Section : Quality Solving

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบบริหารคุณภาพกับชิวิตจริงในโรงงาน Blog 16 (New Blog1: เรื่องทั่วไป ISO9001หรือ QMS)

บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 0886560247, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ โทรหา KS" 081 3029339, 088 6560247

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ช่วงนี้โรงงานเริ่มอบรมภายใน เพื่อป้องกันโควิท 19 
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
ผู้เข้าอบรมเข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
     สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
     New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                   ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้
หลักสูตรพิเศษ เช่น
* การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
* การสอนงาน (The Coaching)
* หัวหน้างานสมองเพชร (Genius Supervisory)

ขอใช้ Blog 16  นี้ แทน Blogที่ 1เดิม หรือ ไฟล์สำรอง (ที่ระบุว่าบททั่วไป) เนื่องจากไฟล์ขัดข้อง รวมทั้ง Blog : Check List เพราะว่าทั้งสองบล๊อคไม่สามารถเข้าไปแก้ไข หรือเขียนเพิ่มเติม ขณะนี้จะใช้ชั่วคราวก่อน 
บทความตอนที่ 1 นำมาลงให้อ่านใหม่ครับ

สวัสดีทุกท่าน
ยามว่างผู้เขียน ประสงค์จะใช้เวลาว่าง มาเขียนบทความเล่าสู่กันฟัง ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรก

จุดประสงค์
1เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับนักศึกษาและทุกท่านที่ต้องการเพิ่มเติมความรู้ด้าน ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, ISO50001, TQM, GMP & HACCP, TLS8001 ซึ่งเดี๋ยวนี้ทุกๆโรงงานนำไปใช้ปรับปรุงองค์กร มีทั้งขอรับการรับรองหรือไม่ขอรับรองก็มี เพราะค่ารับรองค่อนข้างสูงหากว่าเป็นโรงงานขนาดเล็ก หากใช้หน่วยงานรับรองจากต่างประเทศ ถ้าเป็นแต่ก่อนซื้อทาวน์เฮ๊าน์ชานเมืองได้เลย เพราะช่วงก่อนโน้นบ้านหลังละไม่กี่แสนบาท(ปัจจุบันค่ารับรองถูกลง มีหน่วยงานให้การรับรองมากขึ้น)
2 ผู้เขียน ยินดีให้น้องๆนิสิตนักศึกษานำข้อมูลจากบทความไปทำโครงงานและวิทยานิพนธ์ได้ เพื่อประโยชน์การศึกษาวิชาประกันคุณภาพ สงสัยหรือไม่เข้าใจเนื้อหาของบทความ ติดต่อสอบถามที่
E-Mail : McQMR@hotmail.com


ประวัติผู้เขียน
สำเร็จปริญญาโทวิศวกรรมเคมี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เคยรับราชการอยู่ที่กระทรวงอุตสาหกรรม
เคยเขียนตำราเกี่ยวกับ แนวทางการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องในระบบคุณภาพเมื่อ 16 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นยังไม่ค่อยมีตำราภาษาไทย ทำให้น้องๆหาทำรายงานยาก คนที่เข้าใจ ISO ครบทั้งกระบวนการก็มีไม่มากนัก ช่วงนั้นจึงเป็นยุคทองของบริษัทที่ปรึกษา
แต่ ISO ก็แปลก อ่านเหมือนเข้าใจ เอาเข้าจริงตีความในข้อกำหนดคลาดเคลื่อนไปก็มี ขนาดทนายความยังงงงวย


ผู้เขียนก็พอจะรู้บ้างเนื่องจากเรียนรู้ ISO จากวิชาการและจากชีวิตจริง เป็นทั้งผู้ตรวจสอบที่เรียกว่า IRCA Auditor ที่เป็น Certification Body(CB) ประสบการณ์มีดังนี้
* อดีตผู้ตรวจประเมิน (CB Auditor) มีประสบการณ์ตรวจหลากหลายสาขาโรงงาน 

* ตรวจสอบ RoHS รวมทั้งด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อมที่ Suppliers มากกว่า 150 โรงงาน 
* บรรยาย Public Training เช่น หัวข้อ การเป็น QMR, Internal Audit Course, ISO กับงานคลังสินค้า ISO กับการซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ข้อกำหนดของ ISO, QMS/EMS/OHSAS Overview, etc.
* ทำ In-House Training มากกว่า 100 โรงงาน
* เป็น Advisor อีก 3 บริษัท
* เป็น TQM Manager และประธานโครงการ QCC
* ในอดีตเป็นผู้จัดการรับผิดชอบงานและผ่านงานด้าน ISO จำนวน 10 บริษัทและ
*เป็น Management Representative(QMR/EMR/OHSMR) จำนวน 7 บริษัท
เฉกเช่นชีวิตจริงจากโรงงานต่างๆ จำนวน 10 โรงงาน 

* QA Senior Manager, at Haier (Sanyo), Kabin Buri
* QA Director, QMR, EMR, OHSMR at Uni-Aire ; Bangphle, Samutprakan
* Advisor, Plant Manager & QMR, GMP Standard, at SMP, Bangkok
* Part inspection and QA Manager, Lead Auditor ISO, RoHS Directive Auditor,Outside Audit Suppliers, at Matsushita Reiki Refrigerator(Panasonic), Wellgrow,Chachoengsao.
* TQM Office Manager and QA Manager and QMR at Federal Electric Co., Ltd. (SHARP), Samutprakan
* Free Lance Consultant : 5S/GMP/HACCP/FSMS/ISO 9001/ISO14001/TQM
* Deputy Plant Manager & QMR at Thai KK Industry Co., Ltd. Samutprakan
* IRCA Auditor, at Thai Industrial Standard Institute (TISI)
* QA Manager at LG Electronics, Rayong
* Technical Manager/Ware House & QMR at Oriental Copper Co.,Ltd. Chon Buri
* Advisor & QMR at TNP Resin Co.,Ltd. Bangpoo Industrial Estate, Samutprakan
* Production Manager at TCY, Amata Nakorn Industrial Estate. Chon Buri
* QMR (Mentor) at Cleanozone Traffic (Thailand) Co.,Ltd. Thon Buri and Phetcha Buri.


ISO9001 เถ้าแก่ชอบ ลูกน้องเหนื่อย:
ที่ผู้เขียนพูดอย่างนี้ เพราะว่า มาตรฐานนี้มีข้อกำหนดให้ต้องทำอะไร เกิดการเขียนคู่มือการทำงาน (แต่ก่อนอาจไม่มี หรือมีบ้างแต่ไม่ถูกต้อง) มีการอบรมพนักงาน มีการตรวจสอบว่าทำตามที่เขียนหรือเขียนตรงกับที่ทำงานหรือไม่ ยิ่งโรงงานระดับ SME หรือ Small and Medium Entrepreneurs ซึ่งไม่ค่อยมีสิ่งเหล่านี้เรียกว่าบังคับให้พนักงานต้องทำ เพราะการไม่มีระบบ ปัญหางาน ปัญหาคุณภาพเกิดขึ้น ขาดหลักการที่จะแก้ไขอย่างชัดเจน แต่พอได้ลงมือทำ ISO9001 เริ่มเป็นระบบ มีมาตรฐาน จึงพูดได้ว่า "ISO9001 เถ้าแก่ชอบ ลูกน้องเหนื่อย"

ชิวิตโรงงาน :
สำหรับน้องๆ ชีวิตโรงงานที่พบนั้น น้องใหม่ที่จะก้าวเข้าไปทำงานจะพบว่าต่างจากทฤษฎีโดยสิ้นเชิง ก้าวแรกที่พบมักจะได้ยินคำพูดที่ว่า
"มาตรฐานการทำงานมีกำเนิดเกิดในอเมริกา มาเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในญี่ปุ่น สุดท้ายต้องมาตายอย่างอเนจอนาถที่เรา" บางครั้งก็ตายอย่างศพไร้ญาติ
เพราะอะไรหรือ? ก็เพราะว่าเรามักขาดการติดตามงานและไม่ปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง ชอบลัดขั้นตอน ไม่ทำตามคู่มือและขั้นตอนของงาน เมื่อ ISO9001 มีข้อกำหนดเป็นมาตรฐานให้(ลูกจ้าง)ทำ เถ้าแก่จึงชอบใจ และมี QMR/EMR/OHSMR เป็นตัวแทนผู้บริหารหรือตัวแทนฝ่ายบริหาร คำภาษาอังกฤษสามคำคือ อะไร                                                                                                                                                                                                      
ในมาตรฐานของ ISO9001 ระบุให้องค์กรต้องมีคนหนึ่งคนมาทำหน้าที่เป็น Management Representative ไม่มีระบุเป็น Q(Quality) หรือ E หรือ OHS ในแต่ละมาตรฐาน เมื่อโรงงานเริ่มจากการทำระบบคุณภาพมาก่อน จึงใส่ตัว Q เข้าไป จนทุกคนในองค์กรเรียกติดปากว่า QMR
(Quality Management Representative)

พอมาทำระบบการจัดการหรืออาจเรียกระบบการบริหารสิ่งแวดล้อม ISO14001:2004 จึงใส่ตัว E (Environmental) ก็เรียก EMR: Environmental Management Representative จะเป็นตัวแทนผู้บริหาร ทำหน้าที่ประสานงานกับคนในโรงงานที่เกี่ยวข้องและคนนอกคือผู้ตรวจประเมิน (Auditor) ที่จะมาตรวจประเมินระบบ (ไว้กล่าวในหัวข้อการตรวจประเมินภายใน: Internal Audit เขียนใน Blog ที่ 3)
ช่วงนี้ โรงงานส่วนใหญ่ ขยับมาทำระบบการจัดการหรืออาจเรียกระบบการบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS18001:2007 จึงใส่ตัว OHS (Occupational Health and Safety) ก็เรียก OHSMR หน้าที่ก็คล้ายๆกันกับ QMR หรือ EMR ที่ต้องคอยประสานงานกับทุกคน ตก ตัว น หนู ไม่ได้นะครับ เกิดการประสานงา เมื่อไร ระบบจะสะดุดทันที การให้ความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆก็จะลดน้อยถอยลง
ฉะนั้นตำแหน่งตัวแทนหรือผู้แทนฝ่ายบริหาร ซึ่งทำหน้าที่เสมือนผู้บริหารมอบอำนาจให้ดูแล รณรงค์และรักษาระบบ ต้องมีทั้ง Power, Authority และ Humanity
 


การทำทุกระบบการจัดการหรือมาตรฐานสากลนี้ ทั้ง QMR/EMR/OHSMR จะเป็นคนๆเดียวดูทุกระบบหรือตั้งตัวแทนมาตรฐานละหนึ่งคน (เท่านั้น) ก็แล้วแต่ผู้บริหารสูงสุดจะต้องพิจารณาเลือกสรร
ผู้เขียนตั้งใจจะเขียนบทความให้จบบริบูรณ์สมัยทำงานอยู่ที่โรงงานต่างจังหวัดแห่งหนึ่ง แต่ก็เขียนไม่จบ มีบางท่านต้องการอ่านเนื้อหาและเข้าใจเกี่ยวกับ ISO วันนี้ผู้เขียนจะสานต่อ โดยนำบทความ และเสริมความรู้ความเข้าใจให้ทุกท่านที่สนใจ สงสัยในข้อกำหนดสอบถามได้ ไม่มีคิดค่าธรรมเนียมใดๆ คือ ฟรี ขอให้เกิดประโยชน์กับน้องๆครับ

ผู้เขียนขอเล่าให้ฟังที่ละเรื่อง
การรับรองระบบกับการรับรองที่ผลิตภัณฑ์คือ อะไร
การที่บริษัท โรงงานหรือหน่วยงานต่างๆ จะได้รับการรับรอง ISO นั้น ก็ต้องสร้างระบบขึ้นมา ความหมายรับรองระบบกับรับรองผลิตภัณฑ์ มักจะสับสนกัน จึงขออธิบายว่า

รับรองระบบ (System Certificate) คือ มีการตรวจประเมิน (Audit or Assessment) ผ่านทุกข้อกำหนด (Requirement) ของ ISO 9001, ISO14001, OHSAS18001, TIS18001, TS16949 เป็นต้น องค์กรที่ให้การรับรอง เช่น MASCI, Intertek Moody, URS, SGS, TUV Rheinland, BVQI  และอีกมากมายกว่าสามสิบองค์กรในไทยเราหรือ เรียกว่า Certification Body (CB)

ส่วนการรับรองผลิตภัณฑ์ (Product Certificate) คือ มีการตรวจสอบผ่านค่าที่กำหนด (Specification) เช่น องค์กรของรัฐที่ชื่อ สมอ. (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม) จะมีเครื่องหมายและอักษร มอก. เป็นต้น ปัจจุบันงานตรวจสอบ มอก. เริ่มผ่องถ่ายให้ CB ที่จะเรียกว่า IB (Inspection Body) มารับงานจาก สมอ . ไปทำ ยกเว้นการออกใบอนุญาต ยังคงเป็น สมอ. เป็นผู้ออกเท่านั้น เพราะมีผลด้านกฎหมาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็น มอก.บังคับ ต้องได้ใบอนุญาตก่อน จึงจะผลิต หรือนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศได้ หากฝ่านฝืนมีโทษปรับและจำคุก
เมื่อได้รับรองระบบ (System Certificate) หลังการตรวจประเมิน (Audit) ตามข้อกำหนด (Requirement) ของ ISO 9001 แล้ว สามารถนำไปโฆษณาได้ แต่ห้ามระบุบนสินค้า บนกล่องบรรจุภัณฑ์ ถือว่าผิดกฎการรับรอง ส่วนใหญ่มักระบุที่นามบัตร หัวจดหมาย แผ่นพับโฆษณา ใบ Invoice ป้ายประชาสัมพันธ์ หากเราฝ่าฝืนหรือทำผิดกฎ ผู้ตรวจสอบ ที่เรียกว่า Auditor จะออก ใบ CAR (มักเรียกใบคาร์ ก็คือใบแจ้งข้อพกพร่องร้องขอให้ปฎิบัติการแก้ไข) 


ส่วนการได้รับรองผลิตภัณฑ์ (Product Certificate) จาก สมอ. (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) เช่น มาตรฐานตู้เย็น มอก. 2214, 2186 ให้ระบุหรือพิมพ์ติดบนสินค้าได้ โดยเฉพาะ มอก. ที่เป็นมาตรฐานบังคับ ยังมีอีกมากสินค้า เช่น เครื่องปรับอากาศ เตารีด ปลั๊กไฟ บัลลาส อื่นๆ ต้องได้รับอนุญาตก่อน จึงจะขายสินค้าในไทยได้ หากฝ่าฝืน มีโทษ ทั้งปรับ หรือ/และจำคุก จากทางราชการ
หมายเหตุ มี มอก. ที่ไม่บังคับด้วย ส่วนใหญ่คือ สินค้าที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต

ISO9001 ทำง่ายแต่การรักษาระบบเป็นเรื่องยาก:
การรับรองที่ระบบ หรือ ได้รับรอง ISO ผู้เขียนมองว่าเป็นมาตรฐานขั้นธรรมดา ไม่อยากเรียกว่าขั้นต่ำ (Minimum Standard) หากทำระบบให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดของ ISO โรงงานก็สามารถผ่านการรับรองแล้ว แต่การทำให้ดีตลอดไป การรักษาให้คงอยู่ เกิดความตระหนักถึงในงานคุณภาพ ในมาตรฐานนั้นๆสำคัญที่สุด

ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) เรียกสั้นๆว่า QMS หรือ ISO 9001 ฉะนั้น เอกสารใช้งานต่างๆ ไม่ควรระบุเวอร์ชั่นไว้ในเอกสารใช้งานทุกชนิดทุกแผ่น เช่น เขียนทุกเอกสาร ISO 9001:2008 เนื่องจากว่า ถึงเวลา ISO ปรับเวอร์ชั่น ต้องมาแก้ไขใหม่ค่อนข้างเสียเวลา ให้ระบุในคู่มือคุณภาพ คู่มือสิ่งแวดล้อม คู่มืออาชีวอนามัยและความปลอดภัย จากนั้นใช้การประกาศตามบอร์ด อบรมให้พนักงานทุกท่านและสื่อสารให้รับรู้ทุกคนว่าเป็น ISO อะไร เวอร์ชั่นใด

หมายเหตุ ปกติทุกๆห้าปีมักประกาศเวอร์ชั่นใหม่ โดยมีองค์กรไอเอสโอ หรือบางท่านเรียก ไอโซ ตั้งอยู่กรุงเจนีวา ประเทศสวิทเซอร์แลนด์เป็นผู้ออก และประกาศใช้ทั่วโลก จึงมักเรียกว่า มาตรฐานสากลหรือมาตรฐานโลก

คำว่า ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization

ISO 9001นับว่า:
1 เป็นมาตรฐานที่ส่วนใหญ่ยอมรับ(Nationally Accepted Standard)
2 เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ (Science and Art)
3 เป็นการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) ให้ลูกค้ามั่นใจในผลิตภัณฑ์(Product)และบริการ(Service)
4 เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าหรือข้อกำหนดของลูกค้า (Customer Requirement)
5 เป็นการบริหารคุณภาพที่ดี ช่วยลดต้นทุน(Cost Reduction)
6 เป็นการจัดการและควบคุมระบบคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด(Set of Standard and More Effective Management) อาจเรียกว่า QMS (Quality Management System)
ผู้เขียนเรียกว่าเป็นน้องๆของ TQM (Total Quality Management) หรือการบริหารคุณภาพทั้งองค์กร

•อนุกรมมาตรฐานจะลงท้ายด้วยเลขศูนย์ ดังนี้

•ISO 9000 เป็นอนุกรมมาตรฐานและการจัดการด้านคุณภาพ และข้างในมีคำนิยามศัพท์เฉพาะ ทำให้เข้าใจยิ่งขึ้น (สามารถหาศึกษาได้ที่ห้องสมุด สมอ. ถนนพระรามหก อยู่ตรงข้ามกับโรงพยาบาลรามาธิบดีและมหาวิทยาลัยมหิดล)

•ISO 14000 เป็นอนุกรมมาตรฐานและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานที่ให้การรับรองคือ ISO 14001:2004

•OHSAS 18001 เป็นมาตรฐานและการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ยังไม่ประกาศเป็นไอเอสโอ แต่ถือว่าเป็นมาตรฐานสากลโดยปริยาย เนื่องจากองค์ที่ให้การรับรอง (Certification Body เรียกสั้นๆว่า CB) ไปทำข้อตกลงกับประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปให้ยอมรับ ของพี่ไทยเราก็มี เรียกว่า มอก. 18001 เป็นมาตรฐานที่ให้การรับรอง ซึ่ง มอก.18001 หรือ TIS 18001 ใช้ในประเทศ จึงเป็นมาตรฐานระดับชาติ(National Standard) ด้วย ปัจจุบันเป็น Version 2554 หรือ ปี ค.ศ. 2011 แทนปี พ.ศ. 2542

มาตรฐานที่ให้การรับรองจะลงท้ายด้วยเลขหนึ่ง:
หากทุกท่านสังเกตุดู จะพบวว่ามาตรฐานที่ให้การรับรองจะลงท้ายด้วยเลขหนึ่งเสมอ คือ ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, TIS 18001, TLS 8001 ส่วนโรงงานจะผลิตสินค้าเกรดเอ เกรดบี หรือซี ขอรับการรับรองได้ทั้งนั้น การให้บริการ(Service) รวมทั้งสถานศึกษา ก็สามารถยื่นขอรับการรับรองได้เช่นกัน

ผู้เขียน คิดว่าหลายท่านคงคุ้น ISO ที่โรงงานและบริษัทต่างๆจัดทำระบบขึ้นมา เพราะสินค้าและบริการชัดเจน คือมองเห็นๆเลย ในทางกลับกัน หากมามองว่าสินค้า(Product)ของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยคือ อะไร คงจะสงสัยพอสมควร

ปัจจุบันก็มีสถาบันการศึกษายื่นขอรับรองมาตรฐาน ISO มีทั้งด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม(ISO14001) และ ด้านคุณภาพ (ISO9001) ฉะนั้นสินค้าที่ว่า ก็น่าจะเป็นนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา หากเป็นระดับมหาวิทยาลัยก็คือบัณฑิตหรือความรู้ ปริมาณสินค้าที่โรงงานผลิตได้ พอมองในมุมมองของสถาบันอุดมศึกษาก็คือปริมาณบัณฑิตที่ผลิตออกมา คือนิสิต นักศึกษาที่สำเร็จเป็นบัณฑิตนั่นเอง คุณภาพสินค้า ก็คือคุณภาพบัณฑิตที่แต่ละสถาบันผลิตออกมาได้

ผู้เขียนเล่าให้ฟังต่อ บางท่านอาจตีความร่วมกันกับผู้เขียนนะครับ การทำระบบบริหารคุณภาพ ต้องมีการควบคุมคุณภาพ การตรวจรับเข้า(Incoming Inspection) ก็คงต้องนับการสอบแอดมั่นชั่น หรือ เอ็นทรานซ์(Entrance)นั่นเอง หากเป็นระดับอนุบาลละทำอย่างไร เดี๋ยวนี้เข้าเรียนชั้นอนุบาลมีสอบเข้าด้วยนะ ผู้เขียนอยากเห็นการสอบเข้าอนุบาล คิดว่าจะไปดูหลายครั้งแล้ว ก็ไม่ว่างสักที ไว้จะไปสอบถามเพื่อนเก่าๆที่เป็นครูต่างจังหวัด ว่าโรงเรียนวัดผลกันอย่างไรครับ
ส่วนการควบคุมกระบวนการ(In-Process Inspection) ต้องเป็นการสอบทุกชั้นปี ตั้งแต่ระหว่างเรียนปีที่หนึ่งถึงปีที่สามหรือปีที่สี่เทอมต้น

สุดท้าย Final Inspection ก็น่าจะสอบปีสี่เทอมสุดท้าย สอบผ่าน สินค้าก็ขนส่งออกได้ หรือสามารถ Delivery ผู้เขียนเพียงต้องการแจกแจงการตีความข้อกำหนด(Requirement เขียนไว้ Blog ที่ 6) ไม่ได้ว่าบัณฑิตเป็นสิ่งของนะครับ และมหาวิทยาลัย ที่ขอรับรองระบบ มักยื่นในขอบข่าย การบริการ(Servicing) เช่น ขอบข่ายการลงทะเบียน โดยนำISO ไปปรับปรุงขั้นตอนการลงทะเบียนให้ดีและสร้างความสะดวกให้กับนักศึกษา (ถ้าพูดตามภาษา ISO คือสร้่างความประทับใจให้กับลูกค้า)

เมื่อตีความว่า นักศึกษาเป็นลูกค้า ในเรื่องCustomer Complaint/Claim จะมีลูกศิษย์คนใดกล้าร้องเรียนหรือไม่? นอกจากสถาบันการศึกษาที่ยกตัวอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใด สามารถยื่นขอรับรองได้ ฉะนั้นเวลาทำระบบเราจึงต้องรู้ว่า สินค้าขององค์กรคืออะไร บริการขององค์กรคืออะไร จากนั้นเริ่มสร้างระบบขึ้นมา และมักหนีเรื่องเอกสารไม่ได้ ยิ่งเป็นหน่วยงานราชการด้วยแล้ว ระบบเอกสารมีอยู่แล้วและก็ดีมาก ชี้บ่งชัดเจน สอบกลับได้ มีการจัดเก็บที่ดี ทุกระบบการจัดการ (Management System)สามารถรวมกันได้ หรือ เมอส(Merse) ส่วนใหญ่จะพบ ISO9001 เมอสกับ ISO14001 มีหรือ ISO14001 เมอสกับ OHSAS18001 ก็มีบางองค์กรเมอสทั้ง ISO9001, ISO14001, OHSAS18001 รวมเข้าดัวยกัน ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นกับศักยภาพขององค์กรนั้นๆ บางท่านมองว่ามีข้อดีมากกว่าและ Certification Body ก็ลดค่าตรวจประเมินให้ รวมทั้งลดจำนวนวันที่(Man-Day)ที่ต้องตรวจประเมิน ไว้มีเวลาจะมาเขียนวิธีการเมอสเข้าด้วยกัน

บางองค์กรทำ TQM ก็ใช้ TQM(Total Quality Management) เป็นหลักหรือบ้าน ใช้แต่ละมาตรฐานเป็นเสาของบ้าน (บ้านด๊อกเตอร์คาโน : Dr. Kano House)

ISO เป็นมาตรฐานไม่บังคับ :
ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, TIS 18001 ไม่ใช่มาตรฐานบังคับและไม่เป็นระบบการจัดการที่บังคับ โรงงานจะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ แต่ทุกๆโรงงานมักทำ เนื่องจากหลายๆเหตุผล เช่น ลูกค้าร้องขอ บริษัทให้ทำอย่างน้อยก็มีระบบการทำงานขึ้นมาใช้งาน ที่สำคัญหลายๆโรงงานที่ทำ เพื่อขายสินค้าให้ราชการ เนื่องจากมีกฎระเบียบพัสดุว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ ให้ซื้อสินค้าจากผู้ที่ได้รับรอง ISO จาก CB และต้องเป็น CB ที่ได้รับรองจาก NAC (ก็คือหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม ทีให้การรับรอง CB ) เช่น  MASCI, URS, SGS, TUV Rheinland, TUV NORD, BVQI อื่นๆ ที่ให้รับรององค์กรต่างๆ ก็ได้รับรองจาก NAC (National Accreditation Council) 


ปัจจุบันหน่วยงาน NAC ย้ายจากที่เคยสังกัดสำนักปลัดกระทรวง(อุตสาหกรรม) มาขึ้นกับ สมอ. หรือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ผู้เขียนเคยรับราชการที่ สมอ. เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ไปอบรมหลักสูตร ผู้ตรวจสอบการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือที่มักเรียกว่า IB Auditor (Inspection Body Auditor) เพื่อตรวจ มอก.(ตรวจแทนข้าราชการ สมอ.) โดย สมอ. มีนโยบายที่จะโอนงาน การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ไปให้เอกชนทำแทน แต่ สมอ. ยังเป็นผู้ออกใบอนุญาตเหมือนเดิม ทำให้พบพี่ๆเพื่อนๆและน้องๆอีกหลายคนที่รับราชการ บางคนก็บอกว่าอยู่เอกชนดี แค่หนักกายแต่สบายใจ ผู้เขียนบอกว่า ก็เหมือนๆกัน เอกชนต้องเป็นองค์กรที่มีระบบการจัดการที่ดีและชื่อเสียงไปในแนวทางที่ดี จึงจะสบายใจ หลังๆอะไรก็เปลี่ยนไป ไม่ค่อยมีใครอยากทำงานฝ่าย QA เพราะการเร่งยอดผลิต โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยในสินค้าเท่าที่ควร ผู้จัดการ QA หรือผู้จัดการโรงงาน พูดได้ว่า ขาข้างหนึ่งก้าวเข้าไปรอในคุกแล้ว 

ยิ่งปัจจุบันมี PL Law ยิ่งต้องทำงานให้รอบคอบ บางครั้งผู้บริหารระดับสูงจะเอายอดผลิต มักเป็นผู้สั่งปล่อยสินค้าออกไปหรือบีบฝ่าย QA เสมอ แต่เวลาติดคุกท่านคงไม่ได้มีส่วนร่วมกินข้าวแดง และนอนมุ้งสายบัว ผู้เขียนจึงบอกว่า อยู่รับราชการสบายใจกว่า เกษียณงานแล้วยังมีบำนาญ และรักษาพยาบาลฟรีทั้งพ่อ แม่ ลูกและภรรยา ตรงนี้สำคัญมาก เพราะคนเราอายุมากขึ้น โรคภัยไข้เจ็บจะเริ่มมา เข้าโรงพยาบาลเอกชนทีหมดเงินเป็นแสน พูดได้ว่าแค่นอนค้างคืนก็หมื่นกว่าบาทเพียงแค่ให้น้ำเกลือ ยิ่งนอนหลายคืนก็ปาเข้าไปเป็นแสน ถามรายละเอียด ก็มีบอกว่าเป็นค่าอะไรบ้าง พอจะมีคุณธรรม คิดราคาค่ารักษาที่สมเหตุสมผลก็ต้องโรงพยาบาลหัวเฉียว ถนนยศเส กรุงเทพฯยังเป็นที่พึ่งของคนไข้ระดับชนชั้นกลางได้ หรือจะประหยัดก็ต้องไปโรงพยาบาลของรัฐซึ่งค่อนข้างแออัดและรอนาน เรียกว่าต้องอดทน


อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ติดกับแม่น้ำโขงและเมืองสานะคาม Laoเพิ่มคำอธิบายภาพ 

ภาพบนเป็นเมืองเชียงคาน ของไทยติดกับแม่น้ำโขง ฝั่งตรงข้ามคือเมืองสานะคาม ประเทศลาว
เป็นอำเภอเล็กๆ เงียบสงบ ช่วงเช้ามีหมอกปกคลุมมาก คนนิยมไปเที่ยว ยามเช้าๆมีแต่นักท่องเที่ยวนั่ง
รับประทานอาหารเช้าตามร้านอาหารทั่วเมือง ดูแล้วได้บรรยากาศ ชิว ชิว ให้ Mc QMR พาเที่ยวเมืองไทยไปกับ ISO ให้ดูพักสายตา ทำงานแล้วจะได้คลายเครียด
Version ของ ISO 9001:
ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) หรือ QMS หรือ ISO 9001 จากอดีตถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเวอร์ชั่นมาสามครั้งแล้ว เริ่มนับหนึ่งเป็นปี คศ. 1987 เปลี่ยนแปลงครั้งที่หนึ่งเมื่ิอปี 1994 ถัดมาเป็นปี คศ.2000 ปัจจุบันที่ใช้คือ Version ปี 2008 อนาคตเวอร์ชั่นใหม่น่าจะเป็นปี 2013

จุดเริ่มต้นของ ISO9000 ในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2531 หรือ ค.ศ. 1988 คุณ เฑียร เมฆานนท์ชัย อดีตเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้เริ่มนำระบบการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) มาใช้ในอุตสาหกรรมเมืองไทย โดยให้กองรับรองระบบคุณภาพ(กร.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)เป็นหน่วยงานให้การตรวจประเมินและรับรองระบบ โดยปี พ.ศ.2535(ค.ศ.1992) บริษัทเชลล์การผลิต (แห่งประเทศไทย) จำกัด นับเป็นรายแรกที่ได้รับการรับรองระบบการบริหารคุณภาพ(ISO9002 Version 1987) จาก สมอ. ในขอบข่ายการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นและจาระบี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 ต่อมาบริษัทต่างๆได้จัดทำระบบบริหารคุณภาพขึ้นมา เพื่อประยุกษ์ใช้ในการทำงานจนแพร่หลายมาทุกวันนี้
 

ก่อนที่จะเป็น ISO:

ในราวปี พ.ศ.2500 (ค.ศ.1957) ประเทศสหรัฐอเมริกาได้นำมาตรฐานคุณภาพมาใช้ในราชการทหาร โดย US Navy ใช้ Standard MIL Q21549 และ US Airforce ใช้ Standard AF1523 ต่อมาปี พ.ศ.2503 (ค.ศ.1960) มีการนำมาตรฐาน MIL Q9858A มาใช้อย่างแพราหลายในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร

ต่อมา ปี พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) ประเทศอังกฤษ ได้นำ BS 5750 Series Standard มาปรับปรุงธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานแตกต่างกัน ได้ใช้ยึดเป็นหลักเดียวกัน เป็นมาตรฐานเดียวกัน นับว่าก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1 เพื่อให้ตรงหรือสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า(Customer Needs)
2 เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าไปตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และ/หรือกิจกรรมของซัพพลายเออร์(Supplier)
จุดประสงค์ของการบริหารคุณภาพ มีดังนี้
1 เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ
2 เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
3 เพื่อสร้างประสิทธิภาพที่ดีขึ้นภายหลังการจัดทำระบบขึ้นมา
4 เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ กิจกรรม และองค์กรอย่างต่อเนื่อง
5 เพื่อวางแผนคุณภาพ ปฎิบัตการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพไม่ให้เกิดซ้ำหรือเกิดขึ้นใหม่

การทำ ISO9001 ให้ประสบผลสำเร็จ ต้องมีการเตรียมการดังนี้
1 ฝึกอบรมพนักงานทั้งองค์กรให้มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2 สร้างแรงจูงใจให้เกิดความร่วมมือทุกระดับขององค์กร
3 จัดสรรบุคลากรให้เหมาะสมกับการปฎิบัติงาน
4 จัดทำระบบเอกสารให้ง่ายต่อการใช้งานและลดเอกสารที่ไม่จำเป็นออกไป
5 ผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสำคัญ ดูแลและติดตามผลอย่างใกล้ชิดให้ได้ตามเป้าหมายและ
 ตามเวลาที่กำหนด



KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี 20000
ติดต่อ K.Nat  Mobile: 081 3029339  E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com, McQMR@hotmail.com  Bangkok Fax: 02 7441859
In-House Training :
"as your require"
บริษัทให้คำปรึกษาจัดทำทุกระบบ link  :   http://ksnationconsultant.blogspot.com/
ISO9001 ISO/TS16949 ISO14001 OHSAS/TIS18001 ISO50001
Productivity 5S Kaizen QCC TQM Six Sigma  Leadership
GMP  BRC IFS HACCP ISO22000 ISO17025
ISO/TS22002-1   FSSC22000
และอื่นๆ 
สามารถ Click ดูที่ Web Blog ด้านล่าง
ISO9001: 2008, ISO/TS16949  link ดูจาก   http://quality1996-quality1996.blogspot.com/
GMP/HACCP/ISO22000/ISO17025  link ดูจาก  http://qualitysolving.blogspot.com/
ISO14001, OHSAS18001, SA8000  link ดูจาก  http://safetysolving.blogspot.com/
Check List of ISO (MS):link ดูจาก  http://McQMRtraining-McQMR.blogspot.com/
หรือ SA8000 Check List link ที่    http://McQMRTraining.blogspot.com/
บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต 


หลักสูตร Integration Management System Method สอนหนึ่งวัน วิธีการรวมระบบ 

หลักสูตร Integrated QMS/EMS Internal Auditor สอนสองวัน  อบรมสี่สิบท่าน 
หลักสูตร Integrated QMS/HACCP Internal Auditor สอนสองวัน 
หลักสูตร Integrated QMS//HACCP/ISO22000 Internal Auditor สอนสองวัน 
หลักสูตร Internal Auditor QMS/EMS/OHSAS/HACCP  แต่ละระบบแยกกัน สอนสองวัน 
               เข้าอบรมได้ 40 ท่าน
หลักสูตร  Knowledge and Verify GHP สอนหนึ่งวัน ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าอบรม
หลักสูตร  GMP Internal Auditor สอนหนึ่งวัน เข้าอบรมได้ 40 ท่าน 
หลักสูตรข้อกำหนดแต่ละมาตรฐาน สอน 1 วัน 
หลักสูตร ข้อกำหนด ISO 9001:2015 สอนหนึ่งวัน ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้ารับการอบรม เพื่อประโยชน์
            ขององค์กร และนำไปรักษาระบบ สร้าง Awareness อย่างยั่งยืน
หลักสูตรข้อกำหนด ISO 14001:2015 สอนหนึ่งวัน ไม่จำกัดจำนวน
หลักสูตรทบทวนความรู้เกี่ยวกับ HACCP  สอนหนึ่งวัน ไม่จำกัดจำนวน
หลักสูตร ISO22000:2018 Awareness  สอนหนึ่งวัน ไม่จำกัดจำนวน
หลักสูตรข้อกำหนด ISO22000:2018  สอนหนึ่งวัน ไม่จำกัดจำนวน

หลักสูตร Integrated QMS/EMS/OHSMS Internal Auditor สอนสองวัน 
หลักสูตร IATF16949 Internal Auditor สอนสองวัน   
หลักสูตร ISO 22000 Internal Auditor สอนสองวัน 

โปรดติดตามต่อใน Blog ที่ 2: QMS Click Off
หมายเหตุ ผู้เขียนจะเริ่มต้นเขียนเกี่ยวกับ ISO9001 ในบทความ Blog ที่ 1 ก่อน จากนั้นเขียนลงในบทความใหม่เป็น Blog2 และต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ปัจจุบันถึง Blog ที่ 14 เรื่อง Six Sigma และ Blog ที่ 15 เรื่อง TQM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น