ระบบบริหารคุณภาพกับชิวิตจริงในโรงงาน
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28 ถนนพรหมาสตร์ ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
Privacy Policy of KS Nation Consultant Co.,Ltd. Blog ที่ 7
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. IATF16949 and ISO
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ เซฟตี้ โทรหา"
081 3029339 ติดต่อ QMR & เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act
วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว
โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1 วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี
โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ
PSM: Process Safety Management
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน
In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ช่วงนี้โรงงานเริ่มอบรมภายใน เพื่อป้องกันโควิท 19
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISOกรณีผู้เข้าอบรมจำนวน 30-40 ท่านขึ้นไป ควรจัดระยะห่าง มีเจลล้างมือ ใส่แมสตลอด
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
(เรื่องการเป็นตัวแทนฝ่ายบริหาร : To be QMR)
In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA
สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019.
New FMEA By AIAG & VDA
สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link http://safetysolving.blogspot.com/
คุณภาพเป็นเลิศ ราคาพอเพียง ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี
081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn Ngamprompong หรือ ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี
การอบรมภายในตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง
ที่ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com
อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018
ผู้เขียนจะทยอยเขียนบทความ ในBlog นี้ เริ่มจากหน้าที่ของQMR ก็ต้องมีระบุเหมือนๆกับตำแหน่งอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็มีระบุในคู่มือคุณภาพ บางองค์กรก็มีระบุลงไปหรือกำกับลงในแผนผังองค์กร (Organization Chart) นอกจากนี้ มีจัดทำเป็น JD (Job Description) หรือใบพรรณนาลักษณะงาน
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ สู่ "โซเชียล ไอโซ่ (Social ISO) เพื่อนแท้ที่แปลกหน้า"
|
Doi Suthep, Changmai Province, Northern of Thailand |
แม้ว่า ISO9001:2015 ข้อกำหนดไม่ได้ระบุหมายถึง Not Requireให้มี MR ที่เราเรียกว่า QMR และมีผลตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2015 เข้ามาแทนที่เวอร์ชั่นเก่า 2008 แต่ทุกองค์กรมีแล้ว ดังนั้นจะคงมีต่อไปก็ได้ หรือจะใช้มอบหมายหน้าที่ต่างๆให้หนึ่งคนทำ หรือหลายๆคนทำก็ได้ ถ้าหน้าที่ของ QMR ยังคงอยู่ เดินตามบทความด้านล่างต่อไป เท่าทีพบ ณ ปัจจุบันทุกโรงงานยังคงมีการแต่งตั้ง QMR ไม่มีการถอดออกตามข้อกำหนดใหม่ ทั้งมาตรฐาน ISO9001:2015 และ IATF16949:2016 หรือระบบบริหารคุณภาพอื่นๆทั้งด้านชิ้นส่วนอากาศยาน ด้านโทรคมนาคม รวมถึงด้านเครื่องมือแพทย์
หน้าที่ของตัวแทนฝ่ายบริหารคุณภาพ
(Quality Management Representative: QMR)
มีดังนี้
1 ทำหน้ารณรงค์ ส่งเสริม และรักษาระบบบริหารคุณภาพของทั้งองค์กรร่วมกับทุกฝ่ายและให้พนักงานรับรู้ เข้าใจใน "นโยบายคุณภาพ (Quality Policy)"
2 สื่อสารให้ทั้งองค์กรรับรู้งานด้านระบบบริหารคุณภาพ และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
3 ติดต่อประสานงานกับทุกฝ่ายในการจัดทำ รณรงค์ ส่งเสริม และรักษาระบบบริหารคุณภาพของทั้งองค์กร
4 ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอก รวมทั้งผู้ตรวจประเมินระบบบริหารคุณภาพของหน่วยงานให้การรับรอง(Certification Body:CB)
5 จัดทำแผนการตรวจติดตามคุณภาพภายใน(Internal Quality Audit Schedule/Plan)
6 ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพภายใน(Internal Quality Audit) ให้ได้ตามแผน
จัดทำรายงาน(Report)ให้ผู้บริหารองค์กรรับทราบและติดตามปัญหาต่างๆ
7 จัดทำแผนการประชุมงานทบทวนบริหารคุณภาพ(Management Review Meeting Schedule/Plan) และรายงานการประชุมงานทบทวนบริหารคุณภาพ(Management Review Meeting Report)ให้ผู้บริหารองค์กรเพื่อให้ดำเนินการประชุมตามที่กำหนดไว้และติดตามผลการปรับปรุง
8 ติดตามผลการตรวจติดตามคุณภาพภายใน(Internal Quality Audit) ให้มีการปฎิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องด้านคุณภาพและดำเนินการป้องกัน
9 ติดตามสิ่งที่ผู้บริหารให้คำแนะนำกับทุกฝ่ายว่าได้มีความคืบหน้าและมีการดำเนินงานต่อเนื่อง
10 ทำการควบคุมระบบเอกสารและบันทึกคุณภาพให้เป็นไปตามระเบียบปฎิบัติ(Procedure) ร่วมกับ หน่วยงานควบคุมเอกสาร(Document Control Center) และทุกฝ่าย
11 ประสานงานกับฝ่ายบุคคล ให้มีการฝึกอบรมด้านความตระหนักถึงคุณภาพ และหลักสูตรต่างๆที่พัฒนาบุคคลากรในระบบบริหารคุณภาพ
ผู้ช่วย QMR (Assistant Quality Management Representative) คือใคร
ในข้อกำหนดของ ISO9001 ระบุชัดว่าให้หนึ่งคนในระดับจัดการมาเป็น QMR และไม่ได้กล่าวถึงผู้ช่วย QMR เลย ต่อมาโรงงานทำระบบบริหารคุณภาพ ตัว QMR อาจจะงานมาก บางแห่งเป็น QA Manager หรือมีภาระกิจหลายอย่าง แต่ละวันมีประชุมก็มาก เลยมีการแต่งตั้งคนอีกหนึ่งคน เข้ามาช่วยงานด้าน ISO ก็คงไม่ผิดกติกาอะไร หน้าที่ของผู้ช่วย QMR ก็แล้วแต่องค์กรจะมอบหมาย ส่วนใหญ่มีหน้าที่ ดังนี้
1 ทำหน้ารณรงค์ ส่งเสริม และรักษาระบบบริหารคุณภาพของทั้งองค์กรร่วมกับQMR และให้พนักงานรับรู้ เข้าใจใน "นโยบายคุณภาพ (Quality Policy)"
2 สื่อสารให้ทั้งองค์กรรับรู้งานด้านระบบบริหารคุณภาพ และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องร่วมกับ QMR
3 ช่วยติดต่อประสานงานกับทุกฝ่ายในการจัดทำ รณรงค์ ส่งเสริม และรักษาระบบบริหารคุณภาพของทั้งองค์กร
4 ช่วย QMR จัดเตรียมเอกสาร รายงานต่างๆในระบบคุณภาพให้กับทุกฝ่ายและหน่วยงานภายนอก(Certification Body)
5 ช่วย QMR จัดทำแผนการตรวจติดตามคุณภาพภายใน(Internal Quality Audit Schedule/Plan)
6 ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพภายใน(Internal Quality Audit) ให้ได้ตามแผน
ช่วยจัดทำรายงาน(Report)ให้ QMR และช่วยติดตามปัญหาต่างๆ
7 ช่วยจัดทำแผนการประชุมงานทบทวนบริหารคุณภาพ(Management Review Meeting Schedule/Plan) และช่วยทำรายงานการประชุมงานทบทวนบริหารคุณภาพ(Management Review Meeting Report)ให้ผู้บริหารองค์กรเพื่อให้ดำเนินการประชุมตามที่กำหนดไว้และช่วยติดตามผลการปรับปรุง
8 ช่วยงาน QMR ในการติดตามผลการตรวจติดตามคุณภาพภายใน(Internal Quality Audit) ให้มีการปฎิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องด้านคุณภาพและดำเนินการป้องกัน
9 ทำการควบคุมระบบเอกสารและบันทึกคุณภาพให้เป็นไปตามระเบียบปฎิบัติ(Procedure) ร่วมกับ QMR และหน่วยงานควบคุมเอกสาร(Document Control Center)
10 ช่วยประสานงานกับฝ่ายบุคคล ให้มีการฝึกอบรมด้านความตระหนักถึงคุณภาพ และหลักสูตรต่างๆที่พัฒนาบุคคลากรในระบบบริหารคุณภาพ
11 อื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายจาก QMR
เมื่อถามว่าทุกตำแหน่งต้องมีใบพรรณนาลักษณะงาน หรือ JDหรือไม่
คำตอบคือ ต้องมี จะได้ทราบว่าแต่ละตำแหน่งมี หน้าที่(Duty) บทบาท(Role) ความรับผิดชอบ (Responsibility)เป็นอย่างไร แม้แต่ท่านประธานบริษัท ก็ยังมี แต่ละองค์กรอาจแตกต่างกันไป เพราะการบริหารคุณภาพของแต่ละองค์กรย่อมไม่เหมือนกัน แตกต่างทั้งโครงสร้างองค์กร ความสามารถของบุคลากร โดยประธานบริษัท มักมอบอำนาจการบริหารให้กับกรรมการผู้จัดการ หรือกรรมการผู้จัดการอาจมอบอำนาจต่อให้กับผู้บริหารระดับสูง เช่น ผู้จัดการโรงงาน(Plant Manager)ขององค์กรเพื่อดูแลงานบริหารคุณภาพ กำหนดนโยบายคุณภาพ (Quality Policy) ซึ่งต้องเป็น Commitment ของฝ่ายบริหารออกมา เพื่อให้ทุกคนในองค์กรนำไปปฎิบัติ
การบริหารกิจการภายในบริษัท เมื่อมอบหมายให้กรรมการผู้จัดการ(Managing Director) ถ้าจะเปรียบเทียบกับร่างกายของมนุษย์เรา กรรมการผู้จัดการก็เปรียบเสมือนหัวใจ มีอำนาจเต็ม แม้จะมอบหมายให้ผู้จัดการฝ่ายไปบริหารงาน ท่านต้องให้ดาบไปด้วย หมายถึงให้อำนาจไปด้วย แต่ตำแหน่งก็เสมือนหัวโขน
ผู้เขียน ยกตัวอย่างโรงงานหนึ่งที่เคยอยู่ วันหนึ่งมีหลายคนมาบอกว่า พนักงานสามคนปฎิบัติตนไม่ดี ให้ทำอย่างไรก็ได้ให้ออกไปจากองค์กรเพื่อความเจริญผาสุขกับทุกคน ผู้เขียนก็คิดว่า ถ้าทำแล้วครอบครัวของสามคนจะลำบากหรือไม่ ต่อมาพบว่าพนักงานสามคน ทำฟาล์วข้อกติกาที่ห้ามเล่นไฮโลและหวยใต้ดินภายในพื้นที่โรงงานโดยเด็ดขาด ผู้เขียนเป็นผู้ดำเนินการและเสนอให้กับหัวหน้าของผู้เขียนผ่านทางผู้จัดการฝ่ายบุคคล ท่านเห็นด้วยที่ให้เลิกจ้างพนักงานทั้งสามคนอย่างกะทันหัน ผู้เขียนแจ้งตัวต่อตัวกับพนักงานทั้งสามท่านว่าเลิกจ้าง และให้ออกจากโรงงานทันที ต่อมาได้ยินและทราบข่าวว่า กรรมการผู้จัดการท่านเปรยไว้ ถ้าเป็นท่านทำเอง ที่สำนักงานสีลม ท่านให้ไล่ออก แต่คนไม่ดีโรงงานกลับจ้างออก
ต่อมามีพนักงานอีกหลายคน มาขอผู้เขียนให้ช่วยจ้างออก เพราะอยากได้เงินก้อน ทำให้พบว่า การบริหารผิดพลาด จริงอยู่สามคนออกไป เพื่อตัดและกำจัดวงจรการพนัน เจ้ามือหวย เจ้ามือไฮโลออก เพื่อให้โรงงานก้าวหน้า เพราะจะว่าไปแล้วจะหาหลักฐานมาจับผิดสามคน ค่อนข้างยากมาก ไม่มีใครกล้าเป็นพยาน และที่สำคัญที่สุดจะทำให้หัวหน้าที่เป็นผู้จัดการโรงงานที่เรานับถือต้องเดือดร้อนในอนาคต เพราะท่านคล้อยตามที่เราเสนอให้ปลดพนักงานออกด้วยการจ้างออกแทน
หลังจากนั้นผู้เขียนจึงตัดสินใจลาออกไปทำงาน Advisor ให้โรงงานแห่งหนึ่งและ จุดนี้ทำให้ผู้เขียนก้าวเข้าสู่การทำที่ปรึกษาในยุคนั้น และเวียนว่ายระหว่างงานที่ปรึกษากับงานที่เป็นระดับจัดการในโรงงานต่างอีกมากมาย จึงได้ไปทำระบบ มาตรฐานและกิจกรรมต่างๆมากมายในชีวิตจริง จึงขอนำประสบการณ์เหล่านี้มาเล่าให้น้องๆที่จบใหม่ไปทำงานโรงงาน เพื่อให้เข้าใจว่าชีวิตจริงในโรงงาน ย่อมแตกต่างจากชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างมากๆ
ในยุคก่อนๆ มีหวยใต้ดินที่เล่นกันมาก(เดี๋ยวนี้ก็ยังมาก) บางโรงงานผมบอกผู้บริหารให้ท่านยืนหันหลัง แล้วเอามะนาวโยนกลับไป หรือขว้างกลับไป ลูกมะนาวโดนพนักงานคนไหน ก็คนนั้นที่เล่นหวย แต่ยุคนี้มีเพิ่มการพนันฟุตบอล คิดว่าน้องๆโรงงานต้องเตือนใจตนเอง อย่าไปเล่นพนันฟุตบอลมีแต่หมดตัว หากเราออมเงิน20-30% ของเงินเดือน และทุกปีที่ได้เงินโบนัส ให้นำไปซื้อทองสักสองบาท(ตอนนี้คงไม่ได้ เพราะทองแพง) หรือทุกๆสิบปี หาซื้อที่ดินสักหนึ่งงาน ที่ไกลจากตัวเมืองสักหน่อย และนำเงินที่จะไปซื้อหวย โดยชักสามในสี่ส่วนจากการซื้อหวยทั่วไป นำไปซื้อสลาก ธกส และสลากออมสิน ถือเป็นการลงทุนที่ไม่เสี่ยงและมีโอกาสเป็นเศรษฐีได้แค่ทางเดียว เพราะชีวิตลูกจ้าง คงไม่รวยยกเว้นวิธีนี้เท่านั้น ผู้เขียนไม่ได้ส่งเสริมให้ซื้อหวย สุดท้ายเวลาผ่านไปสามสิบปีของอายุการทำงานเรา ก็พอจะมีหลักทรัพย์ไว้ใช้ยามเกษียณงาน ผู้เขียนเล่าให้ฟังนะครับ อย่าคิดว่าสอนอะไร ขอกลับมาเล่าเรื่อง ISO9001 Version 2008 และ ISO/TS 16949 Version 2009 ต่อไป
ประธานบริษัท (President) :
ขอยกตัวอย่าง มีหน้าที่ ดังนี้
1 เป็นผู้กำหนดและให้ข้อคิดด้านกลยุทธ์ขององค์กร หรือที่เกี่ยวกับนโยบายคุณภาพ
2 กำหนดทิศทางการลงทุนทางธุรกิจต่างๆเพื่อความสำเร็จ
3 ต้อนรับแขกระดับสูงและบุคคลสำคัญที่มาเยี่ยมชม
4 กระชับสัมพันธ์อันดีกับบริษัทอื่น เพื่อสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ
5 หาแหล่งเงินทุนและขยายการลงทุนทางธุรกิจให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น
6 เป็นผู้รับผิดชอบการพิจารณาโครงการสำคัญๆและจัดสรรบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ
7 เป็นผู้พิจารณาการร่วมลงทุนหรือคู่ค้าจากบุคคลหรือองค์กรภายนอก
8 เป็นผู้ติดตามผลงานและประเมินความสำเร็จของกิจการบริษัท
หลักสูตรที่ QMR ควรอบรม คือ
1 Lead Assessor Course ซึ่งต้องใช้เวลาอบรม 5 วัน แต่ค่าเรียนขึ้นกับว่าไปเช้าเย็นกลับ ไม่มีพักค้างโรงแรม ราคาประมาณ หนึ่งหมื่นกว่าบาทถึงสองหมื่นกว่าบาท แต่ก่อนนิยมเรียนและต้องพักค้างโรงแรมชั้นหนึ่ง อาหารพร้อม ค่าสัมมนาก็สามหมื่นกว่าบาทต่อคน ที่ให้ไปเรียนต่างจังหวัด เช่น พัทยา หรือโรงแรมในเขตเมือง เพื่อจะได้หยุดงานชั่วคราวและมีสมาธิเต็มที่ในการอบรม หากเรียนที่โรงงานคิดว่าระหว่างอบรม เดี๋ยวก็ถูกตามเข้าไปดูปัญหางาน เดี๋ยวก็มีโทรศัพท์เรียกตัว จนทำให้การอบรมไม่ได้ประสิทธิผล การสัมมนาอบรมหลักสูตรนี้ เนื้อหาการเรียนค่อนข้างหนัก มี Work Shop ด้วย สุดท้ายมี สอบ เดี๋ยวนี้ บริษัทไม่ค่อยส่งพนักงานเข้าอบรมหลักสูตรนี้ อาจเพราะว่า ต้องการประหยัด
2 Internal Audit Course มีการอบรมภายนอกตามสถานที่ต่างๆ(Publish Training) เช่น ที่ สสท. จะใช้เวลา 3 วัน ความเข้มของหลักสูตรก็น้อยกว่าหลักสูตรที่ 1 มาช่วงหลังๆ โรงงานนิยมจ้างที่ปรึกษาหรือหน่วยงานรับรอง เช่น MASCI, SGS, TUV Rhienland, TUV Nord, Intertek Moody, URS อื่นๆ ไปสอนภายในโรงงาน (In-house Training)
ส่วนการปรับหลักสูตรเหลือ 2 วันจากเดิมสอน 3 วัน บางแห่งใช้เวลาอบรมเพียง 1 วัน ก็มี จึงทำให้เวลาอบรมไปแล้ว ยังทำการตรวจติดตามไม่ค่อยได้ หรือพอทำได้แต่ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ ก็คงต้องตรวจไปสักหลายครั้งและเวลามีผู้ตรวจสอบจากภายนอกมาตรวจติดตามผล(Surveillance) หลังได้เรียนรู้จากของจริง นานวันเข้าก็จะกระจ่างชัด กลายเป็นกระบี่มือหนึ่ง (ดูบ้างหรือเปล่า ที่ทีวีช่ิอง 7)
นอกจากนี้เท่าที่ทราบ MASCI ก็มีสอนโดยเรียนทางInternet หรือ E-Learning ไม่แน่ใจว่าเรียกถูกต้องหรือไม่ เพียงสมัครและจ่ายเงินแล้ว ก็เปิดComputer หาความรู้ได้สะดวกสบาย สนใจก็สอบถามไปยังสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI)
3 หลักสูตรพื้นฐานด้าน ISO หรือหลักสูตรเกี่ยวกับข้อกำหนดของ ISO มักใช้เวลาสัมมนาเพียง 1 วัน ก็ควรไปเรียนเพิ่มเติม หากเข้าใจในข้อกำหนดทุกอย่างก็ง่าย จริงอยู่ สองหลักสูตรข้างบน เวลาไปสัมมนา จะมีการทบทวนข้อกำหนด(Requirement)ให้ แต่ใช้เวลาสั้นๆ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น
4 นอกจากนี้ก็ยังมีหลักสูตรต่างๆ เช่น วิธีการควบคุมเอกสาร วิธีการจัดทำใบJD การเป็น QMR วิธีการรักษาระบบ การบริหารงานคลังสินค้าให้สอดคล้องกับระบบบริหารคุณภาพ อื่นๆ
ขั้นตอนการขอรับรองจาก Third Party พอสรุปได้ดังนี้
1 การสมัครขอรับการรับรอง คือบริษัทลงข้อความและรายละเอียดครบถ้วนลงในใบสมัคร แล้วยื่นสมัครที่หน่วยงานให้การรับรอง (Certification Body: CB) ที่ท่านต้องการ ในไทยมีมากกว่า สามสิบแห่ง แต่ละแห่ง อาจกำหนดเงื่อนไขและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน โดยมักให้ลงข้อมูล เช่น
1.1 ให้บอกรายละเอียดของบริษัท ชื่อ ที่อยู่ สถานประกอบการ แผนที่ตั้ง ประเภทธุรกิจ และอื่นๆ
1.2 แนบสำเนาใบประกอบการต่างๆ เช่น หลักฐานการได้รับอนุมัติจัดตั้งบริษัท ใบทะเบียนพาณิชย์ ใบประกอบกิจการหรือกรรมสิทธิ์แสดงการเป็นนิติบุคคล บริษัท ห้างร้าน
1.3 กรณีประธานบริษัท และ/หรือกรรมการผู้จัดการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ให้แนบใบมอบฉันทะไปด้วย กรณีเป็นชาวต่างชาติให้สำเนาหนังสือเดินทาง(Passport) แทนบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน
1.4 ให้แนบขั้นตอนกระบวนการผลิต และ/หรือ บริการ
1.5 แจ้งขอบข่ายและมาตรฐานที่จะขอรับการรับรอง
1.6 นำส่งคู่มือคุณภาพ (Quality Manual) จำนวน 1 เล่ม (สามารถส่งให้ทาง E-Mail) บางองค์กรที่ให้การรับรอง อาจร้องขอระเบียบปฎิบัติ(Procedure) พร้อมกัน หรือนำส่งภายหลังวันที่สมัคร แต่ควรล่วงหน้าก่อนวันนัดตรวจประเมินเบื้องต้น หรือตรวจขั้นที่หนึ่งสัก 15 วัน (เพื่อให้ทีมตรวจประเมินศึกษาในรายละเอียดและวางแผนการตรวจประเมินทั้งระบบ) ขอเน้นว่าเอกสารครบถ้วน ครบทั้งคู่มือคุณภาพ และระเบียบปฎิบัติ อาจได้รับการตรวจประเมินเร็วขึ้น เร็วกว่าบริษัทที่เอกสารไม่พร้อม หรือไม่ผ่านการประเมินระบบเอกสาร นับเป็นการพิจารณาความพร้อมด้านระบบเอกสารของแต่ละบริษัท
หมายเหตุ ผู้ที่รับมอบอำนาจส่วนใหญ่มักเป็น QMR แต่บางองค์กรอาจให้ฝ่ายบุคคล หรือฝ่ายกฎหมายที่อยู่ ณ สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯไปยื่นก็ได้ เนื่องจากตัว QMR อาจอยู่โรงงานต่างจังหวัดหรือไม่สะดวกที่จะมากรุงเทพฯ
2 การตรวจสอบเบื้องตัน (Preliminary Visit) คือการที่เจ้าหน้าที่จากองค์กรที่ให้การรับรอง ไปตรวจสอบเบื้องต้น ณ โรงงานหรือสถานประกอบการ ที่ยื่นขอรับการรับรอง ใช้เวลาประมาณ 1 วัน แต่ก่อนคือไม่คิดค่าใช้จ่าย บางหน่วยงานให้การรับรองอาจข้ามไปตรวจประเมินที่เรียกว่าการตรวจประเมินขั้นที่หนึ่ง (First Step Audit)
แต่จุดประสงค์ของการตรวจสอบเบื้องต้นคือ
2.1 เพื่อสำรวจดูความพร้อมของบริษัทนั้นๆในการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ
2.2 ตรวจสอบว่ากิจกรรมของการทำงานมีครบหรือมีส่วนใดที่ยกเว้นของข้อกำหนดในมาตรฐานที่รับรอง หรือ มีการออกแบบ หรือไม่มีการออกแบบ มีการทำงานกี่กะ และอื่นๆ
2.3 ขอบข่ายที่ขอรับการรับรองครอบคลุมอะไรบ้าง หากบางผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ไม่ครอบคลุม จะถูกตัดออกจากขอบข่ายที่ขอรับการรับรอง แต่โรงงาน บริษัทก็สามารถขอเพิ่มหรือลดขอบข่ายได้
2.4 ประเมินจากงานและกิจกรรมต่างๆ ว่าจะใช้เวลาตรวจประเมินจริงกี่วัน ปัจจุบันหน่วยงานให้การรับรอง ปรับเปลี่ยนไป ใช้ข้อมูลที่สมัคร จำนวนพนักงานขององค์กร แล้วกำหนดจำนวนวันตรวจประเมินว่ากีวัน(Man-Days) แทนการไปตรวจสอบเบื้องต้น
3 ขั้นตอนการประเมินเอกสาร(Document Assessment) คือ ผู้ตรวจประเมินจากหน่วยงานที่จะให้การรับรอง ทำการประเมินว่าระบบเอกสารในระบบบริหารคุณภาพ โดยประเมินจาก คู่มือคุณภาพ(Quality Manual) ระเบียบปฎิบัติ(Procedure) ว่าสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 9001 หรือไม่ ขาดสาระสำคัญ หรือมีข้อบกพร่องใดบ้าง จะทำการแจ้งให้ผู้ขอรับการรับรองทราบโดยผ่านทาง QMR ทราบต่อไป
4 การตรวจประเมินเบื้องต้น (Pre-Assessment) คือการตรวจประเมินครั้งแรก ก่อนที่จะตรวจประเมินจริงอีกครั้ง
5 การตรวจประเมินขั้นที่ 1 (First Step Audit) เป็นการตรวจที่หน้างาน(On-Site) หรือจะ Offline ที่เรียกว่า Stage 1 Audit มักเน้นไปที่ Desktop Audit ตรวจหาสิ่งบกพร่องเพื่อแจ้งให้ทำการแก้ไขปรับปรุงให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจขั้นที่ 2 (หากโรงงานทำการตรวจติดตามคุณภาพภายใน(Internal Quality Audit )มาดี เข้มแข็ง ตรวจจริงจัง ก็ไม่น่าจะพบข้อบกพร่อง หรือพบน้อยมาก) แต่ในชีวิต กลับไม่ใข่เช่นนั้น ตรวจเมื่อไร ก็พบ สุ่มตรงไหนก็เจอ ก็เป็นการสะท้อนว่าการตรวจติดตามคุณภาพภายใน(Internal Quality Audit ) ยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร
5.1 การตรวจประเมินขั้นที่ 2 (Second Step Audit หรือ Stage 2 Audit) คือการตรวจประเมินจริง ครั้งที่สอง ต่อจากครั้งแรก ระยะเวลาอาจจะห่างกันประมาณ 15-30 วัน หรือมากกว่า ขึ้นกับความพร้อมของโรงงาน เพื่อติดตามผลการแก้ไขข้อบกพร่อง เป็นการตรวจประเมินทุกกิจกรรมที่อยู่ในระบบบริหารคุณภาพ จำนวนวันตรวจประเมินแต่ละแห่งอาจไม่เท่ากัน คือขึ้นกับกิจกรรม พื้นที่ และข้อบกพร่องที่พบมากน้อยแค่ไหน บริษัทขนาดใหญ่ พื้นที่กว้าง สายการผลิตมาก จะใช้เวลาในการตรวจประเมินที่มีจำนวนวันมากขึ้น เท่าที่ผู้เขียนทราบ บางแห่งตรวจประเมินถึง 15 วันหรือมากกว่าก็มี แต่การตรวจประเมินในปัจจุบัน ผู้ตรวจประเมินมีจำนวนจำกัด การตรวจประเมินแต่ละวันมีการแบ่งทีมตรวจสอบออกเป็น สามถึงสี่ทีม ตรวจประเมินพร้อมๆกัน หากองค์กรต้องการสร้างทีมงานให้เก่ง ให้จัดทีมติดตามผู้ตรวจสอบทุกทีมหมุนเวียนกัน ให้จดทุกอย่างที่ผู้ตรวจสอบถามคำถาม ให้จดทุกสิ่งที่ผู้ตรวจประเมินขอดู เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ให้ครบถ้วนทุกขั้นตอน นำมาศึกษาเพิ่มเติมในภายหลัง แต่ก่อนการศึกษาระบบง่ายกว่า เพราะผู้ตรวจประเมินจะไปทีมเดียว เข้าตรวจที่ละฝ่าย ทำให้มองเห็นระบบการตรวจประเมินเข้าใจภายในหนึ่งปี ปัจจุบันต้องเรียกว่า แห่ลงตรวจพร้อมกัน กว่าจะเรียนรู้ทั้งระบบอาจใช้เวลามากกว่า อาจใช้เวลา 2-3 ปีถึงเข้าใจทุกขั้นตอน เข้าใจงานทั้งระบบ
6 การเสนอคณะกรรมการให้การรับรอง คือ กรณีที่ตรวจประเมินแล้วต้องไม่พบข้อบกพร่องสำคัญหรือข้อบกพร่องหลัก(Major) ถ้ามีจะไม่ส่งเรื่องให้คณะกรรมการพิจาณาให้การรับรอง หากพบเป็นข้อบกพร่องย่อย สามารถส่งเรื่องให้การรับรองได้ เงื่อนไขเหล่านี้แต่ละหน่วยงานที่ให้การรับรอง(CB)อาจมีแตกต่างกันบ้าง แต่ก่อนพบสามข้อบกพร่องย่อย(Minor)ถือว่าเป็นหนึ่งข้อบกพร่องหลักในเรื่องเดียวกัน เงื่อนไขนี้ ปัจจุบัน บางCB ก็ยกเลิกไป จะเป็นเพราะเกรงว่าโรงงานจะสอบผ่านยาก หรือการแข่งขันกันด้านธุรกิจก็แล้วแต่จะคิด ผู้เขียนมองว่า ถ้ามีระบบ พอมีศักยภาพ ก็น่าจะให้สอบผ่านก่อนได้ จากนั้นช่วงการติดตามผล(Surveillance) ค่อยๆไปเร่งให้ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง คิดว่าตลอดสามปีที่อยู่กับCB คงจะดียิ่งขึ้น
7 การออกใบคำร้องขอให้ปฎิบัติการแก้ไข (Corrective Action Request) คือเมื่อตรวจประเมินพบข้อบกพร่องจะออกใบคำร้องขอให้ปฎิบัติการแก้ไข หรือเรียกสั้นๆว่า CAR เพื่อแจ้งให้โรงงานดำเนินการแก้ไข คราวหน้าผู้ตรวจประเมินจะมาติดตามผลอีกครั้ง ถ้าออก CAR กรณีข้อบกพร่องย่อย ถือว่าสอบผ่าน เพียงอยู่ในขั้นตอนรอคณะกรรมการให้การรับรอง ส่วนทางโรงงานก็ต้องส่งแผนงานและแนวทางการแก้ไขให้ทีมผู้ตรวจสอบยอมรับก่อน
8 การตรวจติดตามผลการแก้ไข (Follow Up) คือ การตรวจติดตามผลการแก้ไขข้อบกพร่องจากการตรวจประเมินแล้วพบข้อบกพร่องหลัก(Major) แสดงว่าโรงงานสอบไม่ผ่าน ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นมากนัก มักให้ผ่านก่อน แล้วให้ไปปรับปรุงในครั้งถัดๆไปก็ได้(ผู้เขียนคิดเอง) เมื่อโรงงานทำการแก้ไขแล้วเสร็จ
ผู้ตรวจประเมิน จะนำเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้การรับรองต่อไป
9 การตรวจติดตามผล(Surveillance)คือ การตรวจติดตามผลหลังได้รับการรับรองแล้ว แสดงว่าโรงงานสอบผ่านในขั้นตอนการตรวประเมินที่สอง(Second Step Audit) แต่ก่อนทุกๆหกเดือนครั้งก็จะมาติดตามผล ปัจจุบันก็ทราบว่าผู้ตรวจสอบมีจำกัด หรือมีคิวตรวจประเมินที่ติดๆกัน ทำให้ไม่สะดวกในการจัดแผนการตรวจติดตามผล บางแห่ง หรือแทบจะส่วนใหญ่ ขยับเวลาออกเป็น 9เดือนต่อหนึ่งครั้งที่ต้องไปตรวจติดตามผล บางครั้งโรงงานติดธุระ หรือ QMR ดึงๆเวลาหน่อย ขอเลื่อนการตรวจออกสักหนึ่งถึงสองเดือน กลายเป็นเกือบปี ค่อยไปตายเอาดาบหน้า หรือขอไปทดเวลาบาดเจ็บในครั้งหน้าก็แล้วกัน ก็เป็นเทคนิคที่ QMR ไม่ควรใช้บ่อย ยกเว้นจำเป็นจริงๆ หรือเข้าตาจน หากให้ผู้ตรวจประเมินมาตอนนี้ พบข้อบกพร่องมากมาย ส่วนใหญ่ก็ปัญหามาจากพนักงานที่เก่งหรือเป็นระบบมากหน่อย ลาออกไปซะส่วนใหญ่ ยามปกติ QMR ต้องสร้างคนรองรับไว้ตลอด หรือแม้แต่ QMR ต้องลาออก ก็อย่าให้องค์กรสะดุด ปกติผู้เขียนมักจะสร้างมือที่สองรองรับไว้ เพราะบางครั้งการเป็น QA Manager ด้วย หรือมีปัญหาจากน้องๆทำงานผิดพลาด หรือเรื่องไม่คาดฝัน เราอาจต้องลาออกแสดงความรับผิดชอบแทนก็มี จะไปให้ลูกน้องๆรับผิดชอบได้อย่างไร ปกติหัวหน้าต้องรับผิด ส่วนความชอบควร้ป็นของน้องๆ เปรียบแล้ว การเป็นผู้จัดการก็เหมือนการเป็น สส ในสภา บางครั้งมาเร็ว ก็ไปเร็ว
10 การตรวจประเมินใหม่ (Re-Assessment หรือ Re-Audit) คือการตรวจประเมินใหม่ภายหลังครบระยะเวลาที่ได้รับการรับรองสามปี ข้อมูลเก่าถือว่ายกเลิกกันไป เริ่มนับหนึ่งกันใหม่ ถ้าจะเปลี่ยนหน่วยงานที่ให้การรับรองมักจะปรับเปลี่ยนกันช่วงนี้ บางโรงงานยื่นรับรองมากกว่าหนึ่งแห่งก็มี เพราะว่าอาจถูกลูกค้าร้องขอมา ถ้าได้รับรองจากหน่วยงานรับรองแรก พอยื่นสมัครที่หน่วยงานรับรองที่สอง อาจได้สิทธิพิเศษ
เข้ามาสุ่มตรวจผลการแก้ไข ขอดูผลการตรวจประเมินจากCB แรก หรือทำตามเงื่อนไขของแห่งที่สอง สามารถ Transfer เพื่อออกใบรับรองระบบใบที่สองได้ อาจใช้วันตรวจประเมินเพียง1-2 วัน ขึ้นกับCB นั้นๆ จะเสนอเงื่อนไขใดมาให้ แต่มักจะเล้าใจ ราคาถูกลงมาก อย่างน่าใจหาย ก็เป็นธรรมดาที่แต่ละCB ต้องชิงส่วนแบ่งการตลาด
ในBlog ที่ 3 ผู้เขียน ได้เขียนถึงคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายในไปแล้ว หากคนของโรงงาน สนใจที่จะไปสมัครเป็นผู้ตรวจประเมินภายนอกบ้าง ก็ต้องไปสมัครที่หน่วยงานให้การรับรอง(Certification Body:CB) ต้องไปเป็นผู้ตรวจประเมินฝึกหัดก่อนสักระยะเวลาหนึ่ง อาจหนึ่งถึงสองปี จึงจะสามารถขึ้นทะเบียนเป็น Registered Auditor มีหลายสถาบันที่สามารถขึ้นทะเบียนได้ถ้าคุณสมบัติครบถ้วน เช่น IRCA ของประเทศอังกฤษ อื่นๆ
ส่วนใหญ่ CB จะรับผู้จบจากสายวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุด และสาขาวิทยาศาสตร์ด้วย สาขาอื่นๆก็มี
คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็น Auditor เพื่อไปสมัครกับCB ส่วนใหญ่มักกำหนดคุณสมบัติ เช่น
1 การศึกษา จบปริญญาตรีขึ้นไป
2 การฝึกอบรม สอบผ่านหลักสูตร Lead Assessor บางท่านไม่มี หาก CB สนใจคุณ หลังจากรับคุณเข้าทำงานแล้ว ก็จะส่งคุณไปอบรม
3 ประสบการณ์การทำงาน เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ(QA) หรือการควบคุมคุณภาพ (QC) บางแห่งกำหนดอายุงานด้านนี้อาจ 2 ปี หากเป็น QMR มาก่อน ยิ่งดี หากเป็นงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ISO บางCB ต้องการประสบการณ์ทำงานถึงสี่ปีก็มี
4 อื่นๆ ให้สอบถามจาก CB เพราะบางหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบ อาจต้องมีผู้สนับสนุน (Sponser) อย่างน้อยสองท่านรับรองประวัติการทำงานงาน และความประพฤติ ผู้สนับสนุนควรเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มีตำแหน่งรับรองจากสถาบันที่มีชื่อเสียง หรือเป็น ผู้บริหารของ CB โอกาสได้รับการขึ้นทะเบียนสูงและที่สำคัญต้องทำงานเป็นผู้ตรวจประเมินฝึกหัดที่ตรวจมาแล้วประมาณ5-10 องค์กร(โรงงานหรือบริษัท)
ผู้ขียน ใช้คำว่า To be QMR คือการเป็น QMR โดยจะเล่าสิ่งที่พบเห็นมาจากอดีตถึงปัจจุบัน บางครั้งมีน้องเก่าจากที่ทำงานเดิม ได้รับแต่งตั้งเป็น QMR มาถามว่าจะทำอย่างไร
สิ่งแรกต้องรีบศึกษาข้อกำหนดของ ISO9001:2008 & ISO/TS 16949: 2009 ศึกษาระบบงาน และ CAR เก่า ให้เข้าใจ การจะเป็นQMR ที่ดี คิดว่าทุกคนทำได้ โดยพยามยามทำงานเต็มที่ ทำด้วยใจ ต้องมีแผนปฎิบัติงานหรือ Action Plan แต่ทำแล้ว คงต้องปวดหัวบ้าง มีความกดดันบ้าง เพราะต้องพบกับคนจำนวนมากขึ้น ทุกฝ่ายที่อยู่ในระบบบริหารคุณภาพ ก็จะมาหาเรา
ก่อนหน้านี้ผู้เขียนอยู่โรงงานหนึ่ง สภาพโรงงานก็พูดว่า แบบลูกทุ่ง แต่น่าแปลกใจ พนักงานมีความตั้งใจ สู้งาน และไม่ได้กลัว ISO คนที่กลัวISO น่าจะเป็นผู้จัดการกับที่ปรึกษาของบริษัทมากกว่า เพราะกลัวว่า ทำแล้วจะล้มเหลว ยื่นขอรับรอง จะสอบไม่ผ่าน ช่วงสร้างระบบโดยใช้ ISO เข้าไป พยายามทำให้กลมกลืน อย่าไปฝืนหรือบังคับใจพนักงาน โรงงานสภาพนี้พนักงานส่วนใหญ่ก็บรรดา พี่ ป้า น้า อา การศึกษาไม่สูง บางคน ป 7 ยังไม่จบก็มี (สมันนี้เป็น ป6) QMR ต้องชี้นำ ทีละขั้น เรียกประชุมบ่อยครั้ง เน้นสอนISO ที่เกี่ยวข้องกับงานของพนักงานแต่ละส่วนงาน ปกติแล้ว “เก่งไม่กลัว ที่กลัวคือไม่เก่งแล้วไม่ทำ” ทุกโรงงานก็มีคนประเภทนี้ ยิ่งแบบศรีธนนชัย เรียก พี่ ก็มีทุกแห่ง ขอให้ QMR ไม่ต้องไปห่วงเขามาก เพราะเขาสามารถเอาตัวรอดได้ เรียกว่า คืนนั้นทั้งคืน นั่งปั่น นั่งแต่ง เป่าและเสกจนได้เอกสารครบถ้วน ผู้เขียนย้ำเสมอว่า ทำISO ให้เหมือนเรารับประทานข้าว ควรรับประทานทุกวันสม่ำเสมอ อาการไฟล้นก้นจะไม่พบเห็น
แต่แปลกชีวิตจริงในโรงงาน ก็พบเห็นเสมอ ก่อนผู้ตรวจสอบจะมาหนึ่งวัน เรียกว่าฝุ่นตลบทั่วโรงงาน มองไม่เห็นหน้าพวกศรีธนนชัย แต่แปลกตรงที่พวกศรีธนนชัย มักไม่กลัว ISO แต่กลัว 5ส เหตุผลเพราะว่าโรงงานนั้น กรรมการผู้จัดการเอาจริงจังกับเรื่อง 5ส ก่อนทำISO หรือระหว่างทำ ควรเน้น5ส เป็นฐานรากเลยก็จะดีไม่น้อย
QMR ควรใช้จังหวะเป็นโอกาส ช่วงนำระบบบริหารคุณภาพมาใช้ ถือโอกาสปรับเปลี่ยนสิ่งเก่าที่ไม่เหมาะสมออกไปเลย เพราะวัฒนธรรม(Culture) เหล่านี้ อยู่ๆจะไปเปลี่ยนแปลง มักได้รับการต่อต้าน บางครั้งก็ต้องพบกันครึ่งทาง เรียกว่าวัดครึ่งหนึง QMR ขอครึ่งหนึ่ง ช่วงนั้นบางสิ่งถูกปรับปรุงไป สุดท้ายไม่น่าเชื่อโรงงานที่ว่าลูกทุ่ง สามารถสอบผ่านได้รับการรับรองISO (ในยุคนั้น ที่สอบผ่านยากกว่าปัจจุบัน) เรื่อง คนจึงสำคัญที่สุดขององค์กร ผู้เขียน ก็เคยพบเห็น บางองค์กร คนก็เก่ง แต่ขาดระเบียบวินัย ไม่เอา ไม่ทำ ไม่สนใจในกติกา ถึงจะเป็นโรงงานที่ดีกว่า มีชื่อเสียงมากกว่า สุดท้ายการทำ ISO ก็ล้มลุกคลุกคลาน แก้ไขไปทีละเปาะ สภาพแบบนี้ QMR และทีมงานจะลำบาก สุดท้ายพบว่าทำISO มีคนไม่กี่คนรวมทั้งตัว QMR ทำให้หมด ตั้งแต่ไปช่วยตรวจ ช่วยทำCheck List ช่วยทำรายงาน ช่วยทุกอย่างจนจบ ถ้าพบแบบนี้ QMR จะหาทางออกอย่างไร
บางโรงงานก็มีทั้งคนรุ่นเก่า เลือดเก่า และคนรุ่นใหม่ เรียกว่าเลือดใหม่ หากระบบบริหารคุณภาพ หลอมหล่อให้เป็นหนึ่งเดียวได้ จะอยู่กันแบบมีพลัง แต่ส่วนใหญ่มักพบปัญหา เลือดเก่ามองว่าเงินเดือนน้อยกว่า ยังจะมาให้ทำ ISO ทำแล้วได้อะไรตอบแทน ดูคนรุ่นใหม่ มาทีหลังเงินเดือนสูงกว่า ซึ่งเด็กใหม่ ส่วนใหญ่ก็จบปริญญามา สังคมกำหนดและมีโอกาสมากกว่า จึงได้ค่าตอบแทนที่สูง จุดนี้หลายองค์กรต้องระมัดระวังดีๆเพราะสุดท้ายน้องใหม่ ทนแรงเสียดแทนไม่ได้ มักลาออกไป ทีมงานISO ก็โดนด้วย มักลาออกตามไปเช่นกัน ปัญหาเลือดใหม่ เลือดเก่ายังพอแก้ไขได้
แต่ปัญหาคนเก่าบางกลุ่มที่กอดคอกันรักษาผลประโยชน์กลุ่มตน คนใหม่มักโดนสกัดออกหมด พบแบบนี้จะนำระบบใด มาตรฐานใดมาใช้จะล้มเหลวหมด หากเป็นแบบนี้ น่ากลัวมาก จำได้ไหม ยุคลดค่าเงินบาท เศรษฐกิจไม่ดี ล่วงเวลาหาไม่ได้ เงินเดือนถูกลด ปัญหาตามมา คือ สิ่งของ หรือสินค้า ในโรงงานมักสูญหายบ่อย ผู้เขียนเคยดูแลคลังสินค้า ไว้เรื่องเก็บตกมาฝากเหล่านี้ จะเขียนลง Blog ที่10
หน้าที่หลักของQMR คือ รณรงค์ ส่งเสริม และรักษาระบบบริหารคุณภาพ
งานหลักของQMR คือ ทำInternal Audit ควบคุมระบบเอกสารและบันทึกคุณภาพ และประชุมทบทวนงานบริหารคุณภาพ แต่ก่อนนิยมทำ Internal Audit ปีละ2-3 ครั้ง ปัจจุบันทำแบบให้ถูกข้อกำหนดคือมีทำจริง แต่มักทำปีละครั้ง ระบบไม่ได้ถูกเข้มงวดต่อเนื่องทั้งปี งานQMR ก็จะมาหนักช่วงทำInternal Audit และการประชุมทบทวนงานบริหารคุณภาพ(Management Review Meeting) QMR ควรจัดให้มีการทำInternal Audit กรณีพิเศษ ถึงระบบจะระบุให้ทำปีละครั้งเท่านั้น แต่เราทำปีละสองครั้ง หรือมากกว่า จะได้มีวงจร(Cycle) แบบที่ว่า หกเดือนทำหนึ่งครั้ง หรือทุกๆสี่เดือนทำหนึ่งครั้ง หากทิ้งช่วงนานไป เรียกว่า สนิมขึ้นนั่นเอง
ส่วนการประชุมทบทวนงานบริหารคุณภาพจัดใหญ่ปีละหนึ่งครั้งเช่นกันหลังการทำ Internal Audit เสร็จ ก็ควรเพิ่มเข้าไปในระบบโดยขอให้การประชุมประจำเดือนของผู้จัดการฝ่ายกับผู้บริหารระดับสูง ขอให้ผูกวาระของISO เข้าไป นำปัญหาเข้าไปเพื่อจะได้มีการสะสาง แก้ไขและปรับปรุงกันอย่างจริงจัง
ผู้ตรวจสอบของCB คิดอะไร (คงตอบแทนไม่ได้)
แต่ก่อนจะถึงวันถูกตรวจประเมิน ผู้ตรวจสอบของCB ก็มีการเตรียมตัว จัดทำCheck List หากว่าเคยตรวจประเมินโรงงานที่เป็นธุรกิจประเภทเดียวกันมาก่อน ผู้ตรวจสอบจะพบและศึกษาสิ่งต่างๆมาหมด ทั้งด้านเทคนิคและคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ หากมองในมุมมองผู้เขียน ซึ่งเคยเป็นผู้ตรวจสอบจาก CB มาก่อนเช่นกัน เข้าใจว่า ผู้ตรวจสอบทั้งหลาย ก็พยายามจะใช้ความรู้ความสามารถ มาช่วยยกระดับและปรับปรุงร่วมกัน ยิ่งเป็นโรงงานขนาดเล็ก อะไรก็ไม่มี จะช่วยได้มาก พอเป็นผู้ตรวจประเมิน(Auditor) มันก็เหมือนกับที่หลายคนพูดว่าเป็นเพชรฆาตโรงงาน คงไม่ร้ายแรงขนาดนั้น เพียงแต่เสมือนว่ามีวิญญาณของความเป็นเหยี่ยว ก็ต้องบินล่า(เหยื่อ)ข้อบกพร่องให้พบ สุดท้ายไม่พบก็ไม่ว่าอะไร โรงงานอาจจะทำได้ดีจริง หรือบางอย่างยังแฝงเร้นไว้ ยังสุ่มตรวจสอบไม่พบ ไว้คราวหน้าค่อยมาตรวจติดตาม อย่างไรเสีย ตลอดเวลาให้การรับรองสามปียังต้องพบกันตลอด
ผู้เขียนคิดว่าผู้ตรวจสอบส่วนใหญ่ หรือส่วนมากเลย ทำตามหน้าที่ให้ดีที่สุด จริงอยู่มักตรวจนาน ตรวจเกินเวลา (ผู้เขียนเคยให้ CAR ในใจ กับผู้ตรวจสอบCB ไปห้าแห่ง สมัยอยู่ห้าโรงงานเก่า และมีห้าCB มาตรวจ ที่ต้องให้ CAR ในใจ เนื่องจาก ผิดข้อ Contract Review ทุกครั้ง) หากคิดกลับ ตรวจมากๆไป ผู้ตรวจสอบก็ไม่ได้อะไรจากคุณ โบนัสก็ไม่ได้มีส่วนแบ่งด้วย แต่มีโรงงานหนึ่ง เขียนเพื่อเป็นอุธาหรณ์ ผู้บริหาร ตั้งค่าหัวAuditor ไว้ว่า ขอโทษพูดใหม่ ดังนี้ ท่านตั้งเป้าการตรวจประเมินว่า หากพบหนึ่ง CAR โบนัสลดหนึ่งเดือน ถึงไม่แปลกใจ ปกติจับเรื่องเอกสารก็พบผิดหรือบกพร่องบ่อย ครั้งนี้ไม่พบ เพราะพนักงานบอกว่า ทุกคนนั่งตรวจเอกสารทุกใบ ทุกแฟ้ม พอโดนเข้าไปหนึ่งCAR ผู้ตรวจสอบเกือบจะไม่ได้ออกจากโรงงานซะแล้ว ขอบคุณพระเจ้า ที่ลูกรอดออกมาได้
ขอให้ QMR พยายามสร้างความเข้าใจให้ทุกฝ่ายมีมิตรภาพกับผู้มาเยือน การให้เกียรติ ให้ความนับถือในตัวผู้ตรวจสอบที่เราเรียก อาจารย์ ถือว่าเป็นมิตรภาพที่ดี สุดท้ายอาจารย์ก็ใจอ่อน บางเรื่อง QMR ก็สามารถขอปรึกษาส่วนตัว จะได้ลด50 % อันนี้ผู้เขียนพูดเอง สุดท้ายเรื่องลักษณะนี้ QMR ต้องพยายามทำให้มีบรรยากาศในการตรวจสอบที่ดี บรรยากาศแบบสบายๆ ไม่เคร่งเครียดต่อกัน การอำนวยความสะดวกเต็มที่ เพราะทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องแสดงบทบาทของแต่ละคนออกมา
ผู้เขียนของยกตัวอย่าง บี้ เดอะสตาร์ หรือ คุณสุกฤษฎ์ วิเศษแก้ว เป็นนักร้องนักแสดง เรื่อง ข้ามเวลาหารัก คู่กับนางเอก นก สินจัย ที่ทีวีช่อง 5 มีหน้าที่ ต้องแสดงละคร มีความรับผิดชอบ ต้องแสดงเต็มที่ เล่นละครให้ครบทุกตอน ไม่มาสายให้เพื่อนๆที่กองถ่ายต้องรอนาน บทบาทที่ออกมาในมาดพระเอก จะเล่นออกมาให้เป็นผู้ร้ายย่อมไม่ได้ ในทางกลับกัน เมื่อ คุณบี้ อยู่บ้าน ก็มีหน้าที่คือลูกของคุณพ่อ คุณแม่ มีความรับผิดชอบต้องดูแลท่าน บทบาทที่บ้านออกมาคือลูกที่ดี มีความกตัญญู นอบน้อมต่อบิดาและ มารดา
ผู้เขียนนึกถึง สมัยโน้น ที่พี่เบิร์ด ธงไชย ดังกระหึ่มทั้งประเทศ ยังไม่มี บี้ ยังไม่มีตูมตามและนท ช่วงถัดมาก็มี คุณศรราม มีเต๋า สมชาย ผู้เขียนก็มีเป้าหมายของชีวิตคือ อยากเป็นนักร้องด้วยเช่นกัน คิดจะเอาอย่างพี่เบิร์ด ตามอย่างคุณศรราม หรือตามแบบเต๋า ใจจริงผู้เขียนชอบเต๋ามากๆ ถึงขนาดเคยเปลี่ยนชื่อเล่น มาเป็น เต๋า ห้ามเรียกว่า เต่า(มีกระดอง) แต่ตอนนี้จะไม่เอาอย่างเต๋า สมชายที่ใจร้อน เป็นพระเอก แต่กลับไปออกบทบาทผู้ร้าย ชกต่อยผู้อื่น หลังศาลจังหวัดลำปางพิพากษาให้จำคุกคุณเต๋า เป็นเวลา 15 วันโดยไม่รอลงอาญาเมื่อเดือนที่แล้ว ถือว่าเป็นอุธาหรณ์
บางครั้งเป้าหมายคุณภาพไม่สำเร็จ ใน ISO ให้ทำแผนปฎิบัติการได้ หากยุคนั้น เดอะสตาร์ก็มา ดันดาราก็มี เวทีเอเอฟ อคาดิมี่ เกิดขึ้นแล้ว เราคงไม่ได้พบกันที่เวบบอร์ดนี้ น่าจะพบกันที่แกรมมี่ หรือ อาร์เอส หรืออาสยาม เอาละผู้เขียนคั่นเวลาเล่าความในใจให้ฟังมามากโข ขอกลับเข้าสู่บทความ
การตั้งรับกับผู้ตรวจสอบของCB จะทำอย่างไร หรือคิดไว้รับมือกับผู้ตรวจสอบประเภทขึ้นบัญชีดำ (Black List)
ที่เขียนหัวข้อนี้ เพื่อให้เห็นภาพ ซึ่งในชีวิตจริงนั้นมี และผู้ตรวจประเมินก็รู้ทัน แต่ไม่พูด ไม่ว่าอะไร
ฉะนั้น บางเรื่อง บางหัวข้อไม่ควรกระทำ พนักงานที่มีอายุการทำงานต่ำกว่า 13 ปีควรได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองและ QMR
1 คิดว่า จะทำอย่างไรถึงจะถ่วงเวลาผู้ตรวจสอบของCB มีวิธีการคือ พาไปรับประทานอาหารนอกโรงงานช่วงพักเที่ยง โดยแจ้งว่าอาหารที่โรงอาหารหมด คิดว่าพรุ่งนี้ผู้ตรวสอบคงพกข้าวเหนียวหมูปิ้งมากินเอง หรือพกมาม่า คัพ
2 เวลาผู้ตรวจสอบถาม ตอบให้ตรงคำถาม ไม่ต้องอธิบายมาก ให้ข้อมูลมาก ยิ่งถูกตรวจนาน(ถ้าอยากกลับบ้านเร็ว)
3 เวลาจะส่งเอกสารให้ ต้องชำเลืองดูเนื้อในด้วย ส่งสุ่มสี่ สุ่มห้า โดนCAR บางครั้งมีจดหมายกิ๊ก มีรูปนางแบบ รักษาหน้าของเราบ้างนะ
4 QMR ต้องกำหนดทีมตามประกบผู้ตรวจสอบ มอบหมายให้คนไหนเป็นตัวหลักที่จะตอบ ห้ามแย่งกันตอบ หากตอบไม่ตรงกัน เผลอๆโดนCAR
5 เวลาส่งเอกสารให้ผู้ตรวจสอบ ห้ามส่งให้ทั้งแฟ๊ม ให้หยิบทีละใบ ทีละชุด ให้เท่าที่ขอดู
6 ทีมตามประกบผู้ตรวจสอบ ให้จดทุกคำพูดของผู้ตรวจสอบ จดทุกหลักฐานที่ถูกขอดู เชื่อได้แน่นอน จะถูกตามไปดูกับส่วนและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น จดล๊อตสินค้าที่คลังสินค้า จะถูกตามไปที่QC Final มีการตรวจสอบผ่านหรือไม่ ไปที่ QC Incoming ว่ามีการตรวจรับเข้าหรือไม่ ไปที่ฝ่ายจัดซื้อ ว่าซื้อวัสดุที่มาผลิตสินค้าล๊อตนี้จากซัพพลายเออร์ที่อยู่ใน AVL/ASL หรือไม่ เป็นต้น
7 ศึกษานิสัยใจคอ ของผู้ตรวจสอบแต่ละท่าน หากจะชวนคุยบ้างจะได้สนุก ไม่จำเจ บางคนชอบพระเครื่อง บางคนชอบเรื่องแสตมป์ แต่กลับไปชวนคุยเรื่องฟุตบอล จุดนี้ไม่ต้องสอนพวกศรีธนนชัย รู้จักใช้เวลาจุดนี้เป็นประโยชน์ แต่อย่าดึงเวลาจนไม่น่าดู อาจถูกทดเวลาบาดเจ็บได้
8 อย่าพาผู้ตรวจสอบไปตรวจเอกสารที่ห้องทำงานของคุณ ให้จัดห้องตรวจเฉพาะ จะได้มีเวลาระหว่างไปหยิบ ไปหาเอกสาร ที่สำคัญต่างคน ต่างมองไม่เห็นกัน ว่าทำอะไร จิตใจจะได้สบาย เพราะเกิดผู้ตรวจสอบเห็นคาตา อาจทำใจไม่ได้ ถ้าจะทำต้องให้เนียน อย่างไรเสีย ก็ลงเรือลำเดียวกันแล้ว จะ Make จะทำรายงานย้อนหลัง ก็ไม่ว่ากัน อย่าให้เหมือนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย มานั่งอ่านหนังสือสอบทั้งคืน ไฟล้นก้น บอกกับตัวเองว่า พอเปิดเทอมหน้า จะเริ่มอ่านทุกวัน ผู้เขียนขอเล่าให้ฟัง สมัยก่อนที่จะสร้างห้างมาบุญครอง ตรงข้ามกับสยามสแควร์ (Siam Squire) กรุงเทพฯ บริเวณตรงนั้นคือ หอพักเจ้าจอม สภาพก็เก่ามาก ขมุกขมัว พรุ่งนี้จะสอบ คืนนั้นทั้งคืนไปดูได้ ไฟเปิดสว่างทั้งหอ พบนกฮูก นั่งกินบะหมี่มาม่า ตาแดงเต็มไปหมด
9 ที่โดนCAR บ่อยๆก็เพราะบางครั้ง มีผู้อื่นมาตอบแทนและให้ข้อมูลแทน คนที่ทำงานโดยตรงไม่ได้ตอบเอง ให้ชี้แจงไปว่า เป็นหน้าที่งานของใคร ขอให้คนนั้น ฝ่ายนั้นตอบเท่านั้น
10 ที่กล่าวมาข้างบนเป็นเรื่องมโนสาเร่ ที่นี่เรื่องจริงผ่านจอ คือ ก่อนผู้ตรวจประเมินจะมานั้น ให้ทำการอบรมพนักงานทั้งองค์กร ทำการสื่อสารว่าจะถูกตรวจประเมินวันไหน ย้ำด้านนโยบายคุณภาพอีกครั้ง
11 ให้แต่ละฝ่ายประชุมทีมงาน ติดตามการทำงานของพนักงาน ว่าใช้เอกสารถูกต้องตามระเบียบ ลงบันทึกข้อมูลครบถ้วน จัดเก็บเข้าที่ เข้าแฟ๊ม ให้ทดสอบค้นหาเอกสาร บันทึกและรายงานต่างๆได้ สามารถเข้าถึงข้อมูลในเวลารวดเร็ว จุดนี้บางครั้ง ไปดึงเกมส์ ทำหาไม่พบ ณ เวลานั้น หรือพบแต่ล่าช้าแล้วค่อยๆมาให้ผู้ตรวจสอบดู หากกระทำบ่อยๆ มีโอกาสโดน CAR ก็ได้ ณ เวลานั้น เพราะผู้ตรวจสอบมีโน๊ตไว้ ว่าขอดูอะไร แต่บางครั้งมีลืมเหมือนกัน หรือเวลาหมดก่อน กรรมการเป่านกหวีดหมดเวลา เพราะผู้ตรวจสอบต้องเตรียมทำประชุมปิด(Closing Meeting) อย่างนี้เรียกว่าโชคช่วย
12 QMR เข้าสุ่มตรวจสอบความพร้อมของแต่ละฝ่าย ติดตามงานค้างของทุกฝ่าย เช่น คำแนะนำจากผู้บริหารตอนทำการประชุมงานทบทวนบริหารคุณภาพคืบหน้าถึงไหน ใบ CAR ที่ถูกตรวจติดตามคุณภาพภายใน(IQA) ปิดเรียบร้อยแล้ว เนื้อหาใจความที่ปิดสมบูรณ์แบบจริงๆคือมีประสิทธิผล
13 ติดตามCustomer Complaint/Claim ว่ามีปฎิบัติการจริง ลูกค้ายอมรับผลเป็นที่เรียบร้อย
14 ก่อนวันตรวจประเมินจริง ต้องนัดแนะกับฝ่ายขายให้ชัดเจนว่าถูกตรวจประเมินวันไหน มิฉะนั้นเซลล์(Sale) หรือผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด มักออกเยี่ยมลูกค้าตรงกับวันตรวจประเมิน สุดท้ายจะเหลือแต่ผู้จัดการฝ่ายขายกับQMR มานั่งตอบแทน ต้องฝึกให้ผู้เกี่ยวข้องมารับการตรวจประเมิน เพื่ออนาคตนำไปปฎิบัติได้ถูกต้องด้วยตนเอง
15 ไปติดตามในพื้นที่โรงงาน โดยกำหนดทีมงานไปสำรวจ ทั้งการชี้บ่ง การวางพื้นที่ของดี ของเสีย และรอพิจารณา ให้ทุกฝ่ายทำ 5ส ก่อนถึงวันตรวจจริง โรงงานสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ก่อให้เกิดความปลอดภัยและเป็นหน้าตาของษริษัทด้วย คงไม่มีโรงงานสกปรก รกรุงรัง ที่ไหน ได้รับรางวัลจากบุคคลหรือองค์กรภายนอก
ผู้เขียน มีเรื่องเล่าให้ฟัง มีพี่เขย เป็นเจ้าของโรงกลึงแห่งหนึ่ง ลักษณะงาน ตามเนื้อตัวก็ต้องเปื้อนมอมแมม ขี่รถมอเตอร์ไซด์เวสป้า เจอตำรวจท่านหนึ่งเรียกตรวจ ขอดูใบขับขี่ก็มี ขอดูบัตรประชาชนก็มีให้ดู ขอดูคู่มือจดทะเบียนรถก็มีพกติดรถ ตรวจสอบองค์ประกอบรถก็ครบ กระจกมองข้างซ้ายขวามีครบ ไม่แตก ไฟส่องสว่างครบทุกดวง ตรวจทะเบียนรถถูกต้อง ติดใบหรือป้ายต่ออายุรถทุกปี ใส่หมวกกันน๊อกด้วย สุดท้ายตำรวจจะเขียนใบสั่งว่า รถเฮียสกปรก มีทั้งเปื้อนคราบน้ำมัน ตามตัวรถมีทั้งฝุ่นและโคลน ฟังแล้วงงเหมือนกัน ต้องไปดูกฎหมายการจราจรระบุอย่างไร หากมีเขียนไว้เราก็ผิดข้อกำหนด หากเป็นมาตรฐานISO9001 มีเขียนข้อกำหนด(Requirement)ไว้ทั้งหมด 8 หมวด(ผู้เขียนจะหาเวลาทยอยเขียนลงBlog ที่ 6) ก็คล้ายกฎหมายว่ามาตราไหน หมวดใด
16 ไปสุ่มตรวจสอบทั้งสโตร์และคลังสินค้า ทั้งการชี้บ่ง การทำ First In First Out (FIFO) ดูการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การบำรุงรักษา การบรรจุและการขนส่งว่าทำตามข้อกำหนด หากมีสมบัติหรือสิ่งของของลูกค้าให้ดูแล จัดเก็บอย่างเรียบร้อย
17 วันที่ตรวจประเมินจริง ช่วงเช้าให้มีการประชุมหน้าแถวทั้งโรงงาน แจ้งให้พนักงานทั้งหมดทราบ ขอให้พนักงานร่วมมือกับผู้ตรวจประเมิน มีและแสดงอัธยาสัยไมตรีต่อกันประดุจญาติมิตร เหมือนกับที่ปฎิบัติต่อแขกที่มาเยี่ยมชมโรงงาน
18 วันตรวจประเมินจริง ณ โรงงาน บริษัทต้องส่งรถยนต์ไปรับผู้ตรวจประเมิน (หากเดินทางมาเอง ทางCB คิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วย) บางครั้ง หรือทุกครั้ง QMR ควรไปรับผู้ตรวจประเมินด้วย เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี พูดคุยพอสมควร ต้องดูว่าผู้ตรวจประเมินต้องการเวลาพักผ่อนระหว่างเดินทาง หรือทำงาน และจัดเตรียมเอกสารหรือไม่ จะได้ไม่รบกวนสมาธิ ควรไปรับให้เช้าๆ อย่าดึงเวลาโดยการไปรับสาย จะทำให้การตรวจสอบล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด ยกเว้นฝ่ายที่ถูกตรวจคนแรก ฝ่ายแรกไม่พร้อม ก็ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสัก 70-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือทำแบบแท๊กซี่บางคัน พาอ้อมโลกสักนิด เข้าพื้นที่รถติดสักหน่อย (จริงๆแล้วต้องเผื่อเวลาการเดินทางไปรับผู้ตรวจประเมิน ควรใช้รถตู้ไปรับจะสะดวกดี นั่งก็สบาย ไม่ใช่จับอัดแบบปลากระป๋อง เพราะบางแห่ง บางครั้งผู้ตรวจประเมินมา5 คน จะให้นั่งเบาะหลัง 4 คน บางท่านน้ำหนักตัว 80 อัพ ก็มี หากวันนั้นฝ่ายบุคคลไม่เปลี่ยนใจหารถคันที่สองไปช่วย เหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้น เรื่องแบบนี้ถ้าเกิดจริง ผู้ตรวจสอบมักไม่ถือสา เพราะเข้าใจสภาพโรงงาน บางแห่งก็ใช่ว่าจะดีไปทุกอย่าง เพื่อนของผู้เขียนเคยบอกว่า หากบริษัทไหน รถรับส่งพนักงานดีมาก ติดแอร์เย็นฉ่ำ สวัสดิการของโรงงานนั้นจะดีมากๆ หากสภาพรถวิ่งเปิดประทุนคล้ายรถเมล์วิ่งหัวตะเข้-ลาดกระบัง ขอให้ทำใจได้เลย สำหรับผู้เขียนคิดว่า เรามาทำงาน อย่าไปคิดมาก)
19 QMR ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังสิ่งที่พนักงานบ่น หรือเล่าให้ฟัง อย่าลำคาญเขาเหล่านั้น ตั้งใจฟัง สิ่งที่เป็นประโยชน์ก็นำมาใช้ในการจัดการ ฟังเข้านานๆจะทราบว่าองค์กรเราเป็นอย่างไร สร้างเมื่อไร ใครเป็นหนี้ใคร ใครมีกิ๊ก ใครชอบยืมเงิน หากเป็นเรื่องส่วนตัวเขา ให้เคารพสิทธิส่วนบุคคล ฟังหูไว้หู นอกจากนี้จะพบว่าโรงงานเรามีทั้งเล่นแชร์ ขายแอมเวย์ มีเอ็มสตาร์ เยอะแยะมากมาย หากบอกน้องๆได้ ก็ขอให้ทำนอกเวลางาน QMR อย่าไปอุดหนุนซื้อก็แล้วกัน ไม่ต้องกลัวว่า บรรดาแม่ค้าเหล่านี้ จะไม่ช่วยทำ ISO เพราะวันๆเวลาก็หมดไปอย่างรวดเร็ว บางครั้งยังต้องใช้ล่วงเวลามาทำงานปกติ
20 บางหน่วยงานที่มีปัญหามาก ชอบปฏิเสธ CAR ตอนทำ Internal Audit ใครบอก ใครทัก มักไม่ฟัง บางครั้ง QMR จำเป็นต้องยืมดาบผู้ตรวจสอบบ้าง เมื่อมีการตรวจติดตามผล(Surveillance)จากผู้ตรวจสอบจาก CB ให้ชี้เป้าให้โดนCAR บ้าง พอคนนอกบอกหรือกล่าวใดๆ มักเชื่อฟัง จะได้จบลงแบบแฮปปี้ เอ็นดิ้ง คือไม่ต้องมาทะเลาะกันระหว่างฝ่ายต่อฝ่าย
21 บางครั้งผู้ตรวจสอบเสร็จแล้ว หรือเปลี่ยนใจจะขอดูเพิ่มอีกหนึ่งฝ่าย QMR จงเลือกฝ่ายที่พร้อมที่สุดให้ถูกตรวจสอบกรณีพิเศษ ไม่ต้องคิดว่า ฝ่ายนั้นกวนโอ๊ย น้องISO ไปตามเรื่องทีไร โดนอัดกลับมาทุกครั้งน้องDC (Document Controller) ไปแจก ไปตามคืนเอกสาร ให้รอนาน ไม่สนใจ บ่นว่าอีกต่างหาก คราวนี้ต้องพาผู้ตรวจสอบเข้าเช็คบิลซะที จงนึกเสมอ หยิกเล็บก็เจ็บเนื้อ ยามเมื่อฝ่ายใดโดน CAR ตัว QMR มักโดนด้วย มี CAR มากๆ ในองค์กร ผู้บริหารจะตำหนิหน่วยงาน ISO และ QMR ทุกครั้งเช่นกันว่าดูแลระบบไม่ดี
22 อย่าไปอวดความรู้ว่ามีมากกว่าผู้ตรวจสอบ คนตรวจ(Auditor)อย่างไรก็ได้เปรียบคนถูกตรวจ(Auditee)
พื้นที่กว้างขวางมากมาย จำนวนหัวข้อที่ต้องถูกตรวจติดตามก็เยอะ เหมือนอยู่ในสภาพตั้งรับ จับตรงไหนก็ได้ ยิ่งเรื่องขาดประสิทธิผล(Effectiveness) ผู้ตรวจสอบไม่มั่นใจ สามารถให้ใบสั่งได้(ขอเรียกใบ CAR กรณีพิเศษ)
ช่วงที่ผู้เขียน ไปทำที่ปรึกษา หลายครั้งต้องลงไปรักษากาณ์ผู้จัดการให้บางโรงงาน หรือบางครั้งเป็น QMR ขัดตาทัพ ออกจากโรงงานก็มืดค่ำทุกครั้ง ช่วงนั้นเพื่อนๆก็ว่า ทำเสียระบบที่ปรึกษา กระโจนลงไปแบบทุ่มสุดตัว ควรออกจากโรงงานอย่างช้าไม่ควรเกินเวลา 17.00 น. แต่เหตุผลลึกๆ ต้องเห็นใจโรงงานขนาดเล็ก เพราะเป็นช่วงคนเก่าลาออกไป และหาคนใหม่ไม่ได้ บางครั้งยังเผลอคิดไปว่า เราเป็นพนักงานให้กับสามบริษัทนี้ด้วย
ผู้เขียน จำได้ว่า มีผู้ตรวจสอบท่านหนึ่งอยู่ SGS เป็นสุภาพสตรี เวลาพนักงานสงสัย ไม่เข้าใจ อาจารย์ก็ดีมากๆ สอนให้แบบติวเข้ม สอนนาน เป็นผลดี กับพนักงานเราเพราะได้รับถ่ายทอดประสบการณ์ บางครั้งการฟังจากผู้รู้ท่านอื่นๆ นับว่ามีประโยชน์ เพราะความรู้เรียนกันไม่หมด จึงบอกว่า QMR ไม่ควรไปอวดรู้ บางครั้งก็ทำเป็นไม่รู้และนั่งเงียบๆ ปล่อยให้อาจารย์สอนนานๆ พอดูนาฬิกา ปรากฎว่า ระฆังช่วย เอาไว้ทดเวลาบาดเจ็บกันในคราวหน้า (อย่างที่กล่าวไว้ สามปีอย่างไรเสียก็หนีกันไม่พ้น ผู้ตรวจสอบมีเขียนไว้ว่า ตรวจอะไรไปบ้างแล้ว หัวข้ออะไรที่ต้องยกยอดไปตรวจติดตามคราวหน้า) พอแอบส่งข่าวไปยังส่วนงานที่ไม่ได้ถูกตรวจ พนักงานเฮ เฮ หมายถึงดีใจ
บางช่วงที่ผู้ตรวจสอบได้ยินเสียงเฮดังๆ ถามว่าเกิดอะไร ก็ตอบไปว่า เป็นอย่างนี้ทุกเดือน เดือนละสองครั้ง ถ้าเฮลั่นแสดงว่า ถูก? หากเสียงอุทานออกน้ำเสียงไปอีกแบบ เหมือนหมดอาลัย ซึมและเศร้า แสดงว่า ถูกเหมือนกัน คือ ถูกกินเรียบ จะมีให้เห็นทุกๆวันที่ 1 และ วันที่ 16 ของทุกเดือน
23 QMR ต้องคิดว่า บางครั้งลูกน้องทำผิด หากว่าไม่ใช่การจงใจกระทำผิด ความผิดนั้นเราต้องรับให้ ไม่ใช่ให้ลูกน้องรับผิดทั้งหมด เพราะการเป็นผู้จัดการนั้น ควรรับแต่ผิด ส่วนความดีความชอบควรเป็นของพนักงาน การเป็นผู้จัดการ ก็เหมือนเป็น สส. ในสภาผู้แทนราษฎร มาเร็ว ไปเร็ว ต้องมิตรแท้ประกันภัย
หมายเหตุ อย่าลืมไปเลือกตั้ง สส ในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2554
สุดท้ายผู้เขียนมองว่า ขอให้ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกัน ผิดคือผิด ถูกก็คือถูก รับไปตรงๆ สบายใจกว่า แล้วไปปฎิบัติการแก้ไข เพราะเรื่องระบบบริหารคุณภาพนั้นค่อนข้างกว้างและมีสิ่งที่ต้องทำมีมาก โอกาสเจอข้อบกพร่องเป็นเรื่องปกติ ในข้อกำหนดจึงมีระบุหัวข้อ การปฎิบัติการแก้ไข(Corrective Action) เมื่อผิดแล้วแก้ไข ถือว่าเป็นครู เป็นบทเรียนให้ปรับปรุง แต่บางองค์กรที่ผู้เขียนเคยทำงาน เคยตรวจประเมิน เคยเป็นที่ปรึกษา เคยไปตรวจสอบซัพพลายเออร์ หรือเคยไปเป็นวิทยากรอบรมภายในให้นั้น รวมๆแล้วเคยเห็นโรงงานอื่นๆมามากกว่า 200 แห่งมีทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก จนถึงตึกแถวด้วยนั้น แต่ละแห่งไม่เหมือนกัน บางแห่งมีความกดดันต่อพนักงานมาก พบCAR ไม่ได้เลย ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก อาจถูกทำโทษ หรือไปลดเกรด ลดผลการทำงาน(Performance)ทำให้ไม่ได้ขึ้นเงินเดือน ก็อาจจะเป็นอีกเหตุผลที่พนักงานนั้นๆจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางให้ตัวเองไม่ถูกตำหนิและลงโทษ แต่ไม่ใช่จะเป็นแบบนี้ทุกโรงงาน แค่เพียงส่วนน้อย มีอีกหลายโรงงาน ที่หากิจกรรมคุณภาพมาให้พนักงานมีส่วนร่วม เป็นการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง เช่น ใช้ Suggestion หรือญี่ปุ่นทำ/เรียกว่า ไคเซ็น , QCC มาช่วยงานส่งเสริมคุณภาพและแก้ไขปัญหางาน ฉะนั้นการทำพื้นฐานด้าน5ส การทำISO ก็จัดเป็น Kaizen เหมือนกันคือเป็นการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง(Continuous Improvement แต่ในISO9001 ใช้คำว่า Continual Improvement เคยอธิบายไปแล้วสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร)
ผู้เขียนขอเน้นว่า สำหรับผู้ที่เป็น New QMR ควรอ่านบล๊อก quality1996-quality1996.blogspot.com/ ของ ISO 9001 ให้เข้าใจทุกบล๊อกตั้งแต่บล๊อกที่ 1-3 กล่าวเกี่ยวกับพื้นฐานและความเป็นมาของ ISO บทความที่ 4 เรื่อง Check List บทความที่ 5 เรื่องข้อบกพร่องนำมาใช้ทวนสอบระบบได้ทั้งหมด หากว่าโรงงานท่านได้รับรองระบบ QMS(ISO9001)แล้ว จำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาหรือไม่ โดยทั่วไปผู้เขียนจะบอกเสมอว่าไม่จำเป็น ยกเว้นมีบางเหตุผลหรือ New QMR ต้องการที่จะใช้ที่ปรึกษาเป็นคนกลางไปช่วยสื่อสาร ผลักดันระบบแทนชั่วคราว
โรงงานได้รับรองระบบQMS(ISO9001)แล้ว สิ่งที่ New QMR ควรดำเนินการ คือ
1 สำรวจและทบทวนระบบว่าดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ ทุกฝ่ายต้องใช้ Procedure และทำตามทุกอย่างที่เขียนไว้หรือไม่ หมายความว่า ทำให้ตรงกับที่ระบุ ทั้งหัวข้อ เวลาและความถี่ ต้องรายงานใครบ้าง ส่งรายงานให้กับฝ่ายใดบ้าง
2 อบรมหลักสูตร Overview เพื่อทบทวนว่าข้อกำหนดมีอะไรบ้าง เอาที่สำคัญๆก่อน หรือไม่อบรมแต่จัดประชุมกลุ่มย่ิอย ปรึกษาหารือกันว่าแต่ละฝ่ายมีปัญหาใดบ้าง มีข้อเสนอแนะอย่างไร ช่วยกันสื่อสารว่าองค์กรเราทำ ISO9001 จากนั้นนำทุก Procedure ฉายขึ้น Projector มาศึกษาและทบทวน ถือว่าเป็นการอบรมเกี่ยวกับระเบียบปฎิบัติให้ทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3 สื่อสารนโยบายคุณภาพอย่างต่อเนื่องให้พนักงานทุกคนทราบ และมีส่วนร่วม จัดกิจกรรมวันคุณภาพ สัปดาห์หรือเดือนลดของเสีย เพื่อกระตุ้น สร้างความตระหนักร่วมกันทั้งองค์กร
4 สำหรับ ISO 9001 & ISO/TS 16949 หลังได้รับรองแล้ว ทำตามที่เคยทำไว้ สงสัยเปิด Procedure หรือ คู่มือดูให้เข้าใจและปฎิบัติตาม
5 การวิเคราะห์ต่างๆ การสำรวจความพึงพอใจ การติดตามผลของ KPI ให้ QMR นำของปีที่แล้วมากางดู
แล้วทบทวนว่า ปีนี้มีอะไรเพิ่มและเปลี่ยนแปลงแบบใหญ่ๆหนักๆหรือไม่ หากมีเพิ่ม ให้นำเรื่องนั้นๆมาทำการทบทวน ปรึกษากับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้ทุกฝ่ายทำตาม Procedure หมายความว่า ให้ลองทำตามทุกขั้นตอน หากผลออกมามีปัญหาการทำงาน ค่อยมาประชุมเพื่อทบทวนและแก้ไข Procedure ร่วมกัน
5.1 หากไม่มีเพิ่มอะไร ทุกอย่างเหมือนเดิม ให้ทุกฝ่ายทำงานให้ตรงกับที่เขียน และเขียนให้ตรงกับที่ทำจริง ตรวจกี่ครั้งก็สอบผ่าน
5.2 บางงานและปัญหา สามารถกำหนดวิธีการควบคุมและลดปัญหาโดยใช้ WI (Work Instruction) ให้คอย Monitor ว่าทำตาม WI หรือไม่
5.3 ให้ทำแบบนี้ โดยไล่เรียงทุก Procedure จะช่วยการรักษาระบบได้ดีมาก
5.4 จากนั้นให้สำรวจและทำลักษณะนี้ทุกปี นำ Procedure มาฉายขึ้น Projector เชิญทุกฝ่ายมาร่วมประชุมและปรึกษาร่วมกัน คิดว่าทำได้โดยไม่ต้องจ้างที่ปรึกษา หากจะจ้างที่ปรึกษาก็เปลี่ยนเป็นให้มาทำ In-House Training เน้นเรื่อง สนใจจริงๆหรือมีปัญหาจริงๆ สัก 1-2 วัน เป็นการประหยัดเงินงบประมาณด้วย
6 อีกเรื่องจะเป็นงานเหนื่อยให้กับ QMR คือการทำ Internal Audit บางแห่ง Procedure กำหนดปีละสองครั้งหรือสามครั้ง บางแห่งก็ปีละครั้ง ก็ให้ทำตามที่กำหนด
7 เรียกประชุมทุกฝ่าย นำ Procedure เรื่อง Internal Audit มาฉายขึ้น Projector เชิญทุกฝ่ายมาร่วมประชุมและเตรียมการตรวจประเมินภายในร่วมกัน คิดว่าทำได้โดยไม่ต้องจ้างที่ปรึกษา
7.1 หากจะจ้างที่ปรึกษาก็เปลี่ยนเป็นให้มาทำ In-House Training เน้นเรื่อง Internal Audit สัก 1-2 วัน โดยให้วิทยากรช่วยดู CAR เพื่อให้ Internal Auditor เข้าใจและกระตุ้นทุกฝ่าย และเป็นการประหยัดเงินงบประมาณด้วย แต่ถ้าจะฝึกทำเองทั้งหมด QMR สามารถทำได้ โดยล้อเลียนของเดิมที่ทำไว้ และฝึกทำตามที่ละขั้น สักระยะจะเข้าใจกระจ่างและทุกฝ่ายทำได้
7.2 Internal Audit Plan ที่ระบุทำ Internal Audit ปีละครั้ง หรือสองครั้ง ให้ทำแผนตามของเดิมปี 2011 โดยให้เพิ่มปี 2012 (ทำเอกสารอีกใบขึ้นมา) และควรทำแผนของปี 2013 ด้วย เพราะว่าผู้ตรวจสอบจาก CB มักถามว่าปีหน้าจะทำอีกเมื่อไร ก็หยิบแผนงาน Internal Audit Plan Year 2013 ให้ดู และ QMR พยายามทำตามแผน หากไม่ได้ต้องปรับแผน และทำตามที่ปรับแผนต่อไป
7.3 Internal Audit Programme ที่ระบุว่าต้องตรวจฝ่ายใด เวลาไหน วันที่เท่าไร ให้ทำตามแบบเดิม ตรวจซ้ำเดิมก่อน หากมีผู้ตรวจสอบภายในลาออกไป ให้ฝึกอบรมเพิ่ม แต่งตั้งเพิ่มเข้ามา จำไว้แม่นๆว่า ตนเองตรวจฝ่ายตัวเองไม่ได้ ป้องกันการลำเอียง (Bias) คราวหน้าค่อยสลับทีมตรวจ ฝึกให้ทุกคนมีประสบการณ์ตรวจได้มากขึ้นและเก่งขึ้น
7.4 ถึงกำหนดก็ไปตรวจประเมินหรือตรวจติดตามภายใน โดยใช้ Check List เดิมก่อน หากมีคำถามเพิ่มให้เขียนลงไปในที่ว่างๆของ Check List นั้น เพิ่มนำมาปรับปรุง Check List ในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7.5 ตรวจพบสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด ไม่ตรงกับคู่มือการทำงาน ไม่ทำตามที่เขียนใน Procedure ให้ออก CAR วิธีการเขียน CAR ให้ดูตัวอย่างเก่า ฝึกเขียนให้ชัดว่า พบปัญหาอะไร ที่ไหน ฝ่ายใด หลักฐานใดให้ระบุชัดเจน เวลาจะตามไปปิด CAR ต้องสามารถย้อนกลับไปถูกที่ ถูกคน จากนั้นทำรายงานโดยทุก Internal Auditor ต้องส่งให้ QMR และฝ่ายที่ถูกตรวจด้วยที่เรียกว่า Auditee
7.6 QMR สรุปผลการตรวจติดตามภายใน พบกี่ข้อบกพร่อง ที่ใคร ฝ่ายใด เรื่องหรือหัวข้อใดใดบ้าง จะแก้ไขแล้วเสร็จภายในกี่วัน จากนั้นไปลง CAR Log เพื่อใช้ติดตามผลการแก้ไขจนกว่าจะลุล่วง ข้อมูลสรุปจาก Internal Audit ให้สรุปผลสั้นๆเนื้อๆเข้าการประชุมหรือเขียนลงในรายงาน Management Review ดูรายงาน หรือ Management Review Minute/Report ไล่เลียงตามนั้นทุกประการ และต้องมี Comment ของผู้บริหารด้วย
7.7 จากนั้น QMR นำทุกเรื่องที่ค้าง และ Comment ไปติดตามผลการแก้ไขหรือกระทำ น่าจะเขียนเป็นแผนติดตามงาน และติดตามทุกโครงการ ทุกงานจนกว่าจะแล้วเสร็จ เพราะข้อมูลเหล่านี้จะนำเข้ารายงานในการประชุมงานทบทวนบริหาร (Management Review)คราวหน้าด้วย
8 ทุกปีต้องทำการทบทวน Procedure ทุกขั้นตอน และทบทวนระบบเอกสาร รวมทั้งแบบฟอร์มการทำงานยังเหมาะสม มีมากเกินความจำเป็นหรือ การทำระบบที่ดี คือ เข้าใจง่าย มีเท่าที่จำเป็น และเหมาะสม หมายความว่า นกน้อยควรทำรังน้อยแตพอตัว ตอนนี้แรงงานทั่วประเทศไทยได้ 300 บาทต่อวัน พวกนั่งยิ้มแก้มปริ คือ พี่น้องเราจากกัมพูชา น้องลาว และชาวหงสาวดี พี่ไทยไม่รู้ไปอยู่ไหน ที่มหาชัยมีโรงงานห้าพันกว่าโรงงาน มีแรงงานพม่า ประมาณ หนึ่งล้านหนึ่งแสนกว่าคน (เฉพาะที่จดทะเบียน)
ผู้เขียนทำในอดีต คือเขียน QM และ Procedure ตัวอย่างไว้ในหนังสือชื่อ แนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องในระบบคุณภาพ ที่เขียนไว้เมื่อปี พ.ศ. 2539 (คศ.1996) หมายเลข ISBN 974-634-405-6 จำนวน 130 หน้า สามารถนำมาศึกษาได้เช่นกัน
ช่วงนี้ผู้เขียนเดินทางบ่อย จะหาเวลามาเขียนบทความต่อครับ อาจจะช้าไปบ้าง จะทยอยเขียน สัปดาห์ที่แล้วผู้เขียนไปสอนการรวมระบบ ISO9001:2008 เข้ากับ OHSAS 18001:2007 ให้กับโรงงานผลิต Ice Cream เดี๋ยวนี้จะพบว่าลูกค้าชอบรับประทานมากขึ้น ยิ่งลูกค้าต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี จะชอบรสทุเรียนมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้โรงงานสามารถผลิตรสผลไม้ต่างๆมากมาย สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศอีกหลายประเทศ
เมื่อผู้เขียนไปบรรยายตามโรงงาน มีถามว่า ตัวแทนฝ่ายบริหารเป็นใคร ต้องแต่งตั้งจากระดับไหน ซึ่งผู้เขียนเคยเขียนลงในบทความเกี่ยวกับข้อกำหนด วันนี้จึงขอนำมาลงในบทความนี้ให้เข้าใจ ดังนี้
* ในข้อกำหนดจะพบคำว่า MR ไม่เคยพูดถึง QMR ซึ่งทุกท่านเข้าใจว่าหมายถึง ตัวแทนฝ่าย
บริหารคุณภาพ (Quality Management Representative) จริงๆ แล้ว ไม่มีตัว Q
โดยโรงงานขนาดใหญ่อาจแบ่งเป็นหลายโรงงานย่อย อาจใช้QMR ก็คือ QA Manager หรือ Quality Manager มารับผิดชอบดูแลระบบบริหารคุณภาพเพียงคนเดียว หรือแบ่งขอบข่ายแยกออกเป็นโรงงานย่อยของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยแต่ละโรงงานก็แต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหารขึ้นมา ต่างคนต่างรับผิดชอบ ซึ่งก็อยู่ที่ผู้บริหารตัดสินใจว่าแบบใดเหมาะสมและดีที่สุด
ให้ดูในข้อกำหนด ของมาตรฐาน ISO9001 ฉบับภาษาอังกฤษ หน้าที่ 5 ข้อ 5.5.2 ที่ Note เขียนได้ชัดเจนกว่าฉบับภาษาไทย ซึ่งระบุในหน้าที่ 4 of 15 (เปิดมาตรฐาน ISO 9001 ฉบับภาษาอังกฤษ เปรียบเทียบกับคำแปลของฉบับภาษาไทย)
Note: The responsibility of a management representative can include………ตรงอักษรสีแดงนี้ระบุชัดว่า ต้องหนึ่งคนเท่านั้น จากระดับผู้จัดการ หรือพิจารณาข้อกำหนดจากบรรทัดคำว่า…
Top management shall appoint a member of organization’s management who,…..
แสดงให้เห็นว่า ต้องเป็นผู้บริหาร (Top Management) เท่านั้น ที่แต่งตั้งผู้จัดการได้เพียงหนึ่งคน มาเป็นตัวแทนฝ่ายบริหารคุณภาพ (MR) หรือManagement Representative และต้องเป็นคนในองค์กรเท่านั้น
ผู้เขียนมองว่าเจตนาของข้อกำหนดต้องการให้มีคนเดียว เพื่อการประสานงานชัดเจน บางอย่างหลายคน หลายความคิดก็ยิ่งดี แต่บางอย่างหลายคนมากความคิด ไม่ลงรอยกันสักที ที่สำคัญห้ามมีสามคนหรือสามกลุ่มเด็ดขาด ดูประวัติศาสตร์โลก เพราะว่าจะเกิดสามก๊ก
MR ในระบบบริหารคุณภาพ คือ ตัวแทนฝ่ายบริหาร (Management Representative) ซึ่งในข้อกำหนด เรียกว่า MR ไม่ได้ระบุว่ามีคิว : Q นำหน้า ต่อมาทำระบบบริหารสิ่งแวดล้อม และจัดทำระบบบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ทำให้มีสามระบบในบริษัท จึงมีการนำ อักษรคิว (Quality) อักษร อี E: Environmental และอักษร S (Occupational Health and Safety)หรือ OHS มานำหน้า เพื่อแยกให้ออกว่าเป็นตัวแทนระบบใด
• จะมีการแต่งตั้ง QMR, EMR, OHSMR เป็นคนละคน หรือแต่งตั้งให้หนึ่งคน เป็นตัวแทนทั้งสามระบบก็ได้
• อีกเรื่องที่จะอธิบาย ในข้อกำหนดไม่มีพูดถึงผู้ช่วยตัวแทนฝ่ายบริหาร Assistant QMR, Ast. EMR, Ast.OHSMR เลย แต่ทุกบริษัททำกันไม่ทันบ้าง MR ประชุมเยอะ จึงต้องหาตัวช่วย เพื่อให้งานลุล่วง
ส่วนข้อกำหนดของ ISO9001: 2015 หรือ New Version กล่าวถึง MR อย่างง่ายๆ ทำให้เกิดข้อสงสัยที่ต่างจาก Current Version อย่างมาก ไม่มั่นใจนักว่าใน ISO ที่กรุงเจนีวา ยังถกเถียงในคณะกรรมการไม่สรุปจบออกมาเป็น Final Draft ายละเอียด ผู้เขียนจะมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง และกันยายนนี้ เวอร์ชั่นใหม่ จะมีผลบังคับใช้จริงหรือไม่ ............
เขียนต่อคราวหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น