ISO/TS9002 คือ อะไร
ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act
วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว
โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1 วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี
โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ
PSM: Process Safety Management
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน
ขอย้ำว่า ISO New Version ต่างๆ ผู้เขียนให้ยึดหลัก ต้องจัดทำระเบียบปฏิบัติ (Documented Procedure) แม้ว่าข้อกำหนดไม่บังคับ ต้องการเพียงว่า Documented Information คือ มีเอกสารข้อมูลเป็นหลักฐานว่าทำจริง สำคัญมากการมี Procedure หรือ QP คือ ใส่ระเบียบเข้าไปในระบบ มั่นใจว่าระบบแข็งแรงกว่าการที่องค์กรไม่จัดทำ QP หรือถอดออก และทิ้งไป
ภาพโมอาย ที่ร้านกาแฟ สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี |
ทุกท่านคงทราบ กฎหมายแรงงานระบุว่าเกษียณตอนอายุ 55 ปี ลูกจ้างจะได้อีกสิบเดือนของเงินเดือนสุดท้าย หรือตามอายุงาน หากว่าผู้นั้นอายุ 54 ปี และถูกเลิกจ้างก่อนครบอายุ 55 ปี เพื่อหลีกเลี่ยงต้องจ่ายในปีหน้าแบบนี้ แสดงว่าองค์กรนั้นขาดจริยธรรม พนักงานที่อยู่มาเก่าก่อน พวกนี้แหละที่ก่อร่างสร้างเมืองให้องค์กร
แต่คิดว่าองค์กรที่อาจคิดแบบนั้นคงไม่มี หรือประเภทองค์กรย่ำแย่มากกว่า องค์กรดีๆมีอีกมาก เคยมีเหตุการณ์ องค์กรให้ลูกจ้างออกตอนเขาอายุ 52 ปี สุดท้ายผลลัพธ์ให้องค์กรต้องจ่ายเพิ่มมากกว่าสิบเดือน เรียกว่าบวกไปจนครบห้าสิบห้าเลย หรือรับพนักงานท่านนั้นกลับเข้าทำงาน ให้เลือกเอา เพราะการที่ให้เขาออก ณ อายุจะ 52 หรือ 53 ย่อมเสียโอกาสหางานใหม่ ศาลจะยุติธรรมเสมอ บวกให้ความเห็นใจพนักงานเป็นที่ตั้ง หากมีเหตุการณ์บีบออกอายุห้าสิบปีขึ้นไป ขึ้นศาลเมื่อไร ผลลัพธ์น่าจะเหมือนกัน ดังนั้นการทำ SA8000 ให้ส่งเสริมคนเก่าอยู่ต่อจนครบเกษียณ หากบีบออกเรียกว่า "เป็นองค์กรแห่งความล้มเหลว" ช่วงบั้นปลายชีวิตคนเหล่านั้นให้ดึงความรู้ที่ดีออกมา ทำเป็นแผนการจัดการองค์ความรู้คู่องค์กร (Organizational Knowledge) เชื่อว่าบรรดาท่านเหล่านั้นเต็มใจถ่ายทอดส่งต่อน้องๆเพื่อองค์กรก้าวหน้า และเป็นความทรงจำที่ดีว่า "บริษัทนี้เคยอยู่มาแล้ว" กลับมาพูดเรื่อง ISO ต่อไป
ISO/TS9002 คือ QMS Guidelines for the application of ISO9001:2015 ฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 (November 1, 2016)
ในอดีตย้อนไปปี พ.ศ. 2530 หรือ ค.ศ.1987 กำเนิดมาตรฐาน ISO9001 ครั้งแรกในโลก แต่เมืองไทยเริ่มขยับจะทำ ISO9001 กันในปี 2535 และปี 2536 มีองค์กรเอกชนเตรียมตัวทำ ISO และจะขอยื่นรับรองกับกองรับรองระบบ หรือ กร. กับ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม
ยุคนั้น มีมาตรฐานให้การรับรอง ทั้ง ISO9001, ISO9002, ISO9003
ISO9001 แสดงว่ามีขอบข่ายเรื่อง ออกแบบ (Design) จำนวนโรงงานที่ได้รับรองการออกแบบ มีจำนวนน้อยมาก ถึงในองค์กรมีการออกแบบ แต่ไม่ขอยื่น ISO9001 หันกลับไปยื่น ISO9002 เพื่อมั่นใจให้ผ่านการตรวจประเมินง่ายขึ้น
ISO9002 บ่งบอกว่าเป็น Manufacturing ที่องค์กรส่วนใหญ่กว่า 90% เป็นงานผลิตทั้งประเทศไทยและยื่นรับรองมาตรฐานนี้ แต่ ISO9002 ฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 (November 1, 2016) คนละเรื่องกับในอดีต
หลังจากนั้นมีการปรับเวอร์ชั่น จากปี ค.ศ. 1987, 1994, 2000, 2008 จวบจนล่าสุดเวอร์ชั้นใหม่ ปี ค.ศ.2015
มีการยกเลิกให้การรับรอง ISO9002 และ ISO9003 ทุกองค์กรจะได้รับรอง ISO9001 และแยกแยะระบุขอบข่ายชัดเจนลงในใบ Certificate ว่ามีออกแบบ ผลิต บริการ (Service) หรืองานซื้อมาขายไป (Trading)
เมืองไทยให้การรับรองตั้งแต่เวอร์ชั้น 1994 (พ.ศ.2537) ไม่เคยให้การรับรองเวอร์ชั่นปี 1987 และไม่เคยให้การรับรอง ISO9003 เลย ต่อมา
กองรับรองระบบคุณภาพ ยุบหรือปรับเปลี่ยนไปในที่สุด ข้าราชการกลุ่มงานนี้มาอยู่หน่วยงาน แนค (NQC ช่วงหนึ่งเรียก NAC) ส่วนงานรับรอง ISO ถูกแยกไปบริหารแบบเอกชน ผู้ตรวจประเมิน (Auditor) ไม่ใช่ข้าราชการ ย้ายไปก่อร่างสร้างตัวที่ตึกยาคูลย์ สนามเป้า เรียกชื่อว่า MASCI ส่วนภาคเอกชนที่ให้การรับรอง ISO เป็นองค์กรต่างประเทศยังไม่ใหญ่โตนัก ปัจจุบันกลับเติบโตเพราะระบบราชการไม่คล่องตัว บริษัทรอการตรวจประเมินที่นานหลายเดือนไม่ได้ หันกลับไปยื่นเอกชน เหมือนเราไปโรงพยาบาลของรัฐ เข้าคิวรอรับบริการ ทุกท่านทราบดี หากเวลานั้นการเตรียมการของภาครัฐรองรับอนาคต คิดว่าวันนี้ CB เอกชนหลายแห่งคงไม่เติบใหญ่เท่าปัจจุบัน
ในอดีตย้อนไปปี พ.ศ. 2530 หรือ ค.ศ.1987 กำเนิดมาตรฐาน ISO9001 ครั้งแรกในโลก แต่เมืองไทยเริ่มขยับจะทำ ISO9001 กันในปี 2535 และปี 2536 มีองค์กรเอกชนเตรียมตัวทำ ISO และจะขอยื่นรับรองกับกองรับรองระบบ หรือ กร. กับ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม
ยุคนั้น มีมาตรฐานให้การรับรอง ทั้ง ISO9001, ISO9002, ISO9003
ISO9001 แสดงว่ามีขอบข่ายเรื่อง ออกแบบ (Design) จำนวนโรงงานที่ได้รับรองการออกแบบ มีจำนวนน้อยมาก ถึงในองค์กรมีการออกแบบ แต่ไม่ขอยื่น ISO9001 หันกลับไปยื่น ISO9002 เพื่อมั่นใจให้ผ่านการตรวจประเมินง่ายขึ้น
ISO9002 บ่งบอกว่าเป็น Manufacturing ที่องค์กรส่วนใหญ่กว่า 90% เป็นงานผลิตทั้งประเทศไทยและยื่นรับรองมาตรฐานนี้ แต่ ISO9002 ฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 (November 1, 2016) คนละเรื่องกับในอดีต
หลังจากนั้นมีการปรับเวอร์ชั่น จากปี ค.ศ. 1987, 1994, 2000, 2008 จวบจนล่าสุดเวอร์ชั้นใหม่ ปี ค.ศ.2015
มีการยกเลิกให้การรับรอง ISO9002 และ ISO9003 ทุกองค์กรจะได้รับรอง ISO9001 และแยกแยะระบุขอบข่ายชัดเจนลงในใบ Certificate ว่ามีออกแบบ ผลิต บริการ (Service) หรืองานซื้อมาขายไป (Trading)
เมืองไทยให้การรับรองตั้งแต่เวอร์ชั้น 1994 (พ.ศ.2537) ไม่เคยให้การรับรองเวอร์ชั่นปี 1987 และไม่เคยให้การรับรอง ISO9003 เลย ต่อมา
กองรับรองระบบคุณภาพ ยุบหรือปรับเปลี่ยนไปในที่สุด ข้าราชการกลุ่มงานนี้มาอยู่หน่วยงาน แนค (NQC ช่วงหนึ่งเรียก NAC) ส่วนงานรับรอง ISO ถูกแยกไปบริหารแบบเอกชน ผู้ตรวจประเมิน (Auditor) ไม่ใช่ข้าราชการ ย้ายไปก่อร่างสร้างตัวที่ตึกยาคูลย์ สนามเป้า เรียกชื่อว่า MASCI ส่วนภาคเอกชนที่ให้การรับรอง ISO เป็นองค์กรต่างประเทศยังไม่ใหญ่โตนัก ปัจจุบันกลับเติบโตเพราะระบบราชการไม่คล่องตัว บริษัทรอการตรวจประเมินที่นานหลายเดือนไม่ได้ หันกลับไปยื่นเอกชน เหมือนเราไปโรงพยาบาลของรัฐ เข้าคิวรอรับบริการ ทุกท่านทราบดี หากเวลานั้นการเตรียมการของภาครัฐรองรับอนาคต คิดว่าวันนี้ CB เอกชนหลายแห่งคงไม่เติบใหญ่เท่าปัจจุบัน
เขียนต่อคราวหน้า....................................................................................
หลักสูตรฝึกอบรม
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
การประยุกต์ใช้ PFMEA in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019.
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
ข้อกำหนด การบริหารความเสี่ยง และผู้ตรวจติดตามภายใน
Requirements, Risk Management, Internal Auditor
ISO9001:2015 QMS
ISO14001:2015 EMS
IATF16949:2016 AQMS
Genius QMR/EMR/SMR
ISO45001:2018 OH&SMS
The Manager & Leadership
ISO/FSSC22000:2018 FSMS
GHP/BRC/HACCP/ ISO17025
7 Quality Management Principles
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
Root Cause Analysis/ 5S/ Walk Rally
การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
ISO13485 Medical Device/ ISO22301 BCMs
ISO19011:2018 แนะนำแนวทางการตรวจประเมิน
Core Tools: APQP/ PPAP/ FMEA/ SPC/ MSA/ 8D
Genius Supervisory/ ISO & IATF16949 Awareness
Control of Documented Information for ISO/IATF16949
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change: MOC)
หลักสูตรอื่นๆออกแบบให้ตามที่ต้องการอบรม"as your require"
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
ติดต่อ K.NAT K.Sun 081 3029339, 081 6493828, 083 2431855
ksnationconsultant@hotmail.com
isoiatf@hotmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
"as your require"
In-House Training: http://ksnationconsultant.blogspot.com/
http://ksthailand.blogspot.com/
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS/FSSC22000 link: http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000 link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link: http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่ http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn Ngamprompong หรือ ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANTCO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต
Copy Right, All Rights Reserved.
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
จึงขอแจ้งให้ทราบว่าจะมีนโยบายความเป็นส่วนตัวแจ้งให้ทราบทุกครั้ง
ที่ ติดต่อเรื่องการอบรมภายในเพื่อแจ้ง KS Privacy Policy
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com