Section : Quality Solving

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

คำถามเกี่ยวกับระบบบริหารจากโรงงานต่างๆ: Blog 21

คำถามเกี่ยวกับระบบบริหารจากโรงงานต่างๆ: Blog 21
บริษัท เค เอส เนชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด
KS NATION CONSULTANT CO.,LTD.
เลขที่ 823/28  ถนนพรหมาสตร์  ตำบลบางปลาสร้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี  20000
ติดต่อ K.NAT K.Sun Mobile: 081 3029339, 0886560247, 083 2431855
E-Mail:  ksnationconsultant@hotmail.com, isoiatf@hotmail.com   
Bangkok Fax: 02 7441859
Line ID: iatf16949
ให้คำปรึกษาและอบรมทุกระบบ ISO
ให้บริการเป็น QMR/EMR/OHSMR สำหรับ SME 
รักษาระบบ ISO แทนตำแหน่งที่รอสรรหา
"นึกถึงไอโซ่ โทรหา KS" 081 3029339, 088 6560247

ณ วันนี้ ระบบบริหารคุณภาพ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
ISO9001:2015 ยังน่าจะใช้รับรองอีกสักระยะ ไม่ปรับเวอร์ชั้น
แต่ด้านความปลอดภัยกับด้านแรงงาน น่าจะมีความเข้มงวดขึ้น
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA: Personal Data Protection Act

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จะมีผลบังคับใช้ โรงงานที่มีพนักงาน
ตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ต้องมีจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ
อาชีวอนามัย ความปลอดภัย....
ดังนั้นโรงงานที่ได้รับรอง ISO45001:2018 ถือว่า มีครบถ้วนแล้ว

โรงงานที่ต้องมี บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย: บฉ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ.2551      มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 ช่วงนี้คนเข้าทดสอบมาก
โรงงานที่เข้าข่ายนี้ เข้าใจง่ายๆ คือ
1 มีวัตถุอันตราย 1,000,000 กิโลกรัมต่อปี ทั้งผลิต นำเข้า ส่งออก
2 พื้นที่จัดเก็บวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
3 เข้าข่ายวัตถุไวไฟ สารออกซิไดซ์ และสารเปอร์ออกไซด์
แต่ถ้ามีใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1,000 กิโลกรัมต่อปี
ต้องรายงานกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี
เพิ่มจากที่ส่งรายงาน สอ.1  วัตถุอันตรายให้กระทรวงแรงงาน
ทุกสิ้นเดือนมกราคมของทุกปี

โรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ที่ใช้ก๊าซไวไฟหรือของเหลวไวไฟ
ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม ต้องทำ 
PSMProcess Safety Management 
เพื่อความปลอดภัยจากไฟไหม้และเกิดการระเบิด
ถ้าทำระบบ ISO จะเข้าใจ มีทำ Internal Audit, Management Review
รวมถึงให้ External Auditor มาตรวจ ณ โรงงาน

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
ช่วงนี้โรงงานเริ่มอบรมภายใน เพื่อป้องกันโควิท 19 
การ์ดไม่ตก ใส่แมส จัดระยะห่าง ล้างมือด้วยเจลเสมอ
ISO9001:2015, ISO13485:2016
ISO14001:2015, ISO45001:2018
ISO31000:2018 การบริหารความเสี่ยง ISO&IATF 
ISO14971:2019 RM for Medical Devices
IATF16949:2016, ISO19011:2018 Internal Auditor
Control of Documented Information ทุก ISO
กรณีผู้เข้าอบรมจำนวน 30-40 ท่านขึ้นไป ควรจัดระยะห่าง มีเจลล้างมือ ใส่แมสตลอด 
ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์ KS ออก Training Certificate ให้ทุกท่าน
Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/
Mobile: 0813029339, 0886560247   Line ID: iatf16949

In-House Training and Consulting
ให้คำปรึกษา จัดทำระบบ อบรมภายใน
FMEA What’s Change in The New AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
หลักสูตรบรรยายหนึ่งวันเต็ม บรรยาย DFMEA, FMEA-MSR และ PFMEA 
     สำหรับโรงงานที่มี Design พนักงานเข้าใหม่ วิศวกรใหม่ หรือผู้สนใจ
การประยุกต์ใช้ PFMEA by AIAG & VDA 1st Edition 2019. 
    New FMEA By AIAG & VDA
AP แทนที่ RPN ติดตามที่ Blog 60 Click: quality1996-quality1996.blogspot.com/

สำหรับ ISO45001:2018 แตกต่างกับ OHSAS18001:2007 
มาตรฐานใหม่ฉบับนี้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2018
แต่ OHSAS18001:2007 ยังให้การรับรองได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021 ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2021 จะมีแต่ ISO45001:2018 เข้ามาแทนที่ สามารถคลิ๊กไปอ่านที่ link   http://safetysolving.blogspot.com/

คุณภาพเป็นเลิศ  ราคาพอเพียง  ลูกค้าพึงพอใจ
823/28 ถนนพรหมาสตร์ อำเภอเมือง ชลบุรี    
081 3029339, 083 2431855 
โทรสาร 02 7441859
Line ID: iatf16949
ksnationconsultant@hotmail.com 
isoiatf@hotmail.com
หรือที่ isobible@gmail.com
ออกใบ Certificate ให้ผู้เข้าอบรมจริงทุกท่าน ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
วันที่อบรมสามารถอบรมแยกจากกันคนละเดือนหรือตามความสะดวก
มีทั้งแบบเร่งด่วนหรือโครงการปกติ
"as your require"
บทความ ISO9001&IATF16949/TQM/Six Sigma สามารถคลิ๊ค
บทความ GMP/HACCP/FSMS  link:  http://qualitysolving.blogspot.com/
บทความ EMS/OH&S /SA8000  link: http://safetysolving.blogspot.com/
Check List ISO ทุกระบบ link:  http://Mcqmrtraining-Mcqmr.blogspot.com/
หรือ  http://sites.google.com/site/isosiamtraining/
หรือ SA8000 Check List link ที่  http://McQMRTraining.blogspot.com/
สำหรับโรงงานที่ต้องการควบคุมและกำจัดสัตว์รบกวนและสัตว์พาหะ ทั้งแมลง ปลวก นก หนูต่างๆ
สามารถติดต่องาน Pest Control โดย Click:   http://www.nanoherb.com

บทความด้านระบบการจัดการต่างๆของ McQMR และ Soonthorn  Ngamprompong หรือ                   ของสุนทร งามพร้อมพงศ์ (อาจารย์ศรราม) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ห้ามสำเนาและคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต Copy Right, All Rights Reserved.   
กรณีสงสัยสอบถามได้ที่ E-Mail: ksnationconsultant@hotmail.com ฟรี 

อบรมภายในราคาพิเศษ:
หลักสูตร Logical Thinking คิดแบบมีตรรกะ อบรมหนึ่งวัน 
ISO9001:2015 New Version และ IATF16949:2016 
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO9001:2015 New version    
หลักสูตร Risk Management of ISO9001:2015
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO9001:2015
EMS ISO14001:2015 New Version
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO14001:2015 New Version    
หลักสูตร Risk Management of ISO14001:2015 
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO14001:2015
OH&S ISO45001:2018
หลักสูตรข้อกำหนด Requirements of ISO45001:2018 New Standard    
หลักสูตร Risk Management of ISO45001:2018
หลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายใน Internal Auditor of ISO45001:2018
หลักสูตรต่างๆ ราคาพิเศษ หรือดูจากโบชัวร์ที่จัดส่งให้
หลักสูตรพิเศษ เช่น
* การคิดแบบมีตรรกะ (Logical Thinking)
* การสอนงาน (The Coaching)
* หัวหน้างานสมองเพชร (Genius Supervisory)  




Question From Factories: Blog ที่ 21 :
Q&A :ผู้เขียนจะนำคำถามต่างๆในระบบการจัดการมาลงไว้เพื่อน้องใหม่หรือผู้ที่เริ่มทำ
ระบบได้ใช้เป็นข้อมูล มีคำถามโรงงานที่มักถาม มีดังนี้

71 น้อง DC มีคำถามว่า คู่มือเครื่องจักรก่อนหน้านี้ไม่เคยควบคุม และต้องควบคุมอย่างไร 
ผู้เขียนขออธิบาย ให้ควบคุมเป็นแบบเอกสารจากภายนอก และต้องทำแค่ไหน มีเยอะแยะ จึงให้มองไปที่เครื่องจักร (Machine) ที่สำคัญ รวมถึงจะควบคุมเครื่องมืออุปกรณ์ในห้องปฎิบัติการมองที่กระทบกับคุณภาพ ถ้าคุมเข้มก็คุมแบบภายในทุกอย่าง หรือจะคุมพอควรใช้ Log Book ให้มองผลสำคัญเพื่อให้เอกสารนั้นคงอยู่ ไม่สูญหายหรือชำรุด เวลาจะใช้ หาไม่ได้ ตรงนี้สำคัญ เพราะฝ่ายซ่อมบำรุง อาจจำเป็นต้องใช้ในอนาคต หากต้นฉบับคู่มือไม่ควบคุม ไม่ Back Up สูญหายจะลำบาก ที่สำคัญ หากจะแปลงเป็น WI ภายใน คนปฏิบัติงานอ่านได้ยิ่งดี

70 มีคำถามโรงงานว่า CB คืออะไร พูดกันบ่อย พนักงานเข้ามาอบรมใหม่ เพิ่งทำงาน พูดแต่ภาษาอังกฤษ 
ผู้เขียนขออธิบาย CB คือ Certification Body หน่วยงานให้การรับรอง ISO, IATF16949 ดูข้างฝาผนังที่แขวน จะทราบว่าใคร ยังมีอีกคำคือ AB ทุกๆ CB จะมี AB กำกับหรือให้การคุ้มครอง พูดแบบหนังจีน ไปดูสัญญลักษณ์ที่ใบ Certificate หรือถาม CB จะรู้ว่า AB คือ Accreditation Body เช่น UKAS รูปมงกุฏ สำหรับไทยมี NQA
หรือก่อนหน้าเขียน NAC มีรูปคล้ายเสาหอไอเฟ่น เป็น AB มีสถานะเป็นหน่วยงานราชการ สังกัด สมอ.กระทรวงอุตสาหกรรม แต่ AB ต่างประเทศมักเป็นหน่วยงานเอกชน ทำหน้าที่เหมือนๆกัน
วิทยากร พยายามบอกภาษาไทยด้วย แม้ว่ากำลังมาจูนภาษา Auditor
ต้องช้าหน่อย น้องใหม่อาจงง ตามไม่ทัน


69 มีคำถามบริษัทเข้าใจว่า ISO9001:2008, ISO14001:2004 ใบ Certificate ครบรอบสามปี หรือหมดอายุเดือนกันยายนปีนี้ (2561)
จะยื่นตรวจหรือขอให้ตรวจเดือนกันยายนได้ไหม 
ขออธิบายว่า ให้ติดต่อกลับ CB ที่รับรองท่าน ถามว่าจะขอเวลาช่วงนั้น แต่ปกติ CB จะขอให้ตรวจล่วงหน้า 30-60 วัน บาง CB ต้องให้ Re-Audit ล่วงหน้า 60 วันโดยประมาณ เพื่อไม่ให้ใบ Certificate ขาดหรือหมดอายุ หากมีเหตุพลิกผัน ปกติจะสอบผ่านปรับเวอร์ชั่นสำเร็จ และถามมาว่าอาจย้าย CB ที่ไหนดี ผู้เขียนขอบอกว่าจุดนี้ให้ตัดสินใจเอง เพราะการยื่น CB ใด มักมีเหตุผล เช่น
1 นายจะเอา CB นี้ จบเลย The End
2 หรือลูกค้า จะขอให้ใช้ CB นี้ อาจต้องตามใจ อย่าลืมข้อกำหนด 4.2
ลูกค้าเป็น Interested Party มี Need นำไปพิจารณา ถ้าสำคัญก็ไปดำเนินการ ซื้อเราพันล้านบาท...จัดไป ถ้าซื้อเราพันบาท....ออเจ้าจงออกไป ล้อเล่นนะ
เคยเจอลูกค้าปลายทางเป็นเยอรมัน อังกฤษ ขอให้ยื่น CB ของประเทศเขา เกาหลีก็ยื่น CB ของเกาหลี พบที่โรงงานพื้นที่ระยอง ชลบุรี
3 หรือใช้รายที่ราคารับได้ ตกลงกันได้ จัดซื้อเล่นเอง จัดไปเลยครับ

68 มีคำถามโรงงานที่มักถามคือ ISO9001:2015 แตกต่างจาก IATF16949:2016 ตรงไหนบ้าง 
ขออธิบายเอาจุดใหญ่ๆ คือ (มีแตกต่างอีกหลายๆ)
1 ISO9001:2015 ไม่ระบุถึง QM หรือคู่มือคุณภาพ บริษัทใหม่ๆหรือ SME ขนาดเล็ก อาจไม่จัดทำ QM หรือเราจะเลือกทำ QM สามารถทำได้ ใส่ Company Profile เข้าไป เวลาลูกค้าขอให้ไปทั้งเล่ม สร้างความเชื่อมั่น แต่ IATF16949:2016 มีข้อกำหนดย่อยคือ 7.5.1.1 ระบุให้ต้องมี QM ฉะนั้นบทความ IATF หากโยงเรื่องข้อกำหนด 7.5 ให้ไปทำตาม ไปดู ISO9001:2015 โรงงานใหม่อาจไม่ทำ QM จะยื่น IATF จะตกหล่น แต่ส่วนใหญ่โรงงานมักทำ QM แทบทั้งนั้น เลยไม่มีปัญหาเรื่องทำให้เข้าใจผิดและตกหล่นประเด็น QM
2 ในข้อกำหนด ISO9001:2015 ไม่มี Preventive Action เมื่อเทียบกับ ISO9001:2008 แต่แนวคิดนั้นยังใช้ในการบริหารความเสี่ยง ความคิดเชิงปฏิบัติการป้องกันยังมี สามารถระบุลงในแผนงานต่างๆรวมถึงแผนงานความเสี่ยงด้านคุณภาพ
แต่ IATF16949:2016 มีข้อกำหนด Preventive Action 6.1.2.2

67 มีถามว่าข้อกำหนดของ IATF16949:2016 มีดาวน์โหลดฟรีหรือไปขอถ่ายสำเนาที่ สมอ.แบบ ISO9001:2015 หรือไหม
ขออธิบาย ไม่มีครับ อนาคตก็คงต้องติดตาม AIAG (Auto Industry Action Group) ถ้าต้องการตอนนี้ แนะนำไปซื้อคู่มือที่ QP ของคุณอภิชัย ประมาณสี่พันแปดร้อยบาท หรือเท่าไรลองถามไถ่ ผู้เขียนก็ไม่ได้รู้จักกัน เอาเถอะไปอุดหนุนหน่อยก็แล้วกันของซื้อของขาย ยิ่งโรงงานทำชิ้นส่วนยานยนต์สินค้ามี Margin มีทุนรอนมาก ไม่เหมือน SME สายผลิตอาหาร มีมาตรฐาน BRC ก็คือ HACCP+GMP+ISO9001:2015 แปลงร่างมานั่นเอง โรงงานทำมาตรฐานนี้ ต้องซื้อข้อกำหนดฉบับจริงหนึ่งเล่ม ก็หลายพันและไม่ได้แปรให้ด้วย ตอนไปอบรมนั่นแหละวิทยากรจึงแปลเป็นไทยมาบรรยาย ดังนั้นคนโรงงานต้องหมั่นฝึกภาษาอังกฤษด้วยก็จะดี เป็นอาวุธติดตัว ที่ผู้เขียนยังตั้งสโลแกนประจำตัวว่ามาตั้งแต่วัยรุ่นว่า "ปัญญาประดุจดังอาวุธ" แต่ใครไปใช้ชีวิตโรงงานเจอแต่เรื่องโหดๆ บางครั้งยังต้องมีสุภาษิตของสุนทรภู่ด้วย"รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี"
ยังมีคำถามอื่นๆอีกมาก จะทยอยนำมาลง หลังหยุดเขียนบทความไปนานมาก

66 ช่วงนี้ไปหลายโรงงาน บางแห่งเข้าโครงการ ISO9001:2015 แบบฟรี ถามว่าเป็นอย่างไร
ขออธิบาย ข้อดีคือ ฟรี ไม่เสียค่าที่ปรึกษา เพราะมีหน่วยงานจ่ายงบให้กับที่ปรึกษาในโครงการ แต่เลือกที่ปรึกษาไม่ได้ เวลาตายตัวห้ามเลื่อน อบรมข้อกำหนด หรือบางเรื่องให้ส่งตัวแทนจำกัดจำนวน 2-4 คนมาเรียนพร้อมกันแล้วไปทำต่อ ต้องตั้งใจก็สามารถทำต่อได้ในเวลาที่กำหนด

65  สอบถามว่า QMR/EMR ต้องระบุลงในแผนผังองค์กรหรือไม่ และมีกฎหมายกำหนดไว้หรือไม่
ผู้เขียนอธิบายโดยรวมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ตามข้อกำหนด ISO9001:2008 ระบุชัดว่า MR (หมายถึงตัวแทนฝ่ายบริหารไม่มี Q แต่โรงงานใส่ Q, E จึงนิยมเรียก QMR/ EMR ทั่วโลก)
ISO9001 ต้องมีเพียงหนึ่งคน มาจากระดับจัดการ ส่วน EMR ไม่ระบุตายตัวของ ISO14001:2004  ส่วน ISO14001:2015 New Version
ยังคล้ายๆเดิม เพียงแต่ผู้จะทำหน้าที่ตัวแทนฝ่ายบริหารทุกระบบบ ควรจะมี Authority, Powerity และ Humannity ครับ

โรงงานญี่ปุ่น มักเป็นผู้บริหารญี่ปุ่นเป็น MR และ QMR กับ EMR มักคนละท่าน แต่จะคนเดียวทุกระบบก็ได้ ไม่มีข้อห้าม
ในข้อกำหนดไม่มี Assistant MR แต่เราสร้างตัวช่วยท่าน จึงมี ผู้ช่วย QMR ผู้ช่วย EMR ทำได้ เพียงระบุให้ชัดเจน กำหนด หน้าที่ด้วย
ทำแบบเดียวกันกับ MR ให้ช่วยงาน MR

ISO9001: 2015 New Version (อนาคต) ไม่ระบุชัด หมายถึง MR มีมากกว่าหนึ่งคนได้ ระดับใดก็ได้ ตามฉบับ DIS คงต้องรอฉบับจริง ว่าจะอย่างไรต่อไป

MR มักเป็นตำแหน่งลอย ไม่มีปรากฏในแผนผังองค์กร ไม่มีทำเป็น JD เหมือนตำแหน่งอื่นๆ แต่จะมี JD ย่อมมีได้ ทำได้
ผู้ตรวจประเมิน (Auditor) มักถามพนักงานว่า ใครเป็น MR
องค์กรจึงมีประกาศแต่งตั้ง  ปิดประกาศ และหน้าที่ความรับผิดชอบระบุไปใน QM และ/หรือระบุในใบประกาศด้วย 
เพื่อให้ทุกคนในองค์กรรวมถึงคนนอกรู้ชัดในแผนผังองค์กร (Organization) จึงตีเส้นไข่ปลา ปรากฎตัว QMR ขึ้นมา แต่มักลากเส้นต่อจาก MD ลงมา
ให้รู้ว่าจะทำหน้าที่ตัวแทนท่านผู้บริหาร แต่ป้องกันสับสนว่ามีระดับรองจาก MD หรือระดับการบังคับบัญชามีแค่ใด จึงระบุว่าตำแหน่งลอย
หมายถึง เป็นเพียงตัวแทนฯ ดูแลระบบ /ISO  เท่านั้น

บางองค์กรแต่งตั้งผู้จัดการในตำแหน่งใดเป็น QMR อาจมีระบุ เช่น ผู้จัดการโรงงานและ QMR ลงในแผนผังองค์กร
ทำให้ดูชัดเจน จุดอ่อน หากผู้จัดการท่านอื่นเป็น QMR ทำให้ต้องปรับปรุงแผนผังองค์กร(Organization) วิธีนี้ปัจจุบันไม่นิยมกัน

แต่ก็มีองค์กรจำนวนมาก ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบ QMR หลักๆใน QM แต่เขียนอธิบายใน QM (คู่มือคุณภาพ) ระบุรายละเอียดไปดูที่ JD 
ทำให้องค์กรต้องจัดทำใบ JD เข้ามาในระบบชัดเจน
หากระบุใดๆ งานจริงไม่สอดคล้องกับความจริง ทำให้ Auditor อาจให้เป็นความไม่สอดคล้อง ง่ายๆคือ ออก CAR ว่าบกพร่อง
จึงควรสร้างระบบชัดเจน เขียนให้ตรงจริง และทำให้ตรงกับที่เขียน

บางองค์จัดตั้งฝ่าย ISO มีตำแหน่งถาวร อย่างนี้ต้องมี JD ตำแหน่ง QMR เป็นตำแหน่งหลัก ไม่ลอย

แต่ข้อกำหนด ISO 9001ข้อ 5.5.1 ฉบับปัจจุบันระบุว่าผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ตีความทุกตำแหน่ง ยึดแผนผังองค์กรเป็นตัวตั้ง
ทำให้ฝ่าย HR จัดทำ JD และทุกโรงงานทั่วประเทศ ทำ JD ช่วยตอบโจทย์ได้ เพราะใน JD ระบุทุกอย่าง ตำแหน่ง หน้าที่ การศึกษา วุฒิ ประสบการณ์ เพศใด อื่นๆ

สรุป ISO ไม่ใช่กฏหมาย ทำเพื่อยกระดับ ลูกค้าบังคับ หรือเหตุผลอื่นๆ 
(ที่กฏหมายไทยบังคับ มีเฉพาะโรงานผลิตอาหาร เครื่องสำอางค์และ ยา ต้องทำมาตรฐาน GMP)
การเพิ่มหรือระบุชื่อ ใน Organization Chart เพื่อให้ชัดเจน หรือทุกฝ่ายรู้ เพราะต้องแจกจ่ายให้นั่นเอง 
และตอบโจทย์เรื่องการสื่อสาร ว่าใครคือ QMR/EMR
กฎหมายไทยไม่มีบังคับ ISO ในมาตรฐานอื่นๆ บังคับแต่ระเบียบบริษัท  ซึ่ง HR จะทราบดี เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
ต้องเลือกว่า จะทำอย่างไรกับ ตำแหน่งตัวแทนฝ่ายบริหาร เพื่อให้การรณรงค์ ส่งเสริม และรักษาระบบบริหารยังธำรงรักษาได้

64  สอบถามว่า ตัวแทนฝ่ายบริหาร (QMR) รวมถึง EMR ต้องมีวุฒิการศึกษาใด
ขอตอบว่า QMR/ EMR ไม่มีกำหนดเรื่องวุฒิฯ แต่ตำแหน่งนี้รับผิดชอบเป็นตัวแทนฝ่ายบริหารด้านคุณภาพ/ สิ่งแวดล้อม ควรจะมีอาวุโส ประสานฝ่ายต่างๆได้ สรุป เป็นระดับจัดการยิ่งดี แต่หลายโรงงานใช้ Supervisor ก็มี (เฉพาะ QMR ตาม ISO9001:2008 ยังระบุต้องมีคนเดียวและระดับจัดการ)
ผ่านการอบรมอย่างน้อยหลักสูตร Internal Audit มีประกาศแต่งตั้ง มีความรู้ด้านเทคนิค
หลายโรงงานมักมาจากผู้จัดการฝ่ายคุณภาพ เป็น QMR และผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุง มักเป็น EMR แต่เป็นฝ่ายใดก็ได้ ถ้าบริหารงานด้านนั้นๆได้

63  สอบถามว่าบริษัทจะตั้งคนหนึ่งคน หรือสักสองหรือสามคน ตามปิดทุกใบ CAR ที่ออกให้ทุกฝ่ายในการทำ Internal Audit ดีไหมและที่อื่นๆทำกันอย่างไร
ผู้เขียนขอตอบว่า จากประสบการณ์ที่เห็นโรงงานมามาก น่าจะเกินสามร้อยโรงงานขึ้นไป พบว่าส่วนใหญ่ไม่นิยมแบบที่ว่า มีเหมือนกัน แต่พบค่อนข้างน้อย มักจะให้ทีมตรวจ เป็นผู้ติดตามและปิด CAR เพราะจะเห็นข้อบกพร่องจากการไปตรวจจริง และเข้าใจสิ่งที่ไม่สอดคล้องกระจ่างกว่าคนที่ไปปิด CAR แต่ไม่ใช่ผู้ไปตรวจติดตามภายใน 

สรุปคนตรวจตั้งแต่แรก จะรู้ดีกว่าคนที่ไม่ได้ไปตรวจเพราะการถูกมอบหมายให้ติดตามปิด CAR ทั้งโรงงาน หรือของทุกฝ่าย อาจไม่เข้าใจปัญหาจริงๆคืออะไร มีที่มาอย่างไร การตรวจมุ่งเน้นและให้แสดงถึงประสิทธิผล (Effectiveness) นั่นเอง คนตรวจจริง น่าจะเป็นผู้ติดตามปิด CAR นั้นด้วยตนเอง จะดีที่สุด

ให้ดูจากการตรวจของ CB ใน Stage 1 Audit ยังต้องมีคนเดิม มาตรวจต่อใน Stage 2 Audit อย่างน้อยหนึ่งคน ปกติมักไม่เปลี่ยนตัว ยังคง Lead Auditor คนเดิมมาตรวจต่อจนจบบริบูรณ์

62  สอบถามว่าการจัดเก็บขยะอันตราย ทำอย่างไรบ้าง
ผู้เขียนจะหาเวลามาเขียนอธิบายใน Blogger ด้านสิ่งแวดล้อม (ISO14001) คิดว่าคงต้องตอบยาว อธิบายมากหน่อย ไม่นั้นจะไม่กระจ่างครับ สรุปก่อน อย่างน้อย ต้องทำตามกฎหมายทุกขั้นตอน มีพื้นที่จัดเก็บชัดเจน มีผู้รับผิดชอบดูแล และนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีการ 

ถ้าเป็นขยะจากห้องพยาบาล ทีมีจำนวนไม่มาก สำหรับโรงงานขนาดเล็ก คงไม่ถึงกับต้องสร้างโรงเก็บต่างหาก (ยกเว้นมีที่ มีทุนก่อสร้าง อย่างนี้ดีมาก ป้องกันการปนเปื้อน รั่วไหล และส่งผลกระทบต่างๆ) ให้ใส่ถุงดำ แยกเก็บพื้นที่ในห้องพยาบาล ตีเส้น กำหนดมุมจัดเก็บ ให้พยาบาลนำไปเผาทำลายในเตาของโรงพยาบาลอย่างถูกวิธีการ 

แต่การนำขยะพิษ/อันตราย ออกนอกโรงงาน ต้องมีใบอนุญาตเช่นกัน แต่อย่างว่าชีวิตจริงทำงาน อะไรก็ดูยุ่งยาก ทำได้ทำเถอะ พบเห็นเหมือนกัน พยาบาลนำใส่ท้ายรถไปเลยก็มี นั่นน่าจะเป็นการยืดหยุ่น เพราะจุดประสงค์นำไปทำลายจริง ไม่ใช่ไปทิ้งแถวพนมสารคามอย่างที่เป็นข่าว และจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย 

61  สอบถามว่าจัดทำ GMP ของคลังสินค้าโลจิสติค ทำอย่างไรบ้าง
ขอตอบว่าทำตามมาตรฐาน GMP Codex Standard หลักการดังนี้
1 สภาพอาคารคลังสินค้าต้องถูกสุขลักษณะอนามัย ตัวอาคารและโครงสร้างต้องสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนต่อสินค้าอาหาร ป้องกันสัตว์พาหะเข้ามารบกวนภายใน

1.1เน้นที่พื้นที่จัดเก็บและจัดส่งสินค้าในอันดับแรก สภาพบรรจุภัณฑ์ที่มีอาหาร หมายถึงสินค้า ต้องดูแลดีทั้งการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ ดูแลรักษา และส่งมอบปลอดภัย ไม่มีสภาพชำรุด ฉีกขาด จัดเก็บในสภาวะที่ถูกต้องตามสินค้าอาหารนั้นๆ บางชนิดเก็บในห้องเย็น ต้องเป็นห้องเย็นที่อุณหภูมิได้ตามที่กำหนด
สามารถใช้หลักการของระเบียบปฎิบัติการจัดการคลังสินค้าของ ISO9001:2008 มาประยุกต์ใช้ควบคุม
ในมาตรฐาน GMP ได้
1.2 ทำความเข้าใจกับข้อกำหนดทั้ง 10 ของ GMP คือ

วัตถุประสงค์หลักเกณฑ์ทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร
ขอบข่าย การใช้ และนิยามศัพท์


การผลิตขั้นต้น

สถานที่ประกอบการ: การออกแบบ และสิ่งอำนวยความสะดวก

การควบคุมการปฏิบัติงาน

สถานที่ประกอบการ: การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล 

สถานที่ประกอบการ: สุขลักษณะส่วนบุคคล

การขนส่ง

ข้อมูลผลิตภัณฑ์และการสร้างความเข้าใจต่อผู้บริโภค 

10  การฝึกอบรม 

โดยไปขอคัดสำเนา มอก 34 เป็นภาษาไทยที่ สมอ. ห้องสมุด กระทรวงอุตสาหกรรม

1.3  เมื่อได้รับรอง ISO9001:2008 มาแล้ว นำหลักการด้านระบบเอกสารมาใช้งาน โดยควบคุม
แบบ Procedure ผนวกเข้าไปใน ISO9001 เพื่อเริ่ม Implement หรือนำไปปฏิบัติให้เกิดสุขลักษณะ
ภายในสถานประกอบการหรือคลังสินค้าโลจิสติค การบริหารและดำเนินการเช่นเดียวกับคลังสินค้าของโรงงานผลิตอาหาร
1.4 เอกสารที่ต้องทำเรียกว่า โปรแกรมพื้นฐาน (PRPs) เริ่มตั้งแต่
1 เรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล
2 เรื่องการทำความสะอาด
3 เรื่องการสุขาภิบาล
4 เรื่องการควบคุมสัตว์พาหะ
5 เรื่องการควบคุมใบมีด
6 เรื่องการควบคุมแก้วและพาสติคแข็ง
7 เรื่องการควบคุมสารเคมี
8 เรื่องการควบคุมขยะ
9 เรื่องการควบคุมน้ำ
10 เรื่องการตรวจรับเข้าและการจัดส่งสินค้า
11 เรื่องการซ่อมบำรุงเกี่ยวกับอุปกรณ์และยานพาหนะ เช่น Foklift, Handlift รวมทั้งยานพาหนะขนส่งสินค้า ยังต้องมีการทำความสะอาดตามระยะเวลาที่กำหนด มั่นใจปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่างๆ
ยังเขียนไม่เสร็จ ติดงานไปหาดใหญ่สัปดาห์นี้ ยังติดงานสองสัปดาห์ต่อเนื่อง
จะหาเวลามาเขียนต่อครับ

60  สอบถามว่าจะยื่นขอฮาลาล ทำอย่างไรบ้าง


ขอตอบว่า ให้ติดต่อที่สำนักจุฬาราชมนตรี จะมีข้อแนะนำและตรวจสอบ จากนั้นให้การรับรอง จึงสามารถนำเครื่องหมายฮาลาล ไปใช้บนผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลได้ สำหรับโรงงานหรือคลังสินค้าต่างจังหวัดให้ยื่นเรื่องที่สำนักจุฬาราชมนตรีในจังหวัดที่ตั้งอยู่

59  สอบถามว่าจะไปตรวจติดตามฝ่ายออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ จะดูและถามอย่างไร
ขอตอบว่า ให้ฝึกแบบเบื้องต้นโดยนำข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับ HACCP มีทั้งหมด 12 ขั้นตอน นึกคิดว่าทุกขั้นตอนฝ่ายนี้เกี่ยวข้องอย่างไร ( HACCP คือ 5 ลำดับแรก (Step) บวกกับ 7 Principles  = 12 ขั้นตอน)
จากลำดับแรก 
1  การจัดเตรียมทีมงาน HACCP (Food Safety Team ) ต้องมีชื่อเป็นสมาชิกทีม ต้องได้รับการอบรมในหลักสูตรต่างๆที่ต้องทำงานได้

2  การกำหนดรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ถ้าเป็นผู้กำหนด Product Description ตรวจสอบว่ารายละเอียดครบถ้วน Label ตาม อย. กำหนด

3  การกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้ผลิตภัณฑ์ ดูว่าชัดเจนและสามารถตรวจการทำงานของฝ่ายออกแบบ ว่าตรงหน้าที่ ดู JD ว่าชัดเจน สอดคล้องกับงานจริง การทำงานออกแบบ ทำตรงกับที่เขียน และเขียนตรงกับที่ทำงาน โดยอ้างอิงหน้าที่การทำงาน หรือความสอดคล้องกับ Procedure ของฝ่ายนี้

4  การจัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต เข้ามามีส่วนร่วม ผลิตภัณฑ์ใหม่ ฝ่ายนี้จะเป็นตัวเอกร่วมกับ QA/QC 

5  การทวนสอบความถูกต้องของแผนภูมิกระบวนการผลิต มีการ Verify หน้างานจริงร่วมกับ HACCP Plan + HACCP Team Leader (บางบริษัทก็ยังเรียก QMR)ไล่เรียง Audit ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาทีละชนิด ยิ่งออกตัวใหม่เน้นเข้าไปว่าการจัดทำ HACCP Plan ถูกต้องหรือไม่เริ่มจากลำดับ 6 

ระบุอันตรายทุกชนิดที่อาจจะเกิดขึ้น ดำเนินการวิเคราะห์ หาอันตรายและหามาตรในการควบคุม (หลักการที่ 1) ระบุอันตรายครบถ้วนหรือไม่ HACCP Plan ต้องทำร่วมกันทั้ง Team แต่ชีวิตจริงในโรงงานอาจเป็น QMR หรือ QA ทำคนเดียวก็มี ควรตรวจสอบและฝึกฝึกทำจริงทั้งทีม องค์กรใหญ่ๆ ไม่มีปัญหา ทีมงานแข็งแรง อันตรายต้องระบุครบทุกประเภท ทุกลำดับขั้นตอนตามแผนภูมิการผลิต 

กำหนดจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (หลักการที่ 2) กำหนดครบถ้วนหรือไม่ ต้องถูกต้อง ตรวจสอบการใช้ Tree Diagram ว่าใช้เป็นและเข้าใจจริง 

8 กำหนดค่าวิกฤตของแต่ละจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม(หลักการที่ 3) ระบุชัดเจน ต้องครบถ้วนอิงหลักวิชาการหรือการทดลอง เชื่อถือได้  

9 กำหนดระบบการตรวจติดตามสำหรับแต่ละจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (หลักการที่ 4) 
ขอดู HACCP PLans คนตรวจสอบ และผู้เฝ้าระวัง ทำถูกต้อง มีลงบันทึก เบี่ยงเบนต้องรายงานใคร  ใครต้องตัดสินใจ ต้องมี Action  พนักงาน Inspector และคนทำงานจุดนี้ ต้องได้รับการอบรม ทวนสอบว่าทำงานได้จริง 

10  กำหนดวิธีแก้ไขสำหรับการเบี่ยงเบนที่อาจเกิดขึ้น (หลักการที่ 5 ) ดู CA Procedure  

1 กำหนดวิธีการทวนสอบต่างๆ (หลักการที่ 6)  ดู IA (Internal Audit) ทำไปเมื่อไร มี CAR เก่า และปิดหมดหรือไม่  แต่พอดีเป็นแผนกใหม่ จึงไม่มีข้อบกพร่องเก่า  ตรวจว่ามีการใช้เครื่องมือวัด ต้องได้รับการสอบเทียบ อ่านค่าถูกต้อง ดูแลรักษาเครื่องวัดดี  ตรวจว่ามีการทวนสอบต่างๆถูกต้องหรือ ทวนสอบเวลาใด  เข้าประชุมทบทวนงานบริหารคุณภาพหรือไม่
ไล่เรียง Procedure ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  เทคนิคการตรวจประเมิน ของแต่ละคน และสไตร์ไม่เหมือนกัน ให้ลองฝึกฝน แต่หลักการไม่น่าแตกต่างกันขึ้นกับประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจในระบบงาน  

12กำหนดวิธีการจัดทำเอกสารและบันทึกข้อมูล (หลักการที่ 7)  ตรวจสอบเอกสารและบันทึกที่เกี่ยวข้อง ทำตาม Control of Document และ Record Procedure หรือไม่

ขอให้ฝึกเขียนทุกคำถามลงใน Check List  ขอดูอะไรให้ระบุลงใน Check List หากพบการทำงานไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดหรือ Procedure ให้ออกข้อบกพร่อง (CAR)
คนที่ไปตรวจสอบแผนกนี้ห้ามเป็นพนักงานฝ่ายออกแบบ และต้องผ่านการอบรมหลักสูตร Internal Auditor  ควรมีประสบการณ์รู้เนื้องาน เช่น QA/QC, Production ที่จบทาง Food Science, Biotechnology หรือรู้งานออกแบบ

58  สอบถามกันบ่อยเกี่ยวกับคำย่อของ 8D ว่าตัว D ย่อมาจากอะไร
ขออธิบายว่า D จาก 8D Technique to Problem Solving หรือ บางหลักสูตรใช้ 8D Corrective Action ใช้เพื่อรายงานสิ่งบกพร่องหรือ Defect ซึ่ง Ford กำหนดเป็น 8 ขั้นตอนในการรายงานชิ้นงานที่ Defect  ห้ามสับสนเข้าใจว่า 8D คือ 8 Defect  เข้าใจว่าจุดประสงค์ของ Ford น่าจะตั้งกฎขึ้นมา หรือ 8 Discipline เป็นรูปแบบการรายงานปัญหาชิ้นงานที่บกพร่องให้เป็นแนวทางเดี่ยวกัน (Defect Information Report) ผู้เขียนมองว่าเป็นรูปแบบ หรือ 8 ขั้นตอน เพราะไม่คิดว่าเป็นกฎ

57  สอบถามการไปตรวจติดตามที่ Food Safety Team Leader หรือเป็น QMR คนเดียวกันจะถามอะไรบ้างตามข้อกำหนด HACCP 
ขอตอบแบบรวมๆว่าควรฝึกใช้คำถาม เช่น
ถาม QMR มีวิธีการทำงานอย่างไร รับผิดชอบอะไรบ้าง พร้อมขอดูหลักการทำงานในระบบ HACCP ซึ่งเป็นระบบคุณภาพด้านอาหารปลอดภัยเหมือน ISO22000:2005 ที่มาทีหลังแต่เป็นของ ISO 
•โดย HACCP มีทั้งหมด 12 ขั้นตอน เฉพาะหลักการมี 7 Principles 
เมื่อบวกห้า = 12 ขั้นตอน ไล่ถามทุกขั้นตอนที่ QMR หรือ Food 
Safety Team Leader ก่อนไปดูสภาพงานจริง (On Site)เช่น
•การจัดอบรมหลักสูตรครอบคลุมหรือไม่ พิจารณาจากอะไร และทำ
อย่างไร
•การทำ Internal Audit ความถี่ที่ระบุตรงกับทำจริงไหม โดยขอดู
หลักฐานจริงจาก QMR ไล่เลียงตรวจดู
•ขอดู Audit Plan กำหนดอย่างไร ครอบคลุมทุกพื้นที่เกี่ยวข้องหรือ
ไม่
•ตรวจวัน Audit จริงตรงกับกำหนดในแผนหรือไม่
•Internal Auditor มีใคร ผ่านการอบรมหรือยัง ไม่ตรวจงานที่ตนรับ
ผิดชอบ
•ขอดู Check List เนื้อหาการตรวจครบถ้วนหรือไม่ 
•ดูใบ CAR ปัญหาแก้ไขชัดเจน ต้องมีประสิทธิผล
•ขอดูรายงานสิ่งบกพร่อง ขอดู Management review และมีการ
ติดตามผลต่อเนื่องหรือไม่
•เน้นที่ HACCP Plans ถามที่ QMR ได้เพื่อไปตรวจสอบหน้างาน
จริง On Site
•กรณีที่ออกนอกค่าวิกฤต ดำเนินการอย่างไร ใครต้องรายงานผล ใคร
ตัดสินใจ ถามที่ QMR ก่อนจากนั้นลงลึกผู้รับผิดชอบ
•ดูสิ่งที่ลูกค้าร้องเรียน เคลม การเรียกคืนเปิดประเด็นถามที่ QMR 
ก่อนและไล่เบี้ยไปยังผู้เกี่ยวข้องมี Action หรือไม่
•ลองไปค้นใน Blogger ที่ McQMR หรือ Quality Solving มี
เขียน Check List ไว้ให้ศึกษา
•หากยังไม่เข้าใจกระจ่าง สอบถามมาได้ครับ หรือจะไปอบรมที่ BSI 
จัดแบบ Public Training หลักสูตร Internal Auditor 
GMP/HACCP จัดบ่อยทุกเดือน
•การที่จะเข้าใจมากขึ้นนั้นอาจใช้เวลา ถูก Auditor จาก CB มาตรวจ
ประเมินสักครั้ง สองครั้ง และฝึกทำการตรวจติดตามภายใน 
•จะเข้าใจมากขึ้นและพบว่า จะรู้จักใช้คำถาม ขอดูอะไร ถามได้ต่อ
เนื่องให้ฝึกถามบ่อยๆโดยใช้ Check List

ส่วนการอบรมทั้ง ISO9001:2008, GMP และ HACCP นั้นมักเป็นการอบรมภายในของแต่ละโรงงาน ล่าสุดผู้เขียนได้ไปบรรยายทั้งสามมาตรฐานที่โรงงานแถบมหาชัย หรือรวม ISO9001+ISO14001 +GMP+HACCP จากงานของ KS Nation Consultant

แต่ Public Training ของ BSI มีจัดแบบรวมระบบแบบหลักๆ ถ้ารวมมากๆและหลายๆระบบ ลูกค้าหรือโรงงาน มักจะจัดอบรมแบบ In-House เนื่องจากการอบรมแบบ PublicTraining คงไม่สนองตอบทุกคนต้องการหลายๆอย่างได้หมด

56  สอบถามการไป Audit ที่ Supplier จะตรวจมุมมองอย่างไร
ขอตอบว่า ไม่ต้องยึดถือทำแบบ CB Auditor เพราะคนละจุดประสงค์ ขอแนะนำว่า
นำวิธีการ ISO Audit ไปใช้ได้ แต่แนวทางการ Audit ควรเน้นสิ่งที่เราเป็นลูกค้าไปตรวจผู้ส่งบรรจุภัณฑ์  (Supplier หรืออาจเรียก Vendor) คือ 
1 สินค้าที่ส่งมาให้เรา ถ้ากำหนด Specification ได้ตรง Spec. หรือไม่
2 ถ้าไม่ตรง Spec. ต้องจี้ให้กำหนดแนวทางแก้ไขให้เห็นเป็นระบบชัดเจน
3 ดูว่าระบบการทำงานของ Supplier น่าเชื่อถือหรือไม่ ต้องเน้น Quality Control System 
3.1 การรับวัตถุรับเข้าที่จะมาผลิต (Incoming) มีการควบคุม วัตถุดิบที่ดี จึงจะผลิตสินค้าที่ดีได้
3.2 ขั้นตอนการควบคุมระหว่างกระบวนการมีต่อเนื่อง ช่วยให้มั่นใจ
หมายถึงเราเป็นลูกค้า ต้องทำให้เรามั่นใจทุกขั้นตอน
3.3 ขั้นตอนการตรวจสินค้าสำเร็จรูปมีหรือไม่ ขอดู Check Sheet ของผู้ผลิตสินค้าหรือ Supplier
หากใช้การสุ่มตรวจ ขอดูแผนการสุ่ม วิธีการสุ่ม คนตรวจสอบทำได้ถูกต้องหรือไม่
3.4 กรณีของเสีย หรือ Off Spec ดำเนินการอย่างไร 

3.5 คนมีเพียงพอที่จะตรวจสอบ เครื่องมือวัดพร้อม และได้รับการสอบเทียบ ค่าที่วัดผลจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
4 ส่งสินค้าให้เราทันกำหนดหรือไม่ หากไม่ทันบ่อย ต้องกำหนด KPI เพื่อให้ Supplier พยายามทำให้ได้(หากเราซื้อมากเป็นลูกค้ารายใหญ่ จึงจะบังคับผู้ผลิตได้)
5 ดูการวางแผน ว่าทำได้ทันแผนหรือไม่ ถ้าไม่มีแผนงานย่อมไม่มั่นใจว่าจะส่งสินค้าให้ลูกค้าได้จริง
6 ดูการบำรุงรักษาเครื่องจักรมีทำจริง จึงจะมั่นใจว่าเครื่องไม่ Brake Down ส่งผลกระทบต่อเราได้
7 ดูกำลังการผลิต สภาพโรงงาน ว่าพร้อมหรือไม่
8 ดูความสามารถของคนงานได้รับการอบรม ผลิตดี ตรวจสอบถูกต้องหรือไม่ หัวข้อ Key Point และปัญหาที่เคย Reject ในพื้นที่ผลิตควบคุมและรู้หรือไม่
9 ตรวจสอบจุดเก็บสินค้ารอส่งดูแลดี สถานที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน ยิ่งเดี๋ยวนี้โรงงาน Supplier ต่างๆมักถูกลูกค้าขอให้มีการทำมาตรฐาน GMP เกี่ยวกับสิ่งหุ้มห่อที่ใช้บรรจุอาหาร
10 ตรวจสอบมีโปรแกรมพื้นฐานในการควบคุมด้านความสะอาด สุขอนามัยส่วนบุคคล การแต่งกาย รวมทั้งระเบียบขณะปฏิบัติงานดีเพียงพอหรือไม่ มีการควบคุมสัตว์พาหะต่างๆ ย่อมมั่นใจว่าสินค้าสะอาดหากนำมาใช้งานจะไม่สกปรก ไม่มีสิ่งปะปนให้ผู้บริโภคเป็นอันตราย
11 หากโรงงานนั้นมาตรฐานหรือจัดทำระบบ HACCP ให้ขอดู HACCP Plans ควบคุมจริงจัง สินค้าปลอดภัยไม่มีการปนเปื้อน
12 มี WI ใช้ทำงานจุดสำคัญ ทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง
ตรวจสอบประมาณนี้ น่าจะพอได้ ไม่ต้องทำแบบ CB Auditor เพราะ
CB เน้นครบทุกข้อกำนด เราจึงไม่ควรไปถามว่ามีระบบควบคุม
เอกสาร ควบคุมบันทึก มีทำการตรวจติดตามภายใน และประชุม
ทบทวนงานบริหารไปเมื่อใด เพราะลูกค้าไปตรวจเพื่อให้ได้สินค้า
ตามทีต้องการไม่ใช่ไปตรวจ ISO เพื่อให้การรับรองแบบ CB

55  สอบถามมาทั้งอบรม GMP และโรงงาน GMP ขอตอบรวมว่า
      เกี่ยวกับการอบรม Public Training : GMP/HACCP Audit Technique มีจัดบ่อยของ BSI และอีกเรื่อง
สำหรับ GMP เป็นมาตรฐานบังคับในไทยสำหรับโรงงานผลิตอาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ แต่ลูกค้ามักนำมาบังคับโรงงานต่างๆที่มีผลิตภัณฑ์ใดๆที่สัมผัสอาหารต้องทำ GMP จึงมักเห็นโรงงานบรรจุภัณฑ์พวกทำถุงพลาสติก สายการผลิตโรงงานตู้เย็นเริ่มทำตาม GMP หรือขอรับรอง GMP กับ CB มากขึ้น (แต่ก่อนไม่มี เพราะไม่ได้ถูกกฎหมายบังคับ)
GMP ที่ทำกัน 3 กลุ่ม คือ

1 โรงงานผลิตอาหารทำตาม Codex Standard มี 10 ข้อกำหนด ให้ลอง Click ไปอ่านใน Google ที่ Codex Alimentarius จะได้ความรู้ต่างๆมากมาย โรงงานยื่นรับรองกับ CB ใดๆก็ได้ โรงงานที่จะเปิดใหม่ ต้องได้ GMP ก่อน จึงยื่นเรื่อง อย จากนั้นขอใบ รง 4 หรือ กนอ จึงได้รับอนุญาตเปิดโรงงานผลิตอาหารได้ 
2  โรงงานยาและเครื่องสำอางค์ มีข้อปลีกย่อย เข้มงวดยิ่งขึ้น เรื่องสอบเทียบเครื่องมือเครื่องชั่งมีผลต่อโด๊สยา ความถี่จะต้องเข้มกว่าเช่น ทุก 1 เดือน จะทำทุกๆ 6 เดือนแบบโรงงานผลิตอหารไม่ได้
3 ประเภทผู้ผลิตของกินของฝาก ต้องทำ Primary GMP มี 6 ข้อกำหนด รายเก่าต้องทำภายใน 7 พฤศจิกายน 2558 เพราะวันที่ 8 มีผลบังคับใช้ ส่วนผู้ผลิตใหม่หรือกลุ่ม OTOP ต้องทำแล้ว เพราะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2555
54  สอบถามมาว่าจะไปตรวจผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ใช้ใส่อาหาร ควรตรวสอบและถามอย่างไร
ขอตอบว่า นำวิธีการ ISO Audit ไปใช้ได้ แต่แนวทางการ Audit ควรเน้นสิ่งที่เราเป็นลูกค้าไปตรวจผู้ส่งมอบหรือขายบรรจุภัณฑ์ (Supplier หรืออาจเรียก Vendor) คือ 
1 บรรจุภัณฑ์ที่ส่งมาให้เรา ถ้ากำหนด Specification ได้ตรง Spec. หรือไม่
2 ถ้าไม่ตรง Spec. ต้องจี้ให้กำหนดแนวทางแก้ไขให้เห็นเป็นระบบชัดเจน
3 ดูว่าระบบการทำงานของ Supplier น่าเชื่อถือหรือไม่ เน้น Quality Control System 
3.1 การรับวัตถุรับเข้าที่จะมาผลิต (Incoming) มีการควบคุม วัตถุดิบที่ดี จึงจะผลิตสินค้าที่ดีได้
3.2 ขั้นตอนการควบคุมระหว่างกระบวนการมีต่อเนื่อง ช่วยให้มั่นใจ
3.3 ขั้นตอนการตรวจสินค้าสำเร็จรูปมีหรือไม่ ขอดู Check List ของผู้ผลิต (Supplier)
หากใช้การสุ่มตรวจ ขอดูแผนการสุ่ม วิธีการสุ่ม คนตรวจสอบทำได้ถูกต้องหรือไม่
3.4 กรณีของเสีย หรือ Off Spec ดำเนินการอย่างไร 
3.5 คนมีเพียงพอที่จะตรวจสอบ เครื่องมือวัดพร้อม และได้รับการสอบเทียบ ค่าที่วัดผลจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
4 ส่งสินค้าให้เราทันกำหนดหรือไม่ หากไม่ทันบ่อย ต้องกำหนด KPI เพื่อให้ Supplier พยายามทำให้ได้
(หากเราซื้อมากเป็นลูกค้ารายใหญ่ จึงจะบังคับผู้ผลิตหรือผู้ส่งมอบได้)
5 ดูการวางแผน ว่าทำได้ทันแผนหรือไม่ ถ้าไม่มีแผนงานย่อมไม่มั่นใจว่าจะส่งสินค้าให้ลูกค้าได้จริง
6 ดูการบำรุงรักษาเครื่องจักรมีทำจริง จึงจะมั่นใจว่าเครื่องไม่ Brake Down ส่งผลกระทบต่อเราได้
7 ดูกำลังการผลิต สภาพโรงงาน ว่าพร้อมหรือไม่
8 ดูความสามารถของคนงานได้รับการอบรม ผลิตดี ตรวจสอบถูกต้อง
9 ตรวจสอบจุดเก็บสินค้ารอส่ง มีการดูแลดี สถานที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน ยิ่งเดี๋ยวนี้โรงงาน Supplier ต่างๆ มักถูกลูกค้าขอให้มีการทำมาตรฐาน GMP นอกจาก ISO
10 ตรวจสอบมีโปรแกรมพื้นฐานในการควบคุมด้านความสะอาด สุขอนามัย มีการควบคุมสัตว์พาหะต่างๆ มีการควบคุมขยะ ควบคุมแก้วและพลาสติกแข็ง ควบคุมใบมีดหรือไม่ อื่นๆ  ย่อมสร้างความมั่นใจว่าสินค้าสะอาดหากนำมาใช้งานจะไม่สกปรก ไม่มีสิ่งปะปน ก่อให้เกิดเชื้อโรคถ้านำไปบรรจุอาหาร
11 หากโรงงานนั้นจัดทำถึงมาตรฐานหรือระบบ HACCP ให้ขอดู HACCP Plan ควบคุมจริงจัง สินค้าปลอดภัยไม่มีการปนเปื้อน
12 มี WI ใช้ทำงานจุดสำคัญ ทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง
ตรวจสอบประมาณนี้ น่าจะพอได้ ไม่ต้องทำแบบ CB Auditor เพราะ CB เน้นครบทุกข้อกำนด
มีระบบควบคุมเอกสาร ควบคุมบันทึก มีทำการตรวจติดตามภายใน และประชุมทบทวนงานบริหาร
เพราะเราไปตรวจเพื่อให้ได้สินค้าตามที่ต้องการ ไม่ใช่ตรวจ ISO เพื่อให้การรับรอง

53  ป้ายแสดงว่าได้รับรอง ISO9001:2000 ปัจจุบันได้รับรองเวอร์ชั่น 2008 แล้ว มีตรวจสอบความถูกต้องอย่างไร
ผู้เขียน ขอตอบว่า CB Auditor ที่มาตรวจประเมิน จะดูการนำสัญญลักษณ์ไปใช้ด้วยว่าทำถูกเงื่อนไข นอกจากป้ายถูกต้อง ทันสมัย (Up-Date) หัวจดหมาย นามบัตร ในเอกสารที่นำไปใช้ต่างๆทั้งระบุใน Invoice ว่าถูกต้องด้วยเช่นกัน ห้ามปิดแสดงบนสินค้า เพราะ ISO เป็นการรับรองระบบ ต่างจาก มอก. เป็นการรับรองที่สินค้า ทำให้แยกแยะกันได้

52  ต้องประกาศตำแหน่งพนักงานควบคุมเอกสารและมี JD หรือใบกำหนดหน้างานของ DC หรือไม่
ผู้เขียน ขอตอบว่า DC ตำแหน่งนี้ บางบริษัททำเป็น JD อย่างนี้ชัดเจน มีตัวตน ทำหน้าที่นี้เป็นหลัก แต่ว่าธุรกิจบางครั้ง ไม่ได้รับคนมากหรือเผื่อคน DC จึงมักให้คนที่พอมีเวลาเหลือจากงานประจำอื่นมาควบ DC อีกตำแหน่งในองค์กรขนาดเล็ก สามารถทำได้ บางแห่งไม่มี JD แต่ระบุหน้าที่งานของ DC ลงในแผนผังองค์กร บางแห่งระบุลักษณะงาน DC ลงใน QM เอาเป็นว่า ถ้าถูกถาม DC มีหน้าที่อะไร เป็นไคร ตอบได้ ย่อม OK ดังนั้นการประกาศหรือสื่อสารให้ทุกคนรู้ว่า DC คือใคร ทำให้ผู้ที่จะมาทำธุรกรรมเกี่ยวกับเอกสาร มาถูกที่ถูกคนนับเป็นสิ่งดี ระบุหน้าที่งานชัดเจน และรู้ว่าเป็นใครแล้ว งานย่อมราบรื่น

51  โรงงานจะยื่นขอรับรอง ISO9001:2008 แต่บริษัทมีการ Take Over และเปลี่ยนชื่อบริษัทต้องทำอย่างไร

ผู้เขียน ขอตอบว่า ให้ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับทางราชการทั้งหมด มีใบ รง.4 ใบบริคณฑ์สนธิ อื่นๆ แล้วขอยื่นรับรอง ISO9001 หากยื่นตอนนี้ จะได้รับรองชื่อโรงงานเดิม หากภายใน 90 วันดำเนินการทันทุกอย่าง ให้แจ้ง CB นั้น ยังสามารถออกใบ Certificate ชื่อโรงงานใหม่ได้ 
หรืออีกวิธีการ ยื่นชื่อเดิมไปแล้ว หลังทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเสร็จบริษัท ให้แจ้ง CB ว่ามีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ ทาง CB จำเป็นต้องเข้าตรวจประเมินใหม่ หากทุกอย่างเหมือนเดิม โรงงานก็ตั้งที่เดิม QMR ก็คนเดิม ระบบก็เหมือนเดิม ตรวจประเมินเพิ่มเพียงหนึ่งวัน (1Manday) และออกใบ Certificate ใหม่ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มตรงส่วนนี้

50  โรงงานได้รับรอง ISO9001:2008 แล้ว จะปรับเป็น ISO/TS16949:2009 ต้องทำอย่างไร

ผู้เขียน ขอตอบว่า ต้อง Set Up ระบบ เริ่มจากการอบรมข้อกำหนดของ TS จากนั้นทำคู่มือ Core Tools ตามความเหมาะสม เช่น APQP, PPAP, FMEA, MSA, SPC แล้วอบรมผู้ตรวจติดตาม หรือหลักสูตร Internal Auditor of ISO/TS16949:2009 สำหรับผู้ตรวจติดตามภายในหากตรวจฝ่ายใด จำเป็นต้องผ่านการอบรม Core Tools ที่เกี่ยวข้อง ต้องได้รับการอบรมด้วย จึงจะ Qualified มีความสามรถในการตรวจติดตาม กรณีแบบนี้หากไม่ผ่านการอบรม Core Tools มักโดน CB Auditor เคยให้ CAR มาแล้ว

49  โรงงานสอบถามว่า ISO9001:2008 และ ISO14001:2004 มีปรับ Version หรือไม่

ผู้เขียน ขอตอบว่ากำลังอยู่ในกระบวนการ แต่ยังไม่เป็น Final Darft โอกาสแก้ไขต่อไปยังมี หลังจากเป็น Final Draft แล้ว โอกาสแก้ไขน้อย แต่จะอบรมหรือติดตามความคืบหน้าได้ ยังไม่ต้องกังวล น่าจะอีก 2 ปี
ชัดเจน หลังจากนั้นยังต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยนผ่านเวอร์ชั่นอีกระยะเวลาหนึ่ง สรุปว่าจากนี้ไปอีก 2 ปี น่าจะมีการจัดอบรมอย่างกว้างขวางทั้งจาก CB และบริษัทที่ปรึกษาต่างๆ

48 วันที่ 27 กันยายน 2556 ผู้เขียนได้มีโอกาสไปบรรยายและเล่าประสบการณ์ทำงานให้น้องๆนิสิตวิศวะ ปี 4 IE มหาวิทยาลัยบูรพา น้องๆทุกคนตั้งใจเข้ารับการสัมมนาอย่างมากเกี่ยวกับหัวข้อ ISO9001:2008 กับการนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรม มีสอบถามหลายเรื่อง เช่น ถามว่า/สนใจรับราชการทำอย่างไร แบบฟอร์มต่างๆหาได้จากที่ไหน
ผู้เขียน แนะนำไปว่า ตามกระทรวง กรม/กอง สำนักงานต่างๆมีปิดประกาศรับงาน งานรัฐวิสาหกิจก็มีเปิดสอบ สวัสดิการบางแห่งดี การรักษาพยาบาลให้ดี โดยต้องมองไปให้ยาวถึงหลังการเกษียณงาน เอกชนเกษียณที่ 55 ปี โรงงานที่เกษียณอายุ 60 ปีมีค่อนข้างน้อย ราชการเกษียณที่ 60 ปี 
ส่วนแบบฟอร์มนั้นไปทำงานแล้ว แต่ละองค์กรมีแล้ว หรือทำเพิ่มสามารถค้นหาจากอืนเตอร์เนท อาจมีเป็นตัวอย่างให้ศึกษา และน้องๆที่สนใจมาตรฐานอื่นๆให้ประสานงานไปที่พี่เนตรของ PNAT 

47  น้องๆที่เข้าอบรมข้อกำหนด ISO/TS16949 มักถามว่า จะขึ้นทะเบียนเป็น TS Registered Auditor ต้องไปเรียน/อบรมหลักสูตรอะไร
ผู้เขียนขอตอบว่า หลักสูตร Lead Auditor ของ TS16949 ต้องลงทุนไปเรียนต่างประเทศ เพราะมักจัดต่างประเทศ เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายโดยรวมสองแสนกว่าบาท เป็นบันไดขั้นแรกที่จะขึ้นทะเบียน Registered Auditor ได้ ต้องมีประสบการณ์ด้านนี้ด้วย วุฒิการศึกษาน้องที่ถามไม่มีปัญหาเพราะบางคนจบวิศวะเครื่องกล บางคนจบอุตสาหการ ไปสมัคร CB ตั้งใจทำงานและอยู่กับ CB นานๆ ทาง CB จะลงทุนสร้างคุณเป็น Auditor งานดีแต่เหนื่อยและเดินทางบ่อย โรงงานกลุ่มยานยนต์ส่วนใหญ่ตั้งอยู่เขตพื้นที่ระยอง ชลบุรี อยุธยา ฉะเชิงเทรา รวมพวกผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยมักอยู่ใกล้ๆกัน เดินทางสะดวกมีมอเตอร์เวย์ อีกไม่กี่ปีก็จะมีมอเตอร์เวย์ต่อจากบางปะอินไปนครราชสีมา อนิสงฆ์ที่ได้พ่วงมาคือ พวกชอบท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไป-มาสะดวกเหลือเกิน คิดว่าเส้นมิตรภาพแก่งคอย-นครราชสีมา จะมีสภาพเหมือนเส้นสุขุมวิท-คลองด่าน-สมุทรปราการ-ไปต่อชลบุรี เกิดวิถีชาวบ้านแบบเงียบสงบ เทศกาลปีใหม่และสงกรานต์มุมคงเปลี่ยนไปทันที โปรดรอคอย กำลังจะมาComing Soon

46 มีหลายท่านถามว่า IATF คืออะไร 
ผู้เขียนขออธิบายว่า  IATF หรือ International Automotive Task Force  
IATF เป็นกลุ่มของผู้ผลิตยานยนต์และองค์กรที่ทำการค้าเกี่ยวกับยานยนต์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย  
เพื่อพัฒนาข้อกำหนดพื้นฐานของระบบการบริหารด้านคุณภาพให้สอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกันทั่วโลก
เพื่อพัฒนานโยบายและขั้นตอนสำหรับแบบแผนการลงทะเบียนสำหรับผู้ขาย/ซัพพลายเออร์ (Suppliers) ลำดับที่ 3 ที่เป็นสมาชิก IATF ให้สอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกันทั่วโลก
3 เพื่อฝึกอบรมที่เหมาะสมและช่วยสนับสนุนตามข้อกำหนดของระบบการบริหารด้านคุณภาพ หรือ ISO/TS 16949 (มาตรฐานด้านอุตสาหกรรมยานยนต์) ตามแบบแผนการลงทะเบียนของ IATF
4 เพื่อการจัดตั้งผู้ประสานงานที่เป็นทางการจากองค์กรที่เหมาะสมในการสนับสนุน IATF ให้บรรลุตามเป้าหมาย
โดยมีสมาชิกของ IATF เช่น BMW, Volkswagen, Dailmler,Fiat, Ford, General Motors & Opel, Chrysler, Peugeot-Citroen, Renault รวมถึง AIAG(U.S.), ANFIA (Italy), FIEV (France), SMMT (U.K.) and VDA (Germany)

45  มีหลายท่านถามว่า VDA คืออะไร
ผู้เขียนขอตอบว่า หมายถึง Verband der Deutschen Automobilindustrie E.V.
เป็น German Standard ใช้ในกลุ่ม BMW, Volkswagen, Dailmler หรือบางท่านว่าเป็นทั้งระบบและเครื่องมือ (Tools) ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ มีมาตรฐานหรือระบบบริหารคุณภาพ TS16949 เป็น ISO ด้วย เพื่อใช้ทั่วไปทุกค่ายรถยนต์รวมทั้งค่ายรถญี่ปุ่น ส่วน QS9000 เดิมก่อนจะกลายเป็น ISO/TS16949 เป็นของ Big Three หรือกลุ่มค่าย Ford, GM, Chrysler 
หลักสูตรบรรยายเกี่ยวกับ VDA เช่น  Process Audit of VDA 6.3  หรือ Part 3: 2nd Edition, 2010 
และ Product Audit of VDA 6.5 หรือ Part 5 : 2nd Edition, 2010   

44 น้องที่โรงงานระยองถามว่า Lead Auditor TS16949 เรียนที่ใด
ผู้เขียนขอตอบว่า TS จะมีหลักสูตร (Mini) Lead Auditor เรียน 5 วัน ค่าเรียน 2-3 หมื่นบาท ขึ้นทะเบียนเป็น Registered Auditor ไม่ได้ มีสอนที่เมืองไทย การบรรยายเหมือนแบบหลักสูตร Lead Auditor ของ TS16949 ที่ต้องลงทุนไปเรียนต่างประเทศ เพราะมักจัดต่างประเทศ  ยกเว้นปี 2012 จัดที่เมืองไทย ค่าเรียน 7-8 หมื่นบาท หากไปเรียนต่างประเทศ เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายโดยรวมสองแสนกว่าบาท แต่ขึ้นทะเบียน Registered Auditor ได้


43 คำถามว่า ผ่านการตรวจประเมิน Stage 2 แล้วภายในกี่วันจะได้ใบ Certificate
ผู้เขียนขอตอบว่า ให้สอบถามกับ CB นั้นๆที่ยื่นขอรับการรับรอง ปกติหลังจากผู้ถุกตรวจประเมิน (Auditee) มักมีข้อบกพร่อง Minor หรือมีสิ่งไม่สอดคล้องตามเงื่อนไขแต่ละมาตรฐาน ต้องรีบตอบแนวทางการแก้ไขไปโดยเร็ว อย่าล่าช้า (CBs มักให้เวลาในการแก้ไขภายใน 60 วัน) หลังจาก CBs ยอมรับแนวทางการแก้ไขนั้นแล้ว จะดำเนินการต่อไปเพื่อออกใบ Certificate บาง CBs ใช้เวลาเร็วมาก เพราะใช้ตนเอง Certified โดยลูกค้าก็ยอมรับ บางแห่งหรือส่วนใหญ่ต้องส่งเรื่องไปที่ต่างประเทศก่อน มีมาตรฐานด้านอาหารปลอดภัย FSSC22000: 2010 ระบุชัดว่า หลังจากลูกค้า (Auditee) ตอบแนวทางแล้ว เป็นหน้าที่ของหน่วยงานให้การรับรองต้องเดินเรื่องและออกใบ Certificate ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน 

42 คำถามบ่อยว่าหลักสูตร Internal Auditor เรียนกี่วัน
ผู้เขียนตอบว่า ในอดีตเรียนกัน 3 วัน หลักสูตรแข็งแรงมาก มีกรณีศึกษาให้ทำมากมาย และโจทย์ที่ฝึกอบรมค่อนข้างมาก หากเป็น In-House Training มีทำ Life Audit ให้ไปตรวจแต่ละฝ่ายในโรงงานตนเองจริงสัก 2 ชั่วโมง กลับมานำเสนอผลทำให้ผู้เรียนกระจ่างมากขึ้น แต่เดี๋ยวนี้ ISO ทำกันมากขึ้นและแพร่หลาย หลักสูตรจะเรียนกัน 2 วันก็พอรับได้ แต่บางครั้งเรียนกันเหลือ 1 วัน ทำให้ขาดกรณีศึกษาและทำโจทย์ลดลงไปมากตามเวลาและงบประมาณอันจำกัด หากเป็นโรงงานที่ทำหลายระบบ หรือมี ISO 9001 มาก่อน พอเข้าใจได้ เนื่องจากทุกระบบการจัดการหรือระบบการบริหารจะคล้ายคลึงหรือหลักเกณฑ์เหมือนกัน ต่างที่เทคนิคและบางเรื่องเท่านั้น หากเป็นพนักงานใหม่และจบใหม่อาจจะเข้าใจช้ากว่า ต้องใช้เวลากลับไปทบทวนและต่อยอดอีกครั้ง

สำหรับหลักสูตร Lead Auditor หรือบางครั้งเรียก หลักสูตร External Auditor ยังคงเรียน 5 วัน เพราะเป็นหลักสูตรที่ต้อง Recognize สำหรับผู้ที่จะไปขึ้นทะเบียนเป็น CB Auditor หรือ Registered Auditor

41 ต่อจากข้อ 40 เรียนหลักสูตร Internal Auditor วันเดียว ผู้ตรวจประเมินจาก CB จะ OK ไหม
ผู้เขียนตอบว่า คงต้องดูที่ประสิทธิผลของผู้เข้ารับการอบรมทั้งระบบ อบรมแล้วตรวจติดตามภายในได้จริงหรือไม่ องค์กรทำการตรวจติดตามภายในยังคงรักษาระบบได้หรือไม่
บางมาตรฐานกำหนดชัดว่าเวลาการอบรมต้องไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง แปลว่าต้อง 2 วัน หลายองค์กรที่ทำบางมาตรฐานด้านอาหารปลอดภัย จึงจัดอบรม 2 วัน เพื่อไม่ให้มีปัญหาติดตามมาภายหลัง จึงรวบหลักสูตรข้อกำหนดและหลักสูตร Internal Auditor เข้าด้วยกันแต่ก็ยังคงอบรมกันสองวัน

40 คำถามจากน้องหลายคนหลายโรงงานว่า เป็นผู้ตรวจติดตามภายใน (Internal Auditor) ไม่เคยอบรมหลักสูตรข้อกำหนด บริษัทส่งเข้าอบรมหลักสูตร Internal Auditor แะนั้นเวลาผู้ตรวจประเมินจากหน่วยงานให้การรับรองมาตรวจติดตามผล (Surveillance) จะถูกออกเป็นข้อบกพร่องหรือไม่
ผู้เขียนตอบในแนวทางของผู้เขียนว่า ผู้ตรวจประเมินจะให้เป็นข้อบกพร่องต้องมีหลักฐานความไม่สอดคล้องที่ชัดเจน ผู้เขียนพบว่าหลายๆโรงงานมักไม่ได้จัดอบรมข้อกำหนด มักส่งพนักงานใหม่เข้าเรียนหลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายในเลย เมื่อระเบียบปฏิบัติเรื่อง Internal Audit ระบุว่าผู้ที่เป็น Internal Auditor ต้องมีคุณสมบัติคือผ่านการอบรมหลักสูตรนี้ และไม่ตรวจติดตามงานที่ตนเองรับผิดชอบ ผู้เขียนมองว่าผู้ตรวจประเมินจาก CB คงยังไม่ออกเป็นข้อบกพร่อง ยกเว้นจะไประบุเงื่อนไขอื่นๆแล้วทำให้ไม่สอดคล้องกับที่กำหนด เมื่อองค์กรประกาศแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจสอบภายในแล้ว ถือว่าครบถ้วนคุณสมบัติ จากนั้นผู้ตรวจประเมินจะขอดูผลการทำ Internal Audit หากออกข้อบกพร่องผิดพลาด ระบุข้อกำหนดในการออก CARผิด จัดทำ Check List ตกหล่น หรือตรวจไม่ครอบคลุม คำถามใน Check List ไม่ครบและตกหล่นในหลายๆสาระสำคัญ มักไปออกข้อบกพร่องให้ MR หรือ ตัวแทนฝ่ายบริหารแทน 

แต่ในหลักสูตรผู้ตรวจติดตามภายในจะมีบรรยายข้อกำหนดแบบทบทวนให้อีกประมาณ 2-3 ชั่วโมงในหลักสูตรสองวัน ก็มีหลายคนสามารถนำไปต่อยอด เป็นผู้ตรวจที่เข้าใจข้อกำหนดได้ดี แต่ว่าการอบรมข้อกำหนดโดยตรงหนึ่งวันมาก่อน จะช่วยได้มาก ทำให้แม่น หมายถึงเข้าใจดีขึ้นในข้อกำหนด เวลาระบุข้อบกพร่องจะดีกว่า แต่ส่วนใหญ่คงต้องใช้เวลากว่าเป็นผู้ตรวจติดตามที่เข้าใจถ่องแท้ ฉะนั้น MR จึงต้องช่วยดู ทบทวน และตรวจสอบ Check List ตรวจสอบการออก CAR ว่า OK หรือไม่ ส่งผลให้ MR นั้นแหละที่จะไม่โดน CAR ในฐานะดูแลและรับผิดชอบระบบการบริหาร เดี๋ยวนี้การตรวจคงไม่มีผู้ตรวจประเมินจาก CB ท่านใดเรียกผู้ตรวจสอบภายในมาซักถาม คุณเข้าใจแค่ไหน เข้าใจจริงหรือไม่ สอบผ่านจริงหรือไม่ การตรวจลักษณะนี้สามารถทำได้ แต่เหมือนการไปจับผิด ทั้งที่ก็รู้ๆกัน คงต้องให้เวลาและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กรุงโรมยังไม่สามารถสร้างได้ในวันเดียว แล้วน้องใหม่เรียนแค่หลักสูตรเดียว จะให้เก่วในพริบตาคงไม่ได้ ถ้าผู้เข้าอบรมเข้าใจทุกเรื่องตอบว่าไม่งงในบางเรื่อง ผู้เขียนจะงงมากครับ

39 หลายท่านสอบถามมาที่ KS Nation Consultant จัด Public Training/ Seminar หรือไม่ เน้นในชลบุรี หรือที่ใด
ผู้เขียนขอชี้แจงว่า Public Training/ Seminar นานๆจึงจะจัดแบบให้ความรู้พิเศษ เก็บค่าใช้จ่ายเพียงท่านละ 500 บาทต่อวัน สถานที่เคยจัด เช่นโรงแรม Princess ข้างห้าง Seacon กรุงเทพฯ แต่นานมากแล้วตอนนั้นยังไม่เป็นรูปบริษัท เป็นงานแบบ Free Lance ร่วมงานกับทีม McQMR ปัจจุบันมีความคิดจะจัดแบบฟรีครึ่งวัน และจัดหนึ่งวันเก็บแต่เพียงค่าใช้จ่ายท่านละ 800 บาทที่กรุงเทพฯ ส่วนที่ชลบุรียังคง 500 บาท ก็ตามราคาก๊าซหุงต้ม (อันนี้กล่าวตามประกาศราคาพลังงานนะครับ) ยังมีความคิดว่าจะจัดสัมมนาที่โบสถ์คริสเตียน สถานที่ดีมาก ค่าสัมมนาที่เก็บจะถวายโบสถ์ทั้งหมด ราคาหารสอง จัดเฉพาะที่กรุงเทพฯ อบรมไม่เกิน 20 ท่านจัดที่โบสถ์เล็กแห่งหนึ่ง หากสัมมนาจำนวน 200-400 คน สามารถจัดที่โบสถ์ใหญ่ ยังเป็นเพียงความคิด ต้องรอผลสรุปอีกหลายอย่าง แต่จัดที่โรงแรมทุกท่านจะสะดวกยิ่งขึ้น 
สรุปว่า  Public Training/ Seminar มีลูกค้าสอบถามมาทางเราจะแนะนำไปที่ TUV Rheinland,
Intertek Moody, URS(มีอบรมตามเกณฑ์และแถม 1 ท่านในหลักสูตรเดียวกัน), MASCI, BSI
(มาใหม่ หมายถึงทีมเก่าจากที่เดิม ค่อนข้างโปรโมชั่นมาก อบรม 1 แถม 1 จัดที่โรงแรมรามาการ์เดน)
บางครั้งถ้าทาง SGS, BVQI, TUV Nord มีจัด สามารถเลือกได้ตามความสะดวกครับ

38 มีสอบถามว่าผู้เขียนเคยเป็นตัวแทนฝ่ายบริหารยื่นที่ไหนบ้าง แต่ละแห่งตรวจประเมินต่างกันหรือไม่ พบว่าผู้ตรวจทำไมมีแตกต่างกัน บางครั้งโรงงานมองเห็นแตกต่างไป

ขอตอบว่าผู้เขียนเป็น QMR มา 7 บริษัทๆ มียื่นตั้งแต่ MASCI, TUV Rheinland, TUV Nord, SGS, BVQI, AJA แนวทางการตรวจประเมินต้องเหมือนกัน โดยผู้ตรวจประเมิน (Auditor) ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร Lead Auditor 5 วัน และขึ้นทะเบียนเช่น IRCA ยึดมาตรฐาน ISO 19011 เป็นแนวทางการตรวจประเมิน แต่ชีวิตจริง จะตรวจและแนวทางเหมือนกันคงยากบ้าง เพราะแต่ละท่านประสบการณ์ไม่เท่ากัน และ CB ก็มีหลายสิบแห่ง คงเป็นหน้าที่ของ CBs (Certification Bodies) จะทำอย่างไรให้มีคุณภาพการตรวจประเมินใกล้กันครับ คงไปกล่าวล่วงเกินแต่ละท่านไม่ได้ เพราะช่วงการตรวจนั้น ผู้ตรวจประเมินอาจมีมุมมองและความสนใจในทิศทางที่อาจจะแตกต่างกัน

37 ย้ายโรงงานไปสถานที่ใหม่ ต้องตรวจ (Audit) ใหม่ ใช่หรือไม่ ใบ Certificate จะหมดอายุ

ผู้เขียนขอตอบว่า ใช่ เพราะการเปลี่ยนสถานที่เป็นการเปลี่ยนสาระสำคัญ หลายสิ่งหลายอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไป ระบบต้องได้รับการตรวจประเมินใหม่ และหน่วยงานให้การรับรอง (CB) ต้องทำการตรวจประเมินสถานที่แห่งใหม่ ยิ่งใบ Certificate ใกล้หมดอายุ คิดว่าทาง CB คงพิจารณาให้ Re-Audit และใบ Certificate ก็ระบุ Site ด้วยว่าตั้งอยู่สถานที่แห่งใด

36 มีคำถามว่า ลูกค้าของบริษัท Supplier แห่งหนึ่งได้รับการรับรองจาก CB ของอเมริกัน ตอนนี้ถึงเวลาที่ Supplier รายนี้ต้องทำระบบ ISO แต่จะยื่นกับ CB ของเยอรมัน หรือ CB ของอเมริกันอีกราย ซึ่งต่างกัน ได้ไหม มีผลกระทบไหม

ผู้เขียนขอตอบว่า คือ ได้ เพราะไม่มีกฎบังคับ ไม่มีผลกระทบใดๆ เพราะผู้ตรวจประเมิน (Auditor) ต้องตรวจแบบเป็นธรรม และยึดเกณฑ์การตรวจประเมินเป็นที่ตั้ง ISO ทุกอย่างเป็นระบบสมัครใจทำ ไม่ใช่กฎหมาย ยกเว้นมาตรฐาน GMP เท่านั้น ที่โรงงานผลิตอาหารในไทย ต้องทำและมี ฝ่าฝืนมีโทษทางกฎหมาย
สรุป รักใครชอบใคร ยื่นไปก็แล้วกัน ให้ดู CB ที่พร้อมที่สุดสำหรับคุณ และลูกค้าปลายทางมีระบุพิเศษ หรือไม่ ในอดีตสมัยผู้เขียนอยู่โรงงาน ซึ่งได้รับรองจาก CB แห่งหนึ่ง วันดีคืนดี ลูกค้าที่ต่างประเทศบอกว่า ต้องได้รับรองจาก CB ของเยอรมัน พอสอบกลับไปพบว่าลูกค้ารายใหญ่นี้เป็นชาวเยอรมัน อีกครั้งถูกระบุให้ยื่น MASCI (เราก็ต้องยื่นอีก CB เพิ่ม) เพราะลูกค้าเชื่อมั่น MASCI  ทางเราก็ยื่นให้เช่นกัน เพราะว่า ลูกค้าคือ พระเจ้า 

นอกจากนี้ บริษัทเดียวจะได้รับรองจาก 2-3 CBs  ก็ทำได้ แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม มักไม่ทำกัน รอครบสามปี ยื่น CB ใหม่หมดเรื่อง แต่ก็มีประเภทย้ายก่อนครบสามปี หรือ Transfer เช่นกัน ซึ่งสามารถทำได้ หากประสงค์จะเปลี่ยนแปลง CB
ผู้เขียนพบว่าโรงงานมักทำหลายระบบ ยื่นกับ CB คนละแห่ง คนละระบบ ที่มีพบเห็น เช่นบางรายได้รับรอง ISO 9001 จาก SGS และได้ ISO 50001 จาก Lloyd  
หรือ บางรายได้รับรอง ISO 9001 จาก CB ที่ 1 แต่ได้รับรอง ISO 14001 หรือ HACCP หรือ ISO 22000 จากต่าง CB กัน เป็นแห่งที่ 2 หรือ 3 ยังพบเห็นเสมอ 
หรือบางรายได้ทุกระบบการจัดการกับ CB แห่งเดียว เพราะทำแบบรวมระบบ จะได้ลดหย่อนค่าตรวจประเมินและค่าธรรมเนียม คงต้องมีเหตุผลของแต่ละองค์กร

35  มีคำถามว่าทำระบบ ISO แล้ว ต้อง Implement นานกี่เดือนขึ้นไปจึงจะขอยื่นตรวจประเมินเพื่อขอรับการรับรองจาก CB

ผู้เขียน พบว่าในอดีตต้องประมาณสี่เดือนขึ้นไป ปัจจุบันพบว่ามีหลายๆ CB ที่โรงงานทำระบบเพิ่งเสร็จสัก 1-2 เดือนก็มาตรวจประเมินให้ มุมมองก็คงคิดว่าโรงงานก็ทำงานมาต่อเนื่อง เพียงแต่ว่า เพิ่งมาทำครบข้อกำหนด ISO ต่อมาประกาศ Click Off แล้ว ถือว่าระบบเดินหน้า และ CB รับตรวจประเมิน คงมองว่าให้โอกาศและเวลาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง(Continual Improvement หมายถึงปรับปรุงทีละขั้น สังเกตุดีๆ ISO มักไม่ใช้คำว่า Continuous Improvement) หลังให้การรับรองแล้วทุกๆปี CB ยังมีตรวจติดตามผล (Surveillance) ก็ไปตามผลต่อจนมั่นใจ (Ensure) 

ส่วนมาตรฐาน BRC ต้อง Implement ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ไม่ใช่ Procedure เพิ่งมีผลบังคับใช้ เดือนหน้ายื่นขอตรวจประเมิน เวลาที่นำไปปฏิบัติ (Implementation) ดูสั้นไป ตอนทำการตรวจติดตามภายใน (Internal Audit) ระบบจะยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร

34  SME แห่งหนึ่งจากสมุทรปราการและชลบุรี สอบถามว่า ผู้บริหารบริษัท ต้องอบรม จป.ผู้บริหารหรือไม่

ผู้เขียนขอตอบและขอพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยและอุบัติเหตุสักนิด จึงเตือนมายังผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบ อย่างน้อยก็เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมก็ยังได้

* ผู้เขียนขอแนะนำทุกๆบริษัท โดยเฉพาะของคนไทย ควรมีผู้บริหารไปอบรม จป.ผู้บริหาร และส่งพนักงานไปอบรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน มิฉะนั้นเวลาเกิดอุบัติเหตุ และเรื่องเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน เจ้าหน้าที่จะมาตรวจสอบที่สถานประกอบการ ที่ไม่มี จปว. จะเรียกขอ หรือขอดูการอบรมของผู้บริหารและของหัวหน้างานเกี่ยวกับความปลอดภัย หากไม่มีหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จะถูกทางราชการปรับเป็นเงินมากโข เรียกว่าหลายแสนบาทก็มีแล้ว (เรื่องจริง ไม่ผ่านจอ 7 สี) จัดอบรมดีกว่า เวลาเกิดเรื่องจะได้ไม่ยุ่งยาก ยิ่งอะไรที่เกี่ยวกับราชการ หรือกฎหมาย เรียกว่าเหนื่อยมากๆ 

* ยิ่งโรงงานหรือบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คน (ไม่ใช่ทำบุญร้อยวันนะ แต่เกิดอุบัติขึ้นมา ก็ใช่เลย)
ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ หรือ จปว. รวมทั้งบริษัท ที่มีผู้บริหารกลุ่มเดียวกัน หรือมีหลายโรงงานในรั๊วเดียวกัน นับจำนวนพนักงานรวมกันครบ 100 คน ก็เข้าข่าย ลักษณะแบบนี้ยังมีอีกหลายแห่ง หากเกิดอุบัติเหตุ จะถุกตรวจสอบเข้ม และปรับหนักพอสมควร ทำให้ถุกต้อง ปลอดภัยและสบายใจ

* ปัจจุบันโรงงานญี่ปุ่นมาตั้งที่ไทย มักมีพนักงานไม่ถึง 50 คน ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านเทคนิค ไม่ต้องมี จปว. มักเป็นโรงงานขนาดเล็ก ผลิตชิ้นส่วน หรือ สินค้า ส่งกลับไปให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น
แต่นิยมใช้เครื่องที่อัตโนมัติมากขึ้น พนักงานหนึ่งคน คุม 6-8 เครื่องจักรที่ใช้ผลิต ไม่เหมือนแต่ก่อน หนึ่งเครื่องใช้คนคุม 3-4 คน ข้อดีโรงงานญี่ปุ่น คือ เน้น 5 ส และตระหนักถึงเรื่องอุบัติเหตุ เราควรนำสิ่งดีๆมาประยุกต์ใช้กับพนักงานคนไทย

33 มีน้องจากโรงงานที่ผู้เขียนไปบรรยาย Public Training เมื่อปลายปีที่แล้วให้กับ CB แห่งหนึ่ง ถามว่า เพิ่งเข้าไปทำงานที่ใหม่ หัวหน้าฝ่ายบุคคลให้ลงชื่อรับทราบเงื่อนไขการขึ้นเงินเดือนและโบนัส สงสัยว่าเกี่ยวกับ ISO อย่างไร
ตอบว่า ไม่เกี่ยวกับ ISO และยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ในรายละเอียดไม่ขอกล่าว แต่ว่าการขึ้นเงินเดือนและโบนัส จะขึ้นกับผลประกอบการ โดยแต่ละองค์กรมีศักยภาพไม่เท่ากัน การกำหนด KPI ก็ใช้เป็นเกณฑ์และตัวชี้วัดผลงาน ซึ่งใน ISO จะพูดถึงเรื่องวัตถุประสงค์ (Objective) และกำหนดค่าเป้าหมาย (Target) ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตรงตามนโยบาย (Policy) ส่วนการให้โบนัสก็แล้วแต่ละโรงงาน ปกติโรงงานขนาดใหญ่มักมีสหภาพ (Union) เดือนธันวาคมเรียกว่าเป็นฤดูการปรึกษาและต่อรองกัน ผู้เขียนมองว่ายุคนี้เศรษฐกิจกำลังดีขึ้น ก็ควรทำงานให้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้โรงงานเติบโต ทุกคนจะมีความสุข แม้จะทำงานหลายหน้าที่มากขึ้น เพราะหลายท่านหรือส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่บ้านที่สองหรือโรงงาน ยังจะมากกว่าอยุ่บ้านจริง 

ผู้เขียนมองค่าของเงินว่า เงินเฟ้อบวกดัชนีค่าครองชีพ สมมติเงินเฟ้อ 4% ดัชนีค่าของชีพ 4% สองอย่างรวมเท่ากับ 8% หากเงินเดือนขึ้นอีก 8% แสดงว่าค่าเงินในกระเป๋ายังเท่าเดิม ต้องขึ้นเงินมากกว่าสองอย่างรวมกัน จึงจะนับว่าเงินเดือนขึ้นจริง เอาเถอะมีงานทำ ไม่ถูกลดเงินเดือนก็โชคดีแล้วนะ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ค่าแรงขึ้นเป็นวันละ 300 บาท ทั่วประเทศไทย สัปดาห์ที่แล้ว มีน้อง DC ท่านหนึ่งไปดูดวง และทำนายโชคชตาชีวิต มาเล่าให้ฟังว่า ค่าหมอดูขึ้นราคาจากครั้งละ 200 บาท เป็น 300 บาทต่อครั้ง ดูซิค่าหมอดูยังขึ้นเลย ผู้เขียนแนะนำน้องๆว่าทำใจให้สบายแล้วไม่ต้องไปดูหมออีก ปล่อยให้หมอดูคนนั้น หันกลับมาดูดวงและทบทวนตนเองว่า นโยบาย 300 บาทต่อวัน ไม่ใช่ต่อครั้ง ดวงท่านกำลังจะตก เพราะรีดไถเสียเหลือเกิน ทำงานเหงื่อไหลทั้งวัน ค่าแรง ท่านหมอ เอาไปหมดเลย น่าจับแกส่งไปอยู่กับคุณดวงเฉลิม ใกล้ๆสี่แยกราชประสงค์ หรือแถวสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสียเหลือเกิน สุดท้าย "ทำดี ดีกว่า พึ่งดวง"

32 มีลูกค้ามักถามจะขอรับรอง CB ใดดีที่สุด
ผู้เขียน ตอบว่า หาที่มีความพร้อมมากที่สุดก็แล้วกัน โดยดูที่ลูกค้าคุณระบุหรือไม่ และตัวองค์กรท่านต้องการอย่างไรเป็นตัวตั้ง การหา CB ที่ว่ามีความพร้อมมากที่สุด เพื่อสนองตอบความพึงพอใจขององค์กรและลูกค้าของท่าน หากไม่มีในใจท่านแล้ว ก็แนะนำรวมๆว่าเลือกได้ทั้ง
1 MASCI
2 Intertek Moody
3 TUV Rheinland
4 URS/ Global Group
5 SGS
6 BVQI
7 TUV Nord
8 Lloyd
9 วว (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย)
10 นอกจากนี้ที่พบเห็นตามโรงงาน เช่น JQA, AJA, BSI, TUV SUD, UL เป็นต้น
นอกเหนือจากนี้ไป น่าจะเป็น CB ที่มีส่วนแบ่งตลาดในไทยค่อนข้างน้อย 
หากจะใช้บริการห้องปฏิบัติการต่างๆ แนะนำที่ สถาบันอาหาร Intertek Moody, TUV SUD, UL หรือสถาบันไฟฟ้า สถาบันยานยนต์ หรือของ สสท. เพราะว่าผู้เขียนไปโรงงานต่างๆ มักพบการรับรองจาก CB เหล่านี้ หลาย CB ทางทีมงานก็มีน้องๆเข้าไปร่วมงานบ้าง และเข้าอบรมเป็นประจำร่วมกับบาง CB

31 คำถามจาก MR เกตเวย์ และน้องอีกท่านหนึ่ง ถามว่า ตัวมาตรฐาน ISO เช่น ISO 9001, ISO 14001 ถ่ายสำเนามาใช้ได้ไหม
ขอตอบว่า ปกติโรงงานหรือ ใครที่สนใจ มักไปที่ห้องสมุด สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม ขอคัดสำเนามาใช้งาน ผู้ตรวจสอบก็ไม่มีใครออก CAR ให้ในเรื่องนี้เพราะยังไม่มีกฎเกณฑ์กำหนดไว้ แต่ว่ามาตรฐาน BRC กำหนดชัดเจน ต้องใช้ตัวจริง ฉบับละหลายพันบาท
เรื่องลิขสิทธิ์ สำคัญมาก สมัยผู้เขียนไปเรียนภาษาอังกฤษ ที่ AUA มีน้องคนหนึ่งไม่ซื้อตำราฉบับจริง นำชุดถ่ายสำเนาเข้ามาเรียน อาจารย์ที่สอนได้ Complaint อย่างมาก แสดงว่าเรื่องแบบนี้ ชาวฝรั่งให้ความสำคัญ แต่บ้านเราหรือน้องท่านนั้นคงไม่ได้คิดไกล หรือจะประหยัด ให้ถือเป็นมุมมอง สำหรับองค์กรใหญ่ๆ อะไรที่พอจ่ายได้ ก็จ่ายนะครับ แต่ในโรงงานที่ทำ ISO ทั่วไปเท่าที่พบก็ยังใช้การถ่ายสำเนาแทบจะทั้งนั้น อนาคต ISO จะมีข้อบังคับอย่างไร หรือไม่ ต้องติดตามข่าวสาร หรือไปยุโรป จะใส่เสื้อผ้า หรือกระเป๋า Copy Brand ดังๆ ปัจจุบัน กระทำไม่ได้แล้ว เพราะมีกฎและข้อบังคับ 
หมายเหตุ   ขออนุญาตสลับเนื้อหา โดยนำคำถามล่าสุด ย้ายมาตอบข้างบนของบทความนี้
ด้านล่างเป็นคำถามก่อนหน้านี้ ซึ่งได้ตอบไปค่อนข้างนานแล้ว


ต้นไม้ภายในรั้วโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา พญาไท


1 น้องจากมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทน์ต้องการรู้ว่า GMP คืออะไร ทำโรงงานผลิตอาหารต้องรู้ไหม
ผู้เขียน ขอให้อ่านพื้นฐานจาก ISO 9001 ก่อน ( http://quality1996-quality1996.blogspot.com/)
จากนั้นให้ศึกษาจากเวบบล๊อคอธิบายเกี่ยวกับ มาตรฐาน GMP/HACCP/ISO22000 สามารถดูจากลิงค์ (link)   http://qualitysolving.blogspot.com/ ทำโรงงานผลิตอาหารต้องรู้และได้ใช้งานแน่นอน

2 น้อง BioTechnology จากลาดกระบัง ต้องการรู้ว่า GMP ให้ทำตามคำแนะนำข้อที่ 1 สงสัยถามมาใหม่ อนาคตผู้เขียนจะหาเวลาใช้สไก๊ท์ (Skyte) เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับน้องๆ โรงงานที่น้องทั้งสองไปสัมภาษณ์นั้น ทำทั้งสามระบบการจัดการครับ ทั้งสองคนต้องได้ใช้งานแน่นอน ให้ขนขวายศึกษาครับ
หมายเหตุ สามระบบ หมายถึง ระบบบริหารคุณภาพ ระบบบริหารสิ่งแวดล้อม ระบบบริหารอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

3 น้อง DC จากโรงงานกระจก ถามมาเรื่องลงชื่อกับตราประทับ โดยตราประทับเป็นการแสดงสถานะ ในข้อกำหนด ISO9001 Version 2008 ระบุไว้ให้ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง การลงลายมือแล้วประทับตรา มีผลทางกฎหมายด้วย ในทางกลับกันมีแต่ตราประทับไม่มีลายมือ ไม่มีผลทางกฎหมาย แต่กฎหมายยอมให้พิมพ์ลายนิ้วมือได้
พิ่มเติมผู้เขียนมีเพื่อนเป็นทนายความหลายคน จะลองสอบถามอีกครั้ง เพราะปกติปากกาที่ลงนามในสัญญา เป็นสีน้ำเงินหรือสีดำเท่านั้น ผู้บริหารบางท่านมักใช้ปากกาสีเหลือง เขียว และแดง ลงนามก็มี แต่นั่นเป็นงานในบริษัท และสีเหล่านั้น ผ่านไปนานหลายปีโดยเฉพาะสีเหลือง เขียว และแดง จะเลือนลางและจางหายไป เท่ากับเราไม่เป็นหนี้ใคร?

4 จากอยุธยาถามมา ISO/TS 16949 คือระบบบริหารคุณภาพ ในโรงงานต้องทำไหม
ผู้เขียน ทำในโรงงานที่เกี่ยวกับ Automobile เช่น ผลิตรถยนต์ อะไหล่ต่างๆ โรงงานที่ผลิตสินค้าทางสารเคมี และโรงงานปุ๋ย ทำระบบบริหารคุณภาพเช่นกัน แต่มักเลือกทำ  ISO9001

5 จากศรีราชาถามว่าโรงงานต้องทำ ISO14001 และ OHSAS หรือไม่ มีข้อมูลไหม
ผู้เขียน ระบบการจัดการทั้ง EMS(ISO14001) และ OHSAS 18001 เป็นการสมัครใจทำ ไม่บังคับ แต่บางส่วนงานราชการ หรือหน่วยงานที่จะไปประมูลขายสินค้า อาจไปกำหนด Spec. ว่าต้องมีใบรับรอง
ตอนนี้โรงงานส่วนใหญ่ทำ QMS (ISO9001) มีระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้ซื้อจากบริษัทที่ได้รับรองระบบก่อน สุดท้ายให้ลองดูบทความที่ลิงค์เกี่ยวกับมาตรฐาน ISO14001, OHSAS18001 จาก  http://safetysolving.blogspot.com/

6 ท่านอาจาย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์มีข้อคิดเห็นเข้ามาที่ Blog9
ผู้เขียน เปิดกว้างให้ครับ สามารถแสดงความคิดเห็นได้ อ่านแล้วได้รู้ศัพท์ Ladyboy ขอบคุณมากครับ


7 น้อง DC จากชลบุรีถามว่า ต้องจำข้อกำหนด ISO9001, ISO14001 หรือไม่ และจำไม่ค่อยได้
ผู้เขียน น้องต้องเข้าใจเนื้อหาใจความก่อน ดูบ่อยๆ คือใช้งาน จะจำได้แม่น ที่อบรมก็มีทั้ง MASCI, Moody, สสท. TUV Nord อื่นๆ ลองสอบถามดูตารางการสัมมนาและอบรมของแต่ละแห่งครับ

8 น้องจากฉะเชิงเทรา ถามว่าตรวจ ISO/TS16949 ตรวจกะกลางคืนด้วยหรือ
ผู้เขียน ตรวจประเมินทุกกะครับ แต่ก่อนผู้ตรวจสอบอาจไปช่วงหลังเที่ยงคืน หรือราวๆตีหนึ่ง หลังๆเท่าที่ทราบคงเหนื่อย มักไปช่วงตีสี่ ตีห้า แล้วจะได้ตรวจกะเช้าตั้งแต่ 8.00 น. ต่อทันที เห็นใจผู้ตรวจสอบบ้างเถอะ ผู้ตรวจสอบไม่ใช่คนเหล็ก ย่อมเหนื่อยได้ แต่ตอนนี้คนเหล็ก ที่ชื่อ อาร์โนลด์ ชวารเชเนกเกอร์ พระเอกเราต้องเหนื่อยมาก เพราะนำเด็กไปฝากในท้องแม่บ้านของตัวเอง ภรรยากำลังฟ้องหย่า 
เรื่องตรวจกะกลางคืน วันหน้าจะไปเล่าให้ฟังใน Blog ที่10 ของ QMS ยิ่งเวลาตีสาม ตีสี่ คนเราจะง่วง และเผลอหลับ หรือหลับสนิท ตีนแมวชอบเข้าบ้านยามวิกาลในช่วงนี้ ผู้เขียนเคยไปตรวจงานกะดึก สมัยทำงานอยู่สมุทรปราการ และชลบุรี บางคนเล่นกางมุงนอนก็มี หรือ ทำงานในกลุ่มสิบคน จะมีสลับสองคนผลัดกันไปนอน ชีวิตโรงงานยามดึก น่าเห็นใจ แต่น้องๆต้องบริหารเวลาในการนอนของภาคกลางวันให้ดีครับ

9 มีน้อง IE ถามมาเกี่ยวกับการทำและเขียนคู่มือจีเอ็มพี(GMP Manual) สำหรับโรงงานขนาดเล็ก ผู้เขียนขอสรุป ดังนี้  
สินค้า คืออะไร ทำจากวัตถุดิบอะไร จากแหล่งไหน เราต้องรู้ ต้องมีการตรวจสอบ Inspection ให้เขียนเป็นคู่มือการตรวจสอบขึ้นมาตามที่ปฎิบัติจริง
 2 การเขียนคู่มือจีเอ็มพี(GMP Manual) ไปดูตัวอย่าง ให้เขียนแบบคู่มือคุณภาพของ ISO9001 
ลดบางหัวข้อออก และเพิ่มเรื่องอาคารสถานที่ 
เพิ่มหัวข้อ Describe Productข้อ2.1 ถึง 2.9 ที่ผู้ขียน เขียนในWeb Blog ที่ 2 ของ quality solving
ให้ใส่ Flow Chart และทำการ Verify Flow Chart 
ใส่หัวข้อ โปรแกรมพื้นฐาน(SOP: Procedure)ที่โรงงานต้องมีลงไปให้ครบ เช่น เรื่องสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคล เรื่องการทำความสะอาด เรื่องการควบคุมน้ำ  เรื่องการควบคุมขยะ เรื่องการควบคุมแก้ว เรื่องการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค อื่นๆเท่าที่ต้องมีตามกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทอาหาร
ใส่เรื่องการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ 
จากนั้นก็เขียนล้อตามหัวข้อตามที่ผู้เขียนอธิบายใน Blog แต่ไม่ต้องใส่ทุก Procedure เพราะว่าอีกหลาย Procedure  ต้องทำต่อยอดจาก GMP เพื่อขอรับรองระบบคุณภาพของ HACCP และ ISO22000
อีกสิ่งที่ต้องทำ สร้างคือเขียนคู่มือการตรวจรับเข้า Incoming Inspection ที่รับวัตถุดิบเข้ามาทำอย่างไร
เขียนคู่มือของขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการผลิต ทำอย่างไร 
การบรรจุทำอย่างไร
การจัดเก็บ รักษา ทำอย่างไร
เริ่มสร้างและทำระบบเอกสารขึ้นมาด้วย (Control of Document)

รวมทั้งสร้างระบบบันทึก (Control of Record) 
เมื่อสร้างระบบเสร็จ ปรับปรุงอาคาร สถานที่โรงงานได้มาตรฐานแล้ว ไปยื่นเรื่องให้ อย. มาตรวจ 

10 มีผู้ถามการเขียนคู่มือคุณภาพของ ISO/TS16949:2009 ทำอย่างไร หากเป็นโรงงานผลิตอะไหล่ขนาดเล็ก กำลังจะทำ ISO9001:2008 ต้องเขียนคู่มือสองเล่มใช่ไหม ถ้าต้องทำทั้งสองมาตรฐาน
ผู้เขียน ขอตอบว่า หากจะทำระบบคุณภาพ สามารถทำเฉพาะ ISO/TS16949  เพราะครอบคลุมและเป็นมาตรฐานเฉพาะด้านสำหรับโรงงานทำ Spare Parts เกี่ยวกับ Automobile แต่ถ้าประสงค์จะทำ ISO 9001 ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไปด้วย ใช้ได้ทุกโรงงาน ทุกประเภท ก็เขียนคู่มือคุณภาพเล่มเดียว แต่ในคู่มือให้ใส่รายละเอียดต่างๆ ล้อตามข้อกำหนดของ ISO9001 ก่อน และเพิ่มในส่วนที่เป็น ISO/TS16949 ที่ระบุให้ต้องปฎิบัติ โดยเขียนแบบ Integrate หรือ Merse สองมาตรฐานเข้าด้วยกัน รายละเอียดที่ต้องเขียนมากขึ้นจาก ISO9001 ไว้ผู้เขียน จะเขียนต่อไปใส่ในบทความ Blogที่ 11 ของ   http://quality1996-quality1996.blogspot.com/

เรื่องที่จะหาที่ปรึกษานั้น  แนะนำให้สอบถามไปที่บริษัทที่ปรึกษาต่างๆ สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างมีระบบ บางบริษัทที่ปรึกษานั้น ผู้เขียนไม่รู้จักเพราะเดี๋ยวนี้มีเพิ่มขึ้นมามากมาย คงต้องหาผู้ที่มีประสบการณ์ เข้าใจการทำระบบทีละขั้นตอน ที่พนักงานสามารถทำได้จริง หากทำตามตำรา เขียนสวยหรู ถ้าไม่ใช่โรงงานใหญ่ มีคนเก่ง มีวิศวกรและบุคลากรที่พร้อมทุกด้าน โอกาสทำแล้ว ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรหรือขาดประสิทธิผล มักพบเห็นบ่อยๆ อนาคตผู้เขียน จะไปทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบ(Auditor) ซึ่งเป็นอาชีพเก่าที่ผู้เขียนชอบ บทความที่เขียนก็ตอบทุกคนที่ถามมา เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาระบบบริหารคุณภาพโดยให้ฟรี และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน

 มีข้อมูลสอบถามมาจากหลายท่าน ผู้เขียนก็ตอบเมล์ให้แล้ว แต่ไม่ได้นำมาลง หรือ Up Date ข้อมูลสม่ำเสมอ
เช่น
11.1 สอบถามยื่น Re-Audit ใหม่หลังใบ Certificate ครบอายุ ต้องเตรียมเอกสารใดบ้าง
ตอบว่า ให้สอบถาม CB นั้นๆ ต้องการอะไรเพิ่มหรือไม่ หากว่ายื่น CB เดิม ก่อนหมดอายุ ทาง CB ก็จะประสางานมาหลังจากมีการยืนยันแล้วเอกสารที่ต้อง Up Date ก็มี QM, Procedure ที่เกี่ยวข้องในระบบการจัดการต่างๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญก็ให้แจ้ง CB ทราบด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงตัว MD, MR การเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่สำคัญและมีผลกระทบต่อระบบ  การเปลี่ยนแปลงแผนผังองค์กร การเปลี่ยนแปลง Factory Lay Out การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลง Policy ต่างๆที่สำคัญต่อระบบนั้นๆ

11.2 หากยื่น CB ใหม่ ก็ต้องนำส่งเอกสาร QM, Procedure, Factory Lay Out, Organization Chart, Process Chart  หากว่า MD มอบหมายท่านใดไปสมัครแทน ก็ต้องมีการมอบอำนาจ สำเนาเอกสารการจัดตั้งบริษัท อื่นๆเท่าที่จำเป็นและกรอกข้อมูล รายละเอียดต่างๆ สินค้าอะไร จำนวนพนักงานเท่าไร มีกี่กะ(เพื่อคิดค่า Man Day กี่วัน)  โดยทาง CB จะแจ้งให้ทราบว่าต้องส่งเอกสารใดบ้าง สามารถไปสมัครเองหรือส่งทาง Mail ก็ได้ หลังจากนั้น CB จะประสานงาน มีการประเมินเอกสาร อาจมีการ Site Visit หรือ กำหนดวันตรวจ Stage 1 และ Stage 2 รวมทั้งมาตรฐานและขอบข่ายที่ขอรับรอง ส่วนราคาคือค่ารับรองระบบ ค่าธรรมเนียมของใบ Certificate แต่ละ CB ไม่เท่ากัน

12 น้องที่สอบถามว่าการควบคุมเอกสารของ ISO9001 ตามเวอร์ชั่น 2000 และพอปรับเป็นเวอร์ชั่น 2008 พอดีย้ายไปทำงานที่ใหม่จะทำอย่างไร
ขอ ตอบว่า ก็หลักการเหมือนเดิม เพียงแต่ข้อปลีกย่อยอาจมีกำหนดแตกต่างกันไปขึ้นกับองค์กรนั้นๆ ให้ศึกษา Control of Doccument Procedure ของที่ใหม่ให้เข้าใจ ก็มีการออก DAR(Document Action Request) มี Master List ไว้ควบคุมระบบเอกสาร ดูว่า Up Date หรือไม่ ปัจจุบันเป็น Revision ใดแล้ว มีการแจกจ่าย(Distribution List) มีการอนุมัติแก้ไขได้ตามอำนาจการอนุมัติที่กำหนด (Documentation Authorization) เอกสารควรอยู่หน้างาน ไม่ใช้เอกสารเถื่อน (Un-Controlled Document) เป็นต้น
QP ก็มีหกเรื่องตามข้อกำหนด คือ
1 Control of Document Procedure
2 Control of Record Procedure
3 Non Confomity Procedure
4 Internal Audit Procedure
5 Corrective Action Procedure
6 Preventive Action Procedure
ที่สำคัญค่อยๆปรับปรุงระบบเอกสารให้ใช้งานง่ายขึ้น ลดเอกสารและแบบฟอร์มที่ไม่จำเป็นออกไป อย่าสร้างระบบที่ลึกลับซับซ้อน ทำให้ตรงกับที่เขียน และเขียนให้ตรงกับที่ทำ(จริง)

13 มีท่านที่สอบถามการตรวจโรคของโรงงานผลิตอาหาร
ผู้ เขียน ก็อธิบายให้ต่างหากมีข้อมูลบางส่วนที่ HR แต่ละแห่งอาจคิดหนัก แต่เรื่องที่ชัดๆ ก็ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่องานการผลิตอาหาร เช่นโรคผิวหนังที่มองแล้ว ผู้ไปเยี่ยมชมโรงงานอาจปฏิเสท โรคอื่นๆก็ตามกฎหมายกำหนด เรื่องโรคบางอย่างไว้ผู้เขียนจะนำไปเขียนต่อในบทความ SA8000 (Web Blog: Safety Solving)

14 น้องที่ถามเรื่อง GMP ยื่นที่ อย.ได้ไหม
ขอ ตอบว่า จะยื่นที่ อย. ได้ แต่การตรวจสอบต้องตรวจ ณ สถานที่จริง ของจริง หลักฐานจริงว่าสอดคล้องกับข้อกำหนดแล้ว รวมทั้งอาคารสถานที่ โดย อย. มาจากคำว่า คณะกรรมการอาหารและยา

15 น้องที่ถาม FSMS ครอบบคุมGMP หรือไม่
ตอบ ว่า ครอบบคุม โดย FSMS (Food Safety Management System หรือ ISO 22000) ก็มีหลายโรงงานเริ่มเตรียมการ ส่วนใหญ่ก็มีทำ ระบบ HACCP ควบกับ ISO 9001 รายละเอียดผู้เขียนเริ่มมีเขียนไว้ที่ Web Blog : Quality Solving

16 น้องจากโรงงานทำน้ำผึ้งสอบถามมา การขอใบอนุญาตเปิดโรงงาน มีหลายท่านถามมาคล้ายคลึงกัน

ผู้เขียนขออธิบาย ดังนี้
การผลิตน้ำผึ้งบรรจุขวดขายหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆที่บรรจุขวดขาย งานลักษณะนี้ จัดเป็น OTOP ได้ ไม่ต้องขอมาตรฐาน GMP โดยทั่วไปอะไรที่เข้าปากรับประทาน มักถูกบังคับต้องทำ GMP 
หากไม่ถูกบังคับด้วย GMP แต่ก็มีกฎหมายเรื่องสาธารณะสุขและความสะอาดของอาหาร หรือ อื่นๆ เข้ามาควบคุมแทน   
ก่อนหน้านี้ สมอ. เคยให้โรงงานอาหารขนาดเล็กๆ ทำระบบคุณภาพฉบับกระเป๋า ทำให้กับ SMEs ปัจจุบันน่าจะเลิกโครงการนี้ไปแล้ว ใช้งบน้อย ราชการสนับสนุนทั้งหมด สมอ.ก็เดินสายสอนโรงงาน และทำพวกมาตรฐานชุมชน
การจัดว่าเป็นประเภทโรงงาน เริ่มจากโรงงานขนาดเล็ก ต้องขออนุญาต ดูจากขนาดการใช้เครื่องจักร น่าจะตั้งแต่ แรงม้าขึ้นไป ถือว่าเป็นโรงงาน
โรงงานของ OTOP มักใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ไม่มาก น้อยกว่า แรงม้า(ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม) จึงไม่เข้าข่ายโรงงาน จึงไม่ถูกบังคับด้วย GMP
ทางโรงงานมีการขยายกิจการและประสงค์จะยกระดับ จึงขอ อย. และ GMP นับว่าดี ยิ่งลูกค้าต่างประเทศจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้น
คิดว่าโรงงานที่กำหลังสร้างใหม่และใกล้เสร็จภายในสองเดือนนี้ น่าจะเข้าข่ายโรงงานด้วย กระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์น่าจะใช้เครื่องจักรที่มีกำลังม้าสูงขึ้น ต้องทำ GMP จึงต้องยื่นเรื่องแจ้งทาง อย. มาตรวจก่อน จึงจะเปิดดำเนินการได้
โรงงานทำน้ำผึ้งบรรจุขวด กระบวนการต่างๆไม่ยุ่งยาก ตัวอาคารก็ลงทุนและทำการก่อสร้างอาคารโรงงานให้ได้รตามข้อกำหนดของ GMP และเจ้าหน้าที่ อย. เข้ามาตรวจสอบแล้ว เข้ามาติดตามผลอีกครั้ง ก่อนออกใบอนุญาต 

การผลิตน้ำผึ้งขาย จะแนะนำดังนี้
ต้องรู้ว่าสินค้าที่จะขายมีอะไร และกี่อย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์คือ น้ำผึ้ง เกสรผึ้ง และนมผึ้ง ด้วยหรือไม่
วัตถุดิบและแหล่งที่มาของน้ำผึ้งมาจากไหน เพราะผึ้งมีสามกลุ่มหลักๆ คือ ผึ้งมิ้ม ผึ้งโพรงบวกผึ้งหลวง และผึ้งพันธุ์ ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร  จังหวัดพิษณุโลก มีอาจารย์สมลักษณ์  วงษ์สมาโนด จะเชี่ยวชาญเรื่องการเลี้ยงผึ้ง
โดยผึ้งมิ้มรังขนาดเล็ก ปริมาณน้ำหวานมีน้อย ผึ้งโพรง ขนาดกลางอยู่ตามโพงไม้ และผึ้งหลวงตัวใหญ่ มักทำรังตามยอดและกิ่งไม้ใหญ่ๆให้น้ำผึ้งมาก ชาวบ้านมักรมควันผึ้งให้ผึ้งตกใจ และดูดน้ำหวาน จะได้ไม่ดุและต่อยเหล็กไน ถ้าคนแพ้ ถึงตายได้

การทำในรูปอุตสาหกรรม น่าจะต้องมาจากแหล่งเลี้ยงคือ ใช้ผึ้งพันธ์ ทำเป็นฟาร์มผึ้ง มีรังผึ้งเป็นกล่องไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า ข้างในมีหลายคอนให้ผึ้งเกาะและสร้างน้ำหวานให้
พื้นที่ที่ปล่อยผึ้งไปหาอาหาร ก็แล้วแต่ภูมิประเทศ น้ำผึ้งจึงมากจากหลายแหล่ง ทั้งจากต้น สาบเสือ หรือพญาเสือโคร่ง ต้นลำไย อื่น ทางภาคเหนือมีเยอะ

สินค้า คือน้ำผึ้ง ต้องมีการตรวจสอบ Final Inspection คิดว่าโรงงานรู้ ก็เขียนเป็นคู่มือการตรวจสอบขึ้นมาตามนั้น(ที่ปฎิบัติจริง)
เขียนคู่มือจีเอ็มพี(GMP Manual) ไปดูตัวอย่างเขียนแบบคู่มือคุณภาพของ ISO9001 
เพียงแต่เพิ่มเรื่องอาคารสถานที่ 
เพิ่มหัวข้อ Describe Productข้อ2.1 ถึง 2.9 ที่ผมเขียนในWeb Blog ที่ ทำ
ใส่ Flow Chart และทำการ Verify Flow Chart

ใส่หัวข้อ โปรแกรมพื้นฐาน(SOP: Procedure)ที่โรงงานทำน้ำผึ้งต้องมีลงไปให้ครบ เช่น เรื่องสุขลักษณะและอนามัยส่วนบุคคล เรื่องการทำความสะอาด เรื่องการควบคุมน้ำ เรื่องการควบคุมขยะ เรื่องการควบคุมแก้ว เรื่องการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค อื่นๆเท่าที่ต้องมีตามกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์

ใส่เรื่องการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งไม่ซับซ้อน มักเป็นเครื่องบรรจุ เครื่องกรอง (Filtrate)

จากนั้นก็เขียนล้อหัวข้อตามที่ผมบอกใน Blog แต่ไม่ต้องใส่ทุก Procedure เพราะว่าอีกหลาย Procedure  ต้องทำต่อยอดจาก GMP เพื่อขอรับรองระบบคุณภาพของ HACCP และ ISO22000


ยังมีคำถามอีกหลายข้อ ที่ผู้เขียนตอบเมล์ให้แล้ว แต่จะทยอยนำมาลง Blog เพื่อให้ท่านอื่นๆศึกษาหาความรู้ร่วมกันครับ

17 KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. service only in Thailand
The service are cover training and consulting, in the future to buy the Quality Books and Safety Tools/Equipments/PPEs.

18  มีคำถามเรื่องการตรวจโรคในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
ผู้เขียนจะทยอยเขียนข้อมูลให้ ตอนนี้สรุปสั้นๆ ไม่มีบทฟันธงชัดเจนห้ามรับพนักงานจากสาเหตุโรคใดบ้าง เอาว่าตามกฎหมายมีระบุโรคต้องห้ามรับเข้ารับราชการ เอกชนก็สามารถเทียบเคียงได้โดยให้แพทย์ตรวจและออกใบรับรองก่อนรับเข้าทำงาน แต่โรงงานผลิตอาหารมีข้อสังเกตุ และละเอียดอ่อนกว่า หากมีลูกค้ามาเยี่ยมชมโรงงาน พบว่าพนักงานเป็นบางโรคที่ดูไม่ดี เช่นโรคผิวหนังสภาพไม่สวย จะพร้อยไม่สั่งซื้อสินค้า เอาเป็นว่าบางโรคที่ดูไม่เหมาะสมก็ไม่ควรให้ทำงานในส่วนงานที่มีโอกาสสัมผัสกับอาหาร ....................

19 มีหลายท่านถามมาเรื่องเอกสารสนับสนุน และสับสนกับบันทึกว่าต่างกันอย่างไร อายุการจัดเก็บต้องระบุที่ไหนดีและ จำเป็นต้องทำเป็นสารบัญหรือไม่ (List)

ผู้เขียนขอตอบรวมๆ คือ

1 เอกสารสนับสนุนมักให้เป็นระดับสี่  (บางแห่งให้เป็นระดับสาม ก็ได้ ไม่มีปัญหา เพียงแต่การลงนามตามอำนาจอนุมัติเท่านั้น)

2 เอกสารสบับสนุน เรากำหนดเอง ระบุว่ามี   แบบ  ข้อกำหนดหรือSpecificatio ที่ฝ่ายวิศวกรรมออก
   ส่วนเอกสารจากภายนอก เราระบุเองเช่นกัน เช่น ข้อกำหนด ISO กฎหมาย  แบบของลูกค้า(ที่ส่งมาให้เรานำไปผลิต) 
   
3 แบบฟอร์มควบคุมและแบบฟอร์มบันทึกทั่วไป ถือเป็น FM เช่น FM-QA-001 ก็ไประบุชื่อ ต้องระวังว่า หนึ่งชื่อมีหนึ่งระหัสเท่านั้น
ไม่มีการซ้ำ และควบคุมใน Master List เป็นกลุ่มของแบบฟอร์ม FM การควบคุมก็เหมือนควบคุมกลุ่ม QP หรือ WI Running หมายเลขต่อเนื่อง แยกฝ่าย แยกระดับเอกสารเช่นกลุ่ม procedure กลุ่ม WI กลุ่ม FM ซึ่งค่ิอนข้างจะมีมาก ฉะนั้น QM ระดับ 1 จึงมีแค่รายการเดียว 

4 อายุการจัดเก็บบันทึกคุณภาพเรากำหนดไว้ในแบบฟอร์ม เพื่อช่วยคนทำงานที่ใช้งานนั้นๆ โดยระบุไว้บนหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษตัวเล็กๆ แตให้สังเกตุง่ายๆ ปัจจุบันก็นิยมกันมากพอสมควร
เมื่อมี Procedure เรื่องการควบคุม Record มักไประบุว่าให้ทุกฝ่ายทำ List และควบคุมบันทึกเอง ไม่นั้นงาน DC จะมากมาย ต้องกระจายงานออกไป เพราะปัจจุบัน หน่วย ISO ไม่ใช่หน่วยใหญ่ ทำเองทั้งหมดคงจะไม่ไหวครับ โรงงานส่วนใหญ่มักนิยมแบบนี้ แต่การควบคุมเอกสารและบันทึกทำได้หลากหลายวิธีการ ต้องพิจารณาความเหมาะสม กำลังคน และประชุมตกลงกันให้ชัดเจนเพื่อให้ได้รูปแบบที่ดีที่สุดหรือคิดว่าพอทำกันได้

5 ต้องไม่ลืมคำจำกัดความว่า เราให้ชีวิตหรือสถานะของ QM.QP,WI เอกสารสบับสนุนและแบบฟอร์ม (FM) เป็นเอกสาร=Document คุมตามระเบียบการควบคุมเอกสารที่ผู้เขียนไปอบรมให้หลายๆโรงงานว่า ต้องแบบหมูไปไก่มา เวลาไปแจกจ่ายเอกสารใหม่ ต้องเรียกคืนเอกสารเก่าทั้งหมด มิฉะนั้นจะมีการปะปนและยังใช้งานชุดเก่าที่ยกเลิกแล้ว กลายเป็นว่าพบเอกสารไม่ Up Date หรือไม่ทันสมัย ผู้ตรวจสอบมาพบ สามารถออกข้อบกพร่องให้ไปแก้ไข 

แต่บันทึกหรือ Record หมายถึงเฉพาะแบบฟอร์มเปล่าที่ยังถือว่าเป็น Document เมื่อนำมาลงหมึกคือพิมพ์คอมพิวเตอร์ จะกลายสถานะเป็นบันทึกทันที และต่างจากเอกสารคือ มีอายุ(Retention Time) จะกี่ปีอยู่ที่เรากำหนด เมื่อครบเวลาการจัดเก็บให้ไปทำลาย บันทึกแก้ไขไม่ได้เช่นผลการตรวจสอบคุณภาพ ผ่านก็คือผ่าน ไม่ผ่านก็คือไม่ผ่าน หากไปแก้ไขคือการปลอมแปลงหรือ Make Data

6 Record ต้องให้ทุกฝ่ายทำ List หรือ QMR จะเป็นผู้รับผิดชอบทำก็ได้ แล้วแต่ความพร้อม โดยเรียกว่า สารบัญบันทึกคุณภาพ (Record Control List)
ครบเวลาก็เขียนใบขอทำลาย หลังรับอนุมัติการทำลายก็ให้แต่ละฝ่ายทำลายเองก็ดี ไม่ต้องขนมาให้ DCเป็นผู้ทำลาย มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่ DC อาจจะลาออกบ่อย เพราะวันๆนั่งแต่ฉีกบันทึกและเอกสาร น้องบางท่านจบปริญญาตรี มองแล้วอาจจะรับไม่ได้ ก็ต้องช่วยๆกัน ทำ ISO แล้ว ทุกคนมีส่วนร่วมและสำคัญตามบทบาทและหน้าที่ที่รับผิดชอบ 

กำหนดอายุหรือระบุอายุในแบบฟอร์มไปแล้วจำเป็นต้องทำ LISTหรือไม่ ยังคงต้องมี สารบัญบันทึกคุณภาพ (Record Control List) เวลาระบุในใบ DAR จะได้รู้ว่าต้องมีอายุเท่าไร สามารถใช้ตรวจทานการระบุอายุการจัดเก็บ (Retention Time)

20 น้องจากจังหวัดลำปางและชลบุรี สอบถามว่า จะให้ทุกฝ่ายรู้ว่าแบบฟอร์มมีผลบังคับใช้เมื่อไร ดูจากตรงไหน
ขอตอบว่า ปกติใบ DAR จะระบุวันที่แบบฟอร์มมีผลบังคับใช้(Effective Date) และไป Up Date ใน Master List ซึ่งมีระบุในนั้น จึงต้องแจกจ่าย Master List ให้ทุกฝ่ายด้วย ถือว่ารับทราบ แต่ว่าการจัดทำหรือเซ็ทระบบเอกสารแต่ละโรงงานอาจแตกต่างกัน บางครั้งมีการแจ้งในสารบัญบันทึกคุณภาพซึ่งบ่งบอกวันที่มีผลบังคับใช้ก็ได้ แต่ไม่ค่อยนิยมบอกวันมีผลบังคับใช้ แต่มักบอกว่าอายุการจัดเก็บนานเท่าไร หรืออาจมีกำหนดรูปแบบการสื่อสารให้ทราบโดยเฉพาะก็ได้ หรือตอนแจกจ่ายเอกสารมีการแจ้งวันที่บังคับใช้ก็ได้ ที่สำคัญต้องเก็บแบบฟอร์มเก่าคืนให้หมด จึงจะแจกแบบฟอร์มที่มีผลบังคับใช้ใหม่ จะได้มั่นใจว่าใช้ฉบับปัจจุบันจริงๆ หากว่ามีการทำ Internal Audit หรือ Special Audit ยังใช้โอกาสนี้ตรวจติดตามว่ามีการตกค้างแบบฟอร์มเก่าที่ถือครองและจัดว่า Obsolete

21 ต่อจากข้อ 20 ซึ่ง DC ถามว่าจะทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายทำตามกติกาการควบคุมเอกสารและทำ ISO
ผู้เขียนตอบว่า อยู่ที่จิตสำนึกของผู้นั้น บางครั้งระดับจัดการเป็นเสียเอง บอกได้ว่าค่อนข้างหนักใจ ในทางตรงข้ามต้องช่วยกันและช่วย QMR ด้วยเพราะ QMR ที่จริงคือต้วแทนฝ่ายบริหาร ที่ผู้บริหารแต่งตั้งขึ้นมาเป็นตัวแทนท่าน เมื่อ QMR ทำอะไรไป เสมือนทำแทนท่าน หากลูกน้องของแต่ละฝ่ายฝ่าฝืน ตัวผู้จัดการฝ่ายต้องช่วยสอน อบรมหรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำเป็นตัวอย่างที่ดี คิดว่าระบบจะเดินต่อไปได้ ปัจจุบัน QMR มักตั้งมาจากผู้จัดการแผนกหรือดีขึ้นหน่อย เป็นถึงระดับฝ่าย ยังพอผลักดันกติกาได้ หาก QMR อำนาจต่ำกว่าทุกฝ่ายหรือมีฝ่ายที่อาวุโสกว่า และไม่ยอมทำตามกติกา คงต้องให้ระดับ MD ลงมาจัดการ ผู้เขียนจึงบอกเสมอว่า ต้องแต่งตั้ง QMR มาจากระดับจัดการแค่หนึ่งคนเท่านั้น(ข้อกำหนด ISO9001 ระบุไว้ชัดเจน) จากนั้นเฟ้นหาผู้เหมาะสมที่มีความรู้ในระบบการจัดการ ต้องมีสามอย่างคือ
1 Powerity มีอำนาจในการสั่งการให้ทุกฝ่ายต้องทำตาม
2 Authority เซ็นต์อนุมัติได้
3 Humanity มีมนุษย์สัมพันธ์กับทุกฝ่าย

22 น้องจากลำปางและโรงงานในนิคมฯอมตะถามว่า ซื้อวัตถุดิบจาก ผู้ขายที่เป็นตึกแถวเล็กๆ ระบบ ISO ก็ไม่มี อะไรก็ไม่มีเลย และนายชอบสั่งซื้อวัตถุดิบโดยไม่ผ่านฝ่ายจัดซื้อ ต้องทำ ASL หรือ AVL และประเมินซัพพลายเออร์หรือไม่ (Evaluate)

ผู้เขียนขออธิบายว่า ต้องทำด้วยแต่กำหนดแบบง่ายๆที่เราสามารถทำได้จริง เขียนสวยหรูแต่ทำไม่ได้ ไม่เกิดประโยชน์ ทำไม่ได้จริงและไม่ทำ จะถูก Auditor ออก CAR
ข้อแนะนำคือ
ต้องทำ Suppliers List ครบทุกรายที่ซื้อขายวัตถุดิบที่มีผลกับคุณภาพ
ต้องประเมินผลทุกรายตามระยะเวลาที่กำหนด
ซื้อแค่ครั้งเดียว หรือนานๆซื้อที ก็ให้ประเมินครั้งนั้น เก็บข้อมูลไว้ใช้ประโยชน์
มี Supplier รายเดียวก็ต้องเข้า List และประเมิน(Evaluate) เพื่อเก็บข้อมูลไว้ Auditor ถาม จะได้ตอบว่า เพื่อไว้เปรียบเทียบหรือควบคุมเมื่อมีรายอื่นๆเพิ่ม
มีรายเดียว ประเมินแล้วตก ยังต้องซื้อ คิดว่า Auditor ก็คงจะอนุโลมให้ซื้อต่อไป ให้ระบุว่าจำเป็น อนาคตมีรายอื่นมีทางเลือก จะทำตามระบบ ไม่ใช่ว่า โรงงานเล็กๆทำ ISO แล้วธุรกิจเดินหน้าต่อไปไม่ได้ จะเกิดประโยชน์อันใดในการทำ ISO และ ISO9001 หรือ QMS ต้องการให้ปรับปรุงทีละขั้น (Continual Improvement)
นายสั่งเข้ามาต้อจำใจรับวัตถุดิบนั้นจาก Suppliersเส้นใหญ่ พนักงานบอกผิดระบบ ทำไปบ่นไป ไม่มีความสุข นายรู้อาจโดนขัดคำสั่งเจ้านาย ขอแนะทางออก ให้ไปแก้ไขขั้นตอนการคัดเลือกว่า นายสั่งเข้ามาได้ เป็นการคัดเลือกอีกวิธีการหนึ่ง เมื่อระบุแบบนี้ก็เป็นระบบงานแล้ว นายก็มีสิทธิ์เพราะเป็นผู้คัดเลือก เราทำตามก็สบายใจ แต่ครบกำหนดก็ให้ประเมินผลและแจ้งผลให้นายทราบ หากจำเป็นและนายยังสั่งซื้อก็ให้ซื้อไป หากวัตถุไม่ได้คุณภาพเลย คิดว่าเจ้านายก็คงไม่กล้าสั่งเข้ามา
หากนายยังดื้อแพ่งสั่งเข้ามา ก็สร้างระบบงานเพิ่มการขออนุโลมให้เจ้านายลงชื่ออนุมัติ หาก Auditor มองเป็นข้อบกพร่องถูกออก CAR ไม่ต้องกังวลเพราะเจ้านายก็มีส่วนเกี่ยวข้อง
หากมีอนุโลมบ่อยเหลือเกินก็วิเคราะห์ปัญหา ทำสรุปให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบ หากยังเอาไม่อยู่ คืออนุโลมทั้งปี และอนุโลมทุกLots ทำงานต่อไปยังหนักใจ เจ้าหน้าที่จัดซื้อต้องอดทนกับระบบงานที่ไม่ยอมร่วมกันแก้ไข และป้องกันปัญหา ทางเลือกสุดท้ายเมื่อเปลี่ยน Supplierไม่ได้ เราก็เปลี่ยนนายได้ คือ หาที่สมัครงานใหม่ ไปตายเอาดาบหน้าให้รู้ไปเลยว่าระบบดีๆไม่ทำ เอาแต่วัตถุดิบราคาถูกๆ คุณภาพแย่มาก แล้วจะผลิตสินค้าที่ดีได้อย่างไร ดิฉันหรือข้าพเจ้าขอกราบลาแล้วนะท่าน ถือว่าหมดทุกข์หมดโศกเสียที อามิตตาพุทธและอาเมน แต่คิดว่าทุกอุปสรรคมีทางออกเสมอ น้องๆอย่าด่วนลาออกนะครับ

23 มีน้องถามว่า Corrective Action และ Preventive Action จะรวมกันใน QP (Quality Procedure) เดียวกันได้หรือไม่

ผู้เขียนขอตอบว่า สามาถรทำได้ และแบบฟอร์ม CAR และ PAR จะทำแบบรวมกันก็ยังได้
หมายความว่า หัวข้อทั้งสอง จะทำแยกคนละ QP ก็ได้ ทำรวมเป็น QP เดียวกันก็ได้ เวลาผู้ตรวจประเมิน หรือ Auditor ถามหานั้น สามารถตอบได้ จะรวมหรือแยกได้ทั้งนั้น หาให้พบ ตอบให้ได้
ทำอย่างมีประสิทธิผล

24 น้องจากโรงงานโคราช ถามว่าจำเป็นไหมที่แบบฟอร์มหนึ่งๆ ต้องมีระหัสเดียวกัน งานบางอย่างแต่ใช้ฟอร์มหลายฟอร์มขึ้นกับว่าตรวจสินค้าใด
ตอบว่า ฟอร์มหนึ่งฟอร์ม ต้องมีหนึ่งระหัส จะได้ชี้บ่ง ค้นหาชัดเจน ไม่สับสนเวลาทำงาน หากหัวข้อที่ตรวจส่วนใหญ่เหมือนกัน มีเพียงบางหัวข้อที่ Spec. ต่างกัน ให้ใช้คำว่า Others.....เมื่อต้องตรวจสอบเพิ่มเฉพาะหัวข้อนั้นๆให้เติมค่าตัวเลขที่วัดได้ลงไป ทำให้ฟอร์มเดียวใช้หลายงาน
หากว่าต้องการคอมมอนหรือรวมแบบฟอร์มทั้ง CAR, PAR, NCR และ Others ไว้ในฟอร์มเดียวกันก็ทำได้ เวลาจะใข้งานเรื่องนั้นๆก็ติ๊กช่องนั้น ช่องอื่นๆก็ปล่อยไว้ไม่ต้องไปแตะต้อง การประยุกต์ใช้เอกสารและแบบฟอร์มขึ้นกันองค์กรพิจารณาความเหมาะสม ความสะดวก ความเข้าใจและสามารถใช้งานได้ง่าย ชัดเจน จึงจะเกิดประสิทธิภาพ และได้ผลลัพธิ์ที่มีประสิทธิผล

25 มีคำถามจากน้องโรงงานผลิตอาหารส่งต่อให้อีกส่วนงาน เช่น ภัตราคาร ถามว่า Catering เป็นอย่างไร
ตอบว่า Catering เป็นการผลิตหรือเตรียม/ปรุงอาหารทีละมากๆ มักเป็นงานจัดเลี้ยงต่างๆ ต้องระวังเป็นพิเศษ หากปรุงไม่สะอาด มีการปนเปื้อนและติดเชื้อ มีผลกระทบต่อคนจำนวนมากที่รับประทานอาหารเข้าไป ต้องควบคุม ดูแลและเน้นสุขอนามัยผู้ปรุงอาหาร ภาชนะ และอาหารให้สะอาดและปลอดภัย มักจัดตามโรงแรม โรงเรียน ภัตราคาร และงานเลี้ยงต่างๆ

26  จะยื่นขอใบอนุญาตโรงงานผลิตอาหารต้องไปที่ อย. กระทรวงสาธารณสุข หรือที่กระทรวงอุตสาหกรรม 
ตอบว่า ต้องไปที่ อย. ก่อน ต้องมี GMP จึงจะได้ใบอนุญาตให้ผลิตอาหาร จากนั้นไปที่กระทรวงอุตสาหกรรมขอใบอนุญาตโรงงาน แต่จะเป็นประเภทใด ต้องดูที่จำนวนคนและกำลังม้าของเครื่องจักรเพื่อกำหนด หรือระบุว่าเป็นโรงงานประเภท 1, 2 หรือ 3

27 มีถามมาว่า PAS220:2008 ยกเลิกใช่ไหม เกี่ยวข้องอะไรกับ FSSC 22000
ตอบว่า ยกเลิกเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2012 แต่ก็เป็น Base On ของ ISO/TS 22002-1: 2009 หลังจากโรงงานทำ ISO 22000:2005 ผ่านแล้ว ก็เพิ่ม ISO/TS 22002-1 เข้าไปเพื่อยื่นขอรับรอง FSSC22000:2010

28 มีผู้ถามถึงเรื่อง ILO จะมีโอกาสบังคับให้โรงงานต้องทำหรือไม่
ตอบยาก อนาคตก็มีทั้งมาตรฐาน ข้อตกลง ข้อผูกพันที่โรงงานทำกับลูกค้า หรือสมาคม หรืออง์กรต่างๆทั้งในประเทสและต่างประเทศ ซึ่งใน ILO (International Labour Organization) มีกล่าวถึงเรื่องแรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานท้องถิ่น แรงงานอพยบ เรื่อง HIV และเอดส์ ไว้มีความคืบหน้า และมีเวลาจะเขียบบล๊อคเกอร์เรื่องเหล่านี้ให้ทราบในรายละเอียดต่อไป

29 ช่วงที่ผู้เขียนไปบรรยาย OHSAS18001 มีน้องๆถามว่า CCCF Activity ทำดีไหม คืออะไร
ตอบว่า ดีมากครับ หลายๆเรื่องบริษัทโตโยต้า ก็เป็นผู้นำที่ดีต่อสังคม มีทั้งเปิดให้ดูงานร่วมกับสมาคม หรือระบบ TOYOTA System หลายคนสนใจนำไปศึกษามากมาย 
คำว่า CCCF มาจาก Completely Check Completely Find out แบ่งลำดับงาน 6 ขั้นตอน คือ
1  กำหนดวัตถุประสงค์ (ของกิจกรรม)
2  ขอบเขตของกิจกรรม (คงต้องชัดเจน ครอบคลุมถึงไหน)
3  กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน
4  แบ่งประเภทอันตราย
5  กำหนดระดับความรุนแรงของอันตราย
6  จัดทำบอร์ด ตรงนี้สำคัญมากๆ เพราะเป็น Visual Control/Check สามารถทราบความคืบหน้า
สมัยผู้เขียนทำ TQM หลายฝ่ายจะกลัวเรื่องบอร์ดเช่นกัน เพราะว่า วันดีคืนนี้มีตัว Monitor ว่าแต่ละฝ่ายทำงานกันอย่างไร ล่าช้าจุดใด มองเห็นชัดเจน หากว่าทุกฝ่ายทำต่อเนื่อง ผลักดันให้ลูกน้องต้องรับผิดชอบงานร่วมกันอย่างชัดเจน บริหารเป็นธรรม สิ่งเหล่านี้ไม่น่าเป็นอุปสรรค

ขอกล่าวสั้นต่อว่า การแบ่งอันตรายของ CCCF แยกเป็น 6 ประเภทคือ
1  อันตรายจากเครื่องจักร
2  อันตรายจากวัตถุหนักตกใส่
3  อันตรายจากยานพาหนะ
4  อันตรายจากการตกจากที่สูง
5  อันตรายจากกระแสไฟฟ้า
6  อันตรายจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ไฟไหม้ ของมีคมบาด จากวัตถุร้อน เป็นต้น

ส่วนอันตรายจากกู้นอกระบบ ก็ไม่เกี่ยวกัน ตัวใครตัวเขา น้องๆก็เก็บออมสัก 30% ของเงินเดือนฝากแล้วไม่มีการถอน เกษียณงานแล้วจะได้ไม่ต้องกังวล อย่าไปหวังมาก ว่าจะได้มากๆจากการประกันสังคม เพราะที่นี่ Thailand ไม่ใช่ USA ผู้เขียนมีคนรู้จัก หนีไปทำงานที่อเมริกากว่าสามสิบปีแล้ว ต่อมาได้ใบเขียว (Green Card) ปัจจุบันเกษียณงาน รัฐจ่ายให้ทุกเดือนเกือบสี่หมื่นบาทต่อคน ของเราได้ข่าวจะได้ประมาณ สองพันกว่าถึงสามพันกว่าบาท บวกค่าชราภาพอีกหกร้อยบาท เข้าใจดี ไม่ได้ต่อว่าหน่วยงานประกันสังคม แต่กลับภูมิใจที่เกิดมามีพระเจ้าอยู่หัวที่ดีที่สุด  

30 มีน้องถามว่าทำระบบ ISO มีลูกค้าร้องเรียนได้ หาก CB ทำผิดพลาด จะร้องเรียนใคร
ตอบ ก็ร้องเรียนไปที่ CB นั้นบอกไปว่ามีปัญหาอะไรให้ต้องแก้ไข หาก CB ทำผิดเสียเอง ก็ยังร้องเรียนไปที่ AB (Accreditation Body) เช่น UKAS อื่นๆมีหลายๆหน่วยงานของแต่ละประเทศ ที่ให้การรับรอง CB (Certification Body) นั้นได้ ของไทยก็คือ NAC


อ่านต่อด้านบน จะเป็นข้อมูลล่าสุด นับย้อนขึ้นไป
เขียนต่อคราวหน้า

การออกใบ Certificate เข้าอบรมครบ หรือ/และสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 
ค่าฝึกอบรมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
หลักสูตร Integration Management System Method สอนหนึ่งวัน วิธีการรวมระบบ 
หลักสูตร Integrated QMS/EMS/OHSAS Internal Auditor สอนสองวัน ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้ารับ
                การอบรม           
หลักสูตร Integrated QMS/EMS Internal Auditor สอนสองวัน 
หลักสูตร Integrated QMS/HACCP Internal Auditor สอนสองวัน 
หลักสูตร Integrated QMS//HACCP/ISO22000 Internal Auditor สอนสองวัน  
หลักสูตร Internal Auditor QMS/EMS/OHSAS/HACCP  แต่ละระบบแยกกัน สอนสองวัน 
หลักสูตร  Knowledge and Verify GMP สอนหนึ่งวัน ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าอบรม
หลักสูตร  GMP Internal Auditor สอนหนึ่งวัน 
การเตรียมตัวจัดทำ Primary GMP สำหรับ OTOP ให้คำปรึกษาฟรี  

หลักสูตรข้อกำหนดแต่ละมาตรฐาน สอน 1 วัน 
หลักสูตร ข้อกำหนด ISO 9001:2015 สอนหนึ่งวัน ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้ารับการอบรม เพื่อ
               ประโยชน์ขององค์กร และนำไปรักษาระบบ สร้าง Awareness อย่างยั่งยืน
หลักสูตรข้อกำหนด ISO 14001:2015 สอนหนึ่งวัน ไม่จำกัดจำนวน
หลักสูตรข้อกำหนด OHSAS 18001:2007 สอนหนึ่งวัน ไม่จำกัดจำนวน
หลักสูตรทบทวนความรู้เกี่ยวกับ HACCP  สอนหนึ่งวัน ไม่จำกัดจำนวน
หลักสูตร ISO22000:2005 Awareness สอนหนึ่งวัน ไม่จำกัดจำนวน

เงื่อนไขตามแต่ละหลักสูตรที่กำหนด และได้รับใบ Certificate เมื่ออบรมครบ หรือ/และสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
 KS NATION CONSULTANT CO.,LTD. ยังมีหลากหลายหลักสูตรฝึกอบรมภายใน รวมทั้งการรวมระบบ ต่างๆเข้าด้วยกัน (Integrate Management Systems: IMS) หลายท่านถามว่าทำไมราคาถูก เหตุผลคือ ทำด้วยใจรัก ในราคาพอเพียงที่ลูกค้าทุกรายจ่ายได้ โดยทางเราไม่ได้คำนึงถึงต้นทุน ตลอดชีวิตทำงาน มีสโลแกนว่า "รถยนต์คือบ้าน โรงงานคือประเทศ" ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปทำงานอะไร ก็ต้องเข้าโรงงานทุกครั้ง รับราชการก็ไปตรวจโรงงาน เป็นเซลล์ก็ไปขายสินค้าให้โรงงาน เป็นผู้ตรวจสอบ (CB Auditor) ก็ไปตรวจประเมินโรงงาน เป็นที่ปรึกษา (Consultant) ก็ไปจัดวางระบบให้หลากหลายโรงงาน เป็นผู้จัดการและ QMR/EMR/OHSMR ทำงานประจำที่โรงงานมาหลายสิบปี ตอนนี้ร่วมกับเพื่อนๆและน้องๆจัดตั้งบริษัทที่ปรึกษา ก็รับเป็นวิทยากรไปสอนทุกๆแห่ง ระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เดินทางครบหนึ่งล้านกิโลเมตรโดยขับรถยนต์ส่วนตัว (ยังไม่นับรวมกับการเดินทางไปที่ต่างๆโดยรถยนต์ของบริษัทและโดยเครื่องบิน)
ขอขอบคุณบริษัท(ลูกค้า) ที่ได้ให้ทางทีมงานเข้าไปให้คำปรึกษา/In-House Training 
และขอขอบคุณหน่วยงานและมูลนิธิที่ให้ทีมงานรับใช้และบริการเช่นกัน 
รวมถึงทุกท่านที่สนใจในบทความต่างๆและท่านที่ส่ง E-Mail มาสอบถามปัญหาต่างๆ: 
ขอขอบคุณ


ช่วงนี้ไปหลายโรงงาน ที่ปรึกษามักเร่งระบบ เร่งเวลา จึงไม่มีการทำ QM ไม่มีจัดทำ Procedure เพราะข้อกำหนดไม่บังคับของ ISO9001:2015, ISO14001:2015 เขียนสั้นๆสร้างระบบแบบคนที่ทำเป็นคนรู้แค่ไม่กี่คน พอคนนั้นออกไป คนในองค์กรที่เหลือไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อ และส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยรู้ เพราะได้รับการถ่ายทอดน้อย ไม่อธิบายและไม่สอนให้รู้กระจ่างเกี่ยวกับ ISO และ IATF16949:2016


ดังนั้นแนะนำโรงงานจัดทำ ISO ครั้งแรกในชีวิต จึงต้องจัดทำ QM, Procedure การทำงานของทุกฝ่าย ย่อมสำคัญมาก ใช้เป็นเกณฑ์การทำงาน กำหนดระเบียบปฎิบัติเข้าไปในระบบ มีกติกา เกณฑ์การทำงานชัดเจน ใช้สอนงานได้ จึงอย่ามองข้าม จึงจะรักษาระบบได้อย่างยั่งยืนไม่ต้องอาศัยคนนอกตลอด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น