย จึงตั้งปณิฏานว่า ต้องให้ความรู้กับผู้ไม่รู้อย่างจริงใจ เพื่อให้นำไปต่อยอดและนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไป 

ผู้เขียน พอมีประสบการณ์ ไปในโรงงานต่างๆตลอดชีวิตมากกว่าสี่ร้อยโรงงานขึ้นไป ทั้งตรวจโรงงานสมัยรับราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งดูงาน ทั้งฝึกงาน ทั้งตรวจประเมินระบบ ISO และตรวจสอบซัพพลายเออร์หลังลากออกจากราชการมาอยู่โรงงานต่างๆ ปัจจุบันเข้าไปเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตรต่างๆมากมายให้ทั้ง KS และ CB

การใช้เวลาคลุกคลีกับชีวิตโรงงานอย่างยาวนาน บวกกับทำงานในโรงงานต่างๆถึง 11 โรงงาน ถึงช่วงหลังเป็นระดับจัดการ แม้นว่าจะทำแต่ละแห่งไม่กี่ปี เสมือนอยู่เป็นห้าปี/สิบปี เพราะกว่าจะออกจากโรงงานเกือบเที่ยงคืนหรือดึกกว่านั้นทำงานร่วมกับกะกลางคืนเลย ขอเตือนหลายท่านว่าไม่ควรกระทำ เพราะเสียสมดุลในชีวิตส่วนตัวและครอบครัว ทุกอย่างต้องอยู่ในความพอเหมาะและพอดี

หรือว่าฟ้าลิขิตให้ย้ายและเปลี่ยนโรงงานหลายครั้ง เพื่อให้อนาคตของผู้เขียนต้องมาเป็นวิทยากร เก็บประสลการณ์ในสถานที่ต่างๆ มาบรรยายความรู้ให้น้องๆโรงงานมากมาย ถามอะไรมาตอบได้หมด เพราะได้ประสบกับชีวิตจริงและพบเห็นมาทั้งหมดในอดีตจากทุกโรงงาน ซึ่งได้สะสม และสั่งสอนเรา

ดังนั้นการบริหารความเสี่ยง หรือ Risk ตามข้อกำหนด 6.1 c ตามมาตรฐาน ISO9001: 2015 New Version ที่จะมีผลบังคับใช้ปลายปี ค.ศ. 2015

ดังนั้นโรงงาน ต้องเตรียมตัวในหัวข้อนี้คือ ทำการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมทุกกระบวนการที่สำคัญ หรือเริ่มแรกเลือกทำเรื่องสำคัญและใหญ่ก่อน ต่อมาทำให้ครบทุกฝ่าย ระบุเรื่องนี้ลงในทุกระเบียบปฏิบัติ (Procedure) หรือแยกทำเป็น เมตริก (Risk Matrix)

จากนั้นใช้เครืองมือ (Tools) มาวิเคราะห์ความเสี่ยง หากใช้เครื่องมือต่างๆทางสถิติไม่เป็นใช้ระดมความคิดก็ได้ ผลสรุปเป็นตัวเลขยิ่งชัดเจน บางหัวข้อหากเป็นตัวเลขไม่ได้ให้สรุปผลการตัดสินใจ และนำไปจัดการลดความเสี่ยงและโอกาสเกิด ผู้เขียนขอแนะนำให้ไปศึกษา ISO 14971 ที่ใช้ควบคู่กับมาตรฐาน ISO13485:2012 Medical Device นำมาประยุกษ์ใช้งานได้

ISO14971:2007 คือ อะไร?
เป็นการบริหารความเสี่ยงครอบคลุมตลอดวัฎจักรชีวิตของเครื่องมือแพทย์  แต่ให้ปรับมาใช้ในอุตสาหกรรมของคุณ โดยจะระบุถึงกระบวนการต่างๆ ด้านการจัดการความเสี่ยง รวมถึงการชี้บ่งเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับอันตราย  การประเมินความเสี่ยง  และการควบคุมความเสี่ยงให้หักมุมกลับมาเป็นธุรกิจของท่านแทน 

ผู้เขียนแนะนำเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ให้ทำแยกแยะเป็นกระบวนการย่อย หาสาเหตุ และหาค่า RPN (Risk Priority Number) โดยใช้ Core Tools ของ ISO/TS16949 คือ FMEA มาใช้ 

หากต้องการความเข้าใจยิ่งขึ้นไปอ่าน BS ISO31000: Risk Management - Principles and Guideline ช่วยท่านตอบโจทย์และปรับสู่ ISO9001: 2015 New Version เกี่ยวกับความเสี่ยง ได้ลงตัว
    
ดังนั้นการบริหารความเสี่ยงให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ต้องคำนึงถึง การกำหนดกระบวนการที่จะเกิดความเสี่ยง การจัดเตรียมคนที่มีความสามารถ รวมทั้งเครื่องมือ เครื่องจักร และทรัพยากรต่างๆในการสนับสนุนอย่างเพียงพอ เพื่อสร้างความมั่นใจในระบบบริหารคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO9001: 2015 New Version จะประกาศใช้ในเดือนกันยายน 2015 ผู้เขียนคาดว่า สี่เดือนสุดท้ายของปี 2015 คงมีไม่มากองค์กรนักที่จะปรับเข้าสู่เวอร์ชั่นใหม่ แต่ก็ไม่แน่ อาจมีเสือสุ้ม ประเภทที่ชอบคำว่า รายแรกของประเทศ ที่ปรับเวอร์ชั่นคนที่หนึ่ง
หากผู้เขียนยังทำอยู่โรงงาน ก็ชอบทำเร่งแบบนี้ มันท้าทายและแก้เหงา ใช้กระตุ้นทีมงาน เหมือนยื่นของ มอก. เคยมีครั้งหนึ่ง ต้องเป็นรายแรกของ มอก. นั้น ได้รับใบอนุญาตก่อนคู่แข่ง

แต่หลังปีใหม่ 2016 หรือในครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2559 น่าจะ 20% เริ่มปรับได้ ที่เหลือน่าจะปรับถ่ายสู่มาตรฐานเวอร์ชั่นใหม่ได้สำเร็จ คงประมาณการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป

ดังนั้นโรงงานที่ทำระบบบริหารคุณภาพใหม่ คือ เพิ่งทำครั้งแรก อย่าตกใจ จงเดินระบบตามมาตรฐานปัจจุบัน ISO9001: 2008 ต่อไป
ใบประกาศนียบัตร หรือ Certificate ของเวอร์ชั่นปัจจุบัน หากท่านไม่ยอมปรับ หรือจะเลิกทำมาหากิน ใบ Certificate ยังคงใช้ได้ต่อไปสามปี หรือสิ้นสุดภายในเดือนกันยายน พ.ศ.2561 

ส่วนองค์กร/โรงงาน ที่ยังทำระบบนี้ ช่วงรอยต่อ หรือช่วงหนึ่งปีแรกที่ปรับเวอร์ชั่นแล้ว หมายถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2558 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ครบรอบเวลาตรวจติดตามผลการรักษาระบบ (Surveillance) ยังสามารถตรวจติดตามระบบตามเวอร์ชั่น 2008 ของปัจจุบันได้ แต่ CB ใดจะปรับให้บริการตามเวอร์ชั่นใหม่ได้รวดเร็วแค่ไหน ให้ท่านสอบถามหน่วยงาน (CB)ที่ให้การรับรองท่าน

หากครบรอบเวลาและท่านยังประสงค์ทำระบบตามมาตรฐานเวอร์ชั่นเก่า 2008 ต่อไปสามารถทำได้ ไม่เหมือนแต่ก่อนหากไม่ปรับเวอร์ชั่นใหม่ ภายในหนึ่งปีหลังมาตรฐานนี้มีผลบังคับใช้  บาง CBs อาจของ Take Note หรือให้ Minor CAR ปัจจุบันมีเวลาเปลี่ยนถ่ายมาตรฐานให้ถึงสามปีเลย เพียงก่อนครบกำหนดหรือครบรอบ CB มักแจ้งให้ปรับก่อน 60 วันป้องกันใบ Certificate หมดอายุ หากสอบไม่ผ่าน อายุขาดทันที ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเท่าที่พบยังไม่เคยได้ข่าวโรงงานถูกออก Major

หลักการทำเรื่องความเสี่ยงเพื่อปรับเวอร์ชั่นไม่ยาก ขอแนะดังนี้
1 ตั้งทีมงานชัดเจน มาจากทุกฝ่าย ฝึกทำงานแบบทีม (Team Work)
2 ศึกษาหาความรู้ ให้ไปอ่าน ISO31000 ไม่บังคับแต่นิยมใช้
3 มีความรู้ด้าน Analysis Tools ง่ายมากเพราะทุกโรงงานมีใช้งานจริง
ให้ทีมงานเรียนรู้ เช่น ผังก้างปลา การวิเคราะห์แบบ SWOT หรือจะใช้ Turtle Diagram ที่มักเรียกแผนภูมิหลังเต่า จะใช้ FMEA ก็ได้ อื่นๆ

เริ่มเลย ทีมงานไปสำรวจและชี้บ่งว่า
ปัจจัยภายในมีอะไรบ้าง ค้นหามาเพื่อพิจารณา ทำให้ตรงกับความจริงของสภาพโรงงานหรือบริษัทของท่าน ไม่ให้ทำแค่ได้ใบ Certificate ไม่เกิดประโยชน์ หรือผู้ตรวจประเมินพบว่าไม่มีประสิทธิผล อาจให้เป็น CAR

สมมติโรงงานศรราม ทำชิ้นส่วนขึ้นรูปและเป็นงานที่ต้องเชื่อมประกอบส่วนต่างๆ  
ปัจจัยภายใน ยกตัวอย่าง เช่น
1 เครื่องจักรที่ใช้ขึ้นรูป ผลการพิจารณา 
จุดอ่อนพบว่าเครื่องจักรสมัยเก่าโน่นสิบห้าปีที่แล้ว เทคโนโลยีที่มากับเครื่องค่อนข้างล้าสมัย ขึ้นรูปต้องปรับตั้งบ่อยครั้ง ทำให้ผลิตไม่ทันแผนการผลิต 
ผลกระทบสูง ถูกลูกค้าปรับเงิน หรือ ...... คิดเอง มีอะไรใส่มา
แต่ใส่มาแล้ว ต้องดำเนินการลดผลกระทบนั้นๆ ห้ามใส่มั่ว ช่วยกันคิดแบบทีม

2 วิธีการเชื่อมชิ้นงาน
จุดอ่อนพบว่าเครื่องจักรเก่าโน่นสมัยพระเจ้าเหาอย่างที่พนักงานชอบเปรียบเปรย เทคโนโลยีที่มากับเครื่องทำให้วิธีการเชื่อมใช้เวลาต่อชิ้นงานนานมาก (เทียบกับเครื่องเชื่อมรุ่นใหม่)
ผลกระทบสูง เชื่อมล่าช้า ทำให้ผลิตไม่ทันแผนการผลิต ลูกค้าไม่พอใจ ต้องเพิ่มล่วงเวลา ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง สุดท้ายถ้าเลือกซื้อเครื่องเชื่อมใหม่ ก็ไปเขียนแผน(Action Plan) หรือโปรเจ็ค จะซื้อเมื่อไร กู้เงินจากธนาคารใด ระยะเวลาเริ่มสับเปลี่ยน .........คิดเอง มีอะไรใส่มา

3 สมรรถนะด้านคน
บุคลากรขาดความสามารถ ขาดความรู้ ขาดการสื่อสารที่ดี
ขาด สาย ป่วยบ่อย .........ลองคิด Thinking มีอะไรใส่มาให้มองว่ามีผลกระทบอย่างไร จำคำว่า Impact
4 การเงิน อาจมองว่าขาดการวางแผนการเงินระยะยาว 
5 วัฒนธรรมองค์กร
ไม่มีสัมมาคาระวะ ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ตรงเวลา ผลกระทบอย่างไร.........ลองคิด Thinking หากว่านายต้องการให้องค์กรมีวัฒนธรรมที่ซื่อสัตย์ ตรงเวลา มีจิตสำนึก ดำเนินการอย่างไร จัดไป ข้อนี้ชีวิตจริงยากเหมือนกันนะ ถ้าทำไม่ได้ อย่าเลือกหัวข้อนี้ 

เน้นว่า ความเสี่ยงแต่ละองค์กรเหมือนความเสี่ยงสุขภาพของแต่ละคน แต่ละเวลา คนละเพศ วัย ย่อมต่างกัน โรงงานก็เช่นกัน ธุรกิจคนละประเภท คน ความรู้ ความสามารถ ระบบงานมีแตกต่างกันไป ความเสี่ยงเราจึงเป็นคนเลือกเรื่องนำมาพิจารณา ไม่จำเป็นต้องพิจารณามากมายมโหฬาร ค้นหาที่กระทบและจำเป็นเท่านั้น
6, 7......องค์ความรู้ก็นำมาเป็นปัจจัยภายในได้ หรืออื่นๆหามาพิจารณา
บอกเน้นเลยว่า ปัจจัยภายใน ก็อยู่ในองค์กรเรา สั่งได้ ควบคุมได้
มีอะไรอีกบ้าง.............................ทีมงานจัดไป 

แนะนำอาจใช้หลักการแบบ Balance Score Card มาใช้ก็ได้
สร้างมุมมอง เอาแต่ละปัจจัยไปพิจารณาแบบสี่มุมมอง เช่น
มุมมองที่ 1 จากกระบวนการภายใน (Internal Process)
มุมมองที่ 2 จากทรัพยากร (Resource)
มุมมองที่ 3 จากการตลาด (Marketing)
มุมมองที่ 4 จากการเงิน (Finance) ถ้าพิจารณาฐานะทางการเงินองค์กรเราแข็งแกร่ง บริษัทเรารวย ก็ไม่มีผลกระทบใดๆ เป็นความเสี่ยงต่ำ ก็ไม่ต้องดำเนินการใดเพิ่มเติม .........วางกองไว้แค่นี้ ไว้ทบทวนใหม่ หากมีผลกระทบหรือเป็นความเสี่ยงซ่อนเร้น พบใหม่ก็นำมาพิจารณาใหม่ ทำต่อเนื่องทุกปีหรืออาจทบทวนทุกหกเดือน เจอผลกระทบสูงเมื่อใด จัดการ จัดไปตามถนัดของท่าน 

ปัจจัยภายนอก ยกตัวอย่าง เช่น
1 คู่แข่ง
2 เทคโนโลยี
3 กฎหมาย
4 การเมือง
5 สภาพภูมิศาสตร์
6, 7, 8......อื่นๆหามาเพื่อพิจารณา
บอกเน้นเลยว่า ปัจจัยภายนอก ก็อยู่นอกองค์กรหรือนอกโรงงาน สั่งไม่ได้ ไปบังคับไม่ได้ ควบคุมยาก พิจารณาง่ายๆเช่น คู่แข่ง ราชการหรือกฎหมาย สังคม การเมือง เศรษฐกิจของประเทศ สภาพสิ่งแวดล้อมรอบโรงงานเราสั่งไม่ได้เลย

ดังนั้นความเสี่ยงที่นำปัจจัยต่างๆมาพิจารณา โดยโรงงานเลือกเอง ให้พิจารณาถึงผลกระทบ เพื่อให้เข้าใจบริบทองค์กร คือเข้าใจสภาพตัวเราเอง

ข้อกำหนด 4.1 นี้จึงนิยมใช้ SWOT มาพิจารณา มองหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคที่พบ โรงงานศรรามมองแล้ว พบว่าจุดอ่อนและอุปสรรค มีจึงนำมาพิจารณาหาความเสี่ยงและโอกาสเกิด ต้องทำให้บริบูรณ์เพื่อลดผลกระทบ (Impact) จุดแข็ง และโอกาสที่ดี ย่อมไม่ค่อยส่งผลกระทบ ให้มันจบไป เพราะพิจารณาแล้วมีความเสี่ยงต่ำ

ความเสี่ยง ไม่บังคับรูปแบบและวิธีการ การค้นหา การวิเคราะห์ และการประเมินความเสี่ยง (Risk Evaluation) บริบทของตัวเราเลือกเอง ทำเอง แต่ต้องทำให้ได้ ค้นหาให้เจอ แล้วทำ Risk Mitigation คือ ลด (Reduce) ควบคุม (Control) และป้องกัน (Prevent) ความเสี่ยงนั้น
ตั้งเกณฑ์พิจารณาง่ายๆแค่ สูง High  ปานกลาง Medium  และต่ำ Low
หรือเล่นแบบง่ายๆ ใช้ประชุมตัดสินเลยว่า สูง กลาง หรือ ต่ำ (ไม่ต้องทำแบบคิดคะแนน ให้เสียเวลา) ไปเดินตรวจแล้วตัดสินเลยก็ได้ 
ท่องไว้ ผลกระทบสูง ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมีมาตรการรองรับ หรือออกแผนงาน (Action Plans) ไว้ให้ผู้ตรวจประเมินจาก CBs

 มาทำต่อเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Interested Parties) ตามข้อกำหนด 4.2
ทั้ง ISO9001:2015, IATF16949:2016 รวมถึง ISO14001:2015 ให้มองไปมุมสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงสูงถึงขึ้นถูกทางราชการปรับ ระงับหรือสั่งปิดโรงงาน หรือชุมชนร้องเรียน

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Interested Parties) ยกตัวอย่าง เช่น
กลุ่มคนใน
1 ผู้ถือหุ้น (ถ้ามี)
2 พนักงานทุกระดับ
กลุ่มคนนอกบ้าง
1 ลูกค้า (Customers)
2 ผู้ส่งมอบ (Suppliers)
3 หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง กระทรวง กรม กอง เทศบาล อบต. อุตสาหกรรมจังหวัด หรือการนิคมอุตสาหกรรมที่โรงงานตั้งอยู่
4 สถาบันการเงิน
5, 6, 7...........................ค้นหามา
เน้น ถ้าต้องการ (Needs) มอง ณ ปัจจุบัน (Present)
ถ้าความคาดหวัง (Expectations) มองไปข้างหน้า ถึงอนาคต (Future)
ตั้งเกณฑ์พิจารณาง่ายๆแค่ สูง High  ปานกลาง Medium  และต่ำ Low
หรือเล่นแบบง่ายๆ ใช้ประชุมตัดสินเลยว่า สูง กลาง หรือ ต่ำ (ไม่ต้องทำแบบคิดคะแนน ให้เสียเวลา) ไปเดินตรวจแล้วตัดสินเลยก็ได้ 
เน้นต้องทำให้ตรงกับชีวิตจริงของแต่ละองค์กร ไม่ต้องทำแบบเวียงแห นั่นมากไป เลือกว่าความต้องการและความคาดหวังใดสำคัญ ส่งผลให้เกิดปัญหา มีผลกระทบ ถ้าสูง หรือเสี่ยงมาก ท่องไว้ ผลกระทบสูง ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมีมาตรการรองรับ หรือออกแผนงาน (Action Plans) ไว้ให้ผู้ตรวจประเมินจาก CBs เวลาถูกตรวจประเมิน ขอดูแล้วไม่มี หลัการตรวจประเมินถือว่าไม่ได้ทำ ทยอยทำและปรับปรุง ไม่โดน Major 

ความเสี่ยงมี 4 ด้าน S, F, O, C เอาตามวิชาการ ดังนี้
S: Strategic Risk ดูข้อ 1 ด้านล่าง
F: Financial Risk ความเสี่ยงด้านการเงิน
O: Operation Risk ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน
C: Compliance Risk พบว่าไม่สอดคล้องกฎหมาย ไม่ได้ตามข้อตกลงกับลูกค้า
จากนั้นนำไปทำให้ตรงกับชีวิตจริงของแต่ละองค์กร

1 ท่านทำเสี่ยง ? นายเรา : Top Management ด้าน S: Strategic Risk
ผู้บริหาร รับข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก รวมถึงความต้องการ (Needs) และความคาดหวัง (Expectation) ของผู้เกี่ยวข้อง (Interested Parties) 
หรือจะเรียกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากทีมงานมักเป็นระดับจัดการฝ่ายต่างๆไปสำรวจและพิจาณา นำเสนอผลรวมไปให้ผู้บริหารเพื่อนำไปกำหนด ทบทวนเกี่ยวกับทิศทางของกลยุทธ์ (Strategic Direction) ทิศทางกลยุทธ์เปลี่ยนไป ทำให้นโยบายคุณภาพเปลี่ยนตาม วัตถุประสงค์ก็เปลี่ยนด้วย  ย่อมทำให้ KPI ปรับเปลี่ยนตามด้วย การปรับเปลี่ยนนี้ รวมถึงเป้าหมายเบี่ยงเบน หากพิจารณามีความเสี่ยงสูง ต้องมีมาตรการรองรับ โรงงานมักทำเป็นแผนงาน (Action Plans) หรือโครงการ (Projects)

เช่น ทิศทางกลยุทธ์ปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่  ขายสินค้าแบบมีชิงโชคแจกเงินรางวัลละสิบล้านบาทแจกทุกวัน ให้ผู้ที่โชคดีถ้าถูกรางวันได้เงินสิบล้านบาท ยังใจถึงมาก ให้รวมถึงทุกคนในครอบครัว พ่อ แม่ ลูก ภรรยา สามี มีกี่คนให้ไปเที่ยวอาฟริกาบวกอเมริการหนึ่งเดือนเต็ม รางวัลแจกทุกวัน 

พิจารณาแล้วมีความเสี่ยง ดังนั้นต้องมีแผนงานรองรับ ขายต้องได้ตามเป้า 
มาตรการรองรับ ดังนี้
1 เพิ่มตัวแทนจำหน่ายในประเทศอีกห้าหมื่นแห่ง เดินไปไหน เจอๆๆๆ กินๆๆๆ เอาเถอะเราก็สนุก
2 ฝ่ายการตลาดเพิ่มการส่งออกมากขึ้น เคยขายแค่อาเซี่ยน ต้องเร่งส่งออกจาก 10 ประเทศ เป็นสัก 190 ประเทศ 
ถ้าองค์กรเราทำได้ ไม่เสี่ยง อยากแจกก็แจกไป อาจเพิ่มแถมบ้านเดี่ยว แจกรถหรู แจกทองคำ แจก Rolex ฝังเพชรต่อไป
สรุปเรื่องนี้ เป็นของนาย ดังนั้นผู้บริหาร นำข้อมูลของบริบทองค์กรไปกำหนดทั้ง กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ (Vision) กำหนดภาระกิจ (Mission) เพื่อให้การขายทะลุเป้าหนึ่งแสนล้านบาท หากไม่ได้คงต้องเตรียมแผนฉุกเฉินเป็นคนล้มละลายจากความเสี่ยงด้าน S (Strategic Risk) 

แผนฉุกเฉิน (Contingency Plans/ Action) ให้นำมาพิจารณาความเสี่ยงด้วย
โรงงานที่ทำมาตรฐาน IATF16949:2016 ให้มีการซ้อมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง  เลือกสักหนึ่งเรื่องจากหลายๆเรื่องที่กำหนดไว้ในแผนฉุกเฉินมาทำการซ้อม มาตรฐาน ISO9001:2015 ไม่พูดถึงการซ้อมฉุกเฉิน แต่มีหัวข้อนี้เพิ่มเติมแตกต่างจาก ISO9001:2008 จากนั้นนำไปทำให้ตรงกับชีวิตจริงของแต่ละองค์กร

2 ด้าน F: Financial Risk ความเสี่ยงด้านการเงิน
ถ้าองค์กรเข้าตลาดหลักทรัพย์ จะเป็นมหาชน ข้อนี้ต้องเน้นมากๆเลย
จะหาเวลามาอธิบายต่อไป

3 O: Operation Risk ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน
แนะง่ายๆ นำแผนควบคุม หรือ Control Plans มาพิจารณาว่าขั้นตอนใดเสี่ยงบ้าง หรือนำ Flow งาน หรือ ขั้นตอนการทำงานตาม Procedure ก็ได้ แต่อยากให้พิจารณาแบบ Process Approach
เน้นมองแต่ละกระบวนการว่า ปัจจัยนำเข้า (Input) ต้องการอะไร (Needs)
ไปเพ่งทีผลลัพธ์ออก (Output) คาดหวังจะได้อะไร เช่น ชิ้นงานตรงข้อกำหนดของลูกค้า
เน้นว่า ข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้า (CSR: Customer Specification Requirements) ต้องพิจารณาความเสี่ยงด้วย
จะหาเวลามาอธิบายต่อไปว่า กระบวนการใด ฝ่ายใดที่ทำให้ Customer Not Satisfaction และ Not Meet Quality Product ต้องนำมาพิจารณา คำนวณเป็นคะแนน ทำแบบ FMEA ต้องตั้งเกณฑ์ความเสี่ยง (Risk Criteria) กำหนดระดับความเสี่ยง (Risk Level)
ท่องไว้ ผลกระทบสูง ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมีมาตรการรองรับ หรือออกแผนงาน (Action Plans) 

4 C: Compliance Risk ถ้ากระทำไม่สอดคล้องกฎหมายย่อมเสี่ยงสูง หรือไม่ได้ทำตามข้อตกลงกับลูกค้า ชิ้นงานหรือบรรจุภัณฑ์ต้อง RoHS Free หมายถึง ไม่มีสารต้องห้ามเกินปริมาณที่กำหนด ผลิตมา ส่งไปเมื่อไร หายนะมาแน่
โดนเคลม คืนแน่ๆ หรือลูกค้าไปซื้อผู้ผลิตรายอื่นแทน ต้องพิจารณาเป็นความเสี่ยงสูง ออกแผนงาน เฝ้าติดตามแผน ทบทวน สรุปรายงาน

เขียนต่อคราวหน้า................................................................................................................................

การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล 

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง

ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy 

กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com