ปัจจุบันพบว่าผู้ที่จบสาขาวิศวกรรมศาสตร์ไปเรียนต่อสาขา
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยค่อนข้างมากที่มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสเรียนทั้งด้านวิศวะ
และอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มสธ. รวมถึงมากกว่าสิบ ISO
มาตรฐาน และมาตรฐานด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ IATF16949
การทำงานในชีวิตจริงที่โรงงานสังเกตว่า
วิศวกรที่ทำงานด้านออกแบบ
ผลิต คุณภาพ ซ่อมบำรุง
มีโอกาสเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆสามารถอยู่ได้หลายๆฝ่าย
ทั้งงานผลิต คุณภาพ QA หรือ QC ฝ่ายซ่อมบำรุง
ฝ่ายออกแบบ
งานค่อนข้างกว้างขวาง
สามารถเติบโตไปเรื่อยๆ
ส่วนงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
หรือ จปว.
เน้นงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามกฎหมาย
ซึ่งต้องขึ้นตรงกับผู้บริหารระดับสูง
(Top Management) ขององค์กร
หลายบริษัทอาจจะเอาไปฝากไว้กับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
โดยบอกว่าผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์เป็นระดับ
Top Management ด้วย
เพื่อไม่ให้ขัดกับกฎหมายกำหนดไว้
แต่ปรากฏว่างานความปลอดภัย
ยังมีน้องจปว.ทำงานเพียงคนเดียว
ตราบใดที่ยังทำให้พนักงานส่วนใหญ่ตระหนักไม่ได้
เมื่อพนักงานไม่ตระหนัก
จะไม่รู้จักคำว่าระมัดระวังอันตราย
ตราบใดที่ไม่อบรมให้พนักงานเข้าใจถ่องแท้ถึงอันตราย
เมื่อพนักงานไม่อบรม ย่อมไม่เข้าใจหรือรู้วิธีการป้องกันอันตราย
ถ้าทุกคนตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของมาตรการลดอุบัติเหตุ
องค์กรได้ประโยชน์ทั้งผลิตภาพและลดการส่งเงินกองทุนทดแทน
เมื่อ จปว. ทำงานด้านความปลอดภัยคนเดียว
กฎหมายกำหนดว่ามีพนักงานตั้งแต่
100 คนขึ้นไปต้องมีจปว 1 คน
ความเป็นจริงงาน จปว.โอกาสเติบโตจะยากและค่อนข้างช้ามาก
ส่วนใหญ่เท่าที่พบเห็นและสังเกตได้ว่ามักจะทำงานแบบเดียวดาย
ทำงานไปวันๆเพราะไม่มีแนวร่วมหรือฝ่ายต่างๆช่วยเหลือ
เดินคนเดียว
ตรวจพาโทรความปลอดภัยคนเดียว ทุกอย่างคนเดียว
ทำงานไปสัก 1-2 ปี กำลังใจอาจลดลง มักจะเปลี่ยนงานหาโรงงานใหม่
จะเปลี่ยนยังไง
จะไปที่ใหม่ แต่ความเติบโตยังไม่อาจเทียบเท่ากับวิศวกร
จริงอยู่ตอนจบใหม่มีคำพูดเปรยๆว่า
“เงินเดือน จปว. ระดับน้องๆวิศวกร”
ถ้าวิศวกรจบใหม่
เงินเดือน 18,000 - 20,000 บาท
จปว.จบใหม่มักจะได้เงินเดือนประมาณ 15,000
- 17,000 บาท
ส่วนองค์กรที่จ้าง จปว.เดือนละ 11,000 -12,000 กว่าบาท
ดูแล้วค่าตอบแทนต่ำเกินเมื่อเทียบกับความรับผิดชอบงานวิชาชีพ
โรงงานส่วนใหญ่ ไม่มีฝ่ายหรือแผนกความปลอดภัยในโรงงาน
ถ้าเปิดกฎหมาย จะระบุว่า ถ้ามีพนักงานตั้งแต่สองร้อยคนขึ้นไป
โรงงานหรือสถานประกอบการนั้น "ต้องมีหน่วยงานความปลอดภัย"
ต้องระบุลงในแผนผังองค์กร (Organization Chart) อย่างชัดเจน
โดยผู้รับผิดชอบระดับหน่วยงานความปลอดภัย เช่น ผู้จัดการ
หรือหัวหน้าหน่วย ต้องคนละคนกับคนที่เป็นตำแหน่ง จปว.
ไม่มีข้อห้ามว่า จปว.จะเป็นหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย
หรือให้ผู้ที่ไม่จบสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาเป็นได้
แต่ต้องไปอบรมหลักสูตรหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยเพิ่ม
ถ้า จปว.ขึ้นมาเป็นตำแหน่งนี้ ก็ไม่ต้องไปอบรมเพิ่มใดๆ
ตอนนี้อย่างน้อยจะมีสองคน
ไม่ใช่ทำงานความปลอดภัยคนเดียวแล้ว
แต่โรงงานส่วนใหญ่ยังพบว่ามี
จปว.ทำงานเพียงคนเดียวตลอด
จะย้ายงานเปลี่ยนงานกี่สิบครั้ง
ยังคงต้อง”โดดเดี่ยวและเดียวดาย”
ขอให้อดทนต่อไปในเมื่อรักและเลือกทางเดินนี้แล้ว
แม้ไม่อาจถึงฝันได้เร็วไว แต่สักวันจะค้นพบและหาเจอ
โรงงานขนาดใหญ่ขึ้น สามารถจ้างเดือนละ 25,000 - 30,000 บาท
หรือไต่เต้าขึ้นเป็นผู้จัดการหรือหัวหน้าแผนกความปลอดภัย
อาจแตะเพดานเงินเดือน 35,000 - 40,000 บาท
ถ้าค้นพบ หาเจอ ได้ทำงานกับโรงงานขนาดใหญ่มากขึ้น
ที่มีศักยภาพจ้างสูงขึ้น เงินเดือน 5-6 หมื่นบาทยังพอมีบ้าง
ยิ่งได้งานโรงงานขนาดใหญ่มาก หรืองานปิโตรเคมี
เงินเดือนอาจ 7-8 หมื่นบาท ซึ่งไม่รู้ว่าอนาคตจะไปถึงจุดหมายหรือไม่
ปัจจุบันงานความปลอดภัย เงินเดือนตัวเลข 6 หลักโรงงานแบบนี้มีน้อยมาก
ดังนั้น น้องจปว.ต้องหมั่นเสริมความรอบรู้และวิชาการต่างๆ
รู้จักรักษาตัวรอด เซฟตนเอง ในหน้าที่ด้านความปลอดภัย
ต้องใฝ่เรียนรู้เรื่องคุณภาพด้าน ISO9001 และ IATF 16949
หรือทุก ISO ที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมที่รับผิดชอบ
หมั่นศึกษาให้เข้าใจ OH&SMS (ISO45001) ให้เชี่ยวชาญ
แต่ชีวิตจริง
จปว.มักจะรู้จักแต่ ISO45001 ส่วนใหญ่ไม่แม่นในข้อกำหนด
ต้องสามารถนำข้อกำหนดเข้าไปประยุกต์ใช้งานได้ครบถ้วนและถูกต้อง
ถ้าบริหารเวลาได้ อาจจะหาโอกาสศึกษาต่อปริญญาโทด้านวิศวะอุตสาหการ หรือการจัดการอุตสาหกรรม หรือวิศวกรรมความปลอดภัย หรือที่เปิดโอกาสกว้างมากที่สุด คือด้านปริญญาโทบริหาร MBA
ซึ่งมีเปิดเรียนในวันเสาร์ อาทิตย์ จะสร้างและเพิ่มโอกาสเติบโตได้อย่างกว้างขวางในอนาคต
ส่วนคนทำงานด้านคุณภาพ
มักจะห่างไกลกับความปลอดภัย (Safety)
ในทางตรงกันข้าม คือ วิศวกรไม่ค่อยสนใจ หรือไม่ใกล้ชิด ISO45001
ยกเว้นผู้ที่สำเร็จเพิ่มในสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ถ้าสภาพการเป็นแบบนี้
วิศวกรยังเดินหน้าก้าวต่อไปได้
หลังเพิ่มวุฒิปริญญาตรี
สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ทำให้เพิ่มโอกาสในการทำงานและรู้จักป้องกันอันตรายในการทำงาน
ขณะเดียวกันโรงงานส่วนใหญ่ จะมี จปว.ในโรงงานเพียง
1 คนเท่านั้น
ปัจจุบันจะพบว่า
จปว. เปลี่ยนงาน สมัครงานใหม่กันทุกปี
แต่ก่อนมักบ่นกันว่า วิศวกรเปลี่ยนงานบ่อย หรือ Turn Over
ปัจจุบันก็ยังคงเป็นเหมือนเดิม แถมมี จปว. มาร่วม Turn Over
ขณะเดียวกันวิศวกร Tune Over แต่เงื่อนไขยังแตกต่างจาก จปว.
ค่าตอบแทน จปว.พอมีประสบการณ์หรือทำงานมาหลายๆปี
ยังประมาณ 25,000 – 30,000 บาท ไม่ได้ขึ้นสูงเท่าที่ควรจะได้
ถ้านำมาเปรียบเทียบกับวิศวกร อาจค่อนข้างยากหรือค่อนข้างช้า
ซึ่งเงินเดือนวิศวกร สามารถไปถึง 50,000 - 60,000 บาทแล้ว
จปว.จะต้องทำยังไงให้เติบโต หรือเงินเดือนสูงขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าต้องทำงานอยู่ในโรงงานที่ไม่มีแผนกหรือหน่วยงานความปลอดภัย
ต้องเพิ่มความรู้ ด้านคุณภาพเข้าไป และสามารถทำงานกับฝ่ายบุคคลได้
เพื่อหาหนทางขยับขยายไปเติบโตในฝ่ายบุคคล
หรือบางบริษัทเรียกฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
หรือไปเติบโตฝ่าย/แผนกอื่น
เช่น ไปเป็นหัวหน้าฝ่ายคลังสินค้า หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ หัวหน้าฝ่ายอื่นๆ
ที่ใช้ประสบการณ์ชีวิตบวกขนขวายความรู้เพิ่มเติม ผลักดันไปข้างหน้า
บางคนที่มีความสามารถอาจไปเป็นถึงระดับจัดการ
จึงจะไม่ต้องทำงานอยู่คนเดียวแบบ
“โดดเดี่ยวและเดียวดาย”
งานความปลอดภัย ควบคู่กับความเสี่ยง
ทำงานที่เสี่ยงสูง เช่น งานด้านก่อสร้าง อาจต้องเจรจาค่าตอบแทน
ให้สูงขึ้น รองรับกับความเสี่ยงที่มากขึ้นและการทำงานหนักกว่าโรงงาน
ยิ่งงานด้านปิโตรเคมี สิ่งคุกคามเยอะ ทำงานนานวัน นานนับสิบปีขึ้น
ถ้าไปตรวจสุขภาพ เจาะเลือด จะพบความเสี่ยงการเป็นมะเร็งต่างๆสูงขึ้น
ต้องพิจารณาว่า หลังจากเกษียณงานแล้วอาจจะมีโรคจากการทำงานพ่วงมา
ยิ่งแถบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เคยมีการตรวจเลือดชาวชุมชนรอบข้าง
พบว่า มีความผิดปกติทางสุขภาพพอสมควร โอกาสเป็นมะเร็งจะว่าเยอะก็ใช่
ดังนั้น ค่าตอบแทนต้องสูงให้กับคนทำงานในพื้นที่เสี่ยงสูงกับภัยคุกคามมาก
จปว. ต้องไม่ทำงานแบบ“โดดเดี่ยวและเดียวดาย”
เริ่มจากกฎหมายว่า จปว.สังกัดต้องขึ้นกับผู้บริหารโดยตรง
ต้องอาศัยดาบของผู้บริหาร บวกกับกฎหมายนำหน้าการทำงาน
นำเสนอโครงงานความปลอดภัย ต้องเปรียบเทียบผลที่โรงงานจะได้
ถ้าผลที่จะได้มองแล้วคุ้มค่า ลดความเสี่ยง เชื่อว่าผู้บริหารสนับสนุน
การเปิดงานทุกโครงการความปลอดภัย บันไดขั้นแรก
ต้องเรียนเชิญผู้บริหารมากล่าวเปิดงาน แถลงนโยบาย กำหนดเป้าหมาย
ทะยอยหาแนวร่วม กองกำลังแรกที่ต้องขอให้ช่วยเหลือกัน
ให้มองไปที่หัวหน้างานฝ่ายผลิต ที่ต้องเป็น จป.หัวหน้างานทุกคน
ตามกฎหมายกำหนดชัด ก่อนเริ่มการผลิตทุกเช้า จป.หัวหน้างานทุกคน
ต้องปฎิบัติงานด้วยการตรวจความปลอดภัยก่อนทุกครั้งเริ่มจากใส่ PPE
จุดงานนี้สำคัญ พยายามผลักดันให้สำเร็จโดยการซื้อใจหัวหน้างานทุกคน
สร้างความสัมพันธ์ตั้งแต่ จัดอบรมหัวหน้างานก่อน
อย่าทำให้ผลผลิตตกลงเพราะมาอบรมโดยให้ทยอยอบรมผูกสัมพันธ์กัน
กิจกรรมความปลอดภัยต่างๆ ค่อยๆเดินระบบอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมแรก 5ส
โรงงานญี่ปุ่นจะง่ายหน่อย เพราะผู้บริหารร่วมตรวจงานทุกสัปดาห์
โรงงานอื่นๆละ จปว. อย่าเพิ่งฝังใจว่า "เสมือนเข็ญครกขึ้นภูเขา"
เขียนต่อคราวหน้า........................................................................................................................................................................
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น