Section : Quality Solving

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ระบบบริหารคุณภาพกับชิวิตจริงในโรงงาน (Blog9: เรื่อง การเขียนระเบียบปฎิบัติ: Procedure)

ระบบบริหารคุณภาพกับชิวิตจริงในโรงงาน 
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 0886560247, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ โทรหา KS" 081 3029339, 088 6560247

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ช่วงนี้โรงงานเริ่มอบรมภายใน เพื่อป้องกันโควิท 19 
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF 
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
Mobile: 0813029339, 0886560247   Line ID: iatf16949

(Blog9: เรื่อง การเขียนระเบียบปฎิบัติ : Procedure บางครั้งเรียก PM หรือ QP)
In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
     สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
     New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ  http://sites.google.com/site/isosiamtraining/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com

บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                   ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018

ผู้เขียน จะหาเวลาเขียนระเบียบปฏิบัติ (Procedure)ตัวอย่าง มาลงในบทความ เพื่อช่วยให้น้องๆที่จบใหม่เข้าใจง่านขึ้น ส่วนพี่ๆในโรงงานไม่น่าจะมีปัญหา เพราะว่าต้องใช้ระเบียบปฏิบัติ (Procedure) ที่เกี่ยวข้อง จะเข้าใจและมองภาพออก หรือจะไปค้นดูตัวอย่างเก่าที่ผู้เขียน ในอดีตทำ QM และ Procedure ตัวอย่างไว้ในหนังสือชื่อ แนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องในระบบคุณภาพ ที่เขียนไว้เมื่อปี พ.ศ. 2539 (คศ.1996) หมายเลข ISBN 974-634-405-6  จำนวน 130 หน้า


ระเบียบปฏิบัติ (Procedure) คือกำหนดระเบียบหรือสิ่งที่ต้องปฏิบัติของการทำงานว่า ใครต้องทำ
ทำอะไร ทำที่ไหน ทำเมื่อไร และทำไมต้องทำ สรุปภาษาอังกฤษ 5 คำ คือ  Who What Where When Why

ส่วนการทำอย่างไร คือ How to มักไปเขียนในคู่มือการทำงาน ที่เรียกว่า Work Instruction (WI) โดยเราจะเขียนรวมกันก็ได้ แต่อาจทำให้ชุดระเบียบนั้นค่อนข้างหนาหรือมีเอกสารจำนวนหน้าที่ค่อนข้างมาก
ปกติระเบียบปฏิบัติ (Procedure) ไม่ค่อยแก้ไขบ่อย อำนาจการอนุมัติมักเป็นระดับฝ่ายขึ้นไปจนถึงผู้บริหาร
ส่วนคู่มือการทำงาน ที่เรียกว่า Work Instruction (WI) เป็นขั้นตอนการทำงาน มีรายละเอียดมากขึ้น WI ของบางฝ่ายอาจเป็นเชิงเทคนิค อำนาจอนุมัติในเอกสารก็แตกต่างกัน มักเป็นระดับฝ่ายลงมา หรือให้ระดับแผนกหรือหัวหน้าส่วน เป็นผู้จัดทำและอนุมัติ ขึ้นกับองค์กรนั้นๆจะกำหนดอำนาจในการอนุมัติเอกสาร


ผู้เขียน มองว่า WI นั้น สำคัญ เพราะบางอย่างเป็นถึง Know How  ของบริษัท ควรให้ระดับฝ่ายรับรู้ทุกเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง และอีกอย่าง การไปแก้ไขขั้นตอนการทำงานควรมีการทบทวนดีๆ จริงอยุ่จะเขียนรวมกันหรือแยก  ผู้ตรวจสอบจากภายนอก (CB)ไม่น่ามีปัญหา เวลามาตรวจประเมิน(Audit)หรือตรวจติดตามผล(Surveillance)ขอให้มี หาให้พบ ชี้แจงให้ได้ก็แล้วกัน แต่หากว่าระบบไม่นิ่ง มีการแก้ไขบ่อยๆ ก็เสียเวลาที่ต้องมาลงชื่อและอนุมัติ ซึ่งผู้บริหารก็ควรเห็นชอบ


ในฝ่ายที่ใช้เทคนิคมากหน่อย ผู้เขียนขอเรียกว่า สายวิทย์ (เอาแบบหลักสูตรมัธยมปลาย) เช่น ฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายQA ฝ่ายผลิต มักนิยมเขียนคู่มือการทำงาน(WI) แยกออกจาก ระเบียบปฏิบัติ (Procedure)
ส่วนฝ่ายที่เป็นสายศิลป์ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้าและสโตร์ ฝ่ายบุคคล อาจเขียนเนื้อหาของ How to หรือ WI ผนวกเข้าไปในระเบียบปฏิบัติ (Procedure) เพราะลักษณะงานมักต่อลำดับกัน ไม่เหมือนของฝ่ายด้านเทคนิค มักแยกเฉพาะเรื่อง เช่น  คู่มือการทำงานเรื่องการวัดค่าความแข็ง คู่มือการทำงานเรื่องการวัดค่าความหนืด คู่มือการทำงานเรื่องการวัดค่าความต้านทาน คู่มือการทำงานเรื่องการวัดเชดสี เป็นต้น ซึ่งมีเป็นร้อยๆ WI อย่างนี้จะเขียนไว้ในระเบียบปฏิบัติ (Procedure) คงไม่เหมาะสม


ยกตัวอย่างของฝ่ายจัดซื้อ เช่น มีระเบียบปฏิบัติ (Procedure) เรื่องการจัดซื้อ (Purchasing) อาจนำเนื้อหาที่เป็น WI ที่เนื้อหาไม่ยาวนัก ผนวกรวมเข้าไปได้ เช่น คู่มือการตัดเกรดซัพพลายเออร์ คู่มือวิธีการไปตรวจสอบที่โรงงานของซัพพลายเออร์ คู่มือการสั่งซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ แต่สิ่งที่ต้องเขียนหรือหัวข้อที่กำหนดในระเบียบปฏิบัติ (Procedure) ต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพ (ISO9001 Requirement) ส่วนงานจริงที่มีมากกว่าข้อกำหนด ที่จะเขียนลงไปขอให้ระลึก เขียนให้ตรงจริง เขียนในสิ่งที่ปฏิบัติได้ ยกเว้นจะเปลี่ยนแปลงระบบ เมื่อเขียนใหม่ กำหนดใหม่ QMR ต้องประชุมผู้เกี่ยวข้องให้ยอมรับ เพราะบางครั้งการเขียนระเบียบปฏิบัติ (Procedure) บางฝ่ายไปเขียนและกำหนดให้ฝ่ายอื่นทำงานแทนตนก็มี ต้องเรียกประชุมตกลงกันและทำการอบรมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด


การออกระหัสเอกสาร (Document Coding) มีดังนี้
เ้อกสารทุกอย่างในระบบคุณภาพ ต้องมีการควบคุม สามารถอ้างอิงถึงกันได้สิ่งหนึ่งที่จะช่วยควบคุมระบบเอกสาร ด้วยการจัดทำบัญชีายชื่อ (Master List) จัดแยกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการใช้งาน การจัดเก็บ ค้นหา ป้องกันความเสียหายและชำรุด หรือสูญหาย และUp-Date ข้อมูลให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง เอกสารใดที่ล้าสมัย (Obsoleted) หรือยกเลิก (Cancel)ให้นำออกจากพื้นที่การทำงาน เพื่อป้องกันการ นำไปใช้งานอย่างผิดพลาด


คู่มือคุณภาพ (Quality Manual: QM) ระเบียบปฏิบัติ (Procedure) คู่มือการทำงาน (Work Instruction :WI)
จัดเป็นเอกสาร แน่นอนสิ่งที่มีเพียงเล่มเดียวคือ  คู่มือคุณภาพ (Quality Manual: QM)
ส่วนระเบียบปฏิบัติ (Procedure) ให้ดูที่ข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพ (ISO9001 Requirement) มีระบุคำภาษาอังกฤษว่า Documented Procedure เมื่อไร ต้องทำเป็นระเบียบปฏิบัติ (Procedure) ไม่ทำ ไม่ได้ ถือว่าผิดข้อกำหนด ซึ่งมีแค่ 6 หัวข้อ หรือหกระเบียบปฏิบัติ (Procedure) คือ

1ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure เรื่องการควบคุมเอกสาร
(Control of Documents) หัวข้อ 4.2.3 (ข้อกำหนดหรือ Requirement ISO9001 ต้องมีตััวมาตรฐานเปิดดู จะทำ Link ให้ในภายภาคหน้า)

2ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure เรื่องการควบคุมบันทึก (Control of Records) หัวข้อ 4.2.4

3ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure เรื่องการตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal Quality Audit) หัวข้อ 8.2.2

4ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure เรื่องการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Control of Nonconformity Product) หัวข้อ 8.3

5 ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure เรื่องการปฎิบัติการแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำ (Corrective Action) หัวข้อ 8.5.2

6 ระเบียบปฎิบัติหรือ Procedure เรื่องการป้องกัน (Preventive Action) หัวข้อ 8.5.3
ผู้เขียนจะยกตังอย่างการให้ระหัสเอกสาร โดยแต่ละบริษัทกำหนดระหัสไม่เหมือนกัน ขึ้นกับโครงสร้่างที่กำหนด ขอยกตัวอย่างแบบง่ายๆคือ


โครงสร้่างของระหัส (Code of Structure) ใช้แบบ AA-BBB-XXX-(YY)

AA หมายถึง ระหัสเอกสารที่ใช้งาน เช่น
                     QM แทน Quality Manual
                     QP  แทน Quality Plan
                     PM แทน Procedure
                     WI แทน Work Instruction


BBB หมายถึง  บริษัทหรือฝ่ายหรือชื่อของส่วนงานต่างๆ
                     STC แทน SOONTHORN CHEMICAL Co.,Ltd.
                     MKT แทน Marketing Department
                     QAS  แทน Quality Assurance Department
                     PUR  แทน Purchasing Department
                     ENG แทน Engineering Department

XXX หมายถึง ลำดับหมายเลขเอกสาร (Serial Number)
                    001 แทนลำดับที่หนึ่ง คือ ลำดับ 001
                    002 แทนลำดับที่สอง คือ ลำดับ 002
แล้วลำดับที่ 007 แทนอะไรครับ บางท่านตอบว่า เจมส์ บอนด์  (ขึ้นอยู่กับเราจัดลำดับครับ)


ผู้เขียน ไปทำงานต่างจังหวัด ตื่นเช้ามาก็เข้าโรงงาน ออกจากโรงงานอีกครั้งก็มืดแล้ว เป็นแบบนี้มาตลอดสิบห้าปี ถ้าจะเที่ยวก็ชอบไปที่อุทยานแห่งชาติช่วงวันหยุด น้องๆบางคนโดยเฉพาะน้องจบใหม่ มาทำงานที่โรงงาน รุ่นพี่ชวนไปไหนก็ไปด้วย อยู่ตามร้านบาร์เบียร์ซะส่วนใหญ่ ช่วงกลางคืน การไปอยู่นอกบ้าน หรืออยู่นอกที่พัก จะไม่ปลอดภัย หากเหงา ขอแนะนำให้หาเวลาฝึกด้านภาษาต่างประเทศ หรือไปเช่าภาพยนต์ที่เราชอบ เช่น ภาพยนต์เจมส์ บอนด์ แนว Action  ดูแล้วสนุก ทำให้มีชีวิตชีวา การทำงานต่างจังหวัดจะต่างจากกรุงเทพฯ เพราะไม่ต้องเสียเวลาเรื่องรถติด เอาเวลาตรงนี้ไปดูทีวีพักผ่อนหย่อนใจได้ นึกถึงพระเอกรุ่นเก่าๆจะมี ฌอน คอนเนอรี มีโรเจอร์มัวส์ ที่เล่นเป็นพระเอกเจมส์ บอนด์ อยู่หลายตอน 
น้องๆคงจะเคยดูภาพยนต์เรื่อ Air Force One ที่แสดงโดยแฮริสัน ฟอร์ด หรือเรื่อง The Mission Impossible ที่แสดงโดยพระเอกทอม ครูซ หรือเรื่องใดก็ได้ที่เราชอบ ปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่ได้รับรองระบบ ISO ไปค่อนข้างมาก พนักงานจะมาทำเอกสาร ISO จนดึกๆ ถึงเที่ยงคืน ตีหนึ่ง ตีสอง ไม่มีแล้ว หากจะมีก็แต่พวกศรีธนนชัย ที่คืนนี้เร่งสุดขีด เพราะพรุ่งนี้เช้าจะถูกผู้ตรวจสอบจาก CB มาตรวจเท่านั้น 



คู่มือคุณภาพ(Quality Manual : QM) มีเพียงเล่มเดียว หมายเลขระหัสคือ QM-STC-001
หากรวมหลายระบบ(Merge)เข้าด้วยกัน ทำออกมาเป็นเล่มเดียว มีระหัสเดียวเช่นกัน แต่อาจเรียกว่า QESM (Quality Environment and Safety Manual)ไว้อธิบายในคราวหน้า

ดังนั้นการให้ระหัสแต่ละโรงงานอาจไม่เหมือนกัน ผู้เขียนยกตัวอย่าง เพื่อให้น้องใหม่เข้าใจเป็นแนวทาง หากเราไปทำงานที่โรงงานใด ให้ยึดหลักการออกเอกสาร (Document Coding)ของที่นั่นเป็นหลัก การกำหนดรูปแบบและหมายเลขระหัสอย่างที่ชัดเจน ทำให้เกิดความถูกต้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

ส่วนระเบียบปฏิบัติ (Procedure) ของโรงงานที่ทำจริง ทุกโรงงานจะมีมากกว่า 6 เรื่องตามที่ข้อกำหนดของ มาตรฐาน ISO9001:2008 (QMS ; ระบุต้องมีอย่างน้อย  6 เรื่อง) โดย QMS มีจุดประสงค์เพื่อลดงานเอกสารลง ให้องค์กรทำงานง่ายขึ้น แต่กลายเป็นว่า ยิ่งทำ ISO แล้วหัวโต คือ เอกสารโตขึ้น เหตุที่เป็นอย่างนั้น เนื่องจากคนมารวมกันมากๆ มีหลายฝ่าย ต่างคนต่างถือระเบียบของตนก่อน มักเกิดปัญหาที่เรียกว่า Cross Function หรือในระดับราบเสมอ QMR จึงต้องคอยเป็นกาวใจในบางครั้ง และควบคุมระบบให้ทุกฝ่ายทำตามกติกา การวางระเบียบของงานจึงสำคัญ ให้เอกสารใช้ร่วมกัน ระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวพันต้องเขียนด้วยกัน หากลักษณะงานมีฟังค์ชั่นใกล้ชิดหรือควรเป็นของฝ่ายไหน ฝ่ายนั้นควรเป็นแม่งานทำ หลายฝ่ายตัดสินกันไม่ไ้ด้ QMR ต้องฟันธงให้ฝ่ายใดทำ หรือส่งเรื่องให้ผู้บริหารช่วยพิจารณาบ้างก็ได้ บางครั้งทำ ISO แล้วมักพบมีการเกี่ยงงาน หรือปฏิเสธงานนั้นๆก็มี การเริ่มต้นทำระเบียบปฏิบัติ (Procedure)ด้วยกัน จึงสำคัญมาก

ยกตัวอย่าง เรื่องง่ายๆ เช่น การชี้บ่งที่แฟ๊มเอกสาร หากไม่กำหนดรูปแบบ และทำแฟ๊มตัวอย่างให้ยึดถือแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ ดูง่ายและสวยงาม แค่บอกว่าให้ทุกฝ่ายทำแฟ๊มและระบุหน้าแฟ๊ม เชื่อได้ บางฝ่ายติดชื่ออยู่แถบบนหัวแฟ๊ม บางฝ่ายติดตรงกลาง บางฝ่ายติดเยื้องขวาก็มี หรือเยื้องซ้ายก็มี เรื่องระเบียบวินัยขององค์กรสำคัญมาก การมีสัมมาคาระวะต่อกัน มีต่อผู้ใหญ่กว่านั้นสำคัญ
บางองค์กรสิ่งเหล่านี้ขาดหายไป เพราะไม่ได้เข้มงวดตั้งแต่แรกเข้าที่รับมาทำงาน ปล่อยให้ไม้ไผ่ กลายเป็นไม้รวก พอมาทำ ISO หรือทำงานย่อมมีผลกระทบเหมือนกัน

วันก่อนฟังข่าวการจัดลำดับนักเรียนของทั้งโลกในเรื่องระเบียบวินัยการเรียน หมายถึง ระหว่างเรียน มีความตั้งใจเรียน ไม่หยอกล้อเพื่อน ไม่คุยกันในห้องเรียน ไม่ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น ไม่กระทำการที่ส่งผลรบกวนในการเรียนการสอนของคุณครู ปรากฎว่า ประเทศญี่ปุ่นได้อันดับหนึ่ง (คือดีมาก นักเรียนมีระเบียบวินัยที่สุดของโลก)
นักเรียนคาซักสถาน ได้ที่สอง นักเรียนจีนได้ที่สาม เฉพาะเมืองเซี่ยงไฮ้ ได้ที่สาม (แล้วเมืองอื่นไม่ไปวัดผลหรือ เช่น เมืองเฉินตู ถิ่นเก่าของแพนด้าจีน ตัวพ่อและแม่ของหลินปิงเป็นอย่างไร ที่ปักกิ่ง หรือกวางโจว(ที่คนไทยชอบเรียกว่ากวางเจา) เป็นอย่างไรบ้าง ส่วนนักเรียนจีนที่ฮ่องกงได้ลำดับสี่
ที่น่าดีใจมาก นักเรียนไทยเรา ได้ลำดับแปด นักเรียนรัสเซียได้ลำดับสิบ


การสร้างระเบียบในการทำงาน ทำให้ผู้เขียนนึกถึงโรงงานแห่งหนึ่งที่มี OEM กับ แบนด์ญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนถนนกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรการ ถือว่ายุคนั้นมีการบริหารงานบุคคลที่ดีมาก ค่อนข้างทำได้แบบสากล มีมาตรฐานสูง อยู่ในแนวหน้าของประเทศ อาจจะเป็นไปได้ว่าผู้จัดการแม้ว่ามีพื้นฐานเป็นตำรวจระดับสัญญาบัตร แต่มีความเข้าใจใน TQM และ ISO ดีมาก บวกกับจบปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ การทำงานมีขั้นตอนชัดเจน มีระเบียบวินัย เฝ้าติดตามงานอย่างต่อเนื่อง และความพร้อมของทีมงาน แม้จะออกไปทางเข้มสักนิด คนหมู่มากต้องยึดถือระเบียบในการทำงานเป็นหลัก ควรมีขบวนการทำไม้ไผ่ให้เป็นไม้เรียว ไม่ปล่อยให้เป็นไม้รวกที่ดัดไม่ได้  จะให้ทำ ISO ก็ไม่เอา และไม่สามารถส่งเสริมงานคุณภาพ ยิ่งความคิด ทัศนคติที่ไม่เหมาะสม แนวคิดการจัดการไม่ถึง จะไม่มีโอกาสโปรโมทเป็นระดับผู้จัดการ 

ร็วๆนี้ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พบว่า โรงงานที่ทำ ISO9001 หรือมีระบบบริหารคุณภาพ มีผลให้การประกอบการดีกว่าสมัยที่ไม่มีระบบนี้ และในระยะยาวเปรียบเทียบกับโรงงานที่ไม่มี ISO9001 พบว่าโรงงานที่ทำระบบบริหารคุณภาพ มีความสามารถในการรักษาระบบได้ดีและมีการพัฒนามากกว่าโรงงานที่ไม่ทำ ISO9001
โรงงานในเมืองไทยก็มีหลายโรงงานที่พัฒนาไปมาก ผู้เขียนเคยไปที่โรงงานเจริญชัยหม้อแปลง มองเห็นได้ชัดว่าทำได้ดีมากและพัฒนาไปไกลภายหลังจากได้ทำระบบบริหารคุณภาพ นานมาแล้วผู้เขียนได้พาน้องๆหน่วย ISO จากบริษัทแห่งหนึ่ง ไปเยี่ยมชมที่โรงงานนี้สองครั้ง ก็ต้องขอขอบคุณย้อนหลังครับ

ผู้เขียนจะหาเวลาจัดทำ QP (Quality Procedure) หรือบางท่านเรียกว่า PM (Procedure Manual) ตัวอย่างมาให้ศึกษา ต้อนรับปีมังกร 2012 ก็ขอกล่าว  Happy New Year นะครับ การเขียนมีทั้งรูปแบบไล่เรียงแบบเรียงความที่ละบรรทัดว่า ใคร ทำอะไร ทำที่ไหน เมื่อไรต้องทำ และทำไปทำไมหรือทำไมต้องทำ หมายถึง 5W นั่นเอง (Who, What, Where, When, Why) หรือจะเขียนแบบบล๊อค (ฺBlog) หรือแบบ Flow Chart ก็ได้ขอให้เขียนชัดเจนและครบข้อกำหนดของ QMS ต้องระลึกว่า  "เขียนให้ตรงจริง และทำให้ตรงกับที่เขียน" ตัวอย่างระเบียบปฏิบัติ (Procedure) ดูที่บลีอค 19


เขียนต่อคราวหน้า


1 ความคิดเห็น:

  1. The recent beating of a transgender individual in the media highlights the problems facing transgender individuals. The world might be educated by studying how Thailand views and treats transgender individuals. In Thai we call them Katoeys which is translated into Ladyboy in English. I have pioneered the recognition of Ladyboy rights at Uttaradit University in Thailand and look forward to educating people about Thai ladyboys and networking with international ladyboys. As Dean of the Humanities and Social Sciences Faculty at Uttaradit University I am in a unique position to practice what I preach. I have been a leader in recruiting Ladyboys into my faculty where I have learned about their aspirations and their fears. They are very beautiful, just like real women, and Thailand consistently produces the winner of the international Ladyboy competitions throughout the world. I hope this blog helps to dispel some myths about Ladyboys and helps to create an international dialogue.http://yongyuthintajuck.blogspot.com/

    ตอบลบ